การดำเนินงานกลุ่มผู้เลี้ยงโคให้เกิดความเข้มแข็ง


จริงจังและตั้งใจ

ผมเป็นเจ้าหน้าที่เกษตรตำบลวัดประดู่ ในตำบลที่ผมรับผิดชอบอยู่นั้นมีกลุ่มกิจกรรมอยู่หลายกลุ่ม แตมีกลุ่มหนึ่งที่ผมมีความภูมิใจจะเสนอบอกกล่าวให้ทราบ คือ กลุ่มผู้เลี้ยงโค ต.วัดประดู่ ซึ่งได้จัดตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545  ในช่วงนั้นมีสมาชิก 21 คน การเลี้ยงโคของสมาชิกเลี้ยงกันเอง การประชุมเพื่อรับความรู้จากหน่วยราชการมีบ้างในบางครั้ง ซึ่งทางกลุ่มไม่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานราชการหรือองค์การบริหารส่วนตำบล ในทางด้านการตลาด การจำหน่ายเนื้อโคส่วนใหญ่มีพ่อค้ามารับซื้อในท้องที่ตำบล โดยพ่อค้าเป็นผู้ตั้งราคาเองทั้งสิ้น จึงทำให้สมาชิกจำหน่ายโคเนื้อไม่ได้ราคาเท่าที่ควร          จนเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2549 กลุ่มผู้เลี้ยงโค ได้ขอจดทะเบียนตั้งเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนขึ้น ที่สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี หลังจากนั้นไม่นานทางกลุ่มได้มีหน่วยงานราชการเข้าไปช่วยเหลือหลายหน่วยงาน ได้มีการปรับปรุงในหลายด้าน คือ
          1) จัดประชุมคัดเลือกคณะกรรมการดำเนินงาน
          2) สร้างความเข้าใจและความสามัคคี
          3) จัดทำระเบียบข้อบังคับให้ชัดเจน
          4) สมาชิกมีความพร้อมในการเรียนรู้
          5) จัดวิทยากรไปถ่ายทอดความรู้ตามความต้องการของสมาชิกแต่ละเดือน
          6) จัดให้มีการประชุมสมาชิกประจำเดือน
          7) ประสานงานกับเทศบาลตำบลวัดประดู่ ขอรับการสนับสนุนงบประมาณ
          8) จัดให้มีการออมทรัพย์ของสมาชิกเป็นประจำทุกเดือน


          
สิ่งที่กลุ่มผู้เลี้ยงโค ต.วัดประดู่ ยังขาด คือ
         
          
1. ตลาดการจำหน่ายโคยังแคบ
          2. มีทุนจัดการน้อย
          3. เวชภัณฑ์ในการดำเนินงานมีน้อย
          4. ขาดอาหารเลี้ยงโคในช่วงหน้าแล้ง
หลังจากนั้นคณะกรรมการพร้อมด้วยสมาชิกได้ประชุมปรึกษาร่วมแสดงความคิดเห็น และได้มีมติตกลงใจร่วมกันในการดำเนินงานกลุ่มฯ นี้ ได้จัดทำเวทีประชาคมกันหลายครั้ง ซึ่งได้นำไปสู่แนวคิดและการปฏิบัติ เพื่อให้เกิดผลดีกับทางกลุ่มนี้โดยสรุป คือ
          -  มีระเบียบการบริหารภายในกลุ่มที่ชัดเจน
          -  ต้องมีการพัฒนาตัวสินค้า คือ โค ให้มีคุณภาพและเป็นที่ต้องการของตลาดให้ได้
          -  ต้องมีปฎิสัมพันธ์กับองค์กรกลุ่มเครือข่ายอื่นๆ เพื่อจะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้สิ่งที่เป็นประโยชน์ระหว่างกลุ่มฯ ด้วยกัน
          -  ต้องมีการจัดระบบบัญชีของกลุ่มอย่างเป็นระบบ
          -  ต้องมีการพัฒนาความรู้หลายด้านให้กับสมาชิกอยู่เสมอ
          -  ต้องมีการนำเสนอผลงานและความต้องการปรับปรุงกับองค์กรสถาบันการเงินทั้งภายในและภายนอก เพื่อขยายกิจการของกลุ่มอย่างต่อเนื่องและต้องมีการบริหารจัดการการเงินภายในกลุ่มด้วยความซื่อสัตย์
          ทั้งหมดที่กล่าวมา ผมว่ากิจการงานใดก็ตาม หากเกษตรกรให้ความสนใจและตั้งใจกับมันทุกงานก็จะสำเร็จได้ ถึงแม้อาจจะช้าไปบ้าง หรือทุกท่านมีความคิดเห็นอย่างไรแนะนำกันได้ครับ

 

หมายเลขบันทึก: 164910เขียนเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2008 21:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • กิจกรรมใดก็ตามเกิดจากปัญหาและความต้องการของเกษตรกรกิจกรรมนั้นสำเร็จเกินครึ่ง
  • เราเพียงเป็นผู้อำนวยตวามสะดวก  ประสานงาน และเสริมหนุนในส่วนที่เกี่ยวข้อง
  • โป๊ะเซะๆๆๆ

 

หวัดดีครับ

  • แอบมาตั้งแต่เมื่อไหร่ แล้วบล๊อกเดิมละ???
  • ตอนนี้ ขายโคได้กี่รุ่นแล้วครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท