ทีมใครมาบุกบ้านพ่อครูบาสุทธินันท์


บันทึกของนักศึกษาปริญญาเอกภาษาอังกฤษเกี่ยวกับมหาชีวาลัยอีสาน

ตอนเช้าเมื่อวานอยู่บ้านพ่อครูบาสุทธินันท์  ตอนนี้กลับมามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีเรียบร้อยแล้ว เดินทางไกลมาถึงหมดแรง ต้องขอบคุณน้อง ออต จากเล้าข้าวศึกษา มาส่งที่อำเภอพุทไธสง 

 

      

  ที่บ้านพ่อครูบาสุทธินันท์จะมีทีมของบุคลต่างๆมาอบรมมาเยี่ยมชมอยู่เสมอ แต่ทีม UKM11 มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคามบางส่วนเคยมาครั้งหนึ่งแล้ว แต่ครั้งนี้ทีมอาจารย์และเจ้าหน้าที่มาขอบคุณพ่อครูบาสุทธินันท์ ผอ. ดร. ศักดิ์พงษ์ น้องออตและผู้เขียนใน การช่วยเตรียมงาน UKM11 มีน้องจากสาขาการศึกษาพิเศษ ตามมาเรียนรู้ด้วย

      <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal" align="justify">        ผอ. ดร. ศักดิ์พงษ์ พี่ครูพันดาและผู้เขียนเลยพานักวิชาการบุกดงเข้ามาดูการจัดเรื่องการเกษตร การเลี้ยงสัตว์ ในพื้นที่บางส่วนของมหาชีวาลัยอีสาน ทำเอาอาจารย์และเจ้าหน้าที่อึ้งและหมดแรงไปเหมือนกัน</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal" align="justify"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal" align="justify"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal" align="justify"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal" align="justify"></p><p>        </p><p align="justify">  เมื่อวานผู้เขียนสังเกตว่ามีลูกหมูเหมยซานไม่กี่ตัวตอนพาเพื่อนอาจารย์ชาวเวียดนามมาดู แต่พอผู้เขียนนำคณะอาจารย์และเจ้าหน้าที่มาชม ปรากฏว่ามีจำนวนลูกหมูเพิ่ม ถามได้ความว่ามีหมูคลอกใหม่คลอดเมื่อคืน สิ่งที่ชอบและประทับใจคือเพิ่งสังเกตว่าเจ้านกยูงตัวเมีย ที่พ่อครูบาประกาศหาคู่ให้มัน(เหมือนใครน่า…) เขามาอยู่รวมฝูงกับห่านบ้านได้ ก็แปลกดี ที่นี่รู้สึกว่าสัตว์สามัคคีกันดีเช่น หมาเล่นกับแมว แม่ไก่ช่วยกันกกไข่ให้แม่เป็ด ถ้าคนเราสามัคคีกันแบบนี้ก็ดี ท่านอาจารย์ประยุทธท่านกล่าวว่า คนไทยเหมือนไก่ในเข่ง อยู่ในเข่งก็ตีกัน รอวันเขาเอาไปฆ่า              </p><p align="justify"> </p><p align="justify">   มีนักศึกษาและอาจารย์ถามคำถามได้ดีมาก บางครั้งการถามคำถามของนักศึกษาสะท้อนการศึกษาของเขาได้ดี ผู้เขียนไม่รู้สึกผิดหวังเมื่อได้พบกับนักศึกษา ปัญหาคือ อาจารย์ในมหาวิทยาลัยจะตามนักศึกษาทันหรือไม่ ถ้ายังใช้ระบบการเรียนการสอนแบบที่ตนเองเรียนมาเมื่อ 10 ปีที่แล้ว การศึกษาทุกวันนี้มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปมาก อาจารย์ในมหาวิทยาลัยต้องตามให้ทัน   </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal" align="justify">อาจารย์ในมหาวิทยาลัยควรจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับชุมชนและสังคมที่เขาอยู่ ไม่ใช่จัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาเข้าสู่ภาคธุรกิจ หรือเป็นข้าราชการอย่างเดียว เมื่อวันที่ 10 กันยายนที่จังหวัดบุรีรัมย์มีสอบครู ตัวอย่างเช่นบางวิชาเอกรับตำแหน่งเดียว แต่คนมาสมัครเป็น 1,000 คน พ่อครูบาว่า เอ 1 ใน 1,000 คน แต่พอเข้ามาสอน ทำไมเราไม่ได้ คนที่ดีที่สุด เป็นเพราะระบบหรืออะไรช่วยตอบให้ที</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal" align="left"> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal" align="left"> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal" align="left"></p><p align="left"></p><p align="justify">  เป็นเรื่องใหม่คือทีมนี้เตรียมขนมจีนมาเอง เลยไม่ลำบากแม่ฉวีเราทำอาหาร กลายเป็นเรื่องสนุกเมื่อใครมาบ้านพ่อครูบาสุทธินันท์ ต้องมาทำอาหารทานกัน ดูนักศึกษาตำส้มตำดูท่าทางก็จะทราบว่าน่าสนุกขนาดไหน     </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal" align="justify">ผู้เขียนคิดว่าการศึกษาบ้านเราไม่ได้มีสูตรสำเร็จทั้งหมด ครูอาจารย์ควรจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับชุมชน สังคมและภูมิปัญญาในท้องถิ่น เอาผู้เรียนเป็นตัวตั้ง ครูอาจารย์ต้องศึกษาหาความรู้อยู่เสมอ(เป็นเรื่องน่าเศร้าใจป็นที่สุด เมื่อผู้เขียนไปอบรมให้สถาบันการศึกษาหนึ่ง ปรากฏว่า อาจารย์ใช้ คอมพิวเตอร์ไม่ได้ ค้นข้อมูลจาก Internet เพื่อหาความรู้ใหม่ๆๆไม่เป็น) รู้จักปรับเปลี่ยนแปลงการสอน การศึกษาบ้านเราจะได้ไม่เป็นเรื่องของความทุกข์อีกต่อไป….</p><p></p><p> </p><p align="justify"> ให้ทายว่าดอกอะไรน่า เก็บมาจากบ้านพ่อครูบาสุทธินันท์หลังฝนตก</p>

หมายเลขบันทึก: 127253เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2007 23:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (39)

การเรียนที่ดี น่าจะเป็น... 

การเรียนรู้ที่เท่าทันการเปลี่ยนแปลง

การเรียนรู้จากสถานการณ์จริง

การเรียนรู้ที่ผ่านกระบวนการคิด

เปลี่ยนจาก "การเรียนหนังสือ" เป็น "การเรียนรู้"

ต้องร่วมกันปรับ...

ครูต้องปรับให้เท่าทันโลก และเหมาะสมกับบริบท

นักเรียนต้องเปลี่ยนมาเรียนรู้ไม่ใช่เรียนหนังสือ...

ระบบต้องยอมรับและปรับเปลี่ยนเพื่อการศึกษาที่ดี

---^.^---

ข้อคิดเห็นแฝงความคับข้องใจ จากความรู้สึกช่วงหนึ่งของการเป็นอาจารย์ในรั้วมหาวิทยาลัย...

 

ขออีกรอบนะคะ...

ไม่รู้ดอกอะไร แต่ดูแล้วสดชื่นจังเลยคะ

---^.^---

  • ขอบคุณมากครับคุณP
  • ขอบคุณสำหรับข้อคิดเห็นดีๆๆ
  • ให้ทายว่าดอกอะไร
  • มีกลิ่นหอมมากๆๆ
  • ดอกไม่รู้ชื่อครับ
  • แต่จำได้ว่าต้นอยู่ตรงหน้าบ้านนั่นแหละ..อิอิ
ถ่ายรูปดอกไม้ได้สวยมากเลยค่ะ แต่ดอกอะไรไม่ทราบได้ค่ะ ขอให้อาจารย์ช่วยเฉลยด้วยค่ะ..........
  • ขอบคุณพี่สมนึกมากครับP
  • ต้นอะไรน่า
  • ต้องลองไปถามพี่อ้อย
  • แต่ต้นไข่เน่าของพี่สมนึก พี่อ้อยและน้องขวัญรอดตายแล้วครับ
  • ขอบคุณครับ
  • ขอบคุณอาจารย์P
  • มากครับ
  • ตามไปดูแล้ว ดีจังเลย
  • ให้แนวคิดดีๆๆ
  • เป็นอย่างไรบ้างคงคิดถึงบ้านเราน่าดู
  • ดอกอะไรน๊า.....อ๋อ รู้แล้ว  ดอกไม้  ค่ะ
  • อิอิ
  • สวัสดีค่ะอาจารย์
  • ยังมีชีวิตอยู่ค่ะ

 

แหม ถูกใจที่อาจารย์กล่าวว่า

....ครูอาจารย์ควรจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับชุมชน สังคมและภูมิปัญญาในท้องถิ่น เอาผู้เรียนเป็นตัวตั้ง ครูอาจารย์ต้องศึกษาหาความรู้อยู่เสมอ

ปัจจุบันส่วนมากเราจะเห็นครูอาจารย์ที่พยามปรับตัวเพื่อให้ดูดีที่อ้างอิงแนวคิดใหม่ๆ ทฤษฎีฝรั่งล้วนๆ แต่ไม่สามารถบูรณาการความรู้ใหม่ๆที่ได้มานำมาสังเคราะห์ใช้กับชุมชนให้เหมาะสมตามบริบท

ดอกไม้นี้คล้ายดอก"พุดน้ำบุษย์"มากเลยค่ะ เก็บภาพได้สวยมากจริงๆค่ะ

  • ขอบคุณน้องนกP
  • มากครับ
  • แหมดอกไม้แล้วเรียกว่าดอกอะไรครับ
  • ขอบคุณหนูกิ่งP
  • ครูนึกว่าหนูไปเป็นเด้กเทพฯแล้วลืมพ่อครูบาเสียแล้ว
  • ขอบคุณพี่นุชมากครับP
  • ดีใจและภูมิใจที่ได้พบนักวิชาการแบบพี่นุช
  • เราไม่ได้ปฎิเสธความรู้ใหม่แต่เราจะเอามาบูรณาการให้เข้ากับบริบทของสังคมเราได้อย่างไร
  • พี่เก่งมากครับ
  • ดอกพุดน้ำบุษย์จริงๆๆด้วย
  • กลิ่นหอมมาก
  • พี่สมพิศ จากกรมวิชาการเอามาปลูกให้พ่อครูบา
มาเยี่ยม  คุณ
P
อ่านและเห็นภาพหมูนึกถึงหมูในเมืองอินเดีย...
เห็นภาพนกยูง  นึกถึงมหาวิทยาลัยที่เคยไปเรียนมา  มีฝูงนกยูงเดินไปมารำแพนหางบ้างสวยงามตามธรรมชาติดีจริง...นะครับ
  • ขอบคุณท่านอาจารย์P
  • มากครับ
  • นึกว่าอาจารย์ถูกปล่อยอยู่กลางทะเลแล้ว
  • อิอิอิๆๆ
  • ที่เกาะยอฝนตกไหมครับ
  • ที่โคราชตกบ่อยๆ
  • โดนเฉพาะบันทึกนี้ตกทุกวันเลย
  • ฮ่าๆๆๆ
  • หวัดดีค่ะ อ.ขจิต
  • เมื่อวานได้พบอาจารย์ท่านหนึ่งท่านทำผลงานทางวิชาการมาเข้าฟังการเสนอผลงานวิจัยเครืข่ายวิจัยภาคเหนือตอนล่าง ด้วยกันหลังจากทีคุยกันเรื่องการสืบค้นงานวิจัยในห้องสมุดกันก็มีการให้ชื่อ   หมายเลขโทรศัพท์  บอกท่านว่าส่งเมลล์ให้สุวรรณาก็ได้นะคะ สะดวกว่า ปรากฎว่าท่านใช้ อีเมลล์ไม่เป็น ใช่ว่าท่านไม่ใฝ่รู้แต่ท่านรับปากว่าจะให้ลูกสอนให้ ดีใจนะคะที่อาจารย์ท่านนั้นยอมรับเทคโนโลยีใหม่
  • อาจารย์คะ จะไปห้องสมุด  มน. เมื่อไร แจ้งพวกเราด้วยนะคะ จะเตรียมต้อนรับ  นะคะ
  • ขอบคุณคุณสุวรรณามากครับ
  • ดีใจจังเลยที่ได้พบอาจารย์แบบนี้
  • เราว่าจะแอบไปกันเงียบๆ
  • จะได้ไม่รบกวนงานคุณสุวรรณาดีไหม
  • อยากพบ blogger ของงานห้องสมุดครับ
  • มีตั้งหลายท่าน
  • ตอนนี้คุณวันเพ็ญ เงียบไปเลยนะครับ
  • เหลือน้องแก่น
  • จอมกวน และอีกไม่พี่ท่านเอง
  • เสียดายจังเลย

สวัสดีค่ะน้องชาย อ.ขจิต

ชื่นใจจริงๆเลยค่ะ  ที่ได้รู้จักอาจารย์และเราก็รักกันเป็นพี่เป็นน้องกัน  อิอิ  มีพ่อคนเดียวกันด้วยเนอะ  blog นี้พี่หนิงอึ้ง..จนพูดไม่ออกเลยอ่ะ  ยิ่งได้อ่าน...

....ครูอาจารย์ควรจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับชุมชน สังคมและภูมิปัญญาในท้องถิ่น เอาผู้เรียนเป็นตัวตั้ง ครูอาจารย์ต้องศึกษาหาความรู้อยู่เสมอ

ปัจจุบันส่วนมากเราจะเห็นครูอาจารย์ที่พยามปรับตัวเพื่อให้ดูดีที่อ้างอิงแนวคิดใหม่ๆ ทฤษฎีฝรั่งล้วนๆ แต่ไม่สามารถบูรณาการความรู้ใหม่ๆที่ได้มานำมาสังเคราะห์ใช้กับชุมชนให้เหมาะสมตามบริบท

  • น้องคุณพี่หนิงมากครับ
  • ได้รับเอกสารหมดหรือยัง
  • น้องออตไปส่งที่พุทไธสง แต่ไม่มีรถผ่านมหาสารคาม
  • มาฝากที่โคราช
  • คนขับรถไม่ยอมรับ
  • เลยต้องส่งทาง mail ปรากฎว่ากว่าจะส่งได้ยุ่งเหมือนกัน
  • ไม่ทราบว่า load ได้ทั้งหมดหรือไม่ครับ
  • ขอบคุณครับ
  • ศิษย์แวะมาทักทายเจ้าค่ะ
  • ศิษย์ขอบคุณมากเจ้าค่ะที่เข้าไปแสดงความคิดเห็นให้
  • ว่างๆทักทายกันได้นะค่ะ
  • http://gotoknow.org/blog/akirao1

สวัสดีครับน้องชาย

         เห็นกิจกรรม เห็นบรรยากาศ แล้ว ดูคึกคักมากนะคะ  

        อ้อ  ดีใจจัง เห็นหลาน ๆ เดินกันให้ควัก  (อิอิ)

       ส่วนดอกไม้นั่นหนะ ขอบอกว่า ถ่ายได้สวยมากเลยครับ

      อ้อ  อีกที พ่อแอบฟ้องด้วยหละ  ว่า เผลองีบไปแป๊บเดียว ตื่นมาลูกชาย 2 คน หายไปซะแล้ว ยังไม่ทันได้ร่ำลาเลย 

         อิอิ

  • แวะมารายงานตัวค่า...หัวหน้าห้องป.1 มาแล้วคะ..อิอิ..อ้าวที่นี่ไม่ใช่โรงเรียนโคกเพชรหรือคะ
  • ไหนๆก็มาแล้วแวะไปเลี้ยงหมูก่อนเลย...
  • ดีจังคะ...ทำอย่างไรเราจะได้โรงเรียนแบบที่บ้านพ่อครูละคะ...โรงเรียนที่ไม่เรียนบนกระดาษ..เรียนจบก็ได้กระดาษ...แถมไปแย่งแบบ 1 ต่อ 1000 อีก
  • นี่ยังน้อยคะคุณรุ่น ฉันนะ ...1 ต่อแสนคน
  • ไม้โม้คะรุ่นนี้...รุ่นพิเศษครั้งแรก ครั้งเดียว แถมเป็นประวัติศาสตร์หน้าหนึ่ง...ที่ได้ลงหน้าหนึ่งด้วยละ...ของเมืองไทย
  • คนสอบ 2 แสน กว่าคน..พอๆกับเอ็นท์เลยคุณ
  • มีคนสอบได้แสนเศษๆ..เรียก 4 หมื่นกว่าคน
  • ทายได้ยังคะ...ว่าฉันรุ่นไหน...ฮ่าๆไม่เฉลยด้วย หลอกให้งง...
  • เห็นด้วยคะ..ความรู้ทุกวันนี้ตามไม่ทันคะ
  • มีมหาศาล..แต่ต้องเลือกหน่อย ถ้าครูไม่ทำความรู้จัก กูเกิ้ล  ถ้าไม่อยากถูกแถมยาลดความอ้วน ต้องนี่คะ scholar google   หรือ วิกิพีเดีย...คงตามไม่ทันนักเรียนจริงคะคุณ

ดอกไม้สวยค่ะ เสียดายกลิ่นไม่ตามมากับบันทึกนะคะ....(ฮ่าๆ)

การจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับชุมชน..พี่เห็นด้วยค่ะเป็นเรื่องดี...แต่คงไม่ต้องเน้นชุมชนจนหาจุดเชื่อมนอกชุมชนไม่ได้นะคะ....ยกตัวอย่างเล็กๆ ที่เห็นชัดและมักจะเห็นใครๆยกเป็นตัวอย่างด้วยคือ เรื่องการเรียนเกี่ยวกับซึนามิ...เป็นความรู้รอบนอกชุมชนได้สำหรับเด็กชาวดอย แต่เป็นความรู้สอดคล้องชุมชนที่ต้องรู้สำหรับเด็กชาวทะเล จุดเชื่อมของความรู้แบบนี้อยู่ตรงที่ให้น้ำหนักต่างกันเวลาสอนและออกข้อสอบสำหรับเด็กในแต่ละพื้นที่..แต่เป็นเรื่องที่ควรสอนในหลักการทางวิทยาศาสตร์เหมือนกัน....แบบนี้พี่ว่าคงทำได้ทุกระดับการศึกษา

ข้อสำคัญคือต้องมีการศึกษาฐานข้อมูลของชุมชนให้เข้าใจจริงๆ และเป็นข้อมูลที่ทันสมัยด้วยถึงจะบอกได้ว่าความรู้ไหนเรียกว่าสอดคล้องไม่สอดคล้องนะคะ

น้องขจิตคิดว่าอย่างไรคะ

พี่คิดไปเขียนไปอย่างรีบๆ ก่อนจะต้องกลับไปทำงานต่อแล้วค่ะ

คงได้คุยกันอยู่เรื่อยๆ นะคะ...อาจารย์น้องขจิตจะไปออเรกอนวันไหน ได้กำหนดแน่นอนหรือยัง

สวัสดีค่ะอาจารย์

      เป็นกิจกรรมที่น่าสนใจค่ะ  และภาพที่อาจารย์นำมาฝากเห็นบรรยากาศทำให้นึกถึงตอนเด็ก ๆ  จริง ๆแล้วถ้าเล่าถึงเรื่องอดิตเพื่อน ๆ จะแซวเพราะว่าถ้าใครเล่าเรื่องอดิตแสดงว่าใกล้เข้าสู่วัยสูงอายุ  นอกเรื่องแล้วค่ะ ตอนเด็ก ๆ เคยเลี้ยงเป็ด   เลี้ยงไก่  และเลี้ยงปลาค่ะ

      อาจารย์ค่ะ

การศึกษาคือชีวิต

การศึกษาคือการพัฒนาความเจริญงอกงามทั้งร่างกายและจิตใจค่ะ

  • โอโห เผลอไปเที่ยวหน่อนเดียวพี่ๆน้องๆหลานๆมาเต็มเลย
  • ขอบคุณ ดญ.P
  • มากครับ
  • เขียนมาอีกนะครับ
  • พระอาจารย์ Handy กลับมาเมื่อไร
  • ขอบคุณพี่P
  • มากครับ
  • พ่อนอนหลับไม่กล้าปลุก
  • ปลุกแล้วเดี๋ยวพ่อไม่นอน
  • ฮ่าๆๆมีฟ้องด้วยหรือ
  • หลานๆๆพี่มีหลายรุ่นจัง
  • มีรุ่นล่าสุดด้วยครับ
  • ขอบคุณคุณP
  • มากครับ
  • กลับมาแล้วเหรอ
  • แหม มาก็เอาส้วมมาให้ดู
  • จำได้แล้วครับ
  • รุ่น.....
  • ยังมี ERIC Search
  • ด้วยครับ เยี่ยมมาก
  • ขอบคุณพี่สร้อยมากครับ
  • อ้าวรูปหนีไปไหน
  • บ้านเราหลักสูตรมันบังคับกันทั้งประเทศ
  • ไม่เกิดผลดีครับ
  • เพราะเขาอยู่ทะเล แต่ไปให้เขาศึกษาเรื่องไกลตัวมากเกินไปใครก็ไม่อยากเรียน
  • เรียนแล้วไม่สนุกครับ
  • คาดว่าถูกเลื่อนการเดินทาง
  • คงไปเดือน ตุลาคม
  • ดีเหมือนกัน
  • จะได้ไปเที่ยว ม.นเรศวร อิอิอิๆๆ
  • ขอบคุณคุณP
  • มากครับ
  • นึกถึงบรรยากาศบ้านนอกใช่ไหมครับ
  • ดีจังเลย
อาจารย์ในมหาวิทยาลัยควรจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับชุมชนและสังคมที่เขาอยู่ ไม่ใช่จัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาเข้าสู่ภาคธุรกิจ หรือเป็นข้าราชการอย่างเดียว

อันนี้นี่โดนใจอย่างแรง ทำงานด้วยกับมหาวิทยาลัยบางแห่งและเป็นคณะที่เกี่ยวข้องปากท้องของคนทั้งประเทศ แต่ยังมีอาจารย์หลายคนคิดอย่างนี้กันอยู่เลย
  • ขอบใจน้องแก้มยุ้ยมากP
  • ตกใจหมดมาตอนไหน
  • กำลังแนะนำคุณครูที่ลำปางให้ใช้ theme ของน้องแก้มยุ้ยอยู่เชียว
  • ขอบคุณครับ

อาจารย์ได้อ่านบทความของอาจารย์...ผมรู้สึกซึมซับถึงกลิ่นอายของการเรียนรู้ที่ไม่มีที่สิ้นสุด...มีอะไรอีกเยอะที่เราต้องเรียนรู้..เข้าให้ถึงแก่นของชีวิต...ขอบคุณมากเด้อครับอาจารย์ที่เอารูป ควายน้อย มาฝาก

  • ขอบคุณคุณP
  • มากครับ
  • ดีใจมากครับที่ชอบ
  • กลับไปบ้านไปเที่ยวไหนบ้างครับผม
  • แวะมาทักทายค่ะ อ.ขจิต 
  • ภาพดอกไม้ดอกสุดท้ายถ่ายได้คมชัดและสวยดีค่ะ
  • ขอบคุณคุณครูP
  • มากครับ
  • ดอกไม้ดอกนี้หอมด้วยครับผม
  • สวัสดีค่ะ อ.ขจิต
  • เข้ามาอ่าน
  • ดอกไม้ ไม่รู้จักชื่อค่ะ
  • อิอิอิ

มาทักทายค่ะพี่ชาย

  •  คนไทยเหมือนไก่ในเข่ง อยู่ในเข่งก็ตีกัน รอวันเขาเอาไปฆ่า   
  •  น่าสงสารจังค่ะ
  •  ส้มตำน่ากินจัง
  • อ.พี่ชายค่ะ  ที่นี่ก็มีค่ะที่ยังไม่ปรับการเรียนเปลี่ยนการสอน ส่วนใหญ่เป็นครูพันธุ์เก่า ไม่ยอมหรืออายทีจะให้เด็ก ๆรุ่นใหม่สอน
  • ภูมิปัญญาท้องถิ่น สำคัญต่อการเรียนการสอนที่ครูควรจะเน้นเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้นักเรียนค่ะ
  • เอ....ให้ของที่ระลึกอะไรน้า ...ครูแอนเห็นที่อยู่บนกล่องภาพล่างเป็นข้าวเรียบหรือเปล่า อิอิๆๆ สายตาไม่ดี
  • ดอกไม้อะไรน้า...เหมือนดอกเข็ม...ไม่แน่ใจค่ะ
  • รอฟังผู้รู้มาเฉลยค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ          
  • ขอบคุณป้าแดงมากครับP
  • ดอก.....
  • ป้าแดงสบายดีไหมครับ
  • เห็นหายไปนานมากๆๆ
  • ขอบคุณน้องแอนที่น่ารักP
  • ของที่ระลึกจ้าไม่ใช่ข้าวเกรียบมาถึงก็เห็นเป็นของกินเลย
  • เป็นกระเป๋า รูปช้างของที่ระลึกใส่เหรียญ
  • มีหลายใบมากๆๆ
  • ข้างล่างสองกล่องเป็นเสื้อผ้าพื้นเมืองสีขาวและสีเข้ม
  • มีลายภาคอีสานด้วย
  • ขอบคุณน้องมากที่มาทักทาย
  • ไม่ใช่ดอกเข็มครับ
  • เป็นดอกพุดน้ำบุษย์ กลิ่นหอมมากๆๆ
  • เหมือนพุดสีขาว แต่พุดน้ำบุษย์มีสีเหลืองกลิ่นหอม

ออ...ค่ะพี่ชาย..อิอิๆๆ

  • นึกว่าเป็นข้าวเกรียบ
  • ขอสุ๊มานักๆ น่ะเจ้า
  • แหม..ช่วงนี้..บันทึกแต่เรื่องอาหาร
  • พี่เอกเป็นห่วงเรื่องน้ำตาลค่ะ...
  • ท่าทางจะหอมจริง ๆ ค่ะ สวยมากชอบหยดน้ำ
  • อยากได้ๆๆๆๆๆๆมาไหว้พระ
  • แหม...บ้านนอกจริง ๆ เรา...ดอกเข็มน้ำบุษย์..พอได้ไหม...
  • ขอบคุณค่ะ
  • ขำๆๆน้องแอน
  • มีด้วยหรือดอกเข็มน้ำบุษย์
  • น่ารักจริงๆๆคิดได้อย่างไร
  • ดอกมันเล็กมาก
  • ไม่ทราบว่าเอาไปถวายพระได้ไหม
  • ขอบคุณมากครับที่แวะมาอีกครั้ง
  • ที่ถ่ายรูปสวยเพราะท่านอาจารย์ paew
  • ท่านสอนถ่ายภาพ
  • ท่านยังบอกว่าอยากไปปายเหมือนกันครับ
  • อ้าว.. เฉลยแล้วเหรอคะอาจารย์ 
  • แหมเสียดายจังตั้งใจมาตอบนะเนี่ย
  • คุณครูเก่า ๆ สมัยก่อน  IT  ยังไม่แพร่หลายค่ะ
  • บางคนเปิดเครื่องยังไม่เป็น  เวลาฝึกก็หายาก 
  • ครูที่เป็นพยายามช่วยโดยการสอนให้ทำ    แต่อย่าทำให้   ป้า ๆ ทั้งหลายพัฒนาขึ้นมาเยอะ
  •  เดี๋ยวนี้งานจร  พอ ๆ กับงานหลัก  หรือมากกว่าด้วยซ้ำ  ไม่ทำก็ไม่ได้  การศึกษาบ้านเราไม่ได้มีสูตรสำเร็จทั้งหมด  แต่การปรุงสูตรเพื่อให้สำเร็จนั้นทำไมมีเงื่อนไขปิดกั้นมากมาย     แก้ไขตรงนี้ก่อนไหม  ให้ครูได้ทำหน้าที่ของความเป็นครูให้เต็มที่   จากนั้นถ้าไม่ดีมาโทษครูได้เลย   ฟังดูแล้วเหมือนเป็นข้ออ้างของคนที่เป็นครู   ในวงการไหนก็มีคนทุกประเภทปะปนกัน  ครูที่พยายามปรับการเรียนเปลี่ยนการสอนยึดนักเรียนเป็นตัวตั้งก็มีเยอะ    
  • บ่นให้อาจารย์ขจิตฟัง    เป็นห่วงอนาคตตัวน้อย ๆ ของประเทศชาติ 
  • ขอบคุณค่ะ
  • อยากตอบอ่ะ
  • ดอก  พ.  น. บ.
  • อิอิอิอิอิอิอิอิอิอิ
  • where  your  friend   อ.แอ๊ด
  • ศิษย์แวะมาทักทายเจ้าค่ะ
  • ขอตอบนะค่ะภาพที่ท่านอาจารย์ถามว่า ให้ทายว่าดอกอะไรน่า? เก็บมาจากบ้านพ่อครูบาสุทธินันท์หลังฝนตก
  • ขอตอบว่า"ภาพดอกไม้เจ้าค่ะ"
  • ถูกต้องไหมเจ้าค่ะ
  • http://gotoknow.org/blog/akirao
  • แวะมาทักทายคะ
  • อิจฉาจัง เข้ามาอ่านที่ไร อ.ขจิต มีเรื่องสนุก ๆๆๆ  ตลอดเลย
  • ดอกพุดน้ำบุษย์ โห ได้รู้จักอีกดอกแล้ว
  • ต้องไปหาดูต้นจริง ๆ ซะแล้ว
  • ขอบคุณอาจารย์P
  •  พี่องุ่นคนสวยPและ ดญ Pมากครับ
  • ขอบคุณคุณP
  • มากครับ
  • ดอกไม้นี้หอมมากๆๆเลยครับผม

*นี่แหละค้า..เขาเรียกว่ารู้เห็น..สัมผัสได้..เชื่อมไมตรี..สู่สังคมพอเพียง..อ.ขจิตของเด็กๆเขาเป็นตัวจริงเสียงจริงจ้า...

*ขอบคุณที่เข้ามาติดตามอ่านบันทึกอย่างสม่ำเสมอ..พี่ใหญ่ยังลงแรงน้อยกว่าอ.ขจิตผู้แก่กล้าในยุทธจักรการศึกษาคนหนึ่ง..(เพราะพี่หลงไปทำงานในแวดวงเรื่องเงินทองๆของประเทศมาตั้ง 35 ปี)...ขอให้กำลังใจ อ.ขจิตนะจ้า....

                                    nongnarts

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท