บรรลุพระอรหัตถผลและแสดงธรรมวันวิสาขบูชา


นับแต่สองทุ่มจนกระทั่งตีสามของวันใหม่ อวิชชาก็แตกพ่าย ดับสิ้นแต่ชั่วขณะนั้น

 

ตอน  บรรลุพระอรหัตถผล

   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">        เมื่อพระอาจารย์มั่น บรรลุธรรมอนาคามีแล้ว ท่านก็เร่งความเพียรตามวิถีแห่งภูมิธรรมต่อไปอย่างเต็มกำลัง จนสมบูรณ์เต็มที่ เมื่อท่านได้จาริกไปพำนัก ณ จังหวัดเชียงใหม่ ท่านก็มีโอกาสได้บำเพ็ญเพียรจิตเต็มที่ ด้วยสมบูรณ์พร้อมทั้งภูมิธรรม  สุขภาพกายและสถานที่ธรรมชาติอันสงบวิเวก </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>           และแล้วสุดท้ายปลายทางแห่งความปรารถนาก็มาถึง เมื่อท่านเกิดปัญญาสามารถละทิ้งกิเลสละเอียดเป็นลำดับ  นับแต่ละทิ้งรูปธรรม แล้วพิจารณาลงในความว่างเปล่า คือ อนัตตา  จากนั้นละทิ้งสิ่งเป็นนามธรรม  กำจัดมานะในจิตคิดว่าเป็นนั่นเป็นนี่เสียได้ แล้วระงับความคิดอันพลุ่งพล่านเพลิดเพลินขณะบำเพ็ญสมาธิ <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">        </p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">        ชั่วขณะนั้นจิตท่านมุ่งมั่นกำจัดอวิชชา คือ ความหลงอันเป็นเหตุให้ไม่รู้จริง นับแต่ สองทุ่ม จนกระทั่งตีสามของวันใหม่ อวิชชาก็แตกพ่าย ดับสิ้นแต่ชั่วขณะนั้น</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>         ฉับพลัน อัศจรรย์ก็บังเกิดขึ้น โลกธาตุก็หวั่นไหวกึกก้อง เทพเจ้าทั้งหลายก็แซ่ซ้องสาธุการ  สะท้านสะเทือนไปทั่วพิภพ แลเปล่งเสียงสรรเสริญโดยพร้อมกันว่า   </p><p></p><p>     บัดนี้  ศิษย์พระตถาคตปรากฏขึ้นในโลกอีกองค์หนึ่งแล้ว เราทั้งหลายขออนุโมทนายินดีแก่ท่าน ด้วยท่านได้ค้นพบแล้วซึ่งธรรมอันประเสริฐ  สำเร็จอริยสงฆ์อันเลิศในแผ่นดินมนุษย์ในครังนี้   </p><p> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">      ครั้นเหตุอัศจรรย์สงบแล้ว  จิตใจของพระอาจารย์มั่นก็ดำรงอยู่ในสภาวธรรมชาติบริสุทธิ์  ท่านแลเห็นธรรมอันชัดแจ้งว่า เป็นธรรมอันละเอียดเกินวิสัยมนุษย์ผู้อยู่ในสภาวกิเลสจะรู้ตามได้ แต่เมื่อท่านน้อมใจรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณแห่งพระศาสดา ที่ทรงมีแก่สรรพสัตว์ พระอาจารย์มั่นจึงน้อมจิตไปในแนวทางนั้นตามปฏิปทาแห่งมหาศาสดา จึงมุ่งมั่นสงเคราะห์โลกเผยแผ่ อบรมสั่งสอนเวไนยสัตว์สืบต่อไป</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>  ตอน  พระธรรมเทศนาสำคัญในวันวิสาขบูชา </p><p></p><p></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">        พุทธศักราช ๒๔๘๒  ขณะนั้นพระอาจารย์มั่นมีอายุได้ ๖๙ ปี  ท่านพำนักอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ ท่านแสวงหาความสงบในแนวไพรถ้ำผาตามอัธยาศัยเป็นเวลานาน  ทำให้ศิษยานุศิษย์ทางภาคอีสานมีใจระลึกถึงท่านเป็นที่สุดแล้ว ดังนั้น ท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์ตัวแทนแห่งศิษย์ทั้งหลายจึงเดินทางไปกราบอาราธนาท่านให้มาพำนักเป็นหลักแหงธรรม ณ ถิ่นอีสาน  พระอาจารย์มั่นขัดคำมิได้ จึงตกลงใจเดินทางกลับ โดยมาพำนัก ณ วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร  ในตัวเมืองเชียงใหม่ก่อน  ขณะนั้นตรงกับวันเพ็ญวิสาขมาส ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ซึ่งเป็นวันวิสาขบูชา บรรดาศิษย์และประชาชนทั้งหลายต่างพากันฟังเทศน์ธรรมสำคัญของท่านในยามราตรีนี้</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">        ราตรีนั้น  แสงจันทร์ส่องสว่างกระจ่างท้องฟ้าและอาราม พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต นั่งสง่าเหนือธรรมมาสน์ท่ามกลางเหล่าพุทธศาสนิกชนและศิษยานุศิษย์ ด้วยอาการสงบสำรวม</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>          ท่านเริ่มแสดงธรรมด้วยโวหารอันไพเราะ ละเอียดลึกซึ้งเป็นลำดับว่า  วันวิสาขบูชา นี้  มีความสำคัญเป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง ด้วยเกิดเหตุการณ์สำคัญในพุทธประวัติปรากฏตรงกันในวันเดียว ๓ วาระ  คือ วันประสูติ  วันตรัสรู้  และวันปรินิพพาน  พระพุทธเจ้าผู้เป็นพระบรมศาสดาแห่งเราทั้งหลาย ได้ละสังขาร ประทานพระธรรมคำสอนอันประเสริฐไว้เป็นตัวแทนแห่งองค์ศาสดาแล้วว่า  </p><p> </p><p>       ผู้ใดได้แลเห็นธรรม  ผู้นั้นย่อมได้แลเห็นพระตถาคต         </p><p></p><p> ดังนั้นเราทั้งหลายซึ่งเกิดมาเป็นมนุษย์สุดประเสริฐยิ่งแล้ว ก็ควรเร่งกระทำความดี ประพฤติธรรมด้วยความไม่ประมาทเถิด เพราะการกระทำความดี ย่อมได้ผลดีตอบสนองในกาลข้างหน้า และจะไม่ไปเกิดในภพภูมิที่ต่ำกว่าในภพปัจจุบัน  เราทั้งหลายพึงระลึกถึงความจริงดังที่พระบรมศาสดาตรัสไว้เถิดว่า </p><p></p><p>        กลฺยาณการี  กลฺยาณํ   ปาปการี    ปาปกํ </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">     ทำความดีย่อมได้ผลดี   ทำความชั่วย่อมได้ผลชั่ว </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">      กมํมุนา วตฺตตี  โลโก   สัตว์โลก ย่อมเป็นไปตามกรรม</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>        โดยนัยแห่งความจริงเช่นนี้  มนุษย์ผู้มีปัญญา ย่อมเร่งรีบสร้างแต่กรรมดีไว้ให้มาก  โดยไม่ประมาทในสังขารของตน ที่ไม่จีรังยั่งยืน  ย่อมดับลงได้อยู่ทุกขณะ  พระธรรมเทศนาของพระอาจารย์มั่น ดังกล่าวมานี้  เป็นภาษิตจับใจพุทธศาสนิกชนทั้งหลายในราตรีนั้น ยิ่งนัก </p><p>     </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>(ติดตามตอนต่อไป)          

หมายเลขบันทึก: 128666เขียนเมื่อ 16 กันยายน 2007 10:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 20:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • น่าเห็นใจคะอาจารย์
  • ผู้มีปัญญาในยุคปัจจุบัน..ต่างแร่งสะสมเงินทองคะ...ไม่ใช่สะสมความดี

คุณP

         ใช่แล้วครับ  โดยเฉพาะนักการเมืองทั้งหลายกำลังทำอะไรเป็นตัวอย่างแก่เด็กๆ บ้าง  ผมเจตนานำเรื่องราวจากบุคคลผู้ได้ชื่อว่าเป็นอริยสงฆ์ มาเล่ามิใช่เป็นเรื่องไกลตัวเลย หากจะน้อมนำธรรมที่ได้มาคิด ปฏิบัติ เชื่อว่า สังคมไทยจะสงบร่มเย็นกว่าที่เป็นอยู่ครับ

อนุโมทนาสาธุ

ทุกวันนี้ คนส่วนมากถูกภัยภายในคืออวิชชาท่วมทับจิตใจ ทำให้มองไม่เห็นธรรม กลับเห็นกงจักรเป็นดอกบัว เห็นความชั่วเป็นความดี เห็นสิ่งราคีเป็นสิ่งมีราคา

แต่ยังพอชื่นใจ ที่ยังมีคนอีกจำนวนไม่น้อย พยายามนำเสนอธรรมที่แท้จริง กระตุ้นจิตสำนึกของเพื่อนมนุษย์ให้มีสัมมาทิฏฐิ

ธรรมะคุ้มครอง บุญรักษาน่ะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท