อันเนื่องมาจากข้อเขียนที่ตัดเก็บไว้ วันนี้ได้มีโอกาสค้นหาหนังสือไปพบเข้า จึงนำมาแลกเปลี่ยนกันเบา ๆ ในวันหยุด
เรื่องมีอยู่ว่า มีมหาเศรษฐีคนหนึ่ง สุดแสนจะภูมิใจที่ลูกชายวัย 10 ขวบ ที่กำลังจะได้เข้าเรียนในโรงเรียนชื่อดัง ซึ่งระดับเศรษฐีอย่างพวกเขาเท่านั้นจึงจะมีโอกาสให้ลูกหลานเข้าไปเรียนได้ ด้วยเหตุผลส่วนตัวก็อยากจะสอนให้ลูกชายได้รู้จักชีวิตจริงในโลกควบคู่กันไปกับชีวิตทฤษฎีในโรงเรียน ในวันหยุดเขาจึงพาลูกชายคนเดียวไปท่องเที่ยวตามสถานที่ต่าง ๆ แล้วเขาก็คิดถึงหัวข้อการสอนเรื่อง “ความยากจน” เพราะเขามีความเชื่อว่าลูกชายของเขาคงไม่มีวันได้รู้จักอย่างแน่นอน เขาจึงพาลูกชายไปเยี่ยมครอบครัวชาวนาครอบครัวหนึ่ง และให้พักอยู่กับชาวนาเป็นเวลา 1 วัน 1 คืน
เมื่อลูกชายกลับถึงคฤหาสน์มหาเศรษฐีจึงได้ทดสอบว่าลูกชายได้อะไรจากการไปพักแรมกับชาวนาผู้ยากจนบ้าง ลูกชายตอบขอบคุณพ่อเป็นอย่างมากที่ให้เขามีโอกาสไปพบกับชาวนา และพักที่นั่น ทำให้เขาได้พบว่า.....ชาวนานั้น มีที่ทำงานเป็นท้องนาที่กว้างใหญ่ ในขณะที่พ่อมีเพียงห้องสี่เหลี่ยมที่ว่ากว้าง แต่ก็ยังน้อยกว่าห้องทำงานของชาวนา และอาหารที่ชาวนากินนั้น สามารถหาได้ตลอดเวลา รอบ ๆ บ้าน ไม่ต้องซื้อหา ในขณะที่บ้านของเรามีเพียงตู้เย็นเท่านั้นที่เป็นที่เก็บอาหาร เวลากินอาหารก็มีเพื่อนคุยอย่างพร้อมหน้าพร้อมตา พ่อ แม่ และลูก ในขณะที่ตัวเองต้องนั่งกินอาหารอย่างโดดเดี่ยวบนโต๊ะที่ยาวเกือบ 10 เมตรและมีเก้าอี้ว่างเปล่าทั้งสองด้าน
ลูกของชาวนาที่ซ้อนท้ายรถจักรยานของพ่อเขาต้องกอดเอวพ่อให้แน่น ๆ เพื่อจะได้ไม่ตก แต่ตัวเขาเองต้องนั่งในรถยนต์ที่ใหญ่โตอยู่ข้างหลังเพียงลำพัง โดยมีคนขับรถาพาไปทุกที่ ชาวนามีแสงดาว แสงจันทร์เป็นโคมไฟส่องสว่างอยู่ตลอดเวลาในตอนกลางคืน โดยไม่ขาดแคลน แต่เขามีเพียงแสงจากโคมไฟที่ต้องซื้อมาด้วยเงิน ชาวนามีรั้วบ้านเป็นแม่น้ำ ภูเขา ที่กว้างสุดลูกหูลูกตา แต่เขาเองกลับมีเพียงกำแพงอิฐบล็อกที่คลุมพื้นที่ไม่กี่ไร่ ชาวนามีเพื่อนเล่นมากมายเป็นจิ้งหรีด หิ่งห้อยนับร้อยพันตัว แต่เขากลับไม่มีใครเป็นเพื่อนเลย เขาขอขอบคุณพ่ออีกครั้งที่ทำให้เขารู้คำตอบว่า...จริง ๆ แล้ว เรายากจนกว่าชาวนามาก.....
ความรู้สึกนึกคิดเป็นสิ่งที่เรากำหนด แล้วจัดวางขึ้นมาเองจากใจและสมองของเรา ที่จะเลือกมองและรู้สึกด้วยมุมใด เราเลือกได้มิใช่หรือ you are what you think
เป็นเรื่องที่ดีมากค่ะ พอดีเพิ่งเข้าไปตามไล่อ่านบล็อกของคุณพลเดช วรฉัตร กับการได้เห็นภาพชีวิตชาวอินเดียในเมืองต่างๆ และอ่านเรื่องของอาจารย์ "คนไร้กรอบ" เรื่องอัศวินเกราะทอง อิ อิ จะสร้างลิงค์ให้ก็ทำไม่เป็น อยากให้ได้อ่าน เป็นข้อคิดสำหรับคนที่สนใจในแนวอย่างเรื่องนี้ค่ะ
อ่านแล้วดีจังคะ มุมมองที่ไม่ได้นึกถึง
สุข - ทุกข์
หากจัดการได้ โดยกำหนดให้เดินทางอยู่เหนือวัตถุเงินตรา
ผมเชื่อว่า .... ชีวิตจะค้นพบความมหัศจรรย์ของชีวิต
ผมเองก็ปรารถนาเช่นนั้น, ...แต่รู้ดีว่า ...ยากและแสนยากอยู่มากโข
ขออนุญาตสมัครเป็นแฟนบล๊อคอาจารย์อีกคนนะคะ
ตามอ่านหลายชิ้นแล้วค่ะ ... ชอบมาก กินใจ
ขอบคุณสำหรับข้อคิดดีๆ ที่นำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันค่ะ
ชอบ "แค่ปรับมุมคิด ชีวิตก็เปลี่ยน" เพราะสอดคล้องกับวิชา "นพลักษณ์" ที่ดิฉันมีบทบาทในการเผยแพร่อยู่เลยค่ะ