กลับมาเยือน .. วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร หรือ วัดใหญ่ เมืองพิษณุโลก อีกครั้ง


มาไหว้หลวงพ่อพุทธชินราชกันครับ

วันที่ 23 - 25 มกราคม 2551 ที่ผ่านมา ได้มีโอกาสเดินทางไปจังหวัดพิษณุโลกอีกครั้ง หลังจากครั้งล่าสุดที่มาเยือนก็เมื่อปีที่แล้ว

เนื่องในงานโสต-เทคโนฯ สัมพันธ์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 22 ซึ่งมหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก เป็นเจ้าภาพในปีนี้

ในฐานะศิษย์เก่าจึงต้องไปเยือนและทำหน้าที่เป็นตัวแทนของมหาวิทยาลัยไปด้วย อีกทั้งเป็นการเยี่ยมเยือนอาจารย์ที่ได้สั่งสอนเรามา แต่เรื่องราวเหล่านั้นยังจะไม่กล่าวในบันทึกนี้

เมื่อการประชุมสัมมนาทุกอย่างเสร็จสิ้น ผมและคณาจารย์จึงได้มาเยือน "วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร" หรือ "วัดใหญ่" ที่ชาวพิษณุโลกเรียกกันโดยทั่วไป

ซึ่งไม่ว่าใครที่ผ่านพิษณูโลกเป็นต้องแวะเกือบทั้งหมดทั้งสิ้น อันด้วยความเป็นมงคลต่อตัวเองและคณะเดินทางที่ต้องมากราบนมัสการ "หลวงพ่อใหญ่" หรือ "พระพุทธชินราช" อันเลื่องลือไปทั่วโลกนั่นเอง

 

ประวัติโดยสังเขป 

วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร หรือ วัดใหญ่ เป็นวัดสำคัญที่สุดในจังหวัดพิษณุโลก ตั้งอยู่ริมลำน้ำน่าน ฝั่งตะวันออกริมถนนพุทธบูชา ตำบลในเมือง อำเภอเมือง

เป็นวัดหลวงชั้นเอก "วรมหาวิหาร" ภายในวิหารของวัดเป็นที่ประดิษฐาน "พระพุทธชินราช" หรือชาวพิษณุโลกเรียกว่า "หลวงพ่อใหญ่" ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่ หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 (พญาลิไท) โปรดให้สร้างขึ้นพร้อมกับพระพุทธชินสีห์ ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดสุทัศนเทพวรารามและพระศรีศาสดา ซึ่งประดิษฐานอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร

 

 

พุทธลักษณะของพระพุทธชินราช มีความสวยงาม เส้นรอบพระวรกายอ่อนช้อย พระขนงโก่ง พระเกตุมาลาเป็นเปลวเพลิง พระหัตถ์มีปลายนิ้วทั้งสี่เสมอกัน ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษเรียกว่า "ทีฆงคุลี" ได้รับการกล่าวขานว่า เป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามที่สุดในโลก

 

ด้านซ้ายมือภายในวิหารหลวงพ่อพุทธชินราช

 

 

 

มุมด้านขวาของหลวงพ่อพุทธชินราช

 

 

 

 ด้านซ้ายมือภายในวิหารหลวงพ่อพุทธชินราช 

 

 

 มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศมาชม และสักการะพระพุทธชินราชเป็นจำนวนมาก ทุก ๆ ปีจะมีงานนมัสการพระพุทธชินราชในวันขึ้น 6 ค่ำ ถึง วันขึ้น 12 ค่ำ เดือน 3 เรียกว่า "งานวัดใหญ่"

 

ทางเข้าพระวิหารด้านหน้ามีบานประตูขนาดใหญ่ประดับมุกสวยงาม สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2299 เป็นฝีมือช่างหลวง สมัยอยุธยาตอนปลายในรัชสมัยของสมเด็จพระบรมโกศ

 

 

พระอัฎฐารส

 

บริเวณหลังวิหารพระพุทธชินราช มี "พระอัฏฐารส" ซึ่งเป็นพระพุทธรูปยืนปางห้ามญาติสูง 18 ศอก สร้างในสมัยเดียวกับพระพุทธชินราช ราว พ.ศ.1800 เดิมประดิษฐานอยู่ในวิหารใหญ่ แต่วิหารได้พังจนหมด เหลือเพียงเสาที่ก่อด้วยศิลาแลงขนาดใหญ่ 3 - 4 ต้น เรียกว่า "เนินวิหารเก้าห้อง"

 

เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ปัจจุบันอยู่ระหว่างบูรณะของกรมศิลปากร อยู่ด้านซ้ายมือของภาพ

 

ด้านหลังพระอัฎฐารส เป็นพระปรางค์ประธาน สร้างแบบสมัยอยุธยาตอนต้น ฐานย่อเหลี่ยมไม้ยี่สิบ สันนิษฐานว่า เดิมเป็น เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ (ดอกบัวตูม) ซึ่งถือว่า เป็นสถาปัตยกรรมแบบสุโขทัยแท้ ต่อมาถูกแปลงให้เป็นพระปรางค์ในสมัยอยุธยา

 

นอกจากนี้ยังมี "พระเหลือ" ซึ่งพระยาลิไทรับสั่งให้ช่างนำเศษทองสัมฤทธิ์ที่เหลือจากการสร้างพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดามารวมกันหล่อพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดเล็ก และพระสาวกยืนอีก 2 องค์ ประดิษฐานในวิหารน้อย เรียกว่า "วิหารพระเหลือ"

 

ภาพมุมอื่น ๆ บ้างนะครับ 

 

 

มุมมองลอดช่องประตูวิหารพระพุทธชินสีห์

 

 

พระพุทธชินสีห์

 

 

พระพุทธรูป 3 องค์ ที่อยู่ด้านหน้าของพระพุทธชินสีห์

 

 

ภาพที่แสดงมานี้ ดีบ้าง ไม่ดีบ้าง นะครับ ... มีเวลาเดินถ่ายภาพอยู่ 1 ชั่วโมง ไม่ครบถ้วนกระบวนความเท่าไหร่ แถมฝนทำท่าจะตกอีกต่างหาก ดังนั้น บางภาพจึงเห็นว่า มีเมฆขาวโพนทีเดียวครับ

สิ่งที่ได้จากการเที่ยววัดในครั้งนี้ สำหรับผม คือ การคิดถึงวันเวลาเก่า ๆ ย้อนหลังไป 10 ปี นะครับ ... รับน้อง ก็ต้องมาไหว้พระพุทธชินราช หรือ ยามไม่สบายใจก็จะเข้ามานั่งพักใจในวิหารหลวงพ่อใหญ่ โดยการขี่จักรยานข้ามฝั่งแม่น้ำน่านมา หรือ จะกลับบ้าน ก็ต้องมาแวะซื้อกล้วยตาก เปลี่ยนพระบูชา ที่นี่

หลวงพ่อใหญ่ ทำให้ผมจิตใจสงบทุกครั้งที่ผมเข้ามาในวิหาร ... ท่านที่เคยมาแวะเที่ยววัดแห่งนี้ ท่านรู้สึกเหมือนกับผมหรือไม่ครับ

 

ภาพของหลวงพ่อใหญ่นั้น ผมถ่ายตั้งแต่ผมเรียนถ่ายภาพสมัยปริญญาตรีครับ สมัยเรียนใช้กล้อง Pentax K-1000 ฟิล์มขาวดำ ถ่ายเอง ล้างเอง อัดเอง ... อาจารย์ผู้ประสาทวิชา คือ ท่านอาจารย์สัญญา วันงาม ครับ

ดังนั้น มุมกล้องทุกมุมของหลวงพ่อใหญ่ ผมจะค่อนข้างชินและคุ้นเคยพอสมควร เรียกว่า รู้มุมครับ ยิ่งเห็นมุมด้านข้างขวามือของหลวงพ่อ ถ้าผมจะไม่ผิด มุมนี้ มีนักถ่ายภาพถ่ายไปแล้วได้รางวัลชนะเลิศด้วยนะครับ

 

ก่อนกลับเชียงใหม่ ผมจึงได้เปลี่ยนพระมาบูชาอีก 3 องค์ (มาทีไรได้พระกลับไปบูชาทุกที)

 

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมชมนะครับ

ขอให้หลวงพ่อใหญ่ได้ดูแลรักษาท่านให้มีความสุขทุกคนตลอดไปนะครับ

สาธุ !

 

แหล่งอ้างอิง

ธวัชชัย  ปทุมล่องทอง.  เกร็ดน่ารู้ประเทศไทย ภาคเหนือ.  พิมพ์ครั้งที่ 2.

              กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์น้ำฝน, 2544.

หมายเลขบันทึก: 162157เขียนเมื่อ 29 มกราคม 2008 17:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

สวัสดีค่ะ

แวะมาเยี่ยม และชมวัดใหญ่ จากภาพ   ซึ่ง พุทธลักษณะของพระพุทธชินราช มีความสวยงาม  ชมภาพแล้วจะเข้าใจ เพราะเป็นที่พึ่งและสักการะทุกวัน และช่วงที่ไปเรียนจะไปสักการะ เป็นประจำค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณพี่อาจารย์ wasawatdeemarn 

ไม่อยู่หลายวัน ไปไหว้พระนี่เอง สวยมากเลยค่ะ ขอบคุณนะคะ อ๋อไม่ค่อยได้ไปไหนค่ะ  ขออาศัยไปเที่ยวกับบันทึกคุณพี่ด้วยคนนะคะ

ถ้าคุณพี่สิ้นเนื้อประดาตัวเพราะเดินทางมาละก็นะ วันนี้เอากล้วยน้ำว้ามาฝาก ที่บ้านอ๋อมีกล้วยเป็นดงกล้วยเลยค่ะ ออกเครือทีเเจกกันไม่หวาดไม่ไหว

ไม่ถือว่าแย่งลิงกินนะคะ ไม่ต้องเกรงใจเพราะที่บ้านไม่มีลิงค่ะ มีแต่คนสวย ว่ะ ฮ่ะ ฮ่าๆๆๆๆ

อ๋อค่ะ

C001

สวัสดีครับ  .. คุณ MSU-KM :panatung

  • เป็นศิษย์เก่าเหมือนกันหรือครับ คุณ MSU-KM :panatung
  • ก่อนเรียนจบคงไม่ได้ไปบนท่านหรอกนะครับ อิ อิ
  • สงบงามจริง ๆ ครับ ...

ขอบคุณครับที่แวะมาเยี่ยมเยือนกัน :)

สวัสดี คุณน้องหมอ "อ๋อ"

  • คุณพี่เป็นคนห่างวัด .. ต้องเข้าวัดเสียบ้าง
  • วะ ฮะ ฮ่า ... ขอบคุณครับสำหรับกล้วยน้ำว้าอร่อย ๆ
  • แต่คุณพี่ว่า ลิง = คนสวย นะ 555
  • สงสัยลงบางกอก เห็นที ต้องไปเยี่ยมสวนกล้วยของคุณน้องเสียแล้ว อิ อิ

ขอบคุณนะจ๊ะ แวะมาชมภาพ :)

เคยไปกราบ พระพุทธชินราช มีความสวยงามมากๆค่ะ

อ่านแล้ว มีความสุขสงบจังค่ะ 

สวัสดีครับ พี่ Sasinanda

  • ใช่จริง ๆ ด้วยครับ ... ผมเองก็ห่างวัดมากนะครับ ผมจึงไม่เข้าใจเหมือนกันว่า ทำไมเมื่อผมได้เดินเข้าไปสู่วิหารของท่าน แล้วนั่งลง มองดูผู้คนเข้ามากราบไหว้ แต่ผมกลับไม่รู้สึกพุ่งพ่านแต่อย่างใดครับ ... กลับสงบอย่างบอกไม่ถูก
  • ภาพกับเรื่องราวอาจจะไม่สมบูรณ์นะครับพี่ Sasinanda ผมเองตามเก็บภาพไม่หมด เพียงแต่เอามานำเสนอได้แค่เสี้ยวเดียวเท่านั้นครับ

ขอบคุณครับ พี่ Sasinanda :)

ตามมา  สาธุ

อ.wasawat  ไปเที่ยวปายไหมค่ะ  วันเสาร์-อาทิตย์นี้ค่ะ  มีคนอยากเจอค่ะ

นั่นไง ... ครูเอ ... อิ อิ

ผมมีภารกิจการสอนครับ ... ปิดคอร์สเสียด้วยล่ะ

ให้ ครูเอ ...นำร่องไปก่อนนะครับ

อีกอย่าง ผมเมารถ  และรถก็เมาผม อิ อิ ... ต้องขี่รถเครื่องไปเองอ่ะดิครับ

ขอบคุณครับ :)

ค่ะ สงสัยคนชวนไม่เร้าใจพอ คุณเอกมาชวนเองล่ะกัน  อิอิ

อ้าวไหงงั้นล่ะ ครูเอ แหม ... ติดภารกิจจริง ๆ หนา บ่ได้โม้ครับ :)

อิอิ พูดเล่นค่ะ  ถ้าว่างๆแวะไปนะค่ะ ช่วงนี้ปายหน้าจะกำลังสวย ครูเอตั้งใจจะไปตั้งแต่ ปี่ใหม่แล้ว แต่ล้มเหลวค่ะ  อย่างงัยแล้วปีนี้ต้องไปให้ได้ ต้องขอโทษนะค่ะ หากทำให้เคืองใจค่ะ
  • แหม...มาเยือนเมืองสองแควก็ไม่บอกกันมั่ง
  • หว้าเป็นเด็กหลังวัดใหญ่ค่ะ  วิ่งเล่นอยู่ในวัดเป็นประจำ
  • คุณทวดหว้าท่านเป็นผู้ดูแลวัดใหญ่ในสมัยก่อนค่ะ   ท่านเล่าว่าเวลามีความทุกข์ใจลองเข้ามานั่งในโบสถ์หลวงพ่อพระพุทธชินราชสิคะ  แล้วเราจะรู้สึกดีขึ้นอย่างมากเลยค่ะ
  • ท่านบอกว่าวัดนี้สร้างนานแล้ว   จึงเป็นศูนย์รวมแห่งความศรัทธา พลังใจต่างๆ  เวลาเราเข้ามานั่งนอกจากได้ความสงบแล้ว  ยังได้รับพลังด้านบวกกลับไปด้วย
  • วันนี้ตอนเย็นก็จะไปทำวัดเย็นที่โบสถ์หลวงพ่อกับญาติๆค่ะ
  • ธรรมะสวัสดีนะคะอาจารย์

ว่าจะชวนไปสวนสัตว์เชียงใหม่อ่ะ   ไปดูลิง  ดู...(จุดๆๆ).ตามที่น้องภู่ภู่แนะนำหน่ะ

แต่ท่าทาง พี่ชายเราจะไม่ว่างซะเเล้ว ไปดีก่า ...หุ หุ

สวัสดีครับ ครูเอ

  • เคืองจงเคืองใจอารายกันครับ ไม่มี๊
  • ปาย .. ผมเคยเดินทางไปหลายรอบแล้วล่ะครับ
  • แต่นี่ถ้าไปครั้งต่อไป ... ได้ไกด์กิตติมศักดิ์แน่ ๆ ครับ
  • ไม่ใช่ใครอื่น นอกจาก คุณเอก นั่นแหละ อิ อิ

ขอบคุณครับ ที่ชวน ๆ :)

สวัสดีครับ อ.ลูกหว้า

  • อาจารย์เป็นลูกศิษย์ก้นกุฎิหรือครับนี่
  • อาจารย์เก่งแบบนี้ ได้ศรัทธาและบารมีของหลวงพ่อนี่เองนะครับ
  • จึงได้ทำอะไรประสบความสำเร็จในชีวิต ใช่ไหมครับ
  • ขอบคุณอาจารย์มากครับที่แวะมาทักทาย ไปคราวหน้าจะได้เจออาจารย์ไม๊น้า

บุญรักษา อาจารย์นะครับ :)

สวัสดีครับ น้องหมอ "อ๋อ"

  • อารายจะดูลิง ต้องมาถึงเชียงใหม่ ไม่ต้อง ๆ
  • เขาดินวนานั่นไง ไปดูจิ
  • คนมันธุระเยอะก็งี้ล่ะ น้องหมอ อิ อิ

ขอบคุณครับ :)

  • อาจารย์คะ
  • แวะมาอีกรอบค่ะ   ถ้าใครมาเยือนเมืองสองแควหว้าก็ต้อนรับอยู่แล้วค่ะ
  • เพิ่งพาน้องเอกเมืองปาย มาไหว้พระวัดใหญ่เช่นกัน
  • ถ้าเจ้าถิ่นพามา  จะซอกแซกกว่าคนอื่นนะคะ
  • คราวหน้าจะมานัดกันได้เลยค่ะ

สวัสดีครับ อ.ลูกหว้า

  • ยินดีที่อาจารย์จะให้การต้อนรับครับ
  • เกรงใจมากกว่าครับ
  • จะว่าไป 10 ปีที่แล้ว กับ 10 ปีต่อมา พิด'โลกเปลี่ยนแปลงไปมากเหมือนกันนะครับ

บุญรักษา ครับอาจารย์ :)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท