เจาะกึ๋นคนกลัวผี


ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ท่านทำงานได้สำเร็จลงโดยง่าย คือ ต้องอ่านหนังสือมาก ๆ




              
เพราะจำเป็นต้องไปนอนเป็นเพื่อนรุ่นพี่ศึกษานิเทศก์ท่านหนึ่ง ที่มาจากต่างถิ่นแล้วต้องมีเหตุให้นอนคนเดียวเมื่อมาปฏิบัติหน้าที่ที่สุพรรณบุรี แล้วท่านนอนคนเดียวไม่ได้ เนื่องจากกลัวผี (ติดตามเรื่องนี้ได้ที่นี่ค่ะ) จึงได้มีโอกาสพูดคุยกับท่านในช่วงเช้าของวันรุ่งขึ้น (ตอนกลางคืนไม่ได้คุยกันเลย ต่างคนต่างนอน)

               โชคดีที่ท่านเป็นคนช่างพูดช่างคุย ผสมกับเราช่างซักก็เลยได้ภูมิรู้ในเรื่องการนิเทศจากท่านในเวลาสั้น ๆ ค่อนข้างเยอะ เท่าที่คุยนั้น ท่านเป็นคนเก่งมาก มีประสบการณ์ในการนิเทศค่อนข้างสูงและมีแบบฉบับในการนิเทศเป็นของตัวเอง

               ท่านมีความเชื่อว่าการนิเทศการศึกษาในบ้านเรานั้น จะใช้ศาสตร์การนิเทศเพียว ๆ ไม่สำเร็จ ต้องใช้ศาสตร์ของการนิเทศผสมผสานกับศาสตร์ในการบริหารการศึกษา ท่านบอกว่าการไปนิเทศกับครูเป็นรายคนนั้นเหนื่อยเปล่า เพราะจะจับครูทุกคนให้ครบ ยากมากและเป็นไปไม่ได้ ไม่ทันกาล ต้องจับที่ผู้บริหาร เราจึงจะได้ครูพ่วงมาด้วยทั้งโรงเรียน

               สมัยก่อนที่ยังไม่เกษียณ ท่านจับงานนิเทศภายในโรงเรียน โดยใช้ยุทธวิธีสร้างผู้บริหารโรงเรียนให้เป็นนักวิชาการ นิเทศผู้บริหารให้รู้ลึกรู้จริงในเรื่องนิเทศภายในโรงเรียนให้ได้ ว่าจะทำอย่างไรให้ครูรู้แจ้งเรื่องงานวิชาการ และผู้บริหารต้องรู้มากกว่าครู เมื่อไรที่ครูยอมรับผู้บริหาร งานวิชาการในโรงเรียนก็จะสำเร็จลงได้

               ท่านมีขั้นในการนิเทศอยู่
7 ขั้น เริ่มจาก 1) สร้างความตระหนัก โดยเชิญผู้ทรงคุณวุฒิเป็นที่ยอมรับมาพูดถึงปัญหาในสภาพรวม ๆ ที่เกิดขึ้น จากนั้นแบ่งกลุ่มให้ผู้บริหารท่านต่างวิเคราะห์สภาพปัญหาของตนเอง แล้วอภิปรายกันจนได้สภาพปัญหาของกลุ่มมานำเสนอ ต่อด้วยขั้นที่ 2) ให้ความรู้ โดยการให้ศึกษาเอกสาร อบรมให้ความรู้โดยวิทยากร และแบ่งกลุ่มทำกิจกรรม ฝึกวางแผนงานที่จะทำให้เรื่องการนิเทศภายในโรงเรียนให้ประสบความสำเร็จ

                ในขั้นที่
3) สร้างพันธกรณี โดยกำหนดปฏิทินในการนำแผนไปปรับปรุงพัฒนาร่วมกับคณะครูทั้งโรงเรียน ให้เป็นแผนที่สมบูรณ์ นำมาส่งให้ผู้นิเทศภายในกำหนดเวลา ขั้นที่ 4) นิเทศติตามผล ก็จะเป็นการไปเยี่ยมเยียน ให้กำลังใจ ช่วยเหลือ แนะนำ ให้คำปรึกษา

               ต่อไปเป็นขั้นที่
5) เสริมความรู้ ซึ่งเป็นขั้นติดตามไปดูผลงาน หากพบว่าเขายังพร่องในเรื่องอะไร ขาดเรื่องอะไร ก็ไปเสริมเติมเต็มให้กับเขาด้วยวิธีที่เหมาะสม อาจเป็นให้ศึกษาเอกสารเพิ่มเติม จัดประชุมย่อย หรือ พาไปศึกษาดูงาน เป็นต้น ขั้นนี้ถ้าพบว่าเขาทำดี ต้องมีการเสริมแรงควบคู่ไปกับการติดตามผลนี้ด้วย โดยการมอบเกียรติบัตร และคัดเลือกผลงานของเขาเตรียมไปร่วมนำเสนอในเวทีใหญ่

               สำหรับขั้นที่
6) แลกเปลี่ยน จะเป็นการจัดเวที Symposium ให้เขามีโอกาสนำผลงานมาแสดงเพื่อแลกเปลี่ยนและเผยแพร่ซึ่งกันและกัน หากผลงานใครดี ๆ ศึกษานิเทศก์ก็คัดไว้เพื่อนำไปแสดงต่อในเวทีระดับชาติต่อไป มาถึงขั้นสุดท้ายในขั้นที่ 7) เผยแพร่ขยายผล คราวนี้เป็นการเผยแพร่โดยนำผลงานเหล่านั้นมาจัดพิมพ์ และเผยแพร่เป็นเอกสารไปทั่วประเทศเลยค่ะ

               การนิเทศ
7 ขั้นนี้ ท่านเรียกว่า กระบวนการฝึกอบรมเพื่อปฏิรูปการศึกษา ซึ่งท่านได้รวบรวมทำเป็นผลงานส่งเลื่อนซีมาแล้ว เล่มบาง ๆ ไม่หนา เพราะท่านเชื่อว่าผลงานไม่ต้องปริมาณมาก แต่ต้องมีคุณภาพ คือมีขั้นตอนกระบวนงานเห็นชัดเจน อธิบายได้ โครงสร้างครบและถูกหลักวิชาการ ซึ่งผลงานของท่านที่ผ่านมาจะไม่เหมือนคนอื่น ตรงที่ท่านกำหนด Model การนิเทศก่อน และนำใช้จริง ใช้ไปเก็บข้อมูลไปแล้วค่อยรวบรวมนำมาเขียนแนวทาง แล้วลองเอาไปให้คนกลุ่มเล็ก ๆ ลองใช้ตามโมเดลนั้นว่าทำตามได้ผลไหม ขณะที่ทดลองใช้ก็เก็บข้อมูลและเขียนรายงานเป็น paper เล็ก ๆ ตามไปด้วย ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ท่านทำงานได้สำเร็จลงโดยง่าย คือ ต้องอ่านหนังสือมาก ๆ นั่นเอง

               ท่านถามกลับว่า ดิฉันมีรูปแบบการนิเทศเป็นของตัวเองไหม ดิฉันตอบทันทีว่าแบบฉบับของดิฉันนั้นนิเทศอยู่ 5
ขั้น คือ 1) วางแผนเรียนรู้ 2) นำสู่การปฏิบัติ 3) จัดการแลกเปลี่ยน 4เรียนรู้ปรับปรุง 6) มุ่งประเมินงาน 

               5 ขั้นที่ว่า ครั้งหน้าดิฉันจะขอมาขยายความว่าดิฉันทำอะไรบ้างค่ะ


หมายเลขบันทึก: 156325เขียนเมื่อ 28 ธันวาคม 2007 08:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 18:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)
  • สวัสีครับ ศน.กุ้ง
  • แวะมาเยี่ยมเยียน ไม่ได้เจอกันนานมากเลยนะครับ
  • ขอบคุณมากครับที่นำมาแลกเปลี่ยน

ขอบพระคุณท่านสิงห์ป่าสัก

ปรมาจารย์ที่เคารพรักของดิฉัน ไม่ได้มาตั้งชื่อให้ แต่ตั้งใจมาทายทัก เป็นดั่งที่อาจารย์ว่า ก็ต้องขอโทษด้วยค่ะที่หายหน้าหายตาไปเสียตั้งนาน

เมื่อกลางเดือนที่ผ่านมา สุพรรณฯ เขต 2 ได้มีโอกาสไปร่วมเรียนรู้KM กับแม่เมาะ ติดค้างไว้กับใครบางคน ว่าจะลงเรื่องเล่าในครั้งนั้นที่ G2K ก็ยังไม่ได้บันทึกเลยค่ะ

หาย ๆ ไปบ้างในช่วงระหว่างนี้ถึงเดือนมีนาคม ก็เพราะติดภารกิจในการพัฒนาวิชาชีพอยู่ค่ะ ต้องขออภัย

                                               Images1

                                      ขอบพระคุณและสวัสดีปีใหม่ค่ะ

  • ลุดิถี  ปีใหม่ ใจหรรษา
  • ขอให้ ปวีณา จงสมหมาย
  • สุขภาพ สดใส ทั้งใจกาย
  • เกียรติกำจาย ลาภยศ ปรากฏเทอญ

สวัสดีค่ะ

    New Paweena and New Tadsanee will be happy in the coming New Year.

 

สวัสดีค่ะ ศน.พี่กุ้ง

glitter ปีใหม่ วันปีใหม่ วันขึ้นปีใหม่ คริสต์มาส คริสมาสต์ เทศกาลแห่งความสุข เทศกาลปีใหม่

ขอให้มีความสุขตลอดไปค่ะ

สวัสดีปีใหม่ครับ

แวะมาสวัสดีปีใหม่ เลยได้อ่านเรื่องผีด้วย แต่ว่ามีสองบล็อก เลยงงนิดหน่อย

ขอพรให้มีความสุข สดชื่น สุขภาพแข็งแรง และสนุกสนานกับงานที่ทำในปีใหม่นี้นะครับ

สวัสดีปีใหม่ค่ะ  ศน.กุ้ง

  • เมื่อตอนเด็ก ๆ ก็กลัวผีมาก จนถึงมากที่สุดนอนคนเดียวก็ไม่ได้
  • เดี๋ยวนี้เปลี่ยนไป ไม่กลัวผี ชอบนอนคนเดียว
  • วิธีการก็คือ ถามตัวเองว่ากลัวอะไร กลัวทำไม แล้วก็พิสูจน์หาความจริงกับสิ่งที่กลัว
  • คิดเสมอว่า "คนดี ผีคุ้มครอง"
  • อย่าง ศน.กุ้ง นี้เรียกว่า "โชคดี ผีช่วย" ทำให้ได้งาน
  • ผลงานผ่านเมื่อไรอย่างลืมทำบุญ ตักบาตรไปให้ผีบ้างนะ

 

  • สวัสดีปีใหม่  ขอให้มีความสุขตลอดไปครับ  อิอิ

สวัสดี / กราบสวัสดี....ปีใหม่ 2551 แด่ทุกท่าน


บันดาลโชค
        บันดาลชัย          บันดาลผล

บันดาลดล          บันดลกาล          บันดาลให้

บันดาลทรัพย์     บันดลมี                บันดาลใจ

เนื่องปีใหม่         บันดาลให้          บันดาลมี



ตลอดไป                ตลอดปี               ให้มีสุข

ให้พ้นทุกข์          ตลอดไป            ในปีนี้

ให้มีสุข               ตลอดไป               ตลอดปี

ให้สุขี                 ตลอดปี                 ตลอดไป


                     Images2

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท