เสี้ยวหนึ่งของบันทึกชีวิตคนทำงานบนดอย:หมู่บ้านลีซูแม่ฮ่องสอน


กระบวนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดยงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น เป็นเครื่องมือจุดประกายการจัดการความรู้ในระดับชุมชน

  <p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">เสียงหมอผีตะโกนตอนค่ำบนฟากดอย เสียงดังพอที่จะได้ยินทั่วดงดอยในช่วงเย็นย่ำ เป็นสัญญาณบอกถึงวันหยุดพิเศษของคนลีซู  วันพรุ่งนี้เป็นวันศีล ให้ทุกคนหยุดไปไร่ไปสวน ห้ามใช้ของมีคม จอบ มีดถางไร่ ทุกสิบห้าวัน</p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal" align="center"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal" align="center"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal" align="center"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">ที่หมู่บ้านลีซูจะมีวันศีล และถือว่าวันนี้เป็นวันพักผ่อนหลังจากที่เหน็ดเหนื่อยจากไร่สวน ในวันหยุดแบบนี้แม่บ้านก็ถือโอกาสรวมกลุ่มกันตัดเย็บเสื้อผ้า พูดคุยประสาแม่บ้านเรื่องของผู้หญิง ซึ่งแยกจากกลุ่มผู้ชายเห็นได้ชัด กลุ่มพ่อบ้านจับกลุ่มกันตามศาลาเลี้ยงผีที่ปลูกไว้ กระจายตามซอกซอยของหมู่บ้าน หัวข้อสนทนาก็เป็นเรื่อง การทำงานในไร่ ผลผลิตและเรื่องอื่นๆ ที่เป็นวิถีของผู้ชาย หากเรามีโอกาสเข้าไปสังเกตการณ์เป็นส่วนหนึ่งของการรวมกลุ่มอย่างไม่เป็นทางการนี้ ความรู้ที่ฝังลึกของแต่ละคนได้ถ่ายทอดออกมาอย่างสนุกสนาน และมีเวลาสำหรับการพูดคุยกันเต็มที่ ไม่แปลกที่จะได้ยินเสียงหัวเราะครื้นเครงดังจากกลุ่มเป็นระยะ</p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal" align="center"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal" align="center"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal" align="center"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">นอกจากพื้นที่ทางสังคมตรงนั้นยังมี การประชุมประจำเดือนของหมู่บ้าน เมื่อผู้ใหญ่บ้านลงไปประชุมที่อำเภอก็ได้หอบเอาเรื่องราวจากข้างนอกที่เกี่ยวพันคนข้างในชุมชนมาพูดคุยแบบการแจ้งให้ทราบ ที่เห็นเสมอก็คือ หลังจากที่รับรู้เรื่องที่นำมาแจ้งให้ทราบแล้ว การพูดคุยเรื่องสัพเพเหระก็จะเกิดขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องปากท้องการกินอยู่ แฝงด้วยความรู้เพื่อการดำเนินชีวิตของพวกเขาทั้งนั้น</p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"><div style="text-align: center"></div></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">เสียงฮือฮาของเด็กน้อยลีซูที่รายล้อมฟังพ่อเฒ่าเล่าความในวงผิงไฟในฤดูหนาว ฟังพ่อเฒ่าเล่าเรื่องเก่าๆ ตำนานลีซู การผจญภัยบุกป่า ฝ่าดงในวัยหนุ่ม บ่อยครั้งที่ได้มีโอกาสเข้าไปร่วมฟังการเล่าเรื่องที่แฝงความตื่นเต้น และความศรัทธาของเด็กที่มีต่อผู้เฒ่าทำให้เรื่องราวดูจริงจังและน่าติดตามมากขึ้น วาทกรรมคนลีซู การแทรกสอดปลูกฝังจริยธรรมให้ลูกหลานลีซูก็ผ่านพื้นที่ตรงนี้</p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">เป็นเรื่องที่น่าแปลกใจว่า การถ่ายทอดความรู้ดั้งเดิมบางอย่างก็แยบยลมากเกินกว่าจะเข้าใจ กรณีการถ่ายทอดความรู้สมุนไพร ที่ต้องแอบเรียนรู้ของลูกหลาน และเฝ้าติดตามผู้รู้สมุนไพรลีซูออกไปเก็บสมุนไพร โดยไม่ให้รู้ตัว นอกจากที่ผู้เฒ่าผู้แก่จะสอนโดยตรงตัวต่อตัวผ่านลูกหลานแล้ว หากมองว่าเป็นการจัดการความรู้ก็เป็นการจัดการความรู้ตามวิถีความเชื่อชาวบ้าน</p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">เมื่อศักยภาพกระบวนการเรียนรู้ที่เป็นธรรมชาติมารวมกับ งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น จึงเป็นจุดร่วมที่ลงตัวในการคิดประเด็นในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ชัดเจนขึ้น ผลลัพธ์ที่ได้อยู่ในรูปของการได้ร่วมแลกเปลี่ยนของลูกหลาน ความอบอุ่นของการอยู่ใกล้ชิดฟังเรื่องเล่าของผู้เฒ่าที่เป็นผู้ที่เคารพในหมู่บ้าน การรวบรวมประเด็นภูมิปัญญาที่เป็นความรู้ที่ฝังลึก (Tacit knowledge) ผ่านการลิขิตเป็นอักษรเพื่อให้ลูกหลานได้เรียนรู้ในโอกาสต่อไป</p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">กระบวนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดยงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น เป็นเครื่องมือจุดประกายการจัดการความรู้ในระดับชุมชน ในเวทีที่เป็นธรรมชาติไม่แปลกแยก นอกจากการกำหนดประเด็นแลกเปลี่ยนแล้ว เรายังได้รวบรวมผู้รู้ชุมชนมาถ่ายทอดในกระบวนการที่เป็นธรรมชาติแบบที่กล่าวมาข้างต้น </p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">ภาพของการแลกเปลี่ยนที่ชัดเจนทั้งเนื้อหาและกระบวนการ ทำให้เริ่มมีการรวมกลุ่มกันบ่อยครั้งขึ้น เกิดความสุขของชุมชน เป็นผลลัพธ์ของสังคมที่อบอุ่น เกิดเนื้อหาที่เป็นความรู้แฝงที่เรียกได้ว่าเป็น ภูมิปัญญาท้องถิ่น อันมีคุณค่าของชุมชน ตรงกับคำพูดของศาสตราจารย์ นพ.ประเวศ วะสี ว่า ความเป็นสุขของชุมชนจะเกิดขึ้นได้ ต้องมีการเข้าไปส่งเสริมให้ชุมชนได้เรียนรู้ร่วมกัน จากการปฏิบัติให้เกิดความเข้มแข็ง และสามารถดูแลตนเองได้ ซึ่งในการส่งเสริมการเรียนรู้นี้อาจเป็นความรู้เก่าที่มีอยู่ในชุมชน หรือเป็นการสร้างความรู้ใหม่ๆ ให้กับชุมชนก็ได้ เพราะฉะนั้น จึงต้องเน้นการเรียนรู้ควบคู่ไปกับการปฏิบัติ และต้องพัฒนาอย่างมีบูรณาการ เพราะทุกสิ่งทุกอย่างมีความสัมพันธ์กัน และมีผลกระทบถึงกันทั้งหมด เป็นไปตามกฎของธรรมชาติ</p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">นอกจากการแลกเปลี่ยนในระดับชุมชนแล้ว งานวิจัยยังผลักดันให้เกิดเวทีระหว่าง หมอพื้นบ้านลีซู ทั้งในชุมชนและนอกชุมชน (หมอพิธีกรรม หมอนวด หมอผี หมอยา-แนซึซือซู) ตลอดจนบรรดาผู้รู้ หมอพื้นบ้านต่างเผ่า ทำให้เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยน และสืบทอดองค์ความรู้ในกลุ่ม</p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">การรุกเข้าไปสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน โดยใช้งานวิจัยเป็นเครื่องมือ เป็นเหมือนการให้โอกาสปลดปล่อยศักยภาพของคนท้องถิ่น ด้วยหัวใจที่ยอมรับศักดิ์ศรีของความเท่าเทียมกันของมนุษย์ ให้ความสำคัญต่อ ปัญญาของผู้ปฏิบัติ เป็นพลานุภาพของปัญญาที่จะขับเคลื่อนงานพัฒนาท้องถิ่นให้สำเร็จและยั่งยืน</p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">คงไม่ได้เป็นการกล่าวเกินจริง แต่ปรากฏการณ์อย่างนี้เกิดขึ้นแล้วที่ชุมชน พื้นฐานของสังคมสมานฉันท์เป็นบรรยากาศในเวทีเรียนรู้ที่เกิดขึ้น ชาวบ้านมานั่งเล่านั่งคุยเรื่องที่ตนเองถนัด โดยเฉพาะผู้รู้ท้องถิ่นที่เป็นผู้อาวุโส ความรู้ที่มีอยู่ของผู้ปฏิบัติ (Tacit Knowledge) ที่ผ่านร้อนผ่านหนาวถูกถ่ายทอดผ่าน เรื่องเล่า(Storytelling) ร้อยเรียงมาเป็นข้อมูลบริบทชุมชน จากการจดบันทึกของนักวิจัย อันเป็นฐานสำคัญในการเรียนรู้ตัวเอง จุดเริ่มต้นที่ดีก่อนที่จะรุกด้วยยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาในระดับชุมชน</p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">การบันทึกขุมความรู้ (Knowledge Assets) เหล่านั้นสู่กระดาษ ของนักวิจัยชาวบ้าน ดูดซับความรู้ที่มีคุณค่าออกมา ก่อผลดีต่อชุมชน ทั้งในแง่ของการยกระดับความรู้ บรรยากาศที่สร้างมิตรภาพ ความเคารพนับถือระหว่างกัน ความอ่อนน้อมถ่อมตน บรรยากาศเชิงบวกที่เกิดขึ้น ตลอดจนเกิดความมั่นใจในตนเอง เห็นคุณค่าของตัวเอง ประเด็นนี้สำคัญมาก เพราะชนบททุกวันนี้ถูกทำลายความเชื่อมั่นในตัวตนไปเสียสิ้นจากการไม่เห็นค่าของรากเหง้าตนเองของลูกหลาน และยอมรับทฤษฎีภายนอก นำเข้ามาตัดสินโดยลืมที่จะศึกษารากเหง้าของตนให้ถ่องแท้ </p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">ส่วนกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่เกิดจากการจัด เวที ในชุมชน เป็นกิจกรรมที่ทุกคนทำอยู่ในชีวิตประจำวัน แต่อาจยังคุยในเรื่องสัพเพเหระ ชีวิตการเป็นอยู่ งานวิจัยช่วยออกแบบประเด็นและรูปแบบการแลกเปลี่ยนที่เป็นระบบขึ้น มีขั้นตอน มีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาชุมชน เชื่อว่า กระบวนการเรียนรู้ที่มีพลังเหล่านี้ล้วนแล้วแต่อยู่ภายใต้งานวิจัยเพื่อท้องถิ่นแทบทั้งสิ้น ทำให้เกิดการรวมตัวของความรู้เล็กๆ ไปสู่องค์ความรู้ที่เข้มแข็ง และเกิดผลลัพธ์ที่ยิ่งใหญ่ได้ ดังกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนดอยกึ้ดสามสิบ*</p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">- - - - -</p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">*บ้านกึ้ดสามสิบ (กลุ่มชาติพันธุ์ลีซู)  ต.สบป่อง อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน</p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"><hr></p> <h3 style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">ส่วนหนึ่งจาก หนังสือ " กระบวนการเรียนรู้สู่เส้นทางสีขาว"  ถอดประสบการณ์การทำงานวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดแม่ฮ่องสอน</h3> <p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"> </p> <p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"> </p> <p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร : ผู้เขียน</p> <p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) สำนักงานภาค</p> <p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"> </p> <p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">ตีพิมพ์ ปลาย กันยายน ๒๕๕๐ </p> <p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"> </p> <p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"> </p> <p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"> </p> <p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"> </p> <p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"> </p> <p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"> </p>

หมายเลขบันทึก: 125028เขียนเมื่อ 4 กันยายน 2007 16:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (29)
  • ชอบศึกษาชาวเขา
  • มีประเด็นให้ศึกษามาก มีภูมิปัญญาที่น่าสนใจ
  • อยากไปศึกษาแบบน้องเอกบ้าง ไม่อยากอยู่ในเมืองหลวง
  • ว่าแต่ว่าตอนนี้อยู่ที่ไหนครับผม

สวัสดีครับ พี่ อ.ขจิต

P

ตอนนี้ผมอยู่ที่อุตรดิตถ์ครับ อยู่ที่นี่ 2 วันและพรุ่งนี้ผมจะเดินทางไป อ.สามพราน จ.นครปฐมครับ

เรื่องราวบนดอย มีเรื่องราวที่น่าสนใจเยอะเลยครับ ผมเก็บไว้เขียนเป็นไดอารี่ และทยอยเขียนออกมาเรื่อยๆผ่านบันทึก

และที่อาจารย์อ่านในบันทึกนี้ เป็นส่วนหนึ่งของ พ๊อกเกตบุ๊คของผมที่จะออกเร็วๆนี้ ปลายเดือนครับ(เขียนมานานแล้ว เกือบจะแท้งแล้ว) ตอนนี้อยู่ในระหว่างส่งโรงพิมพ์ และออกแบบหน้าปกครับ

  • จองหนังสือเล่มนี้นะครับ
  • จองๆๆแล้ว
  • ขอบคุณครับ

อาจารย์

P

หากหนังสือออกแล้ว ผมจะเก็บไว้ให้อาจารย์ ๑ เล่ม พร้อม ลายเซ็น + รอยยิ้ม ครับ

  • ขอบคุณล่วงหน้าครับผม
  • ขอเป็นกอดไม่ได้หรือ
  • บ้า ตัวเอง
  • จองด้วยสิ หนังสือน่ะ นะ ขอด้วยคน 1 เล่มนะ
  • จริงๆ วันนี้จะแวะมาถามว่า ไปจัดอบรมมาแล้วเป็นงัยบ้าง ไม่เห็นรายงานผลบ้างเลย
  • เจอกันที่ดงหลวง นะ จะหาของไปฝาก แลกกะหนังสือก็ได้ จะเอาแบบดีดี เด็ดๆ  ไม่ให้น้อยหน้า อ ขจิต ที่เคยได้ไปเลย
  • รีบมากนะเนี้ย ไม่ login เลย

 

  • วันนี้รอนแรมเพื่อสังคมอยู่จังหวัดไหนครับ
  • เห็นด้วยอย่างยิ่งกับการพยายามดึงเอาขุมความรู้ออกมาบันทึกไว้...ขอแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่ผ่านมาสักเล็กน้อยครับ
  • ตอนที่ผมทำงานปรับปรุงพันธุ์พืช (breeding) ก็เช่นกัน เห็นความสำคัญในเรื่องนี้จริงๆ เพราะ breeder eyes เป็นเรื่องของ genetics + sense + experience ซึ่งถ่ายทอดกันไม่ได้ง่ายๆ ผู้มาใหม่ต้องผ่านการปฏิบัติไปพร้อมๆกับการได้รับการชี้แนะจากผู้มีประสบการณ์มาระยะหนึ่ง
  • แถมยังต้องมีตัวแปรอื่นมาเกี่ยวข้องอีก คือ ประสิทธิภาพของผู้รับการถ่ายทอด + ประสิทธิภาพของผู้ถ่ายทอด + อายุขัยของคนในองค์กร...ดูๆไปแล้ว ต้องเรียกว่า คนละเรื่องเดียวกัน เลยนะครับ

คิดถึงยอดดอย และรอยยิ้มของคนบนดอย

นานมากแล้วที่ไม่ได้สัมผัส

โชคดีที่มีอ้ายเอกแบ่งปันบรรยากาศแห่งการเรียนรู้บนที่สูงมาเล่าสู่กันฟัง...ขอบคุณนะคะ

---^.^---

ขอจองหนังสือด้วยคนเจ้า

  • สวัสดคีค่ะ
  • ตอนนี้ชาวเขาแต่งตัว (ชีวิตประจำวัน) อย่างนี้จริงๆเหรอคะ
  • อยากทำวิจัยนะคะ ตัวเองเรียนเกี่ยวกับ IT มา  อยากนำสิ่งที่เรียนมาไปช่วยเหลือชุมชน  แต่ไม่รู้แนวทางเลยว่าจะทำยังงัยดี  ยังงัยรบกวนคุณเอก แนะนำก้วยนะคะ  เพราะได้รับรู้สิงที่คุณเอกทำแล้วรู้สึกว่าน่าประทับใจ และน่าสนใจมากค่ะ
  • ขอบคุณล่วงหน้านะคะ
  • สวัสดีค่ะ คุณเอก ..

ชอบงานที่คุณเอกกำลังทำอยู่ มากกกกกกก .. และขอเป็นกำลังใจให้นะคะ

ป.ล.  ลงชื่อจองหนังสือจากปลายปากกาคุณเอกด้วย 1 เล่ม ค่ะ   ^_^  

เจริญพรโยมอาจารย์ มิตรซึ่งเป็นกัลยาณมิตร

ขอเป็นกำลังใจให้กับการทำงานกับชุมชนของอาจารย์เอกที่ทุ่มกายและพลังใจอย่างยิ่งยวดเสมอมา

คติ ความดี ข้อคิดใด ๆ ที่ได้จากการกระทำผ่านมาทั้งหมดนั้น ขอให้เป็นตบะ เป็นเดชะ เกิดผลบุญหนุนส่งให้อาจารย์เอกได้ประสบกับความสุขและความสำเร็จที่แท้โดยเร็ววัน...

พระปภังกร ขนฺติวโร 

สวัสดีครับ

แวะมาทักทาย ...

ช่วงนี้งานผมค่อนข้างจะรัดตัวมาก  เลยไม่ค่อยได้มาทักทาย

ยังระลึกถึงเสมอ...

เป็นกำลังใจให้ครับ -

สวัสดีค่ะพี่เอก

  • ตอนนี้พี่เอกยังอยู่อุตรดิตถ์อยู่รึเปล่าค่ะ
  • ไปทำงานหรือค่ะ
  • ครูแอนโทรกลับบ้านทุกวันคุณแม่บอกว่าอุตรดิตถ์ฝนตกหนักค่ะ
  • ครูแอนมีโอกาสไปแม่ฮ่องสอนบ่อยช่วงนี้ ได้แต่ผ่านทางเข้าหมู่บ้านกึ๊ดสามสิบค่ะ
  • พี่ทรายเขาเคยอยู่ดอยกึ๊ดสามสิบค่ะ
  • น่ารักมาก ๆ เลยค่ะที่ชาวบ้านมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน  ความรู้ฝังลึก(Tacit Knowledge)ที่มีในตัวพวกเขาครูแอนว่ามีมากมายแต่โอกาสที่จะแสดงออกค่อนข้างจะน้อย
  • การจัดการความรู้อย่างเป็นระบบ หรือภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่มีในชุมชนมิได้นำมารวบรวมหรือจัดการไว้เป็นหนังสือ สืบทอดไว้ ....มันน่าเสียดายมากน่ะค่ะ
  • ขอบคุณพี่เอกที่เป็นคนถ่ายทอดความรู้มาสู่สังคมและทำเพื่อสังคม
  • เป็นกำลังใจให้ค่ะ..มีความสุขกับการทำงานน่ะค่ะ
  • ขอจอง 1 เล่ม เช่นกันค่ะ

พี่เอกค่ะอาจารย์ขจิตเป็นแบบนี้ด้วยหรือค่ะ

Pขจิต ฝอยทอง
เมื่อ อ. 04 ก.ย. 2550 @ 17:59 [371852] [ลบ]
  • ขอบคุณล่วงหน้าครับผม
  • ขอเป็นกอดไม่ได้หรือ
  • บ้า ตัวเอง

ว้าย! อาจารย์ขจิตขา...สวัสดีฮ่ะ...ตัวเอง..อิอิ

  • เป็น KM ที่งดงามด้วยวิถีชีวิตและธรรมชาติค่ะ...อ่านแล้วมีความสุขดี...
  • มาเยี่ยมเยียนในเวลาน้อยนิด ก่อนที่จะปิดการสื่อสารในวันหยุดนี้ค่ะ...ขอให้มีความสุขนะคะ...

อ้ายเอก...

วันนี้คงอยู่นครปฐม พยายามโทรหาแต่ไม่เป็นผล

ว่าถ้าเสร็จจากนครปฐมแล้วไม่มีกิจที่ไหนต่อ

จะชวนไปงาน research expo ของ วช. สักหน่อย ไหนๆ ก็มาถึงนครปฐมแล้ว ถ้าไม่มีธุระอะไร จะได้ไปเดินหาอะไรใหม่ๆ มาใส่สมองกัน...เนาะ

---^.^---

 

คุณ ดร.กาเหว่า

ไม่มีรูป
6. กาเหว่าค่ะ

เจอกันที่ เฮฮาศาสตร์ ดงหลวงครับ  เรื่องอบรม ผมเลื่อนออกไปเพราะไปชนเอากับ งานเวทีเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน ประเทศไทย เลยต้องเลื่อน

คราวหน้าจะมีเพื่อนๆรวมทีมไปช่วย น่าจะคิดกระบวนการดีๆ สัก 1 หลักสูตรครับ

หนังสือถ้าออกแล้ว จะเก็บไว้ให้ครับผม

 

 

 

P

สวัสดีครับพี่ กบ

  • ผมเพิ่งกลับมาจากนครปฐมครับ ไปหลงทางที่กรุงเทพซะพรุนไปเลย
  • กระบวนการทำงานผ่านงานวิจัย มีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่น่าสนใจนำมาเขียนครับ ที่อยากให้อ่านอีกก็คือ กระบวนการครับ
  • เรื่องราวการทำงานของพี่กบ น่าสนใจดีนะครับ แต่สังเกตว่าไม่ได้นำมาเขียนใน gotoknow เลย นำมาเขียนด้วยดีมั้ยครับ อยากเรียนรู้ด้วย
  • ขอบคุณมากครับพี่กบ

 

P
  • เล่าเรื่องตามที่ผมถนัดครับน้องพิมพ์ ผมเองก็อยากจะเก็บสิ่งดีๆนั้นไว้ผ่านหนังสือ
  • โชคดีที่ สกว.ให้ทุนเขียน ผมเลยได้บันทึกจดหมายเหตุตนเองไว้เอาไว้อ่านในอนาคต
  • ให้หนังสือน้องพิมพ์ เล่มหนึ่งในฐานะแฟนประจำ อิอิ
  • ขอบคุณครับ

 

P
  •  ในหมู่บ้านกลุ่มชาติพันธุ์มีการแต่งตัวแบบนี้ครับ ยังรักษาวัฒนธรรมการแต่งกายแบบเหนียวแน่น ในบางกลุ่มชาติพันธุ์
  • เรื่อง IT สามารถนำมาเล่นกับงานชุมชนได้ครับ โดยเฉพาะประเด็น "การจัดการความรู้" ผมคิดว่า ไอทีเองเป็นการสื่อสารที่รวดเร็ว และเร้าใจ และมีคุณสมบัติการเก็บข้อมูลที่ดีมากด้วย
  • การศึกษาวิจัยกลุ่มชาติพันธุ์เรายังขาด กลุ่มไอทีด้วยครับ
  • ขอบคุณครับ อ.นก

 

สวัสดีครับ คุณต้อม

P

งานผมเป็นงานพัฒนาชุมชนครับ และใช้เวลา ใช้ใจ งานเขียนผมมีทั้งอารมณ์และความรู้สึกฟุ้งวเต็มเลยครับ แต่คิดว่าอยากเรียนรู้จากคุณต้อมในเรื่องการเขียนอีกมากครับ

ขอบคุณกำลังใจที่ดีนะครับ หากหนังสือออก ผมเก็บไว้ให้ครับพร้อมลายเซ็นต์+รอยยิ้ม

 

คุณพนัส ครับ

P
  • ผมเองก็เดินทางขึ้นเหนือ ล่องใต้ สนุกไปเลยครับ มีเรื่องราวเรียนรู้มาก แต่เขียนไม่ทัน
  • ยังระลึกเสมอ เช่นเดียวกันครับ
  • มีเวลาผมจะไปเยี่ยมที่ มหาสารคามครับ

 

P
  • ผมเดินทางจากอุตรดิตถ์ไปทำงานครับ  -ไปยังนครปฐมแล้ว และวันนี้ที่ตอบอยู่เชียงใหม่แล้วครับผม
  • คืนที่ผมนอนที่อุตรดิตถ์ ฝนตกหนักครับ เห็นน้ำท่วมเจิ่งนองไปทั่ว แต่ก็เย็นฉ่ำสบายดีครับ
  • กับน้องทราย ผมก็เคยทำงานร่วมกัน เป็นครูที่น่ารักครับ
  • กระบวนการต่างๆอยู่ในหนังสือ ที่ผมเขียนแล้ว
  • นพ.สุพัฒน์ โทรมาคุย ว่าอาจนัดทานข้าว Blogger ชาวปาย ยังไงกลับบ้านไปจะประสานกันอีกทีครับ
  • หนังสือผมจะเก็บให้น้องครูแอน ครับ

 

ส่วน อาจารย์ ดร.ขจิต แบบ ขำ-ขำ ครับ

อิอิ

อ่านแล้วอยากไปปายเลยค่ะพี่เอก อยากไปเที่ยวหมู่บ้านแบบนี้ ไม่ใช่อยากไปดูในลักษณะว่าเป็นของแปลกนะคะ เพราะเป็นเราก็คงไม่อยากให้ใครมาด้อมๆ มองๆ แบบนักท่องเที่ยว คือมาดูถ่ายรูปแล้วก็ไป มันรู้สึกไม่ดี แต่อยากไปเพราะอยากศึกษาวัฒนธรรมของเขามากกว่า อยากพูดคุย (ถ้าคุยรู้เรื่อง) อยากเรียนรู้ภูมิปัญญาแบบชาวบ้านที่เขาสั่งสมต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น มันต้องมีอะไรมากกว่าชุดชาวเขาที่นักท่องเที่ยวสนใจอยากถ่ายรูปด้วยสิ การสนใจชุดเขาไม่ใช่เรื่องแปลก แต่ถ้าเป็นเราคงอยากรู้ว่าความหมายในชุดของเขาหมายถึงอะไร ทำไมต้องใส่ แล้วหญิงสาวกับหญิงที่มีสามีแล้วแต่งแตกต่างกันยังไง

คือตอนที่ไปปายครั้งที่ผ่านมา มีโอกาสเข้าไปเยี่ยมหมู่บ้านกระเหรี่ยง มีพี่คนหนึ่งที่เป็นคนในหมู่บ้านแต่ไปเรียนสาธารณสุขเป็นไกด์พาทัวร์ เขาอธิบายเรื่องวัฒนธรรมต่างๆ ที่เราทั้งได้เห็นและไม่ได้เห็น ได้ไปนั่งพูดคุยกับผู้เฒ่าโดยผ่านล่ามแสนสวยของเรา ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับบรรดาวัยรุ่นและผู้ใหญ่ ได้กินอาหารที่เขาทำเลี้ยงเราในฐานะแขกของหมู่บ้าน มันเลยรู้สึกว่าอินลึกกว่าการไปท่องเที่ยวปกติค่ะ

นมัสการครับ ท่านปภังกร

P
  • ขอบคุณท่านมากครับที่มาเยี่ยมบันทึกการทำงานของกระผม
  • ขอบคุณกำลังใจจากท่านครับ
  • และขออนุโมทนาคำอวยพรนี้ด้วยครับ สาธุ ครับ

 

น้องพิมพ์ อีกครั้ง

P

อ้ายก็เปิดโทรไว้ตลอดนะครับ บ่เห็นเบอร์โชว์เลยครับผม

พอดีบ่ได้ปิ๊กบ้านมาหลายวันครับ อ้ายกึ้ดเติงหาบ้ายขนาดเลย กึ้ดว่าจะปิ๊กบ้านตี้ปายก่อนครับ

แต่ขาปิ๊กก่อหลงตางในกรุงเทพ หมดเวลาไปจ๊าดนักครับ

ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะ

คุณเอกชีพจรลงเท้าจริงเลยค่ะ ไม่ได้หยุดเลย ไม่เหนื่อยหรือคะ

แต่งานพัฒนาชุมชน ก็ต้องใช้ใจ ทำงานจริงนะคะ

ถ้ามีเวลามากรุงเทพฯ ลองโทรมาก็ได้ค่ะ แต่ขอล่วงหน้านะคะ พี่คนธุระมากค่ะ ไม่ค่อยว่างเลย แต่อยากคุยกับคุณเอกค่ะ  เฉยๆค่ะ งานคุณน่าสนใจ

น้องซูซาน

P
  • ศูนย์ที่น้องไปทำงานร่วมนั้น ก็ไม่ไกลจากบ้านแม่ปิง อ.ปาย ครับ ห่างกันเพียง 1-2 กม.เอง บ้านแม่ปิงเป็นชุมชนเข้มแข็งและเป็นชุมที่อนุรักษ์ศิลปะวัฒนธรรมกะเหรี่ยงได้เป็นอย่างดี
  • สามารถสนทนาได้สบายๆครับ ทางกลุ่มชาติพันธุ์ส่วนใหญ่ ใช้ภาษาไทยในการสื่อสารควบคู่กับภาษาชนเผ่าครับ
  • ทุกอย่างที่นำเสนอออกมาจากวิถีชีวิตเขา ล้วนแต่แฝงด้วยคุณค่า และเรื่องราว เราเรียนรู้ได้จากการสอบถาม แลกเปลี่ยนกับพวกเขาได้ เมื่อมีโอกาสไปเที่ยวชุมชนเหล่านั้น
  • การท่องเที่ยวโดยชุมชน มีกระบวนการเรียนรู้ ที่ทำให้เกิดความสมานฉันท์ และลดช่องว่างของคนลงมา
  • มีเวลา+โอกาส มาเที่ยวเเลกเปลี่ยนเรียนรู้ยังชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ครับ
  • ขอบคุณครับ

สวัสดีครับ พี่ศศินันท์

P
  • ผมเดินทางบ่อย ก็เหนื่อยครับผมชอบด้วย แต่สิ่งที่ได้เรียนรู้นั้นคุ้มค่ามาก เพียงแต่ก้าวออกไปก็เรียนรู้กับสิ่งแวดล้อมที่ต่างไปในทันที- - -เมื่อยังมีแรงอยากเดินทางไปท่องเที่ยวเรื่อยๆ
  • ทำงานกับชุมชน จริงใจ นี่สำคัญมาก เพราะรับรู้กันได้ และงานที่ทำกับชุมชนต้องทุ่มเทมากครับ ผมเองมีต้นแบบนักพัฒนาที่ดีหลายท่าน ท่านเหล่านั้นคือ "ครู" ของผม
  • ไปกรุงเทพฯ เมื่อวานหลงทางครับพี่ ว่าจะขับจากนครปฐมมายังบางบัวทองและออกไปทางรังสิต แต่กลับว่า หลุดเข้าไปกลางเมือง-สนามหลวง รถติดด้วย ใช้เวลาหลงทางนานมากครับ 4 ชม.
  • ผมคิดว่ายังมีโปรแกรมเดินทางไปอีกที่กรุงเทพ และจะขออนุญาตโทรแจ้งพี่นะครับ อยากจะพบพี่ศศินันท์เช่นกันครับ
  • ขอบคุณมากครับ

คุณจตุพร ครับ

         ผมแวะเวียนมาอ่านรู้สึกน่าสนใจมาก  ในโอกาสอันไม่ไกลนี้ผมคงจะได้มีโอกาสเชิญมาเป็นวิทยากรช่วยแบ่งปันความรู้แก่นักศึกษาของผมบ้าง

        ในภาคเรียน 2/2550 หากคุณจตุพรว่างช่วงไหนอย่างไร ผมขอข้อมูลไว้ด้วยครับเพื่อจะได้จัดคิวให้ลงตัว

สวัสดีครับ อาจารย์กรเพชร

P

ยินดีมากครับ ที่จะได้ไปแลกเปลี่ยนกับนักศึกษา  ประสบการณ์การทำงานหากได้แลกเปลี่ยนออกไปก็คิดว่าเป็นบทเรียนที่ดีให้กับนักศึกษาได้

อาจารย์สามารถกำหนดเวลามาได้เลย เพราะหากเป็นภาคเรียนที่ ๒ / ๕๐ หากอาจารย์แจ้งมาผมก็จะจัดตารางไว้ครับ

อาจารย์สามารถติดต่อผมผ่านทางอีเมลล์และเบอร์โทรศัพท์ได้ โดยดูได้จากหน้าประวัติครับ

 

ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

  • ที่แอนจะได้อ่านหนังสือที่ดีดี
  • แอนไม่ได้ศึกษาวิถึชีวิตคนแม่ฮ่องสอน มากมายเท่าไร
  • จะรออ่านเร็ว ๆ  ค่ะ
  • ดีจัง..ที่คุณหมออยากจะพบปะ กัน
  • แม้มิใช่คนปาย แต่มาอยู่เมืองปาย 5 ปี ก็ทำให้รักเมืองปายและอยากมีส่วนพัฒนาเมืองปายค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับ

P
  • ขอบคุณครับ ครูแอนครับ
  • อย่างน้อยครูแอนก็ได้อยู่ที่บ้านเมืองแปง ตรงนั้นมีประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน เป็นเมืองๆหนึ่งในอดีตที่รุ่งเรือง สังเกตจากซากวัดเก่าๆดูนะครับ หรือ อาจให้เด็กเข้าไปสืบค้นข้อมูลจากผู้เฒ่าผู้แก่ นำมาแลกเปลี่ยน บันทึกไว้ น่าสนใจดีนะครับ
  • ผมจะกลับปายพรุ่งนี้ นัดทานข้าวกันกับ น้องหมอ ไม่ทราบว่าครูแอนว่างมั้ยครับ จะได้พบเจอ Blogger ชาวเมืองปาย ฝากบอกน้องอ๋องด้วยครับ
  •  ผมมอบหนังสือของผมให้ ๑ เล่มพร้อมรอยยิ้มครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท