สมาธิช่วยได้


เมื่อผู้ป่วยเป็นครู

     วันหนึ่งดิฉันได้ไปเยี่ยมผู้ป่วยที่จะผ่าตัดลำไส้ เนื่องจากแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งในลำไส้   วิสัญญีพยาบาลเป็นบทบาทของดิฉันได้ไปเยี่ยมผู้ป่วย ครั้งแรกที่พบก็หนักใจเนื่องจากผู้ป่วยมีนำหนักตัวมากประมาณ 110 กิโล อายุประมาณ 45ปี ดิฉันเริ่มให้คำแนะนำการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยก่อนและหลังให้ยาระงับความรู้สึก  และบอกถึงความเสี่ยงต่างๆที่เกิดขึ้นได้ในการดมยา เนื่องจากผู้ป่วยมีภาวะอ้วน   (รายนี้แพทย์ได้อธิบายผู้ป่วยว่าเป็นมะเร็งลำไส้ จะผ่าตัดอะไร การปฏิบัติตัว จะอยู่รพ.ประมาณกี่วัน ภาวะแทรกซ้อนที่อาจขึ้นได้)  แพทย์ได้มาประสานดิฉันก่อนว่าผู้ป่วยค่อนข้างเสี่ยงต่อการผ่าตัด เมื่อดิฉันแนะนำเสร็จส่วนมากผู้ป่วยประเภทนี้จะมีความวิตกกังวลสูง  แต่ผู้ป่วยรายนี้ยิ้ม สีหน้าไม่มีความวิตกกังวล และถามผู้ป่วยว่ากังวลเกี่ยวกับการผ่าตัดไหม  ผู้ป่วยตอบว่าไม่วิตกกังวล และไม่กลัวการผ่าตัด จึงถามผู้ป่วยว่ามีวิธีอย่างไรที่ทำให้ไม่วิตดกังวลหรือกลัว ผู้ป่วยตอบว่า ด้านการดูแลรักษาแพทย์(นพ.ธัญญ์ อิงคะกุล)ได้อธิบายให้ผู้เข้าใจเรียบร้อยแล้ว ส่วนด้านจิตใจผมมีวิธีการครับ!  ผมใช้สมาธิครับ สมาธิที่ผมใช้ คือการทำใจปล่อยไปกับสิ่งที่เราสัมผัสขณะนั้น โดยไม่ยึดติด หรือใช้วิธีการหายใจเข้า-ออก แล้วพูดคำว่าพุทธ ตอนหายใจเข้า และโธตอนหายใจออก  และถามว่าทำมานานหรือไหม! ผู้ป่วยตอบนำมานานแล้ว และใช้สอนนนักเรียนที่โรงเรียนด้วย จึงได้รู้ว่าเป็นอาจารย์  

 สมาธิ

          หลังกลับจากเยี่ยมผู้ป่วยจึงไปนั่งคิดว่าเดิมเรามุ่งการเตรียมผู้ป่วยทางด้านกายให้พร้อม เราไม่ค่อยเข้าถึงการเตรียมจิตใจจริงๆ กันเท่าไร เนื่องจาได้เห็นภาพที่ไม่เห็นมาก่อน ผู้ป่วยรายนี้มีความเสี่ยงตั้งแต่ก่อนผ่าตัดเนื่องจากน้ำหนักตัวมาก และเมื่อผ่าตัด รายนี้ใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมง หลังผ่าตัดจึงต้องใส่ท่อหายใจต่อ วันแรกไปเยี่ยมผู้ป่วยที่ICUผู้ป่วยยิ้มให้ ดิฉันให้กำลังใจโดยจับมือผู้ป่วยแล้วบอกว่าต้องทนนิดนึงเนื่องจากแผลผ่าตัดค่อนข้างใหญ่  หายใจเองคงไม่พอคงต้องใส่ท่อหายใจไว้ก่อน  การใส่ท่อหายใจเป็นสิ่งที่ทรมานสำหรับผู้ป่วยพอสมควร พอวันที่ 3 ดิฉันแวะเข้าไปเยี่ยมผู้ป่วยยังใส่ท่อหายใจอยู่ แต่ภาพที่เห็นคือผู้ป่วยกำลังวาดภาพโดยใช้แฟ้มเป็นแผ่นรองกระดาษ ภาพที่วาดเป็นภาพที่มีหมอ พยาบาลที่ดูแลผู้ป่วย และผู้ป่วยเขียนคำว่าขอบคุณที่ดูแลผม  จึงพูดกับผู้ป่วยเล่นว่าหายดีแล้วเขียนภาพมาให้หน่อยนะค่ะจะให้ผู้ป่วยอื่นได้ดู  คนไข้นอนโรงพยาบาลประมาณ14วันจึงกลับบ้าน

       การดูแลรักษา

         เมื่อผู้ป่วยมาพบแพทย์ตามนัด  แพทย์โทรเรียกดิฉันไปที่OPD บอกผู้ป่วยมาตรวจตามนัด  เนื่องจากได้คุยกับแพทย์ไว้ว่าเราจะนำผู้ป่วยเป็นตัวอย่างสำหรับการเรียนรู้การปฏิบัติตัวก่อน-หลังผ่าตัด ทางด้านการทำจิตใจ  ผู้ป่วยบอกว่ายินดี และมอบรูปภาพทีเบียนไว้มาให้ดิฉัน  จากนั้นดิฉันได้สัมภาษณ์ถึงกลยุทธ์ในการทำใจ  คำตอบที่ได้การทำสมาธิ อยู่กับความจริงและอื่นๆ  ได้บันทึกนำมาเป็นแนวในการปฏิบัติ  ซึ่งได้นำมาจัดการความรู้สำหรับให้คำแนะนำกับผู้ป่วยในโรงพยาบาล  และยังได้ไปเป็นตัวอย่างการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวงHKM ด้วย 

และสุดท้ายสิ่งย้อนกลับหาดิฉันพลอยได้รับประโยชน์  ดิฉันทำสมาธิทุกวัน  และจะแนะนำผู้ป่วยก่อนผ่าตัดทุกราย   สุดท้ายของสุดท้ายผู้อ่านblogนี้ลองกลับไปทำนะค่ะ  สร้างสมดุลให้ร่างกายละนิด จิตจะได้แจ่มใส  ไม่ต้องรอให้ป่วยถึงจะมาทำกัน   

หมายเลขบันทึก: 148083เขียนเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2007 08:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
    ขอชื่นชมความใส่ใจที่ให้แก่คนไข้ และเรื่องนี้ก็เป็นตัวอย่างKMที่ได้จาก ผู้ป่วยเป็นครู  ดีจริงๆค่ะ  ถ้ามีเรื่องดีๆอีกมาเผยแพร่ด้วยน่ะค่ะ
มีตอนต่อไปแน่ๆค่ะอาจารย์  ขอบคุณค่ะที่ให้ข้อเสนอแนะ   จานแดง
  • ดีจังเลยครับ
  • อยากอ่านตอนต่อไป
  • บางบันทึกปิดความคิดเห้นไว้
  • น้องแสดงความคิดเห็นไม่ได้
  • เช่นรื่องการสัมผัส
  • ฮือๆๆๆๆ

ขอบคุณค่ะที่แจ้งมาให้ทราบ  เปิดให้แสดงความคิดเห็นแล้วค่ะ  มีอะไรแนะนำได้เลยนะค่ะ  ชอบค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ อาจารย์หนึ่ง ที่เข้ามาอ่าน  ช่วยแนะหน่อยก็ดีนะค่ะ  

เพิ่งอ่านเจอค่ะพี่แดง ชอบมาก เอามาแชร์เยอะๆนะคะ.........:-)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท