การอายัดเงินเดือน ค่าจ้างประจำ เบี้ยหวัด บำนาญ ตามคำพิพากษาของศาล


กรณีที่ศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งบังคับคดีให้อายัดเงินเดือน ค่าจ้างประจำ เบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญของข้าราชการ ลูกจ้างประจำและผู้รับเบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ หรือเงินอื่นใดที่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีเพื่อจะชำระให้แก่เจ้าหนี้ในคดีล้มละลายหรือชำระค่าอุปกรการเลี้ยงดูหรือค่าเลี้ยงชีพในคดีเยาวชนและครอบครัว ให้ส่วนราชการใช้อำนาจในการอายัดเงินดังกล่าวโดยปฏิบัติดังนี้

                เมื่อวันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม  2550 ผมไม่ได้มาทำงานที่สำนักงานเนื่องจากตอนเช้าได้รับมอบหมายจากท่านผู้อำนวยการให้ไปเป็นประธานเปิดการอบรมเรื่อง KM และบรรยายด้วย ตอนบ่ายไปประเมินเพื่อคัดเลือกครูต้นแบบที่โรงเรียนสตรีนนทบุรี พอถึงวันจันทร์ตอนเช้าไปประชุมเรื่อง GPP ที่โรงแรม Richmond กลับมาที่สำนักงานตอนกลางวันได้รับคำสั่งให้ย้ายการกำกับงานจากกลุ่มนโยบายและแผนไปกำกับกลุ่มอำนวยการให้ดูแล 4 กลุ่มงานคือกลุ่มงานประชาสัมพันธ์ กลุ่มงานบริหารการเงิน กลุ่มงานบริหารพัสดุและทรัพย์สินและงานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย ให้เริ่มทำหน้าที่ตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม 2550 เลย วันนี้ผมจึงถึงศึกษาระเบียบเพิ่มเติมระเบียบแรกที่ศึกษาคือการอายัดเงินเดือน ค่าจ้างประจำ เบี้ยหวัด บำนาญ ตามคำพิพากษาของศาล พอสรุปได้ดังนี้
หนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค 0409.4/ ว.39 ลว 17 กุมภาพันธ์ 2548
เรื่อง วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการอายัดเงินเดือน ค่าจ้างประจำ เบี้ยหวัด บำนาญ ตามคำพิพากษาของศาลมีวิธีการดังนี้
                1. กรณีที่ศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งบังคับคดีให้อายัดเงินเดือน ค่าจ้างประจำ เบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญของข้าราชการ ลูกจ้างประจำและผู้รับเบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ หรือเงินอื่นใดที่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีเพื่อจะชำระให้แก่เจ้าหนี้ในคดีล้มละลายหรือชำระค่าอุปกรการเลี้ยงดูหรือค่าเลี้ยงชีพในคดีเยาวชนและครอบครัว ให้ส่วนราชการใช้อำนาจในการอายัดเงินดังกล่าวโดยปฏิบัติดังนี้
                                1.1 แจ้งส่วนราชการผู้เบิกเพื่อทราบ
                                1.2 แจ้งกรมบัญชีกลาง เพื่อให้โอนเงินที่ถูกอายัดเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของส่วนราชการที่อายัดเงินดังกล่าว พร้อมแนบหลักฐาน  สำเนาคำพิพากษาของศาลหรือคำสั่งศาลและสมุดบัญชีเงินฝากของส่วนราชการที่อายัดเงิน
                                1.3 เมื่อกรมบัญชีกลางได้รับแจ้งตามข้อ 1.2 แล้วจะโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากให้แก่ส่วนราชการที่อายัดด้วยจำนวนสุทธิหลังหักภาษีแล้ว เพื่อให้ส่วนราชการนั้นนำเงินจ่ายคืนให้แก่เจ้าหนี้หรือจ่ายคืนให้แก่ลูกหนี้กรณีมีเงินคงเหลือหรือมีข้อตกลงที่จะต้องมีเงินไว้เพื่อดำรงชีพต่อไป
                2. กรณีผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ ซึ่งเป็นผู้ถูกบังคับคดี(มีรายละเอียดต่อ)
.......................................................
 
หมายเลขบันทึก: 125025เขียนเมื่อ 4 กันยายน 2007 16:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 16:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เพื่อนร่วมงานของผมเกษียณจากพนักงานรัฐวิสาหกิจปี53 ขบวนการถูกต้องตามขั้นตอนไม่มีการถูกตั้งกรรมการสอบสวนทางวินัย

แต่ถูกนายจ้างฟ้องร้องทางแพ่ง

อยากถามว่ากรณีนี้นายจ้างได้จ่ายเช็คเงินตอบแทนความชอบในการทำงาน 8 เดือนให้แล้วแต่เมื่อนำเช็คไปขึ้นเงิน ธนาคารปฎิเสธการจ่ายโดยแจ้งว่านายจ้างสั่งอายัด

และกรณีถูกฟ้องทางแพ่งคดียังไม่สิ้นสุดจะถูกอายัดบำนาญโดยที่ไม่จ่ายเงินให้ได้หรือไม่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท