ระบบวิจัยของประเทศ (4) ความเห็นของผม (2) KT - Led Research Systems


 ตอนที่ 3 (click) 

         ไม่ว่าระบบวิจัยของประเทศไหน ๆ ต้องเป็น KT - Led Research Systems ทั้งสิ้น

         ยิ่งระบบของประเทศไทย  สัดส่วน KT : KC ยิ่งต้องหนักที่ KT ยิ่งกว่าของสหรัฐอเมริกา,  เยอรมัน,  ญี่ปุ่น,  เกาหลี

         และเราต้องสร้างระบบ  สร้างวิธีการจัดการระบบวิจัยที่เน้นความเป็นระบบที่ KT เป็นตัวขับเคลื่อนระบบ   และเป็นตัวส่งสัญญาณไปสู่การสร้างโจทย์วิจัยของส่วน KC

         KT = Knowledge Translation  หมายถึงการวิจัยส่วน downstream หรือส่วนประยุกต์ใช้ความรู้เพื่อประโยชน์เชิงสังคม   เชิงธุรกิจ  และประโยชน์ด้านอื่น ๆ   เรียกสั้น ๆ ว่าการวิจัยเพื่อประยุกต์ใช้ความรู้หรือเอาความรู้ไปใช้ประโยชน์

         KC = Knowledge Creation หมายถึงการวิจยเพื่อสร้างความรู้   ถ้าเป็นการสร้างความรู้ใหม่  อาจเรียกการวิจัยพื้นฐาน (basic research)    งานวิจัยแบบนี้เน้นให้อิสระแก่นักวิจัยในการคิดโจทย์   เพื่อใช้ creativity ของนักวิจัย   แต่เราควรมีวิธีส่งสัญญาณมาให้คิดโดยมีเป้าหมายไปหนุน KT ของประเทศ

         ที่จริงการจัดการระบบวิจัยแบบแยก KT กับ KC ออกจากกันน่าจะผิดเพราะจริง ๆ มันอยู่ด้วยกัน   ระบบวิจัยที่ดีของประเทศต้องจัดการ KT กับ KC เป็นเนื้อเดียวกัน   แต่เมื่อเอา "แว่น" ส่องดู   ก็จะรู้ว่าเน้น KT มากน้อยแค่ไหน   ผมมองว่าระบบวิจัยของประเทศใดก็ตามเน้น KT น้อยกว่า 80% น่าจะถือได้ว่าผิด

         ยิ่งไม่มีการจัดการ KT อย่างเป็นระบบ  ยิ่งผิด

         ยิ่งระบบ KT ไม่บูรณาการอยู่กับการพัฒนาประเทศ   ยิ่งผิด

         พูดใหม่  ระบบการพัฒนาประเทศส่วนใดไม่มี KT เป็นเนื้อใน  ระบบนั้นบกพร่องอย่างร้ายแรง

         วช. ซึ่งมีหน้าที่พัฒนาระบบวิจัยของประเทศ   ต้องตีโจทย์ KT ให้แตก   และพัฒนาขีดความสามารถของ วช. ในการประเมินว่า เวลานี้ระบบ KT ของประเทศเป็นอย่างไร   ในความเป็นจริงควรเป็นอย่างไร   และ วช. จะขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงระบบ KT อย่างไร

วิจารณ์  พานิช
 9 ต.ค.50

หมายเลขบันทึก: 137680เขียนเมื่อ 12 ตุลาคม 2007 09:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤษภาคม 2012 14:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

จริงๆ คะ เวลาทำ วิจัย แล้วไม่นำไปต่อยอด ไม่นำไปใช้ประโยชน์  เสียเวลาทำ ลงทุนไม่ค้มค่า

เช่นการทำ อวช. ประเมินการเลื่อนตำแหน่งของข้าราชการ เขียนออกมา ต้องใหสามารถนำไปใช้ ได้ ปฏิบัติได้ ใช่ไหมคะ  จึงจะค้มค่า ปัญญา

สวัสดีครับ

ผมเห็นด้วยที่ว่า การนำไปใช้ประโยชน์ของความรู้ น่าจะเป็นเป้าหมายที่สำคัญมาก และความรู้ที่เกิดจากการวิจัยถือได้ว่าเป็นความรู้ ที่มีความสำคัญ  แต่บางคนทำงานวิจัยเพื่อ ให้มีผลงานวิจัยเท่านั้น  เพื่อสร้างชื่อเสียงแก่ตนเอง  เพื่อเลือนลำดับคำนำหน้าเท่านั้นเอง  

 จึงเป็นเรื่องที่น่าเสียดาย ที่งานวิจัยเหล่านั้น ได้ถูกจัดไว้บนหิ้งเสียแล้ว   การต่อยอดความรู้ไม่เกิดขึ้น  การนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ไม่มี 

ความรู้ที่ทำการวิจัย ไม่ได้สร้างประโยชน์โดยรวม หรือการนำไปคิดให้เป็นธุรกิจเกิดขึ้น   ...จริงที่อาจารย์กล่าวไว้

 ผมมีแนวทางหนึ่งที่จะสามารถนำผลงานการวิจัยที่เป็นประโยชน์นำมาใช้ประโยชน์ได้ทันที เช่น นำไปประเมินธุรกิจ  นำไปประเมินผลประกอบการต่างๆ หรือกิจกรรมต่างๆ โดยที่ ผู้ใช้สามารถดึงนำไปใช้งานได้ด้วยตนเอง  เครื่องมือที่ว่านั้นผมประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อการนี้โดยเฉพาะ  แต่อาจารย์ต้องเข้าไปศึกษาก่อนที่ http://gotoknow.org/blog/expert  นอกจากนี้ผลงานวิจัยสามารถนำแสดง นำเสนอต่างประเทศได้ทันที จะสามารถสร้างรายได้เข้าประเทศหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับ ผลงานการวิจัยสามารถวัดผลหรือปฏิบัติได้จริงหรือไม่

 หากอาจารย์คิดว่า เครื่องมือชุดนี้น่าจะช่วยพัฒนาประเทศได้  ติดต่อมาได้เลยครับ ผมยินดีสนันสนุนเต็มที่ครับ

 

ด้วยความเคารพ

 

 

 

  • KT ในไทย ไม่น่าจะถึง 50 % ของ KC - ดูจากทุนวิจัยที่ประกาศทั่วไป
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท