ระบบแลกเปลี่ยนชุมชน ระบบเงินตราชุมชน


   เมื่อวันที่ 17 ก.พ. ได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมกับโครงการวิจัยและพัฒนาระบบแลกเปลี่ยนชุมชนฯ ดำเนินการโดยสถาบันการจัดการเพื่อชนบทและสังคม รับทุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย และเป็นครั้งแรกที่ได้ยิน ได้ฟังเรื่อง "บัตรใจ" "คูปองรู้จักพอ" ที่ใช้หน่วยนับเป็น "ใจ" เช่น 50 ใจ   100 ใจ   และหน่วยนับ "พอ" เช่น 10 พอ   100 พอ  แต่ขอบอกไว้ก่อนว่านี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของระบบแลกเปลี่ยนชุมชนในประเทศไทยเท่านั้น ใครสนใจจะศึกษาเพิ่มเติมและร่วมเรียนรู้ กรุณาติดต่อ สถาบันการจัดการเพื่อชนบทและสังคม โทร 02 5797044

    คณะนักวิจัยให้นิยาม "ระบบแลกเปลี่ยนชุมชน" ว่า เป็นกลไกบางอย่างที่ประชาชนคิดค้นขึ้นมาเพื่อเป็น วิธี เครื่องมือ ในการแลกเปลี่ยนสินค้า บริการ และแรงงาน โดยไม่ต้องจ่ายเงินที่เป็นทางการ นำไปสู่เสรีภาพ การสร้างพลังอำนาจ กำหนดวิถีชีวิตท้องถิ่นของตนเอง และการพึ่งตนเองของชุมชน เป็นการสร้างตลาดบนหลักการเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีหลักการพื้นฐานดังนี้

1) สร้างความหลากหลายทางกิจกรรมของชุมชน

2) สร้างความสัมพันธ์ทางสังคม จัดระบบช่วยเหลือกันและกัน

3) ใช้ทรัพยากร และสมรรถนะของท้องถิ่น

4) สร้างเกราะคุ้มกันทางเศรษฐกิจจากภายนอก

5) เพิ่มมูลค่าให้แก่กิจกรรมทางเศรษฐกิจของท้องถิ่นเพื่อสนองความต้องการของชุมชน

สรุปสั้นๆ ได้ว่า "ใช้จ่ายที่ท้องถิ่น ออมทรัพย์ที่ท้องถิ่น และลงทุนที่ท้องถิ่น"

คมขำ

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 16480เขียนเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2006 08:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท