บางประเด็นบนเวทีการเป็นวิทยากร (๒) ผมชวนนิสิตการท่องเที่ยวและการโรงแรมเปลี่ยนวิถีกิจกรรมจาก "เมือง" สู่ "หมู่บ้าน" ...


อย่างน้อยก็เป็นการนำพาพวกเขากลับไปค้นหา "รากเหง้า" และ "ตัวตน" ทางวัฒนธรรมของพวกเขาเอง
ย้อนกลับไปวันที่ 8 กันยายนที่ผ่านมาอีกสักครั้ง .../// ภาคบ่ายผมไปบรรยายเรื่อง "การเขียนโครงการและการเบิกจ่ายงบประมาณ" ให้กับคณะกรรมการสโมสรนิสิตคณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม /// ... คณะนี้เท่าที่ผมสังเกตดูจะพบว่านิสิตส่วนน้อยเท่านั้นที่ไปทำกิจกรรม โดยเฉพาะงาน "ค่าย" นั้นถือว่าน้อยมาก /// (และพวกเขาก็ยอมรับเช่นนั้นด้วยเหมือนกัน) /// ผมนอกเรื่องด้วยการแนะนำให้ขุนพลกิจกรรมของสโมสรเปลี่ยนรูปแบบกิจกรรมบ้าง /// ยกตัวอย่างเช่น แทนที่จะจัดกิจกรรมท่องเที่ยวในเชิงอุตสาหกรรมในเมืองใหญ่อย่างเดียว /// ก็น่าจะเปลี่ยนมาทำค่ายในการอบรมมัคคุเทศก์ในหมู่บ้านใกล้ ๆ มหาวิทยาลัยบ้าง /// ชวนน้อง ๆ ในหมู่บ้านมาเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้ชุมชนตัวเอง ..สอนทักษะต่าง ๆ ให้กับพวกเขา /// อย่างน้อยก็เป็นการนำพาพวกเขากลับไปค้นหา "รากเหง้า" และ "ตัวตน" ทางวัฒนธรรมของพวกเขาเอง .../// สิ่งเหล่านี้ใช้เวลาไม่นาน .. ใช้เงินไม่เยอะ ... เป็นการบริการชุมชนชั้นดีที่นิสิตไม่ควรมองข้าม../// .... และนี่คือการสร้างสำนึกรักบ้านเกิดให้กับเด็ก ๆ ที่นิสิตคณะการท่องเที่ยวและการโรงแรมสามารถสร้างสรรค์ได้อย่างไม่ยากเย็น /// ... ขึ้นอยู่กับว่าจะกล้าเปลี่ยนแนวทางความคิดหรือไม่ ? .../// และนิสิตที่นั่งฟังต่างก็สนใจในเรื่องที่ผมเล่า ...ยกมือสอบถามแลกเปลี่ยนกับผมอย่างเป็นกันเอง ..../// บางทีการเรียนในหลักสูตรก็พาเราไปสู่ "ตลาดงาน" มากกว่า "ตลาดชีวิต" ..../// แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่า น้องนิสิตจะหลงลืมกระบวนการเหล่านี้เสียทั้งหมด .../// ผมเชื่อว่าเขาทำได้ - ผมจะเฝ้าดูและให้กำลังใจกับพวกเขา ................
หมายเลขบันทึก: 128658เขียนเมื่อ 16 กันยายน 2007 10:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

หมู่บ้าน ชุมชน เป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาประเทศ

สวัสดีครับ คุณพนัส

ผมเองอยากโทรศัพท์ไปสอบถามเกี่ยวกับ หลักสูตรการท่องเที่ยวที่ มมส.นี่หละครับ พอดีสนใจเป็นการส่วนตัว

อยากทราบแนวโน้มของการเรียนการสอน และโครงสรางหลักสูตรระดับปริญญาเอก เพราะผมไม่สามารถเข้าถึงเวปของ สาขา นี้ได้เลย เท่าที่สอบถามจากหลายๆท่าน ก็เหมือนว่า การเรียนการสอนด้านการท่องเที่ยวในประเทศไทย ยังเน้น การท่องเที่ยวกระแสหลักมากกว่า ที่เรียกว่า อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว นั่นหละครับ

ถ้าอย่างนั้นจริงๆ ก็คิดว่า นอกจาก มมส.แล้ว ก็ไม่มีที่ไหนเปิดการเรียนการสอน แนว "การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน" พอดีผมมีโครงร่างเพื่อนำเสนอด้วยไงครับ เลยลองนั่งทบทวนสถานที่เรียนในเมืองไทยดู

 

 

เรียน ท่านแผ่นดิน

  • นิสิต มมส ได้ต่อยอด การจัดการ นำ KM มาเติมเต็ม กิจกรรม
  • ได้ทั้งสติ และ ใจ ที่มีเป้าหมาย ครับ
  • ชื่นชม ชื่นชม
สวัสดีครับ (สายธารแห่งศรัทธา) ... หมู่บ้านและชุมชนเป็นพื้นฐานของการพัฒนาประเทศ // รวมถึงการเป็นองค์ประกอบอันสำคัญของประเทศชาติ ...// และหลายคำตอบของชีวิตก็รอการค้นพบในหมู่บ้านที่ห่างไกลจากตัวเมือง ...// ขอบคุณครับ -
สวัสดีครับ คุณเอก .../// ผมยินดีที่จะประสานรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องหลักสูตรการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนให้นะครับ .../// ถึงแม้จะรู้สึกว่าที่ มมส เองก็ดูจะเปิดตลาดการศึกษาเพื่อป้อนคนเข้าสู่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นกระแสหลัก /// การบรรยายของผมในวันนั้น จึงพยายามสื่อสารไปยังนิสิตในมุมมองนี้เช่นกัน .. ซึ่งคาดว่าอาจจะมีปฏิกริยาใหม่เกิดขึ้นกับนิสิตเหล่านี้บ้าง และพวกเขาก็สามารถที่จะสร้างกิจกรรมในแนวนี้ได้อย่างไม่ยากเย็น ทั้งโดยเต็มรูปแบบ หรือแม้แต่การเป็นส่วนหนึ่งของค่ายอื่น ๆ .../// การเปลี่ยนแปลงความคิดของคนเป็นเรื่องยาก .. โดยเฉพาะความคิดที่ถูกฝังมาจากศาสตร์แห่งการศึกษาในวิชาชีพ /// กระนั้น ผมก็อยากเห็นกิจกรรมใหม่ ๆ ในทางการท่องเที่ยวที่ไม่ผันตัวไปตามกระแสหลักบ้าง .../// ผมไม่สิ้นหวังหรอกนะครับ

สวัสดีเจ้าค่ะ คุณครูแผ่นดิน...ถิ่นสยามที่น่ารัก

           หนูมาแวะเป็นกำลังใจให้คุณครูนะเจ้าค่ะ....ดูแลสุขภาพด้วยนะเจ้าค่ะ....แล้วก็ฝากบอกพี่ๆนักศึกษาด้วยว่า.....หนูเป็นกำลังใจให้พี่ๆในการทำกิจกรรมดีๆเจ้าค่ะ...อาจจะมีสักวันที่หนูก้าวเข้า มมส. คิคิ

           เป็นกำลังใจให้เจ้าค่ะ ------> น้องจิ ^_^

การบันทึกแล้วต่อกันเป็นแพ  นั้น คุณแผ่นดิน ทดลองใช้วิธี กด shift + enter  ในการขึ้นบรรทัดใหม่ได้หรือยังคะ ทราบวิธีจากคุณกมลวัลย์ ค่ะ

สวัสดีครับ ท่านอาจารย์ jj ../// หากผู้นำนิสิตได้ยินคำนี้ คงดีใจและมีพลังในการสร้างกิจกรรมเป็นแน่ครับ แต่อย่างไรผมก็จะทำหน้าที่สื่อสารคำชื่นชมนี้ไปยังพวกเขาอีกครั้ง /// ขอบพระคุณครับ
สวัสดีค่ะ การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ขณะนี้ ก็มีอยู่หลายจังหวัดที่ทำอยู่ เช่น จังหวัด กาญจนบุรี จังหวัดแพร่ จังหวัดอุบลราชธานี ที่อุทยานแห่งชาติ ผาแต้ม เป็นต้น เป็นการที่เปิดโอกาสให้คนในพื้นที่ไม่ว่าจะอยู่ในบริเวณอุทยานแห่งชาติ หรือบริเวณใกล้เคียง เข้ามามีส่วนร่วมในการรับผิดชอบการจัดการท่องเที่ยว และก่อให้เกิดโอกาสในการมีส่วนได้ค่าตอบแทนอย่างเป็นธรรมจากการเข้ามามีส่วนร่วมจัดการ ก็ย่อมถือว่าเป็นการดำเนินการที่ส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนขึ้น เช่น การจัดการเดินป่าเที่ยวชมธรรมชาติป่าชุมชนในเขตอุทยานแห่งชาติผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี ของกลุ่มชาวบ้านหมู่บ้าน ซะซอม เป็นต้น แต่ต้อง ไม่มีการทำลายทรัพยากรของชาตินะคะ ทั้งสองฝ่ายจะเห็นใน คุณค่า รัก หวงแหน และตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ก็จะส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนได้ด้วยเช่นกัน

สวัสดีครับ หนูจิ..

P

วันนี้คุณครูกับชาวคณะในมหาวิทยาลัย  รวมถึง  พี่ออต  พี่สายลม  ก็ตะลุยบ้านเม็กดำ เยี่ยมชมธรรมาสน์เสาเดียว และแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ  ... 

และเชื่อว่าจะได้รับแรงบันดาลใจที่จะสร้างอะไรขึ้นได้บ้าง

ยินดีเสมอหากจะมาเป็นส่วนหนึ่งของที่นี่นะครับ

สวัสดีครับ...

P

ขอบพระคุณนะครับสำหรับคำแนะนำต่าง ๆ  และก่อนหน้านี้ก็ลองทุกวิธีแล้วครับ

แต่จู่ ๆ  ทุกอย่างก็กลับมาเป็นปกติ... ผมดีใจมาก

ขอบคุณครับ

สวัสดีครับ  พี่ศศินันท์

P

ดีใจมากครับที่ได้รับความรู้เพิ่มเติมในแง่ของการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน  โดยเฉพาะบริบทของอีสานบ้านเกิดเมืองนอนของผม

ประเด็นสำคัญที่ผมคุยกับนิสิต   อาจเป็นประเด็นที่ท้าทายวิถีกิจกรรมของพวกเขาอยู่พอสมควร   เพราะการเรียนในหลักสูตรที่ มมส  มุ่งป้อนพวกเขาเข้าสู่ระบบตลาดอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว   หลายโรงแรมเดินทางมารับนิสิตไปทำงานโดยตรง ...

กิจกรรมนิสิตที่จัดขึ้น  ก็มักจะตอบสนองไปในด้านนั้นเสมอ  ผมจึงอยากให้เขาได้หันกลับมาสร้างทางเลือกด้านกิตกรรมในทำนองที่ผมเสนอบ้าง  

และก้ไม่ใช่เรื่องยากอะไรนักถ้าพวกเขาพึงใจที่จะทำกิจกรรมดังกล่าว...  ซึ่งอาจจะจัดขึ้นเอง  หรือไม่ก็ไปแจมกับชมรมอื่น ๆ  ... สำคัญคือ  นิสิตก็จะได้เรียนรู้และสัมผัสกับวิถีวัฒนธรรมของคนในชุมชนด้วย  มิใช่สัมผัสกับวัฒนธรรมของคนชั้นกลางแต่ฝ่ายเดียว

ผมคงไม่ได้คาดหวังอะไรกับเขาเกินไปใช่ไหมครับ ... 

 

นักศึกษาสาขาวิชาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้เปิดสอนหลักสูตรสาขาวิชาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศมานานหลายปีแล้ว   การท่องเที่ยวเชิงนิเวศคือการท่องเที่ยวที่เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นหลักและเป็นการท่องเที่ยวที่ไม่ทำลายระบบนิเวศโดยมีการจัดการร่วมกันระหว่างชุมชนกับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนซึ่งคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม  เศรษฐกิจ  สังคมและวัฒนธรรมของชุมชน

   การท่องเที่ยวเชิงนิเวศเป็นการท่องเที่ยวที่ดูจะขัดแย้งกับการท่องเที่ยวแบบ mass tourism  แต่ไม่ใช่ตรงกันข้ามเสมอไป  ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงขีดความสามารถในการรองรับของพื้นที่ด้วย  แต่การท่องเที่ยวเชิงนิเวศนี้จะสามารถนำไปสู่การท่องเที่ยวแบบยั่งยืนได้

สวัสดีครับ  (นักศึกษาสาขาวิชาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ)

ยินดีมากเลยครับที่ได้แลกเปลี่ยนกับน้องนักศึกษา...

และชื่นชมในทิศทางของหลักสูตรที่เรียนเป็นอย่างยิ่ง

ซึ่งนั่นก็น่าจะเป็นการดูแลสังคมได้เป็นอย่างดี

เป็นกำลังใจให้นะครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท