สถาบันสร้างเสริมนวัตกรรมภูมิปัญญาเศรษฐกิจพอเพียง


วิธีการทำงานของสถาบันฯนี้ต้องมีการประสานงานและบูรณาการทั้งภายในและภายนอกหน่วยงานเพื่อให้เกิดการจัดการความรู้และกระบวนการเรียนรู้ด้านนวัตกรรมภูมิปัญญาเศรษฐกิจพอเพียงต่อไป

     จากการที่กรมส่งเสริมการเกษตรมีนโยบายส่งเสริมการเกษตรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หลายโครงการได้นำไปประยุกต์ใช้เช่นศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจการเกษตรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยี โครงการสายใยรักแห่งครอบครัวฯ รวมทั้งการนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาครอบครัวเกษตรกรและชุมชนเกษตรกรในการผลิตสินค้าเพื่อการอุปโภคในครัวเรือน การผลิตสินค้าการเกษตรที่ปลอดภัยและได้มาตรฐาน เป็นต้น

     ดังนั้น กรมฯจึงต้องศึกษา วิจัยและถ่ายทอดความรู้ด้านนวัตกรรมภูมิปัญญาเศรษฐกิจพอเพียงแก่เกษตรกร อันจะนำไปสู่การแก้ปัญหาความยากจนและส่งเสริมสุขภาวะในมิติต่าง ๆ ของชุมชนและท้องถิ่นได้อย่างแท้จริง

     วิธีการทำงานของสถาบันฯนี้ต้องมีการประสานงานและบูรณาการทั้งภายในและภายนอกหน่วยงานเพื่อให้เกิดการจัดการความรู้และกระบวนการเรียนรู้ด้านนวัตกรรมภูมิปัญญาเศรษฐกิจพอเพียงต่อไป

     ด้วยเหตุผลและความจำเป็นดังกล่าวจึงจัดตั้งสถาบันสร้างเสริมนวัตกรรมภูมิปัญญาเศรษฐกิจพอเพียงขึ้นเป็นหน่วยงานภายในกรมส่งเสริมการเกษตรขึ้นเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2550 โดยมีอำนาจหน้าที่ดังนี้

  • วิจัยทางด้านนวัตกรรมภูมิปัญญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อให้ได้องค์ความรู้ทางวิชาการและทักษะกระบวนการเรียนรู้

  • พัฒนานักวิชาการส่งเสริมการเกษตรให้มีทักษะและความรู้ความสามารถในการเสริมสร้างและสนับสนุนให้เกิดนวัตกรรมภูมิปัญญาเศรษฐกิจพอเพียงและกระบวนการเรียนรู้

  • ถ่ายทอดความรู้ด้านนวัตกรรมภูมิปัญญาเศรษฐกิจพอเพียงแก่เจ้าหน้าที่และเกษตรกรในการประยุกต์ใช้ผลงานวิจัยและกระบวนการเรียนรู้ที่ได้จากการปฏิบัติจริง

  • สนับสนุนการผลิตและเผยแพร่ผลงานวิจัยและพัฒนาทั้งเนื้อหา วิชาการ สื่อสิ่งพิมพ์ และกระบวนการเรียนรู้ด้านภูมิปัญญาเศรษฐกิจพอเพียง

  • ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฎิบัติงานของหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

จะเห็นได้ว่าการทำงานของสถาบันนี้จะทำงานในลักษณะการเชื่อมโยงและสร้างเครือข่ายการทำงานให้เกิดผลงานร่วมกัน ทุกคนได้ผลงานในลักษณะ WIN-WIN  ไม่ได้นำเอาผลงานหรือนำเอางานที่มีอยู่แล้วมาดำเนินการเองแต่อย่างใด

ธุวนันท์  พานิชโยทัย

12 ตุลาคม 2550

หมายเลขบันทึก: 137673เขียนเมื่อ 12 ตุลาคม 2007 09:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)
  • ย่างเข้าสู่ปีที่ 4 งานวิสาหกิจเริ่ม เห็นเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น
  • ขอบคุณครับ สำหรับข้อมูล
* ขอบคุณครับสำหรับข้อมูล เปรียบเหมือนเข็มทิศที่จะทำให้นักส่งเสริมเดินทางได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ได้ครับ
  • สถาบันสร้างเสริมนวัตกรรมภูมิปัญญาเศรษฐกิจพอเพียง  น่าสนใจมากเลยค่ะ
  • แล้วจะคอยติดตามผลงานนะคะ

เรียนคุณหนุ่มร้อยเกาะ

นอกจากวิสาหกิจชุมชนแล้วคงเชื่อมงานอื่น ๆด้วยคะที่นำหลักปรัชญาฯไปประยุกต์ใช้

เรียนคุณเธียรชัย

ใช่แล้วคะ เราทำงานมานาน มีนวัตกรรมมากมายแต่ยังไม่ได้ค้นหาออกมาหรือมีบ้างแต่ไม่เป็นระบบ

เรียนคุณ อ. ลูกหว้า

ขอบคุณคะและคงจะได้ติดตามผลงานกันต่อ ๆ ไปนะคะ

เรียน...พี่หม่าที่เคารพค่ะ

  • ขอแสดงความยินดีด้วยค่ะที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นผอ.คนแรกของสถาบันฯ
  • เศรษฐกิจพอเพียง...มีความเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกับทุกสาขาอาชีพ
  • โดยเฉพาะแผนพัฒนาฯฉบับที่ 10 ซึ่งกำลังใช้ได้ไม่ถึงปี ได้น้อมนำเอาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพีองมาเป็นแนวทางในการดำเนินงานโดยให้คนเป็นศูนย์กลางฯ
  • กรมส่งเสริมการเกษตรทำงานเกี่ยวข้องกับพี่น้องเกษตรกร...จึงเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งค่ะที่จัดตั้งสถาบันนี้ขึ้นมา
  • คงมีโอกาสได้ร่วมและประสานงานกันนะคะ

                                                 สาวหละปูนเจ้า 

พี่หม่า

    วันนี้เปิดเว็บไซค์ของกองการเจ้าหน้าที่เห็นคำสั่งแต่งตั้งผอ.ศูนย์ฯ ยินดีด้วยนะคะ ต่อไปจะได้มีองค์กรเชื่อมประสาน ขับเคลื่อนการทำงานของกรมเราเสียที

ไพโรจน์ ลิ้มจำรูญ
แวะมาให้กำลังใจครับ

เรียนสาวหละปูน

อ่านตั้งนานนะคะน้องแดง ขอบคุณนะคะที่ให้กำลังใจ ต่อไปแน่ใจว่าต้องทำงานร่วมกันเพื่อให้เกิดผลงานที่ดีต่อไป วันก่อนเจอกันไม่มีโอกาสคุยเลยนะคะ

เรียนน้องอ้อ

ขอบคุณนะคะ ความหวังของอ้อจะจริงหรือไม่ ต้องอาศัยความร่วมมือกันทุกฝ่ายคะ พี่และทีมงานก็แค่เป็นผู้ประสานงานให้เกิดผลเท่านั้น

ขอบคุณครับ    ผอ.

เรียนท่านผู้ตรวจไพโรจน์ที่เคารพ

ขอแสดงความยินดีที่ท่านได้รับตำแหน่งใหม่ และให้กำลังใจพวกเราชาวกรมส่งเสริมการเกษตรตลอดมานะคะ

เรียนคุณทวี

ขอแสดงความยินดีด้วยนะคะที่ได้รับตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายยุทธศาสตร์ตัวจริงเสียงจริงแล้ว คงได้ร่วมงานกันอีก ยังรู้สึกดีมากๆ จนถึงทุกวันนี้ที่เราได้ทำงานร่วมกันในฐานะตัวแทนของกระทรวงฯในการทดลองคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ เริ่มแรกที่จ.อุบลราชธานี โดยคุณทวีเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการบุกเบิกครั้งนั้น น้อยคนนักที่จะทราบในเรื่องนี้

ขอบคุณครับ จะคอยติดตาม อะไรช่วยได้ก็บอกนะ

 

ในฐานะที่เป็นแพทย์ ที่สนใจเกษตรแบบนิเวศ  ( ไม่ใช่แบบ นายทุน สวนสารพัด )

นวัตกรรมการเกษตร หากเชื่อมต่อเข้ากับระบบชีวิต คือ สุขภาพ จะได้ประโยชน์ หลายต่อ  ทั้งในส่วนตัวเกษตรกรผู้ปลูก ผู้พัฒนาต่อยอด นวตกรรม  และ ยังส่งผลต่อด้านการตลาด และ เพิ่มมูลค่า  ตลอดจน เชื่อมต่อ วิทยาศาสตร์ กับ ภูมิปัญญาเดิม

ตัวอย่าง เรือง ของ สมุนไพร ที่มีอรรถประโยชน์ และ การประยุกต์ใช้ ไม่สิ้นสุด

หรือ เรื่อง ข้าว นวตกรรม ข้าวงอก ที่ดีกับสุขภาพ และ มีมูลค่าเพิ่ม เป็นการยกระดับ จาก ข้าวกล้อง เป็น ข้าวงอก ( GABA rice )

ลองสร้าง ภาคีเครือข่ายไว้แต่เนิ่นๆ จะเป็นประโยชน์ในภายภาคหน้าครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท