ตามความเห็นของผมนั้น ผมคิดว่าทุกวันนี้หน่วยงานหรือองค์กรต่างๆที่ดำเนินงานอยู่นั้นได้มีการใช้ Concept ของ KM กันอยู่แล้วล่ะ เพียงแต่ว่ามากหรือน้อย มีประสิทธิภาพ และระบบ กันแค่ไหนเท่านั้น เช่นสมมติธุรกิจดั้งเดิมของที่บ้านขายก๋วยเตี๋ยว มีสูตรลับเฉพาะในการทำเส้นที่มีมาตั้งแต่รุ่นปู่ทำมาอย่างไร ก็มีเอกลักษณ์ของการทำเส้นร้านนั้นถ่ายทอดถึงรุ่นลูก รุ่นหลาน อย่างนี้ก็ถือว่าเป็น KM แล้วล่ะครับ เพียงแต่ว่าเป็น KM แบบท้องถิ่นหรือ KMแบบภูมิปัญญาชาวบ้าน อย่างไรก็ดีการทำ KM ที่ดีและมีประสิทธิภาพนั้นคงไม่เหมือนตัวอย่างที่ยกมานี้แน่ๆ ยังงัยขอเวลาศึกษาก่อนนะครับ
ก่อนจะศึกษาเรื่อง KM เรามารู้เรื่องของความหมายของ ข้อมูล(data) , ข่าวสาร สารสนเทศ(information) , และควมรู้ (knowledge) กันเพื่อปูความเข้าใจพื้นฐานในการศึกษาเรื่องนี้
โดยปกติแล้วข้อมูล ข่าวสาร และความรู้มีความใกล้ชิดกันอย่างมาก แต่อันที่จริงแล้วทั้งสามสิ่งก็ยังมีข้อที่แตกต่างกันโดยคำว่า "ข้อมูล" (Data) นั้นหมายถึงเนื้อความของข้อเท็จจริงที่ได้รับการรวบรวมเก็บไว้โดยไม่ได้คำนึงถึงสาระที่เกิดจากข้อมูลเหล่านั้น เมื่อข้อมูลหลาย ๆ อันประกอบกันเพื่ออธิบายเรื่อง ๆ เดียวกันสิ่งนี้ทำให้เกิดคำว่า "ข่าวสารหรือสารสนเทศ" (Information) ซึ่งหมายถึงสิ่งที่มีความหมายในเชิงเนื้อหาสาระสำหรับผู้รับ ส่วนคำว่า "ความรู้" (Knowledge) คืออะไร คำตอบก็คือ ความรู้คือสิ่งที่รู้ไม่ว่าจะเกิดจากการเรียนรู้หรือจากประสบการณ์ที่สะสมมา ทั้งนี้ความรู้เกิดขึ้นมาจากวิธีการทางตรรกหรือการวินิจฉัยจากความรู้เดิมและประสบการณ์ ถ้าเรากล่าวว่าสารสนเทศคือข้อมูลบวกกับความหมายแล้วละก็ ดังนั้นภูมิปัญญาก็คือ สารสนเทศบวกกับการประมวลผลเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ หรือความสามารถที่จะคิดหาทางออกหรือการแก้ปัญหาโดยการเปรียบเทียบกับสารสนเทศที่มีอยู่
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย มนตรี ลีลาวิชิตชัย ใน KM Phenomenon
คำสำคัญ (Tags)#uncategorized
หมายเลขบันทึก: 139, เขียน: 11 Jun 2005 @ 17:37 (), แก้ไข: 23 Jun 2012 @ 19:22 (), สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการ, ความเห็น: 7, อ่าน: คลิก
จากข้างบน:
ถ้าพูดถึง "ภูมิปัญญา" น่าจะตรงกับคำว่า "wisdom" มากกว่านะครับ
คิดว่าประโยคที่ยกมาข้างบน น่าจะหมายถึง "ความรู้" (knowledge) มากกว่าใช่มั๊ยครับ?