คำสอนแห่งคดีโลกและธรรมอันเป้นรากแก้วแห่งความเป็นมนุษย์


พระอาจารย์มั่นมิได้ถือปัจเจกปัญญารู้ธรรมแต่เฉพาะตัวเท่านั้น

 

ตอน  คำสอนแห่งคดีโลก 

             แต่ก่อน  คนไทยนับถือ เชื่อวิญญาณกันมาก โดยเฉพาะทางภาคอีสาน  เมื่อเชื่อ ก็มักเซ่นสรวงบูชาหาฤกษ์ยาม  เจ็บป่วยไข้เมื่อใด ใจก็มักคิดแต่เรื่องภูตผี  หมอยาปัจจุบันก็มี แต่ไม่ใคร่จะเชื่อถือ กลับพึ่งหมอผี คนทรงเจ้ามารักษา ให้ความศรัทธานิยม

              เมื่อพระอาจารย์มั่นจาริกไปในภาคอีสาน ท่านก็แสดงธรรมชี้ทางปัญญาให้ชาวบ้านแลเห็นความจริงอันเป็นประโยชน์และโทษแห่งความเชื่อเหล่านั้น จนบางเบาไปมาก  ท่านเคยอรรถาธิบายแห่งปัญหาที่ว่า                         

 ผีมีจริงหรือไม่? 

ไว้กระจ่างชัดว่า  ความจริง ผีที่ทำให้คนเกิดความกลัวและเป็นทุกข์กันนั้น คือผีที่เกิดขึ้นภายในจิตใจของคน  เมื่อคิดว่ามีและสามารถให้คุณให้โทษแก่ตนได้  ผีก็มีขึ้นได้จากมโนภาพที่วาดฝันขึ้นมา 

           ส่วนผีที่มีตัวตนอยู่อีกมิติหนึ่งนั้น  หากท่านจะกล่าวว่ามีจริง ก็ไม่มีพยานหลักฐานยืนยันให้เชื่อถือได้  เพราะคนเราโดยมากมีนิสัยไม่ชอบยอมรับความจริง ปัญหาเรื่องผีจึงไขเป็นปริศนาธรรมสองประการดังกล่าวแล้วนี้

           พระอาจารย์มั่นมักใช้เวลาราว ๔-๕ โมงเย็น แสดงธรรมโปรดประชาชน  ท่านอธิบายถึงปัญหาที่ว่า  

        คนเราเกิดมาจากไหน? 

ไว้ว่า ในทางธรรมะนั้น  มนุษย์และสัตว์ล้วนเกิดจาก อวิชชา คือความไม่รู้  อันเป็นรากเหง้าของกิเลสทั้งปวง นั่นคือความไม่รู้ในทุกข์  ความไม่รู้ในเหตุให้เกิดทุกข์  ความไม่รู้ในความดับทุกข์ และ ความไม่รู้ในทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ 

         นอกจากนี้  มนุษย์ยังเกิดจาก  ตัณหา  คือความทะยานอยาก ปรารถนาในอารมณ์อันน่ารักใคร่  อยากมี  อยากเป็นนั่นเป็นนี่  และไม่อยากเป็นนั่น ไม่เป็นนี่   

         อวิชชาและตัณหา  จึงเป็นเหตุ ให้มนุษย์เกิดกิเลส เป็นทุกข์ และต้องเวียนว่ายอยู่ในวัฏสงสารอยู่ไม่รู้จักจบสิ้น  

        ปัญหาอีกข้อหนึ่งที่พระอาจารย์มั่นแสดงไว้เป็นข้อคิดพิจารณา คือ อะไรเป็นเหตุให้มนุษย์และสัตว์ เกิดความรักกัน ชอบกัน  ท่านกล่าวว่า ต้นเหตุคือ  ราคะตัณหา  ความใคร่ ความอยาก ที่มีอยู่ในตัวทุกคน ถ้ามีมากขึ้นและไม่มีสติปัญญาสกัดกั้น ยับยั้งแล้ว ย่อมนำมหันตภัยมาสู่ตนและโลก ด้วยราคะตัณหา สามารถนำไปสู่การเบียดเบียน ทำลายกันได้ 

 

         ข้ออภิปรายไขปัญหาดังที่นำมาสาธกนี้ คือคำสอนอันเป็นเรื่องราวทางโลกที่พระอาจารย์มั่นได้เตือนสติแก่เราทั้งหลาย ได้พึงคิดพิจารณาให้เกิดปัญญา ประพฤติดี ประพฤติชอบ ต่อไป

  ตอน ธรรมอันเป็นรากแก้วแห่งความเป็นมนุษย์

          พระอาจารย์มั่น มิได้ถือปัจเจกปัญญารู้ธรรมแต่เฉพาะตัวเท่านั้น  แต่ท่านมีเมตตากรุณาสั่งสอนธรรมนั้นแก่ผู้อื่นด้วย ดังแนวทางจริยาแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ทรงมีต่อโลกมาแต่ครั้งพุทธสมัย  

 

        พระอาจารย์มั่น มีวิธีฝึกอบรมพระภิกษุสามาเณรและฆราวาสเป็นที่น่าอัศจรรย์  เพราะเหมาะสมกับชั้นภูมิ  ความเป็นอยู่  และถูกจริตนิสัยของแต่ละบุคคล  เข้าใจง่าย ปฏิบัติง่าย ท่านแสดงธรรมแก่ฆราวาสทั้งหลายให้เห็นความสำคัญของการเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์เสมอๆ ว่า 

          มนุษย์ทั้งหลายนั้น ควรประกอบด้วย ทาน ศีล ภาวนา กระทำเป็นประจำนิสัย เพราะ ธรรมะ ๓ ประการนี้  คือรากแก้วแห่งความเป็นมนุษย์โดยแท้  

 

 

       ทาน คือเครื่องแสดงน้ำใจของมนุษย์ผู้มีจิตใจสูง  คือมีเมตตาจิตต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยการให้  เสียสละแบ่งปันตามกำลังของ วัตถุทาน ธรรมทาน อภัยทาน  ผู้ใดให้ทานย่อมเป็นที่เคารพรักเลื่อมใสของบุคคลทั่วไป ย่อมเป็นสุขทั้งภพปัจจุบันและอนาคต  ทานจึงเป็นธรรมอันสงเคราะห์ให้มนุษย์และโลกเกิดความสงบร่มเย็น

   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">         ศีล  คือรั้วกั้นความเบียดเบียนและทำลายซึ่งกันและกัน เป็นเกราะกำบังกิเลส เป็นโอสถวิเศษ รักษากายวาจาให้สุจริต ผู้ใดมีศีลเป็นจริตนิสัย ถือศีล ๕ ประจำใจ ย่อมได้อานิสงส์คงมั่น  ผ่องใส  กายใจงดงาม  โลกเราก็คงไม่ทรามรุ่มร้อน  แต่เมื่อใดคนเราขาดศีลเป็นธรรมสมบัติ มนุษย์และโลกก็คงถึงแก่วิบัติเดือดร้อนเป็นมั่นคง</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>           ภาวนา  คือการอบรมใจให้เกิดปัญญา รู้เหตุ รู้ผล รู้ตน รู้ใจ  ใฝ่ถึงความสงบสุข  ผู้ใดหมั่นภาวนาขัดเกลาจิตใจของตน  ย่อมมีผล มีหลักยึด  จะทำกิจการงานใดย่อมมีใจฉลาดแลเห็นประโยชน์และโทษ  มีเหตุมีผล เลี่ยงตนจากกามกิเลสได้โดยง่าย  การภาวนาจะใช้วิธีใด ก็ให้จิตสงบมั่นคง  มีอารมณ์รวมนิ่งอยู่ได้  ภาวนาจึงเป็นอุบายแก้ไขความทุกข์ที่เกิดขึ้น มีสุขภาพกายใจที่ดี   </p><p> </p><p> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">       ธรรมะ ๓ ประการดังกล่าวมานี้  พระอาจารย์มั่นได้แสดงไว้อย่างละเอียด ประณีต ยากที่จะอรรถาธิบายได้เสมอเท่า จึงแสดงไว้พอเห็นเป็นเลาๆ เพื่อเตือนสติไว้ ว่า  ทาน ศีล ภาวนา คือธรรมสมบัติอันประเสริฐของมนุษย์ ดุจดังรากแก้วยึดเกาะไว้มิให้คลอนแคลน  เป็นเครื่องหล่อเลี้ยงบำรุงให้เกิดความเจริญงอกงาม  มิให้เลวทรามแคระแกร็นไร้ประโยชน์</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">(ติดตามตอนต่อไป)</p>

หมายเลขบันทึก: 128659เขียนเมื่อ 16 กันยายน 2007 10:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 14:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • จริงด้วยคะอาจารย์..หากรู้จักให้ทาน..เป็นการฝึกให้เอื้อเฟื้อต่อเพื่อนมนุษย์
  • ปฏิบัติตามศิลได้..ก็ไม่ทำผิดกฏหมาย
  • ภาวนา...เหมือนการดูแลตนเอง..ฝึกตนเองคะ

คุณP

     ธรรมะ  ย่อมมีคุณเสมอแก่ผู้ได้ปฏิบัติ  ธรรมะ ไม่ใช่มีไว้สำหรับไม้ใกล้ฝั่ง  แต่ธรรมะ มีไว้สำหรับทุกคน ทุกเพศวัย  ได้อ่าน ได้คิด ก็เป็นมงคลแก่ชีวิตครับคุณ naree suwan 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท