ประเด็นที่อยากจะบอกกล่าว : จากหนังสือที่ผมเขียน “กระบวนการเรียนรู้ สู่เส้นทางสีขาว”


สำเร็จก็ถอดบทเรียนเพื่อขยายผลต่อเนื่อง หากไม่สำเร็จก็ต้องถอดบทเรียนเพื่อหาทางเลือกที่เหมาะสม เรามีเวลาเสมอสำหรับการเรียนรู้

 

ผมถูกตั้งคำถามบ่อยครั้งเกี่ยวกับประเด็นประสบการณ์การทำงาน ในหนังสือเล่มที่ผมเขียนล่าสุด กระบวนการเรียนรู้ สู่เส้นทางสีขาว

 

 เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ เล่าถึงประสบการณ์การทำงานพัฒนาชุมชน โดยใช้ กระบวนการเรียนรู้ในการขับเคลื่อนเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น(ยาเสพติด)ในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน  มี งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น เป็นเครื่องมือในการพัฒนา  จากสงครามยาเสพติด ไปจนถึง ชุมชนเข้มแข็ง

 

 ดร.แสวง  รวยสูงเนิน หลังจากท่านได้อ่านหนังสือแล้ว ตั้งคำถามกับผมว่า 

  •  กระบวนการที่ทำที่แม่ฮ่องสอนนั้น จะนำไปใช้กับพื้นที่อื่นได้อย่างไร
  •  จุดไหนเป็นจุดสำคัญในการเข้าไปทำงานกับชุมชน
  •  หากใช้กระบวนการแบบนี้กับที่อื่นจะสำเร็จเหมือนที่แม่ฮ่องสอนหรือไม่
  •  ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการพัฒนาชุมชนโดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนาแบบมีส่วนร่วมนั้น คืออะไร  

 

 

คำถามใหญ่ๆแบบนี้  ความจริงแล้ว มีบทสังเคราะห์เล็กๆที่แทรกในหนังสืออยู่บ้างแล้ว แต่คิดว่าไม่เพียงพอต่อการทำความเข้าใจ เพราะงานที่ทำ (ประเด็นยาเสพติด) ที่แม่ฮ่องสอนในขณะนั้นเป็นประเด็นเฉพาะ ที่สอดคล้องทั้งสถานการณ์ ทั้งกลุ่มคนทำงาน พื้นที่ ระยะเวลา จึงเป็นความสำเร็จภายใต้บริบทที่แม่ฮ่องสอน(ในขณะนั้น)  หลักใหญ่ใจความจึงอยู่ที่ ตัวกระบวนการหลักๆ ของงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นมากกว่า หากนำไปใช้กับพื้นที่อื่นก็คงต้องปรับให้เข้ากับบริบทพื้นที่นั้นๆได้อย่างเหมาะสม

 


 

 เมื่อวานได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนกับ นศ. มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยการพูดคุยผ่านโทรศัพท์ออนไลน์ ไปถึงห้องเรียน (จากเชียงใหม่ ไป ขอนแก่น) ปฏิสัมพันธ์ออนไลน์แบบ Real time  พูดคุยเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวนี้

 

 ผมเน้นย้ำในสามประเด็นหลักๆ ที่เป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จ(ส่วนหนึ่ง) และเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง สำหรับการเข้าไปชุมชนเพื่อพัฒนาโดยใช้ การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยขอต่อยอดอ้างอิงจากหนังสือที่ผมเขียน

 

Community1

 

 ประเด็นที่ ๑ การพัฒนาโจทย์วิจัย 

 

 ประเด็นนี้สำคัญมาก ในการทำงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น โจทย์ที่ชัด เป็นเหมือนการเปิดประตูสู่การพัฒนาที่ถูกทิศ สอดคล้องกับปัญหาชุมชน โจทย์ที่ชัดหมายถึง โจทย์หรือว่าคำถามงานวิจัยนั้นเป็นปัญหา(ที่จะพัฒนา แก้ไข)หรือ ศักยภาพ(ที่จะเสริมต่อ) ของชุมชน จริงหรือไม่? เป็นโจทย์ที่คิดโดยใคร? แล้วโจทย์นั้นมีที่มาจากไหน?

 

 แล้ว โจทย์ไม่ชัด คือยังไง

 

 เป็นโจทย์ที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งในชุมชน กว้างเกินไป แคบเกินไป 

ไม่สอดคล้องกันระหว่าง คำถาม วัตถุประสงค์ ผลที่คาดว่าจะได้รับ และการกำหนดทีมงานที่เกี่ยวข้อง

 

 โจทย์ที่ดีต้อง คมชัด และเหมาะสมกับทุนเดิม และศักยภาพของชุมชนเป็นสำคัญ

 

 

 ประเด็นที่ ๒ ความหลากหลาย

แน่นอนว่าการทำงานกับชุมชน สิ่งที่เราต้องเจอคือ ความหลากหลาย ไม่ว่าจะหลากหลายเรื่องของแนวคิด ผู้คน ความเชื่อแล้ว ยังหลากหลายในส่วนของทุนที่มีอยู่ในชุมชนด้วย สิ่งที่ท้าทายของคนทำงานชุมชนนั้น จะจัดการกับความหลากหลายอย่างไร?

 

 ผมแลกเปลี่ยนกับหลายท่านว่า สิ่งสำคัญนั้น คือ มุมมองของเราเองต่อความหลากหลาย  

  • เรามองในมุมโรแมนติก ว่า หลากหลาย นั้นเป็นเรื่องที่ดี  
  • เป็นหน้าต่างแห่งโอกาสในการเรียนรู้และเชื่อมประสาน ร้อยรัดสิ่งต่างๆเข้าด้วยกันเพื่อความเป็น Unity  
  • ให้คิดถึงระบบนิเวศที่อุดมสมบูรณ์ มีสรรพสิ่งเอื้อการเป็นชีววิถีที่ยิ่งใหญ่ มีชีวิตชีวา 

 

 

ความหลากหลายจึงเป็นทุนที่สำคัญในการทำงาน และเป็นเช่นนั้นจริงๆครับ ความหลากหลายมากับพลังความสามารถที่แตกต่างที่เราสามารถนำมาใช้ในทุกช่วงกระบวนการได้เป็นอย่างดี


 

 

 ประเด็นที่ ๓ การนำกระบวนการไปใช้

 

 ประเด็นนี้ตรงใจ ตรงวัตถุประสงค์ผู้เขียนเป็นอย่างยิ่ง ผมตั้งใจไว้ว่าเขียนหนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่อ่านแล้วนำไปคิดต่อ เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้รูปแบบ งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป

 


 

 การนำไปใช้นั้นผมไม่ได้เน้นไว้ในหนังสือ แต่หากร้อยเรียงออกมาเป็นกระบวนการที่ผมใช้ รวมถึงผลที่เกิดขึ้น ดูเหมือนตรงไปตรงมา แต่ว่าภายใต้กระบวนการเหล่านั้นมีปัจจัยมากมายที่ส่งผลโดยตรง โดยอ้อม

 

การนำกระบวนการไปใช้ จำเป็นต้องประยุกต์ให้สอดคล้องกับบริบทพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นบริบทของประวัติศาสตร์ท้องถิ่นตรงนั้น ความคิด ความเชื่อ ศักยภาพที่เราเรียกว่า ทุน  สร้างสรรค์ให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย เป็นธรรมชาติ และเกิดการมีส่วนร่วมที่แท้จริงของคนท้องถิ่น รวมถึง การ Empowerment นักวิจัยชาวบ้านแบบ on the job training

 


จะสำเร็จหรือไม่นั้น ไม่สำคัญมากเท่ากับในกระบวนการนั้นเราได้เรียนรู้อะไรไปบ้าง ผลึกผลแห่งปัญญาจึงเกิดขึ้นตลอดเวลาในการจัดการความรู้แบบธรรมชาตินี้

 


สำเร็จก็ถอดบทเรียนเพื่อขยายผลต่อเนื่อง หากไม่สำเร็จก็ต้องถอดบทเรียนเพื่อหาทางเลือกที่เหมาะสม เรามีเวลาเสมอสำหรับการเรียนรู้ครับ


ทั้งสามประเด็นนี้ผมขอต่อยอดจากหนังสือที่ผมเขียน และ ต่อยอดให้กับ นศ.มหาวิทยาลัยขอนแก่นที่ผมได้แลกเปลี่ยนทางการเรียนแบบ Online real-time เมื่อวานนี้

 



 

หนังสือ กระบวนการเรียนรู้สู่เส้นทางสีขาว เป็นหนังสือที่ผมได้เขียนจากประสบการณ์การทำงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ในชุดโครงการพัฒนาศักยภาพชุมชนในชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากปัญหายาเสพติดที่แม่ฮ่องสอน ...บทหนึ่งที่ทำให้ผมได้ก้าวต่อ และเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

 

 

 


หมายเลขบันทึก: 164846เขียนเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2008 14:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (32)
  • อยากได้หนังสือ
  • ที่ศูนย์หนังสือจุฬาฯ มีหรือยังครับ
  • ขอบคุณครับ
  • สบายดีนะครับ
  • ถือโอกาสแวะมาทักทาย แต่ยังคงไม่ได้แลกเปลี่ยนใด ๆ
  • อ่านหนังสือเล่มนี้แล้ว... ชอบมาก  อย่างน้อยก็ชอบท่วงท่าของการนำเสนอเรื่องราวในแบบกลิ่นอายสารคดี หรือบันเทิงคดี ...
  • งานวิจัยที่เลือกนำเสนอด้วยภาษาและรูปแบบเช่นนี้น่าอ่านและชวนอ่านกว่าการนำเสนอในแบบวิชาการล้วน ๆ ....
  • พูดง่าย ๆ คือ... อ่านแล้วไม่แห้งผาก... แต่มีชีวิตชีวา  ได้อรรถรสเป็นอย่างดียิ่ง
  • ....
  • เดือนนี้ผมค้นหาวันหยุดไม่พบ (ตามเคย) ..วันนี้ก็เพิ่งมีโปรเจคด่วนต้องลงกรุงเทพฯ เย็นนี้เลย...
  • เสาร์ - อาทิตย์  ต้องไปหนองคาย ...
  • .....
  • มีความสุขน่าดู !
  • .....
  • ผมและคนในครอบครัวคิดถึงเสมอนะครับ -

สวัสดีครับ อ.ขจิต ฝอยทอง

ที่ศูนย์หนังสือจุฬา น่าจะมีการวางจำหน่ายแล้วครับ

เมื่อสัปดาห์ก่อนผมหลอกล่อ ดิเรก P  ไปซื้อหนังสือของผมแบบเหมาที่สุริวงศ์บุคเซนเตอร์ที่เชียงใหม่ จนเกือบเกลี้ยงเลยครับ (ซื้อห้าเล่ม เหลือในแผงหนึ่งเล่ม) 

ลองติดต่อทางโทรศัพท์ตามบันทึกได้ครับ

ขอบคุณมากครับผม

ต้องรีบไปหามาอ่านแล้วครับ

สวัสดีครับ คุณพนัสแผ่นดิน ครับ

ผมยังจราจรคับคั่งทั้งเรื่องงานและการตัดสินใจ อาจดูวุ่นวายใจเล็กน้อย วันนี้ก็เลยถือโอกาสหนีเที่ยวต่างจังหวัดคนเดียวอีกเช่นเคย

กลับไปทำงานต่อด้วยใจที่ฟิตเต็มร้อย ผมมักจะพบว่าการได้ตามใจตัวเองบ้าง มีเวลาว่างๆกับตนเองบ่อยๆ เป็นเวลาที่ดีมากครับ

ขอบคุณครับที่ระลึกถึง ผมเองก็คิดถึง ครอบครัว "แผ่นดิน-แดนไท" มากครับ มีโอกาสจะไปเยี่ยมนะครับ

บันทึกนี้ผมเขียนสืบเนื่องจากบันทึก อ.ดร.แสวง รวยสูงเนิน ครับ ท่านที่เป็นครูคอยสั่งสอนและเอื้ออาทรผมเสมอ...เรื่องราวเหล่านี้ ทำให้เราได้คิดต่อและสร้างเครือข่ายผู้ที่สนใจร่วมกันได้

ยินดีเสมอครับสำหรับมิตรภาพที่ดีครับ

สวัสดีครับ อ.จารุวัจน์

ขอบคุณครับที่ให้ความสนใจ ติดต่อ Node สกว.ทางภาคใต้ได้นะครับผม

  • ขออนุญาตโหลดไฟล์มาอ่านแล้วครับ
  • ขอบคุณครับ

ครับ

ผมว่าหนังสือเล่มนี้ น่าจะเป็น external reading ของหลายวิชาทีเดียว

เช่น

  • การวิจัยในชุมชน
  • การจัดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
  • การจัดการทรัพยากรแบบบูรณาการ
  • การพัฒนาชุมชน
  • การวิเคราะห์ระบบชนบท
  • การพัฒนาแบบบูรณาการ
  • นิเวศวิทยามนุษย์
  • สังคมวิทยาชนบท
  • ฯลฯ

และทรงคุณค่าทางวิชาการอย่างมากครับ

นำการ์ดแห่งมิตรภาพมาให้ค่ะ และจะส่งเสื้อผ้าเด็กlotใหม่ไปให้ใน2-3วันนี้

ความหลากหลายที่ว่านี้ พี่ว่าเป็นเรื่องปกติมาก ในโลกนี้

มนุษย์เกิดขึ้นในสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน

 ในที่แต่ละแห่งมนุษย์ก็ย่อมเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกัน และอยู่ร่วมอย่างสอดคล้องกับธรรมชาติ จึงมีวิถีชีวิตที่แตกต่างกัน

จึงเป็นความหลากหลายทางชีวภาพ กับความหลากหลายทางวัฒนธรรมแต่ ทั้งหมดก็ต้องเชื่อมโยงกันนะคะ

  • เห็นทีผมจะได้อ่านเนื้อหาอีกไม่นานนี้แน่ๆ

สวัสดีค่ะ..อาจารย์เอก

ขออนุญาตเรียกสั้น ๆ แบบนี้นะคะ..จะได้ดูคุ้นเคยกัน..ไม่ว่านะคะ

ไม่ได้คุยกับอาจารย์เอกนานแล้ว..เข้ามาอ่านทุกบันทึกค่ะ..

แบบว่าอ่านแล้ว..รีบย่องกลับค่ะ..เพราะทิ้งงานมาค่ะ..ฮิๆ

อาจารย์เอกคงเหนื่อยมาก..ขนาดงานเยอะล้อมหน้าล้อมหลัง..ผลงานยังปรากฏให้ผู้คนได้ชื่นชมอย่างต่อเนื่อง

ทรัพยากรบุคคลที่ทรงคุณค่าของชาติ..

เห็นทีต้องรีบเข้าร้านสุริวงค์บุ้คซ็นเตอร์แล้วค่ะ..ภาวนาว่าคงได้เป็นเจ้าของหนังสือเล่มเดียวที่เหลืออยู่บนแผง..สาธุ

คงไม่รบกวนเกินไปนะคะ..หากจะขอเรียนเชิญอาจารย์เอกไปเยี่ยมที่บ้านภาษาไทยสักแป๊บหนึ่งค่ะ..(ขอโทษด้วยค่ะ.. link ข้อมูลแล้วไม่ขึ้น เครื่องมือก็ไม่ขึ้นด้วยค่ะ)แป๊บเดียวเท่านั้นค่ะ..

ขอบคุณมากค่ะ..

ขอเป็นหนึ่งกำลังใจในการทำงานหนักให้ด้วยค่ะ..ถึงแม้ว่าไม่ได้ส่งเสียงมา

สวัสดีค่ะ

พี่เข้าไปอ่าน ภาษาสวยมากค่ะ น่าอ่าน แต่อ่านในweb เสียสายตา

จะหาซื้อมาอ่านดีกว่า จัดพิมพ์ได้สวยน่าอ่าน อ่านเพลิดเพลินมากค่ะ

ได้สาระ ทั้งที่เป็นเรื่องหนัก แต่ก็การใช้ภาษาที่สละสลวย ทำให้น่าติดตามมากค่ะ

เป็นเรื่องที่น่าทึ่งสำหรับพี่อีกแล้ว

สวัสดีครับ  น้องเอก

ได้พัฒนาขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง  ดีใจด้วยครับ

สวัสดีครับ

เรียกได้ว่าเป็นการทำงานบนฐานของความหลากหลายมีปัจจัยมากมายที่เกี่ยวข้อง แต่ผมแอบเห็นปัจจัยตัวหนึ่งที่พี่เอกไม่ยอมให้ผันแปร ก็คือ ทัศนคติเชิงบวกต่อความหลากหลาย และพฤติกรรมการเรียนรู้ตลอดเวลา...

  • ระบบนิเวศที่อุดมสมบูรณ์ มีสรรพสิ่งเอื้อการเป็นชีววิถีที่ยิ่งใหญ่ มีชีวิตชีวา 
  • สำเร็จก็ถอดบทเรียนเพื่อขยายผลต่อเนื่อง หากไม่สำเร็จก็ต้องถอดบทเรียนเพื่อหาทางเลือกที่เหมาะสม เรามีเวลาเสมอสำหรับการเรียนรู้ครับ

-----

เที่ยวที่แม่สอดให้สนุกนะครับ : )

เป็นหนังสือที่น่าสนใจครับ เป็นถ่ายทอดประสบการณ์ กระบวนการเรียนรู้ การทำงานกับชุมชนของผู้เขียน...

หนังสือเล่มเล็กพกง่ายครับ ผมซื้อมาฝากเพื่อน ๆ ที่สำคัญผมได้ลายเซ็นต์ของผู้เขียนมาด้วยทุกเล่มครับ...

            

ขอบคุณมากครับ...

ว้า  เรายังไม่ได้อ่าน ช้าไปอีกแล้ว

แต่คิดถึงนะ  และยังอยากไปเยี่ยมยามที่ปาย เสมอ

  • ได้ข่าวว่าไปพบกับ  ผศ.สุนี  และ  ดร.เรขา  พร้อมกับกลุ่มนักศึกษา ป.เอก  และ  ป.โท  กันที่ปาย  สนุกมาก
  • แต่  ดร. เรขา  แอบเล่าให้ฟังแบบขำ ๆ  ว่าโดนกักกันบริเวณให้อยู่แต่ในโรงเรียนคนเดียว  คนอื่น ๆ  ได้ออกท้องที่กันหมด  

เพิ่งทราบว่าเป็นคนเขียนหนึ่งสือ  ยินดีที่รู้จังในอีกหนึ่งบทบาทครับ 

ผมก็เป็นนักอ่านตัวยง และคนเขียนสมัครเล่น  จะหามาอ่านประดับความรู้ครับ

สวัสดีครับคุณอำนวย สุดสวาสดิ์

ทางเวปมีให้โหลดเป็น ไพล์ .pdf ครับ แต่อาจหนาสักหน่อยครับ และแลกเปลี่ยนกับผมได้นะครับ ยินดีเสมอ

สวัสดีครับ ท่าน อ.ดร. แสวง รวยสูงเนิน

ผมกลับมาบ้านแล้ว หลังจากไปแม่สอด-ตากเพื่อไปพักเหนื่อยสองวัน และวันพรุ่งนี้ก็เตรียมไปเป็นวิทยากรให้กับโครงการหลวงอีกครั้ง...ลุยงานต่อครับ

ต้องขอขอบคุณ ความรู้ ความเอื้ออาทรของอาจารย์ที่มีให้ผมตลอดเวลาครับ

-----------

หนังสือถอดประสบการณ์เล่มนี้ มีหลายส่วนที่อยากเพิ่มเติม แต่ขอเป็นแบบแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นประเด็นๆไปก็ได้ครับ

ในบันทึกนี้ผมขอต่อยอด ๓ ประเด็นที่อาจารย์ได้กรุณาสอบถามมา

การแลกเปลี่ยน แบบใช้โทรศัพท์กับ นศ.นั้นดีมากๆครับ ได้มีโอกาสและได้ใช้โอกาสนั้นเพื่อการช่วยสังคมได้อีกทางหนึ่ง นศ.ก็สนใจสอบถามเป็นการ ปฏิสัมพันธ์ที่สุดยอดดีครับ

หากมีประเด็นใดที่จะต่อยอด ขอความกรุณาอาจารย์ตั้งประเด็นคำถามมาได้เลยครับ ผมจะเขียนเพิ่มเติมในบันทึกอื่นๆ

ในความคิดของผมนั้น ผมกำลังจะเพิ่มเนื้อหาหนังสือนี้ออกมาเป็นเล่มใหม่ครับ โดยเพิ่มเนื้อหาที่ได้ตัดออกไป คราบรู๊ฟต้นฉบับ เพราะเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับ เครือข่ายยาเสพติดบางส่วนจึงอาจต้องทบทวนการนำเสนอครับ

ขอบคุณ อาจารย์มากครับ

 

สวัสดีครับ พี่ Sasinanda

ผมต้องขอกราบขอบพระคุณพี่ศศินันท์มากที่ได้ส่งของมาให้เด็กๆ ตอนนี้ผมกระจายไปยังสองโรงเรียนแล้วครับที่มารับที่บ้านผม (โรงเรียนบ้านนาปลามุง และ โรงเรียนแกงหอม (สาขาม้ง)  ยังคงเหลือค้างไว้ ๑ ชุดใหญ๋ให้น้องครูแอน โรงเรียนบ้านเมืองแปง

ในวันก่อนดิเรกMr.Direct มาช่วยผมคัดแยกสิ่งของนั้นที่บ้านผมด้วยครับได้กุศลทั่วหน้า

สวัสดีครับ อ.นเรศมันต์ 

ไม่อยากเชื่อเลยครับว่า ท่าน นเรศมันต์ยังอ่านไม่จบ คุณแม่ผมฝากความคิดถึงมาให้ด้วย มีโอกาสมาเยี่ยมผมและคุณแม่อีกนะครับ

ขอให้มีความสุขนะครับ

คิดฮอดกันวันละน้อย ทยอยฮักกันให้นานนะครับ

สวัสดีครับ ท่าน ศน.วัชราภรณ์ วัตรสุข

ผมได้ตามไปอ่านบันทึกอาจารย์แล้ว 

เป็นเกียรติ และดีใจมากครับที่อาจารย์ได้เอ่ยถึงผมในบันทึก tag คิด (ไม่)ถึง ถือว่าเป็นกำลังใจสำหรับผมได้เป็นอย่างดี

งานผมเป็นงานอิสระครับ ดังนั้นกำหนดปริมาณยาก ทั้งงานสอนที่เข้ามาด้วย ก็ต้องแบ่งเวลาให้เหมาะสม- - -เหนื่อยบ้างแต่ก็สุขดีนะครับ

ขอบคุณที่อาจารย์มาอ่านบันทึกเสมอๆแม้ว่าจะไม่ได้เขียนข้อเสนอแนะไว้ ผมทราบแล้วก็ดีใจแล้วครับ

หนังสือผมมีจำหน่ายที่สุริวงศ์บุ๊คเซนเตอร์ครับ น่าจะยังมีอยู่ครับ

ขอบคุณอีกครั้งครับ

สวัสดีครับวันแห่งความรักครับ พี่อุบล จ๋วงพานิช

ยินดีเป็นอย่างยิ่งครับ ...พอดีหนังสือที่ผมได้รับสำหรับผู้เขียนหมดไปแล้ว หากมีพอจะส่งไปให้ครับ แต่หาซื้อได้ตามร้านหนังสือที่แจ้ง หากไม่มีโทรสั่งซื้อที่ สกว.(สำนักงานภาค)ได้เลยครับ

ขอบคุณมากครับ

สวัสดีครับพี่สิทธิรักษ์

หากมีเวลาพอ ว่าจะไปเยี่ยมถึงเชียงแสนครับ วันนั้นผมกับ ดร.แสวง รีบที่จะไปแม่สายเพื่อทำธุระจนถึง ม.แม่ฟ้าหลวงค่ำมากแล้วครับ

ขอบคุณครับที่ติดตามโทรสอบถามตลอดเวลาที่อยู่เชียงราย...

อ่านหนังสือแล้วแลกเปลี่ยนได้นะครับผม

ขอบคุณครับ

สวัสดีครับคุณกบข้ามสีทันดร

สวัสดีวันแห่งความรักนะครับ

การจัดการความรู้ทำให้เรามองสรรพสิ่งในแง่บวก และแน่นอนว่าคุณกบก็ประจักษ์กับตนเองอยู่แล้วครับว่าการมองบวกเกิดผลดีๆกับเราเสมอ นอกจากมองบวกแล้วเราคงต้องพัฒนามองตามที่มันเป็น แล้วพิจารณา

ทุกอย่างมีโอกาสซ่อนอยู่ทั้งหมด เพียงแต่เราจะค้นหามันเจอหรือไม่ ส่วนหนึ่งเราตกหลุมพรางตัวเองก่อน หลุมพรางที่ว่าเป็นทั้ง การติดกับดักความสำเร็จ วิธีคิดของเราเอง หลายๆปัจจัย

ขอให้มีสุขในการทำงานนะครับ

วันนี้ผมจะเดินทางไปโครงการหลวงวัดจันทร์ไปทำกระบวนการให้กลุ่มแกนนำชุมชน ประเด็นการท่องเที่ยวครับ จะนำบรรยากาศเล่าสู่กันฟัง ตามจริงผมมีเรื่องราวมากมายจะเล่าให้ฟัง ที่เกิดขึ้น มากกว่า ๑๐๐ เรื่อง  :) แต่เขียนไม่ทัน

ติดตามต่อไปครับ

 

ขอบคุณ เพื่อนMr.Direct 
ที่เหมาหนังสือเกือบหมดร้านที่เชียงใหม่ :) ขอให้สนุก ได้เรียนรู้(บ้าง) จากหนังสือที่ผมเขียนนะครับ หากมีประเด็นไหนที่จะต่อยอดยินดีเป็นอย่างยิ่งครับ

-------------------------------------------------

สวัสดีครับ คุณกาเหว่าKawao

สบายดีนะครับ

มีโอกาส และเวลามาเยี่ยมได้นะครับ ผมก็วางแผนไปขอนแก่น ยังไงหาที่นอนให้ผมด้วยนะครับ :)

 

สวัสดีครับป้าเม้า

แก้ข่าวนิดหน่อยครับ

ไม่ได้ไปที่ปายนะครับ เป็นที่ โครงการหลวงห้วยลึก อ.เชียงดาวครับ โรงเรียนมิตรมวลชน พร้อมกับหมู่บ้านใกล้เคียง โดยให้ อ.ดร.เรขา ท่านเฝ้าโรงเรียน

สนุกสนานมากๆครับผม

ได้เครือข่ายเพิ่ม นศ.ป.โท ,ป.เอก

ขอบคุณโอกาสดีๆจาก พี่ ผศ.สุณี ครับผม

สวัสดีครับคุณวาทิน ศานติ์ สันติ

ดีใจครับที่มาเยี่ยมบันทึกของผม

ผมเองก็คนเขียนหนังสือสมัครเล่นครับ มีอะไรเสนอแนะก็เชิญได้เลยนะครับ ในฐานะนักอ่านตัวยง

ส่วนใหญ่สำนวนการเขียนของผมใน บล๊อกกับในหนังสือก็ไม่ต่างกันครับผม

ขอบคุณครับ

เข้ามาเฉพาะฟังเพลงก็ได้นะครับพี่เหลียง  สิทธิรักษ์
ครับ

ไม่คิดตังครับผม พร้อมเสริฟเครื่องดื่มเย็นๆ และเม็ดมะม่วงหิมพานต์ทอดคลุกเกลือ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท