เสียมเรียบ ปราสาทตาพรหมกับอ้อมกอดมรณะ


“ปราสาทตาพรหม “ มีสภาพพังทลายของตัวปราสาท ก้อนหินก้อนใหญ่ๆถล่มลงมาทับถมกันเกือบทั่วบริเวณ และมีสิ่งที่เป็นจุดเด่นของปราสาทที่นี่ก็คือ มีต้นไม้แผ่ราก แผ่กิ่งไชชอนเข้าไปรัดโอบก้อนหินของปราสาท ซึ่งเป็นอย่างนี้มานานนับร้อยๆปี ต้นไม้ที่นี่อายุเก่แก่เลยมีขนาดใหญ่มาก

ผู้คนจะคุ้นตาภาพของปราสาทหลังนี้ แม้ว่าจะไม่เคยรู้จักชื่อ หรือจำชื่อของปราสาทนี้ไม่ได้   เป็นปราสาทที่มีความดังไปทั่วโลก เพราะปราสาทหลังที่ว่านี้เป็นฉากในภาพยนตร์ผจญภัยเหนือจริง เรื่อง Lara Croft – The Tomb Raider     ที่แสดงโดย ดาราสาวสุดสวยและเซ็กซี่ แองเจลีน่า โจลี 

 

ปราสาทตาพรหม มีสภาพพังทลายของตัวปราสาท ก้อนหินก้อนใหญ่ๆถล่มลงมาทับถมกันเกือบทั่วบริเวณ และมีสิ่งที่เป็นจุดเด่นของปราสาทที่นี่ก็คือ มีต้นไม้แผ่ราก แผ่กิ่งไชชอนเข้าไปรัดโอบก้อนหินของปราสาท ซึ่งเป็นอย่างนี้มานานนับร้อยๆปี ต้นไม้ที่นี่อายุเก่แก่เลยมีขนาดใหญ่มาก

  

 

With its millions of knotted limbs, the forest embraces the ruins with a violent love

Elie Faure, Mon Periple

   

 

มีผู้เขียนไว้ว่า ต้นไม้ นี้เรียกกันว่า ต้นสะปง ในไทยเรียกว่า ต้นสมพงษ์ฝรั่งเศส เรียกว่า Eponge หรือ Sponge ในภาษาอังกฤษ ที่แปลว่าฟองน้ำ หรือโปร่ง ยุ่น  เป็นการอยู่ร่วมกันแบบสมพงษ์ตามชื่อ  แยกกันไม่ได้เด็ดขาด ซึ่งดูสวยและขลังดี  การแยกตัดต้นไม้และรากออก จะทำให้ก้อนหินที่มันเกาะกุมอยู่ ไร้ที่ยึดเหนี่ยว ก็จะโค่นล้มลงได้ 

   

ทางวิชาการชี้ว่า ป่าเขมรอยู่ในเขตมรสุม เมื่อเหล่าวัด ปราสาทหินถูกทิ้งร้าง ป่าจึงเข้ายึดพื้นที่(คืน) โดยมีพืชจอมทำลายอยู่สองชนิด ที่ก่อความเสียหาย พังทลาย แก่ปราสาทหินของเขมรนั้น ไม่ทราบว่าชนิดใดคือ ต้นสะปง

·       Strangler Fig (Ficus gibbosa) เจ้าต้นนี้มีผู้เรียกว่า Fig จอมรัด นำเสนออ้อมกอดมรณะ ที่จริงเป็นความรักดุเดือดที่ทำลาย มากกว่าจะเป็นความสมพงษ์ของหินกับต้นไม้

·       Silk-Cotton Tree (Ceiba pentandra) ต้นไม้ชนิดนี้ จะมีสีซีดขาวและขนาดใหญ่กว่า ฟิกจอมรัด

 เมล็ดของพืชทั้งสองชนิดจะถูกนำไปยังปราสาทหินร้างต่างๆโดย นก กล่าวคือ นกกินลูกไม้พวกนี้พอมาเกาะพักตามหลังคาปราสาท หรือกำแพง ถ่ายมูลไว้ เมล็ดก็จะงอก ทะลุทะลวงลงไปตามรอยต่อ หรือ งอกงามปิดห้อมล้อม คลุมสิ่งก่อสร้างส่วนนั้น 

เมื่อต้นไม้ค่อยๆเติบโต รากหนาใหญ่ขึ้น หินก็ถูกดันให้เคลื่อนออกจากจุดเดิม หรือเมื่อต้นไม้ตาย รากก็จะเน่า หินไม่มีอะไรยึด ก็พังทลายลง  ภาพปราสาทที่พัง เห็นก้อนหินล้มทับกันระเกะระกะ แล้วยังมีต้นไม้ขนาดใหญ่มาโอบก้อนหิน ดูเหมือนสภาพของดินแดนสนธยาอันลึกลับ

  

ปราสาทตาพรหม  เป็นศิลปแบบบายน  สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งโปรดให้สร้างขึ้นในปีพ.ศ.1729 หลังขึ้นครองราชย์ได้ราว 5 ปี สร้างขึ้นในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน อุทิศถวายแด่พระมารดาของพระองค์ คือ พระนางชัยราชจุฑามณีที่สิ้นพระชนม์ไป ชื่อเดิมของศาสนสถานแห่งนี้คือ ราชวิหาร หรือวัดของพระราชา (แต่ในปัจจุบันเรียกกันว่า ตาพรหม ซึ่งแปลว่าพระพรหมผู้เฒ่า)

<p>
ปราสาทตาพรหมมีขอบเขตกว้างใหญ่คล้ายกับเป็นเมืองเล็กๆ เมืองหนึ่ง เพราะมีชุมชนตั้งอยู่ในเขตของศาสนสถานด้วย จารึกปราสาทตาพรหม กล่าวว่า มีผู้คนอาศัยอยู่ถึง 12,640 คน มีพระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่ 18 รูป มีพระสงฆ์ 2,740 รูปและเณรอีก 2,232 รูป ปราสาทตาพรหมเป็นศาสนสถานที่มีความมั่งคั่งมากเพราะได้รับผลประโยชน์จากหมู่บ้านที่ตั้งอยู่รอบนอกถึง 3,140 แห่ง </p>
<p>กล่าวว่าปราสาทตาพรหมนั้น การก่อสร้างก็ทำเพียงหยาบๆ และรูปทรงก็ไม่ได้สัดส่วนงดงาม ซึ่งต่างจากสมัยก่อนๆ นักประวัติศาสตร์ศิลปะที่ศึกษาศิลปเขมรจึงกล่าวว่า สิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ที่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เริ่มแสดงให้เห็นถึงความเสื่อมถอยทางศิลปะสถาปัตยกรรม </p><p>
 ปราสาทตาพรหมมีภาพสลักในพุทธศาสนาที่สำคัญ 3 แห่ง คือ
1.
ภาพเล่าเรื่องพุทธประวัติตอนเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์
2.
ภาพพุทธประวัติตอนมารวิชัย
3.พุทธประวัติในช่วง 7 สัปดาห์หลังการตรัสรู้  </p>

 

</span><p>
 
การชมปราสาทตาพรหมต้องเดินไกลสักหน่อยเพราะตัวปราสาทนั้นสร้างอยู่ใจกลางกำแพงที่ล้อมรอบมีความกว้าง 700 เมตร ยาว 1,000 เมตร ซึ่งหมายความว่าต้องเดินไม่น้อยกว่า 1 กิโลเมตร  </p><p>กว่าจะถึงกำแพงปราสาทก็เดินไกล เขาทำทางเดินกว้างผ่านทะลุป่า เดินเข้าชมทางหนึ่งแล้วไปโผล่ที่ทางออกอีกด้านหนึ่ง เดินกันหอบ ก่อนถึง ขาเข้าไปเจอวงดนตรีแบบเขมรเดิม เล่นโดยคนพิการจากการโดนกับระเบิด ตั้งที่นั่ง ที่เล่น กันใต้ร่มไม้เป็นเรื่องเป็นราว คงได้รับอนุญาตอย่างเป็นทางการ </p><p>เดินไปอีกหน่อย เห็นฝรั่งยืนดูกลุ่มเด็กๆผู้หญิงเขมร อายุไม่กี่ขวบ ขะมุกขะมอม เขาเอาใบไม้มาเย็บสวมหัวเป็นหมวกยืนริมทาง ร้องเพลงแล้วทำท่ายกมือ ยกไม้ น่าเอ็นดู กำลังจะถ่ายรูป ปรากฏว่ามีเจ้าหน้าที่ขี่จักรยานมา เด็กๆเลยวิ่งปรู๊ดหายเข้าไปในป่า แต่พอเจ้าหน้าที่ไป เราเดินเลยมาไม่เท่าไหร่ มีอีกกลุ่มโผล่ออกมาจากป่า เป็นกลุ่มเด็กผู้ชาย มีหมวกใบไม้เหมือนกัน ออกมาร้องเพลง รีบถ่ายรูปไว้ได้ เด็กพวกนี้ไวมาก พอเจ้าหน้าที่มาก็แว๊บหายเข้าไปในป่า ดูหน้าตาน่าสงสารร้องเพลงไปด้วย ระวังไปด้วย </p><p> </p><p> </p><p>ชมเสร็จร้อนและหมดแรง คณะพากันออกมาหาน้ำมะพร้าวดื่ม ชอบใจเห็นเขาเฉาะปากมะพร้าวเป็นแฉกสามเหลี่ยม ไม่เคยเห็นแบบนี้ในบ้านเรา แต่เหมือนที่เคยเห็นที่บราซิล พอดื่มน้ำหมด ขอให้เขาผ่า เพราะเราอยากทานเนื้อมัน เขาแถมถากเปลือกแข็งด้านข้างมาทำช้อนตักให้ด้วย </p><p>   </p><p> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ได้กลับไปทานกลางวันที่ตัวเมืองเสียมเรียบ เป็นบริเวณที่พัฒนาเป็นย่านร้านอาหารแบบทันสมัย แนวรับนักท่องเที่ยวฝรั่ง ตกแต่งเก๋ไก๋ สวยงาม อยู่ไม่ไกลจากตลาดเก่า ซึ่งอยู่เลียบแม่น้ำ ขอปิดท้ายด้วยอาหารสวยงามสองจาน</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">จานแรก คือ ยำมะม่วงปลากรอบ เสิร์ฟมาในกาบหัวปลี อร่อยมาก </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p> </p><p> </p><p>อาหารจานหลักกลับเป็นหมูต้มซีอิ๊วกับมีแครอท ดูไม่สวยเท่าไหร่และไม่เป็นเขมร เลยไม่ได้เก็บภาพมาให้ชม  </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">จานสุดท้ายคือ ของหวาน เป็นผลไม้ย่าง ราดด้วย น้ำหวานๆเค็มๆ เหมือนน้ำราดกล้วยปิ้งบ้านเราเลย แต่เขาคุยว่าใช้น้ำผึ้งป่าจากเขาพนมกุเลน ที่เป็นแหล่งหินทรายนำมาสร้างปราสาททั้งหลายในอังกอร์
Dessert 
</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">รสชาติอาหารคุ้นปาก หมดทุกจานค่ะ</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">แม้เพียงช่วงเวลาไม่กี่วันที่เสียมเรียบ เราก็ได้ความรู้มากมาย ที่สำคัญได้ทำความรู้จักเพื่อนบ้านของเราดีขึ้น มากพอที่เราจะชื่นชม เข้าใจ และประทับใจกับประวัติศาสตร์ของเขาและความเป็นเขาในปัจจุบันด้วย</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p> หมดเรื่องกิจกรรมคร่าวๆจากเสียมเรียบแล้วค่ะ ครั้งหน้าไปที่ พนมเปญ กันนะคะ </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">(เห็นคำผิดเลยเข้ามาแก้และปรับชื่อเรื่องให้น่าตื่นเต้นขึ้นอีกนิดค่ะ ๒๖ ม.ค. ๒๕๕๑)</p>

หมายเลขบันทึก: 161334เขียนเมื่อ 25 มกราคม 2008 13:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (24)
ปราสาทตาพรหมที่เขาทิ้งไว้แบบนี้ก็สวยดีนะคะพี่ ดูขลังอย่างแรง โดยเฉพาะเมื่อมีเจ้าฟิกจอมรัดมาซอกซอนไชตัวปราสาทไว้ มันทำให้ดูสวยอย่างประหลาด เพราะถ้าอนุรักษ์ขึ้นมาก็อาจจะสวยสู้ที่อื่นไม่ได้ ปล่อยไว้อย่างนี้มีเสน่ห์กว่าเยอะ ลึกลับดี

สงสารเด็กๆ จัง แต่หนูว่าดีกว่ามาขอตังค์เฉยๆ นะ ร้องเพลงให้ฟังนี่ถือเป็นการแลกเปลี่ยน เจ้าหน้าที่เขาก็ทำไปตามหน้าที่ค่ะ ต้องป้องปรามไม่งั้นป่านนี้พวกพี่อาจจะถูกรุมทึ้งจากกองทัพเด็กได้ ส่วนอาหารนี่ก็น่ากินดีนะคะ ยำมะม่วงปลากรอบนี่ฟังดูดีเชียว ง่ำๆ

สวัสดีค่ะ คุณพี่นุช

  •  คุณพี่เขียนได้ดีจังค่ะ  อ่านแล้ว  เหมือนได้ไปด้วยค่ะ  เห็นมะพร้าวแล้วชื่นใจ  เห็นยำมะม่วงก็หิวขึ้นมาทันที
  • ครูอ้อยกลับบ้านก่อนค่ะ  หิวแล้วค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ใช่ค่ะน้องซูซานP ได้เห็นแบบนี้ทำให้พอจินตนาการถึงปราสาทหินอื่นๆที่ตกอยู่ในสภาพเดียวกันในห้วงเวลาอดีตที่ยังไม่มีการค้นพบ อ่านพบว่าคณะผู้บูรณะได้ตกลงที่จะปล่อยปราสาทตาพรหม ไว้สักแห่งโดยไม่บูรณะ เพื่อให้คนได้เห็นสภาพที่เกิดขึ้นครั้งอดีต เป็นความคิดที่เยี่ยมมากนะคะ

พี่เห็นรูปปราสาทตาเมือนธม ที่สุรินทร์ ก็มีต้นไม้งอกลุมปราสาทคล้ายๆกันกับที่ตาพรหมนี้ เพียงแต่ปราสาทดังกล่าวไม่มีชื่อเสียงเท่าตาพรหมค่ะ

ขอบคุณคุณครูอ้อย P ที่มาแวะอ่านเรียกน้ำย่อยนะคะ แถมชมซะอีกแน่ะ

สวัสดีค่ะพี่นุช

อ้อมกอดมรณะ ชื่อนี้เป็นชื่อที่หวานและุดุไปในตัวจริงๆ ชวนติดตามมากเลย

พอเห็นภาพอ้อมกอดของเจ้าฟิกจอมรัดแล้วก็รู้สึกว่าสมชื่อจริงๆ นะคะ

ตอนแรกเจ้าฟิกก็มาอาศัยกำแพงหรืออิฐเป็นฐานให้ตัวเองเติบโตได้  แต่ตอนหลังกลับเป็นว่ากำแพงจะล้มถ้าตัดเจ้าฟิกออกไปนะคะ

จะว่าเป็นน้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่าก็คงใช่แหละนะคะ ไม่เช่นนั้นปราสาทตาพรหมนี้อาจจะกลายเนินหินที่เป็นแนวกำแพงเท่านั้น

ขอบคุณสำหรับประสบการณ์ดีๆ เช่นเคยค่ะ ^ ^ 

Pสวัสดีค่ะอาจารย์กมลวัลย์ ทั้งขนาด และการรัดของรากไม้ที่เห็นที่ปราสาทนี้ทำให้รู้สึกว่าเราตัวนิดเดียว แต่ปราสาทตาพรหมนี้ที่จริงมีอะไรให้ดูมากกว่ารากไม้ยักษ์จอมรัด แต่มัวไปตื่นตากับภาพจากธรรมชาติที่เห็น เลยไม่ค่อยได้สนใจที่งานศิลปะค่ะ(
  • คุณนายเล่าได้สนุกดีค่ะ แถมมีภาพประกอบให้ได้ความรู้อีกต่างหาก
  • แล้วจะได้เก็บข้อมุลไว้เผื่อได้ไปเที่ยวค่ะ
  • เคยไปแถวจำปาสักที่ลาว มีปราสาทที่ก้อนหินพังมากองๆ อาจจะไม่มีต้นไม้ใหญ่ยึดไว้แบบนี้ก็ได้มังคะ
  • ที่ปราสาทเขาพนมรุ้งของเมืองบุรีรัมย์ ประเทศไทยบูรณะ ก็จะเห็นลวดลายของหินสลัก งามไปอีกแบบ แถมนึกภาพว่าในอดีตคงมีอะไรมากๆเกิดขึ้น ที่คงเป็นศิลปวัฒนธรรมที่ดีๆของท้องถิ่น  ยังไปแอบหลงรักต้นโพธิ์ที่งามแผ่กิ่งก้านสาขาสวยงามค่ะ ชมภาพได้ที่นี่นะคะ http://www.thaifolk.com/image/panomrung/more1/panomrung_album.htm

สวัสดีค่ะ

อ่านแล้ว ต่อไป ต้องไปให้ได้ค่ะ พาหลานไป เอ ต้องฉีดวัคซีนอะไรก่อนไปไหมคะ เป็นห่วงหน่อย 

วันนี้ ตั้งใจจะเข้ามาแต่เช้า แต่พอดีไปสัมนา ทั้งเช้า-บ่ายค่ะ

ชอบอ่านเรื่องแบบนี้ค่ะ ได้ความรู้มากค่ะ และยังไม่เคยไปค่ะ

คิดถึงค่ะ ... 

สวัสดีค่ะพี่นุช

ตามมาดูรอบที่ 3 ค่ะ เพราะเห็นด้วยกับน้องซูซานว่าปล่อยไว้อย่างนี้ดูขลังดีและเผอิญได้ทราบรายละเอียดในเรื่องของการก่อสร้างปราสาทนี้เพิ่มเติมน่ะค่ะ เลยเอามาฝากพี่นุช

เค้าบอกว่าปราสาทตาพรหมถูกสร้างเคียงคู่กับปราสาทพระขรรค์ ซึ่งพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงถวายอุทิศให้กับพระราชบิดา ปราสาทตาพรหมนี้สร้างหลังปราสาทพระขรรค์เพียง 5 ปีค่ะ

ที่น่าประหลาดใจคือพิธีในปราสาทยุคนั้น ซึ่งจารึกกล่าวถึงบรรดาผู้ที่เกี่ยวข้องและสิ่งของเครื่องใช้ในการสร้างปราสาทแห่งนี้คือ ต้องใช้จำนวนคนและบรรดาทรัพย์สินจากหมู่บ้านจำนวนถึง 3,140 หมู่บ้าน ใช้คนทำงานถึง 79,365 คน และจำนวนนี้มีพระชั้นผู้ใหญ่ 18 รูป เจ้าหน้าที่ประกอบพิธี 2,740 คน ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่ประกอบพิธี 2,202 คน และนางฟ้อนรำอีก 615 คน ดูจะเป็นพิธีการสร้างที่กอรปไปด้วยพิธีที่ยิ่งใหญ่มากเลยนะคะ  แล้วการสร้างนครวัดล่ะคะจะอลังการและเนิ่นนานเพียงใด?

สำหรับทรัพย์สมบัติของที่นี่ก็มีจานทองคำำ 1 ชุดหนักกว่า 500 กิโลกรัม และชุดเงินเพชร 35 เม็ด ไข่มุก 40,620 เม็ด หินมีค่าและพลอยต่างๆ 4,540 เม็ด อ่างทองคำขนาดใหญ่ ผ้าบางสำหรับคลุมหน้าจากประเทศจีน 876 ผืน เตียงคลุมด้วยผ้าไหม 512 เตียง ร่ม 523 คัน ยังมีเนย นม น้ำอ้อย น้ำผึ้ง ไม้จันทน์ การบูร เสื้อผ้า 2,387 ชุดเพื่อแต่ง รูปปั้นต่างๆ กล่าวกันว่าความฟุ่มเฟือยฟุ้งเฟ้อนี้เองเป็นเหตุให้เกิดความล่มสลายของอาณาจักรขอมในเวลาต่อมาน่ะค่ะพี่นุช

จากที่พี่นุชพาไปเที่ยว ทำให้เห็นชัดว่าเค้าจงใจปล่อยให้อยู่กับธรรมชาติเลยนะคะ เห็นว่าหลังจากการค้นพบปราสาทต่างๆ โดยชาวฝรั่งเศส ก็พบว่าปราสาทนครวัดเองก็อยู่ในลักษณะเช่นนี้ก่อนที่จะมีการบูรณะในต้นพุทธศตวรรษที่ 25

ในขณะที่ปราสาทตาพรหม กลับถูกเก็บรักษาไว้เพื่อให้เห็นสภาพที่แท้จริงว่าปราสาทอยู่กับธรรมชาติมาได้เกือบ 500 ปีได้อย่างไร ถือเป็นอีกมุมมองหนึ่งที่น่าสนใจนะคะ เพื่อให้เห็นลักษณะของต้นไม้ที่เกาะกุมปราสาทแบบฟิกจอมรัด  และต้นสะปง  เพราะ   เดิมก่อนสร้างปราสาทนั้นสภาพบริเวณนี้เป็นป่ามาก่อนนี่คะ เมื่อจะสร้างปราสาทจึงต้องเคลียร์พื้นที่ให้เป็นที่โล่ง โดยการตัดไม้ออกแต่ในที่สุดแล้วธรรมชาติก็สามารถที่จะเอาชนะถาวรวัตถุที่ถูกสร้างจากมนุษยได้์ ต้นไม้ที่เกาะกุม ชอนไชไปเรื่อยๆ ไปยังส่วนต่างๆของปราสาท ช่วยให้บรรยากาศของปราสาทตาพรหมดูลึกลับ สวย ไม่เหมือนปราสาทที่อื่นๆเลยล่ะค่ะ

ขอบพระคุณมากค่ะสำหรับการพาเที่ยวที่ดีๆ ถึงไม่ได้ไปด้วยตัวเองก็มีความสุขที่ได้พบเห็น  ขอบพระคุณมากๆค่ะ ^ ^

สวัสดีค่ะคุณพี่ศศินันท์P ไปกัมพูชานั้นไม่เห็นใครเตือนให้ต้องฉีดวัคซีนหรืออะไรเลยค่ะ และที่จะไปเที่ยวนั้นดูๆก็มีการจัดการความสะดวกพอสมควร ไม่เป็นสภาพป่ารกชัฏที่อาจมีไข้ป่า รถที่นั่งไปเป็นของบริษัททัวร์ก็สะอาด สภาพดี หากเป็นเด็กคิดว่าระวังเรื่องความสะอาดของอาหารและน้ำก็คงพอ ที่พักก็สะอาด อาหารในโรงแรม และย่านนักท่องเที่ยวก็ดูสะอาดทีเดียวค่ะ

คิดถึงเช่นกันค่ะ ขอบคุณมากนะคะ

ขอบคุณนะคะคุณP ใบบุญ ที่ส่งลิงค์มาให้ตามไปชมภาพปราสาทพนมรุ้ง เคยพาเพื่อนต่างประเทศไปมาครั้งหนึ่ง หลายปีมาแล้วค่ะ สวยงามมากจริงๆ เราไม่ได้มีไกด์ไปอ่านเรื่องเอาเองจากเอกสาร ไม่สนุกและจำเรื่องราวได้เหมือนไปกับไกด์อาชีพนะคะ วันที่ไปมีนักเรียนไปชมเต็มไปหมดเลยค่ะ

ขอบคุณคุณเบิร์ดP ที่มาเติมเต็มข้อมูลศิลปวัฒนธรมขอมให้อีกครั้งค่ะ จินตนาการเมื่อคราสร้างปราสาทตาพรหม ตามที่คุณเบิร์ดเล่ามาแล้วเห็นถึงความศรัทธาและแรงงานของเขาตลอดจนทรัพย์ที่ใช้ ไม่ค่อยแปลกใจที่หลังจากสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ความเสื่อมเริ่มมาเยือน ก็เล่นใช้ทรัพยากรทุกด้านขนาดนั้นนะคะ

เมื่อวันก่อนอ่านหนังสือพิมพ์มติชน (๑ กุมภาพันธ์ )บทความของคุณสุจิตต์ วงษ์เทศ เรื่อง "กรมศิลปากรต้องเผยแพร่ความรู้ปราสาทเขาพระวิหาร ที่เป็นจริง ไม่ปลอม" และในหน้าเดียวกัน "ปราสาทเขาพระวิหาร พื้นที่ เครือญาติ บรรพชนพระราชากัมพูชา" ได้ความรู้และแง่คิดที่น่าสนใจหลายประการเลยค่ะ ไม่ทราบคุณเบิร์ดได้อ่านหรือเปล่า

สวัสดีค่ะพี่นุช

เบิร์ดไม่ได้อ่านค่ะ แต่หัวข้อน่าสนใจมากเลยค่ะ

เบิร์ดนั่งทบทวนดูเรื่องราวของการปักปันเขตแดน และประวัติศาสตร์ีที่ผ่านมา จะพบว่าทั้งพี่บางทราย ท่านพลเดช หรือพี่นุชก็ได้ชี้ให้เห็นชัดว่าเราเรียนรู้ประวัติศาสตร์ผ่านสายตาคนต่างชาติโดยเฉพาะฝรั่งเศส

ฝรั่งเศสในขณะนั้นถือเป็นชาติมหาอำนาจชาติหนึ่งเลยนะคะที่เข้ามาศึกษาประวัติศาสตร์แม้แต่ขนบธรรมเนียม ประเพณี เผ่าพันธุ์เชื้อชาติของแถบเอเชียอาคเนย์

ผลที่ตามมาก็คือ เมื่อเกิดมีการพิพาทกันเรื่องการเมืองและดินแดน ฝรั่งเศสได้ใช้เรื่องราวทางประวัติศาสตร์โบราณคดี และชาติพันธุ์ที่นักวิชาการของตนสร้างและทางฝ่ายไทยยอมรับ เป็นข้ออ้างในการยึดครองและอ้างความชอบธรรมของฝรั่งเศสกับทางรัฐบาลไทย  แม้แต่กรณีเขาพระวิหารก็ดูจะไม่พ้นเรื่องราวนี้เลยนะคะ

ประเทศมหาอำนาจที่เป็นจักรวรรดินิยมในขณะนั้น มีแนวคิดและวิธีการที่ชาญฉลาดเป็นอย่างยิ่งในการล่าอาณานิคม เพราะไม่เพียงแต่การใช้อำนาจทางการทหารและอาวุธเท่านั้น ยังมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงสังคม วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์กลุ่มคนที่ต้องการยึดครองอีกด้วยน่ะค่ะพี่นุช

ดูเหมือนเราจะอ่อนด้อยในเรื่องการให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ดังกล่าว เลยไม่มีการทำให้เกิดความเชื่อมโยงเพื่อเกื้อหนุนซึ่งกันและกันใน การที่จะอธิบายถึงเรื่องกลุ่มชนและท้องถิ่นในด้านสังคมและวัฒนธรรมจึงขาดความลึกซึ้ง..น่าเสียดายนะคะพี่นุช

แม้แต่การศึกษาเขาพระวิหารก็ดูเหมือนเราจะขาดความสนใจในเรื่องนี้ เน้นแต่โครงสร้าง สถาปัตยกรรม แต่เหตุใดถึงเลือกชัยภูมินี้   และการสร้างทำไมถึงมีทางขึ้นทางนี้ ในการสร้างศาสนสถานแบบที่เบิร์ดยกมาคุยกับพี่นุช ก็จินตนาการได้ว่าต้องใช้ทั้งกำลังคน กำลังทรัพย์มากมาย หมู่บ้านที่รายรอบในเขตนั้นจึงไม่น่าจะเป็นหมู่บ้านธรรมดา  เพราะต้องมีทั้งนักบวช พราหมณ์ผู้กระทำพิธี ข้าทาสบริวาร  ตามลำดับชั้นของการปกครองในสมัยนั้น แต่สิ่งเหล่านี้เราศึกษาน้อยมากเลยค่ะ

เบิร์ดจำได้เลาๆว่ารู้สึกจะมีจารึกของวัดศรีชุม สุโขทัยที่จารไว้ว่าี่พ่อขุนผาเมืองเป็น“ลูกเขย”กษัตริย์กัมพูชาที่นครธมน่ะค่ะพี่นุช แสดงว่ายุคนั้นเขมรรุ่งเรืองมากเลยนะคะ และคนไทยอีสานก็น่าจะมีวงศ์วานว่านเครือเชื้อสายกัมพูชาอยู่ด้วยเช่นเดียวกัน

เรื่องนี้น่าสนใจจังค่ะไม่ทราบพี่นุชพอเล่าต่อได้มั้ยคะ 

ข้อสังเกตของคุณเบิร์ดP นั้นใช่เลยค่ะ และเป็นประเด็นสำคัญทั้งการที่เรารู้และเชื่อประวัติศาสตร์ผ่านสายตาฝรั่ง โดยเฉพาะ ฝรั่งเศส  และเรื่องความสัมพันธ์ของเราต่อประเทศเพื่อนบ้าน ที่ประวัติศาสตร์แบบของเราวางเราให้เหนือกว่าและดีกว่าประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งนับว่าเป็นภาวะของการมองไม่เห็นความจริงตามที่เป็นอยู่

บทความที่ตีพิมพ์นี้(ในมติชน ศุกร์ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑)ปรับปรุงจากบทความเรื่อง ศรีษะเกษ เขตเขมรป่าดง ของอาจารย์ ศรีศักร วัลลิโภดม พี่คัดมานิดๆหน่อยๆเท่านั้นนะคะ

  • ส่วนกรอบเล็กในบทความที่ตีพิมพ์นี้กล่าวถึงการที่ประเทศจักวรรดินิยมฝรั่งเศสเป็นผู้มีบทบาทมากที่สุดที่ส่งนักวิชาการสาขาต่างๆเข้ามาสำรวจค้นคว้าด้านประวัติศาสตร์ศิลป์และโบราณคดี ถึงกับมีการตั้งสถาบันการศึกษาชื่อ "สำนักฝรั่งเศสแห่งปลายบูรพาทิศ" เพื่อค้นคว้าประวัตฺศาสตร์โบราณคดี สังคมและวัฒนธรรมของบ้านเมืองในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์

การที่นักปราชญ์นักวิชาการฝรั่งเศสเข้ามาศึกษาค้นคว้าในประเทศไทย นับว่าได้สร้างความก้าวหน้าให้แก่วงการวิชาการทางด้านโบราณคดีและประวัติศาสตร์ทางวัฒนธรรมในดินแดนประเทศไทยเป็นอย่างสูง ทำให้นักปราชญ์นักวิชาการของไทยสมัยนั้นเชื่อถือและใช้อ้างอิงอย่างไม่มีการทบทวนถึงเจตนาที่แอบแฝงและซ่อนเร้น

ผลที่ตามมาก็คือเมื่อมีกรณีพิพาทกันเรื่องการเมืองและดินแดน ฝรั่งเศสได้ใช้ผลงานวิชาการที่ตนเองสร้างขึ้นและทางฝ่ายไทยยอมรับเป็นข้ออ้างในการเข้ายึดครองและอ้างความชอบธรรมของฝรั่งเศสกับรัฐบาลไทย

แม้ว่านักวิชาการต่างชาติบางชาติก็มีความดีอยู่ แต่ก็มีหลายพวกโดยเฉพาะนักล่าอาณานิคมฝรั่งเศสนั้นมักแฝงเข้ามาในรูปของนักบุญคนบาป เช่น ม.ปาวี เป็นต้น

บทความนี้ได้สรุปประเด็นนี้ว่า เป็นที่น่าเสียใจอยู่ก็คือว่า ทั้งๆที่รู้ว่านักวิชาการเหล่านั้นเอารัดเอาเปรียบประเทศไทยอย่างไร บรรดาคนไทย นักวิชาการไทยเป็นจำนวนมากก็ยังเห็นว่าเขาดี เขาถูกต้อง เพราะว่าพวกตนมีความสัมพันธ์ในฐานะเขาเป็นครู ผู้อบรมสั่งสอนวิชาให้ ก็ยังคงหวังพึ่งพาเพื่อประโยชน์ส่วนตัวอยู่เรื่อยๆ

  • ในบทความหลัก กล่าวถึงความสำคัญของปราสาทเขาพระวิหารว่าแผนผังและสภาพแวดล้อม ที่ปราสาทแห่งนี้ตั้งอยู่บนยอดเขาที่สูงที่สุดลูกหนึ่งบนเทือกเขาพนมดงรัก สูงโดดเด่นอยู่เหนือเทือกเขา กระตุ้นให้คิดไปถึงการที่เป็นที่สถิตของเทพเจ้าผู้ทรงอานุภาพ 

แม้ว่าเทวาลัยแห่งพระศิวะจะอยู่ในตำแหน่งที่มองลงสู่เขมรต่ำของกัมพูชา แต่เทวาลัยก็หันหน้าลงสู่ที่ราบสูงโคราชในลักษณะที่สอดคล้องกันกับทางขึ้นที่มีโคปุระอยู่ทุกระดับความสูง ตั้งแต่ตีนเขามายังยอดเขา ทำให้ตีความไปเป็นอื่นไม่ได้ว่าปราสาทแห่งนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นศาสนสถานสำคัญของบ้านเมืองในภูมิภาคนี้ด้วย เพราะผู้คนจากกัมพูชาในแดนเขมรต่ำ หากจะพากันมากราบไหว้และทำพิธีกรรม ถ้าหากไม่เข้ามาในที่ราบสูงโคราชก่อนก็ต้องปีนป่ายเข้ามาทาง บันไดหัก ที่สูงชันและแสนลำบาก

ปราสาทเขาพระวิหารมีลักษณะที่คล้ายคลึงกับปราสาทวัดภูในเขตเมืองจำปาศักดิ์ ในประเทศลาวอย่างมาก ทั้งปราสาทเขาพระวิหารและปราสาทวัดภูเป็นศาสนสถานที่นักวิชาการกล่าวว่าตั้งอยู่ในตำแหน่งที่เป็นกลางทางการเมือง คือเป็นแหล่งจาริกแสวงบุญที่ผู้คนจากเมืองต่างๆ รัฐต่างๆที่นับถือศาสนาเดียวกันก็มีโอกาสไปกราบไหว้และประกอบพิธีกรรม

อาจมีชุมชนและอาศรมของพวกนักพรตดาบสในบริเวณนี้หรือใกล้เคียง แต่ยังไม่มีการค้นคว้าเพราะมัวไปสนใจตัวปราสาทกันมากกว่า

(พี่ยังไม่เคยไปปราสาทเขาพระวิหารเลยค่ะ แต่พออ่านบทความนี้ อยากไปเยือนสักครั้งค่ะ โดยเฉพาะที่กล่าวว่า ...)

สำหรับเขาพระวิหารนั้น ถ้าจะดูที่ความสวยงามและความใหญ่โตของปราสาทก็คงไม่สู้กระไร เทียบกับปราสาทหินพิมายหรือพนมรุ้งไม่ได้ แต่ถ้าดูในเรื่องของตำแหน่งที่ตั้งและภูมิทัศน์โดยรอบแล้ว นับเป็นสิ่งมหัศจรรย์ เกือบไม่มีที่ใดในเขตประเทศไทย กัมพูชา และลาว เทียบเท่าได้

  • และที่น่าสนใจมาก คือความเห็นของคุณ สุจิตต์ วงษ์เทศ ซึ่งเขียนไว้ในคอลัมน์ สยามประเทศไทย "กรมศิลปากร ต้องเผยแพร่ความรู้ปราสาทเขาพระวิหาร ที่เป็นจริง ไม่ปลอม" ในหน้าเดียวกันค่ะ

.....ผมเข้าใจดีว่ามี"ฟอสซิล"อยู่เต็ม กรมศ....และกระทรวงว....(พี่ขอไม่พิมพ์เต็มนะคะ).เพราะสำนึกของข้าราชการในกรมและกระทรวงนี้มีกำเนิดจากโลกล้านปียุคไดโนเสาร์ ทำให้ "วิธีคิด" และ "วิธีทำ" ของพวกเขากับของโลกภายนอกต่างกันมาก ฉะนั้นกรณีปราสาทเขาพระวิหาร พวกเขาก็พากันยินยอมพร้อมใจตกเป็นเครื่องมือของฝ่ายล้าหลัง-คลั่งชาติ กระหายสงคราม แทนที่จะใช้ความรู้ทางประวัติศาสตร์โบราณคดีของตัวเป็นเครื่องมือสร้างสันติภาพให้เครือญาติทั้งสุวรรณภูมิ....

 

พี่ว่ายุคนี้เราควรสร้างความสัมพันธ์กับเครือญาติเราให้แข็งแกร่ง เกื้อกูลกัน จะได้เจริญรุ่งเรือง สงบร่มเย็นกันทั้งภูมิภาคจะดีกว่า เป็นใหญ่คนเดียวแล้วหาความสุข ความสงบไม่ได้นะคะ

  • ตามมาชมค่ะพี่นุช สวยแปลกตานะคะ
  • ได้ดูหนังเรื่องนี้เหมือนกันค่ะ
  • โชคดีนะคะที่เรื่องเขาพระวิหารตกลงกันได้แล้ว
  • ไม่อยากให้เป็นน้ำผึ้งหยดเดียวแบบน้องกบ
  • เพราะมีเพื่อนตกอยู่ในเหตุการณ์นั้นด้วยเขาไปทำงานให้บริษัทสามารถค่ะ เพื่อนบอกจะไม่กลับไปทำงานที่ั้น้่นอีกกว่าจะเอาชีวิตรอดกลับมาได้แทบแย่ทีเดียว
หนูชอบชื่อ "สำนักฝรั่งเศสแห่งปลายบูรพาทิศ" ตั้งแต่ครั้งแรกที่ได้ยินแล้ว ตั้งชื่อได้เท่ห์จริงๆ เคยผ่านด้านหน้าด้วยค่ะ อยู่ในซอยด้านข้างหอสมุดแห่งชาติ

และที่ต้องมาเขียนอีกรอบเพราะสะใจกับบทความท่อนนี้เป็นอย่างมาก

.....ผมเข้าใจดีว่ามี"ฟอสซิล"อยู่เต็ม กรมศิ....และกระทรวงวั....(พี่ขอไม่พิมพ์เต็มนะคะ).เพราะสำนึกของข้าราชการในกรมและกระทรวงนี้มีกำเนิดจากโลกล้านปียุคไดโนเสาร์ ทำให้ "วิธีคิด" และ "วิธีทำ" ของพวกเขากับของโลกภายนอกต่างกันมาก ฉะนั้นกรณีปราสาทเขาพระวิหาร พวกเขาก็พากันยินยอมพร้อมใจตกเป็นเครื่องมือของฝ่ายล้าหลัง-คลั่งชาติ กระหายสงคราม แทนที่จะใช้ความรู้ทางประวัติศาสตร์โบราณคดีของตัวเป็นเครื่องมือสร้างสันติภาพให้เครือญาติทั้งสุวรรณภูมิ....

อ่านแล้วสะใจไปถึงกึ๋น ตับ ม้าม ปอด ที่มีคนกล้าเขียนความจริงในสิ่งที่เป็นอยู่ หนูแอบเติมสระให้เล็กน้อย คนอื่นจะได้เข้าใจว่าผู้เขียนเขาด่าใครได้ตรงตัวขึ้น ไม่งั้นสงสารกระทรวงวิทย์เขาจะมาพลอยซวยไปด้วย

ค่ะอาจารย์Pนารีรัตน์ ความร่วมมือกันเกื้อกูลกันจะเป็นผลดีกับทุกฝ่าย ชอบแนวคิดแบบเครือญาติสุวรรณภูมิของคุณสุจิตต์ วงษ์เทศมากค่ะ

ได้ไปพม่า ลาว และเขมร มาทำให้ความคิดของตัวเองเปลี่ยนไปมาก ที่เคยรู้สึกว่าแต่ละประเทศก็ตั้งอยู่ของตัวไป มีความร่วมมือทางเศรษฐกิจกันบ้าง มีเหตุกระทบกระทั่งกันบ้าง ประเทศเพื่อนบ้านนั้นช่างขยันสร้างปัญหา แต่พอได้ไปเยือน ไปเห็น ได้รับรู้เรื่องราว เลยตระหนักว่าตัวเองความคิดคับแคบ และเราไม่ได้ทำความเข้าใจ รู้จักเพื่อนบ้านอย่างมีใจเมตตาและยุติธรรมเท่าไหร่

ฮ่ะ ฮ่ะ ขำน้องซูซานP สะใจ และสงสารกระทรวงวิทย์ฯ

พี่ว่าเมืองไทยต้องการนักวิชาการที่มีความรู้อย่างรู้จริง เชื่อมโยงความรู้กับความเป็นไปของโลก และกล้าแสดงความคิดอย่างนี้

  • ชอบมากค่ะที่นี่ ธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่...ลึกลับ...ขลัง...อยากไปสัมผัสค่ะ...
  • ขอบคุณนะคะ...พี่นุช

สวัสดีครับ

อ่านแล้วชอบมากครับ

ประเด็นที่คุณเบิร์ดยกขึ้นมา ถูกใจครับ

นักเรียนเก่าฝรั่งเศสส่วนใหญ่จะรู้ดีว่าไปเรียนที่ฝรั่งเศสก็จริงแต่ไม่มีใครชอบการกระทำของของฝรั่งเศสในอดีตหรอกครับ

ไม่อยากจะพูดให้ลึกกว่านี้ รวมทั้งเรื่องดินแดนหรืออาณาเขตในประวัติศาสตร์.....ซึ่งควรจะมีการ...........ได้

บางที นำวิถีแขกมาใช้บางก็ดีนะครับ ไม่ยอมให้ใครมาเอาเปรียบได้

ประวัติศาสตร์นั้น ส่วนหนึ่งคนเป็นผู้สร้าง...จึงบิดเบือนได้ตามความต้องการ

อย่างไรก็ตาม ขอบคุณครับ สำหรับบันทึกที่มีคุณค่านี้

 

ขอบคุณน้องแจ๋วแหววPที่ตั้งใจตามอ่าน พี่ขออวยพรให้ร่างกายแข็งแรงและมีเวลาพักผ่อนไปเยือนเขมรอย่างที่มีความปรารถนานะคะ เชื่อว่ายิ่งได้อ่านข้อมูลของผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญที่เข้ามาเติมเต็มข้อมูลด้านต่างๆ จะยิ่งทำให้การไปเยือนน่าสนใจและมีความหมายยิ่งขึ้นนะคะ

สวัสดีค่ะคุณพลเดชP 

ขอบคุณค่ะที่แวะมาอ่าน บันทึกชุดไปเที่ยวเขมรนี้เขียนขึ้นจากคนที่ไม่ค่อยจะรู้จักประวัติศาสตร์ภูมิภาคสักเท่าไร แต่พอไปเห็นมาแล้วอยากเล่าก็ต้องค้นคว้า สร้างความหมายจากการได้ไปเห็น มากกว่าแค่ได้ไปเที่ยวเล่นสนุกๆอีกครั้ง ทำให้ได้ความรู้และเรียนรู้อะไรอีกหลายอย่างค่ะ

โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่มีผู้สนใจลึกซึ้งและมีความรู้อย่างคุณเบิร์ด น้องซูซานและน้องออยและอีกหลายท่าน มาช่วยเติมเต็ม มาชี้ประเด็น ยิ่งทำให้มีความเข้มข้นยิ่งขึ้นนะคะ

นักเรียนเก่าฝรั่งเศสส่วนใหญ่จะรู้ดีว่าไปเรียนที่ฝรั่งเศสก็จริงแต่ไม่มีใครชอบการกระทำของของฝรั่งเศสในอดีตหรอกครับ

ค่ะ ที่จริงเรื่องในอดีตนั้นผ่านมาแล้ว แก้ไขอดีตไม่ได้ แต่เราควรได้ใช้อดีตเป็นบทเรียนบ้าง ทุกวันนี้ในเมืองไทยมีคนจำนวนมากที่ร่ำเรียนจากต่างประเทศและเชื่อหรือเดินตามวิธีต่างประเทศอย่างไม่สนใจบริบทของประเทศ แถมภูมิใจที่เหมือนฝรั่ง แทนที่จะคิดว่าได้มีโอกาสไปศึกษาเพื่อให้เข้าถึงศาสตร์ ได้เครื่องมือที่ต้องนำมาปรับใช้ให้เหมาะกับบ้านเรา น่าเป็นห่วงเพราะเกิดขึ้นในแทบทุกวงวิชาการ หรือทุกสาขาวิชาการ

บางที นำวิถีแขกมาใช้บางก็ดีนะครับ ไม่ยอมให้ใครมาเอาเปรียบได้

เห็นด้วยค่ะว่าภูมิปัญญาหรือยุทธวิธีแบบเอเซียนั้นลุ่มลึก น่าที่เราจะเรียนรู้นำมาใช้จริงๆ หรือแบบจีน ซุนวู นั้นฝรั่งก็ทึ่งจะตาย เอาไปเขียนหนังสือ เอาไปบรรยายหากินกันทั่วโลก

ประวัติศาสตร์นั้น ส่วนหนึ่งคนเป็นผู้สร้าง...จึงบิดเบือนได้ตามความต้องการ

นั่นซีคะเรื่องเดียวกัน แต่ละประเทศก็เขียนกันไปคนละอย่าง ล้วนแต่ยกให้ตนเป็นฝ่ายธรรมะทั้งนั้น

ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณค่ะคุณP เกศนี บุณยวัฒนางกุล ที่มาแวะ รักษาสุขภาพให้ร่างกายหายปวด หายเจ็บ แล้วจะได้ไปเที่ยวเองให้จุใจกว่าที่อ่านนะคะ

ขอให้หาย สบายดีเร็วๆนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท