โก๊ะจิจัง แซ่เฮ
เด็กเสียงเหน่อ จิราภรณ์ โก๊ะจิจัง แซ่เฮ กาญจนสุพรรณ

วันนี้หนูมีโอกาส....นั่งเคียงนักเขียนรางวัลซีไรท์...^_^!!


                  วันนี้ที่โรงเรียนหนูมีการจัดกิจกรรมสัปดาห์รักการอ่านการเรียนรู้ขึ้น โดยจะจัดทั้งสัปดาห์ตั้งแต่วันที่ 3-7 ก.ย.2550  โดยหนูทำหน้าที่เป็นพิธีกร...

                    ตลอดสัปดาห์จะมีนักเรียนที่ได้รับรางวัลซีไรท์มาให้ความรู้เกี่ยวกับการเขียน...โดยวันนี้ คุณเรวัตร์   พันธุ์พิพัฒน์   เป็นผู้มาให้ความรู้เจ้าค่ะ....ท่านได้รับรางวัลกวีซีไรท์เมื่อปี พ.ศ.2547 เรื่อง แม่น้ำรำลึก เจ้าค่ะ .....

                   เมื่อพ่อประจักษ์กล่าวพิธีเปิดเสร็จ...ท่านก็มานั่ง...(ขรึมมากๆ..น่ากลัวเจ้าค่ะ)...ท่านเปิดโอกาสให้นักเรียนทุกคนได้ถาม...(แบบว่าอยากรู้อะไรก็ถามได้)...แต่ขณะนั้น ท่านนั่งอยู่เพียงคนเดียว ซึ่งเก้าอี้มันเหลืออยู่ 3 ตัว ..ท่านก็เลยบอกว่า( ไปเป็นวิทยากรที่ไหน..เก้าอี้เต็มทุกที่ มาโรงเรียนนี้เก้าอี้เหลือเต็ม ..ให้นั่งคนเดียวเอง)...อาจารย์พิสูจน์เลยเรียกหนูไปนั่งเป็นเพื่อนคุณน้าเรวัตร์..(ทำเอาหนูเขิน...เมื่อมองท่าน...เพราะท่านน่ากลัว) 55555+++

                    ท่านให้ความรู้และแนวคิดมากมายเลยเจ้าค่ะ เกี่ยวกับการเขียน...ท่านบอกว่าการเขียนของท่านออกมาจากความรู้สึก....โดยสถานที่เขียนของท่าน ส่วนใหญ่จะเป็นบ้านสวน..นอนเปล....(ซึ่งท่านก็บอกว่า.....ท่านใช้ชีวิตอย่างสมถะ).....ท่านจบแค่ ม.6  แต่ความรู้ล้ำลึกยิ่งนัก....

                 ซึ่งหนูประทับใจสุดๆ ตรงที่ท่าน...ตอบปัญหาเหมือนขวานผ่าซาก....( ท่านตอบตรงไปตรงมาเจ้าค่ะ...นี่คือเอกลักษณ์ของท่าน ...ท่านบอกหนูมา)...ท่านให้หนังสือหนูเล่มหนึ่งด้วยเจ้าค่ะ ..ชื่อว่า นกชีวิต..ตอนนี้ก็อ่านไปได้ประมาณครึ่งเล่มแล้ว สนุกเจ้าค่ะ....ได้ลายเซ็นต์ด้วย คิคิ..

                 เสียดายที่วันนี้หนูไม่ได้เอากล้องไปโรงเรียน...แต่คาดว่า เดี๋ยวพ่อประจักษ์ก็คงเอารูปมาลงไว้ให้ทุกท่านได้ดูเจ้าค่ะ ...ส่วนวันพรุ่งนี้ คุณกุ๊ดจี่ จะมาเจ้าค่ะ ...คงสนุกแน่ๆ เพราะท่านเป็นทั้งนักเขียนและนักร้อง.....เดี๋ยวพรุ่งนี้หนูจะเข้ามาเล่านะเจ้าค่ะ..ว่าภาพบรรยากาศของนักเรียนที่มีฉายานามว่า กุ๊ดจี่ จะเป็นอย่างไร

                 วันนี้เป็นวันที่น้องจิประทับใจมากๆ ..ตื่นเต้น...------> น้องจิ ^_^

หมายเลขบันทึก: 124697เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2007 17:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (52)
  • นึกหน้าไม่ออก
  • ไม่ได้ตามหนังสือซีไรส์มานาน
  • รอดูจากน้องจิดีกว่าเนอะ
  • ขอบใจจ้า(พยายามทำเสียงเหน่อๆๆ)

สวัสดีเจ้าค่ะ ครูขจิต

             เดี๋ยวพ่อประจักษ์คงเอารูปมาลงให้ได้ดูกันเจ้าค่ะ .....แหม!!  หนูก็ไม่ค่อยเหน่อหรอกเจ้าค่ะ ...ถึงจะเหน่อ แต่ก็เหน่อเพราะนะเจ้าค่ะ 555++..(เพราะอะไรถึงเหน่อ คิคิ)

             ขอบคุณเจ้าค่ะ -------> น้องจิ ^_^

แวะมาทักทายอนาคตของชาติ

       สบายดีไหมครับ น้องจิ ....โอ้โห...วันนี้ได้กระทบไหล่คนดังด้วย ซึมซับแนวคิดอะไรดีๆ มาบ้างครับ อย่าลืมนำเล่าสู่กันฟังบ้างนะ จะรออ่านครับ

สวัสดีค่ะ พี่ข้ามสีทันดรที่หนูประทับใจในชื่อมากๆ

               วันนี้หนูมีความสุขมากๆค่ะ พร้อมๆกับความตื่นเต้น......จะเก็บความรู้สึกมาเล่าให้ฟังนะค่ะ แล้วพี่คอยอ่านนะเจ้าค่ะ....ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมบันทึกของหนูเจ้าค่ะ

             เป็นกำลังใจให้เจ้าค่ะ -------> น้องจิ ^_^

Cimg7237bbbb

  • ขออภัยจริงๆ  มาช้าไปหน่อย
  • ดีกว่าไม่มานะ
  • เสียดายไม่ได้อยู่ด้วยตลอด
  • ทุกอย่างของรายการนี้ว่ากันสดๆ
  • เก่งทุกคนเลย

สวัสดีเจ้าค่ะ พ่อประจักษ์

           เย้ๆๆๆ พ่อเอารูปมาลงให้แล้ว คิคิ......ขอบคุณพ่อประจักษ์มากๆเจ้าค่ะ...ครูขจิตรอดูรูปอยู่เจ้าค่ะ

           เป็นกำลังใจให้เจ้าค่ะ ---------> น้องจิ ^_^

  • คุณสุรพล ชวนไปร่วมกิจกรรม เสียดายติดภารกิจไม่ได้ไปนั่งเกาะติดสถานการณ์จริง
    ..............
  • เลยได้แต่ตามติดจากน้องจิ...กับคุณครูพิสูจน์ อ้อ! และคอยชมภาพจากท่านผอ.ประจักษ์ด้วยค่ะ
    ..............
  • ว่าแต่น้องจิ โชคดีนะคะเนี่ย! ได้มีโอกาสเรียนรู้กับบุคคลชั้นครูระดับกวีซีไรท์แบบนี้
    ..............
  • เก็บเกี่ยวเยอะ ๆ นะ โอกาสดีมาถึงแล้ว
    ..............
  • เพราะน้องจิ ฉายแววนักเขียนอยู่นา....

มาเยี่ยม  คุณ

P
นี่แหละ  10  ปากว่าไม่เท่าตาเห็น หูได้ยินจากตัวตนจริง ๆ ...นักเขียนเหล่านี้ล้วนมีอัตลักษณ์ทั้งนั้น...
จงดูให้เห็นจริงเถิด...ฮา ๆ เอิก ๆ

...วันนี้กระผมมาสวัสดี...ไม่ได้มานาน..เกือบจำทางไม่ได้..ขอเป็นกำลังใจให้นะขอรับ......เป็นกำลังใจให้นะ..

 

  • โห เปลี่ยนรูปแล้ว
  • ค่อยจำได้หน่อย
  • ไม่เหมือนกำนัน
  • ชอบรูปนี้ๆๆ

สวัสดีเจ้าค่ะ คุณครูปวีณา

            คิคิ ขอบคุณค่ะที่เข้ามาเยี่ยมบันทึกของหนู.....งานนี้ต้องขอบคุณอาจารย์จันทิมาเจ้าค่ะ ที่นำสิ่งดีๆเข้ามาให้กับนักเรียนโรงเรียนบางลี่วิทยา ตลอดสัปดาห์นี้  มีนักเขียนมาทุกวัน คิคิ

             เป็นกำลังใจให้คุณครูเจ้าค่ะ --------> น้องจิ ^_^

สวัสดีเจ้าค่ะ ท่านอาจารย์ยูมิ

          ขอบคุณเจ้าค่ะ ที่เข้ามาเยี่ยมกัน.....ได้ยินตัวจริงเสียงจริงเลยเจ้าค่ะ ...ไม่ทราบว่านักเขียนทุกคนหล่อเหมือนกันหมดหรือเปล่า คิคิ

          เป็นกำลังใจให้อาจารย์เจ้าค่ะ -------> น้องจิ ^_^

สวัสดีเจ้าค่ะ พี่ต้นน้ำ

          งานนี้ถึงกลับจำทางไม่ได้เลยหรอค่ะ...ขอบคุณนะเจ้าค่ะ ที่ยังจำทางเข้าบันทึกน้องจิได้...

             เป็นกำลังใจให้เจ้าค่ะ --------> น้องจิ ^_^

สวัสดีเจ้าค่ะ คุณครูขจิตเจ้าขา

           แหม!!...ค่อยโล่งใจหน่อย ไม่เหมือนกำนันและ 5555+++...........

        ขอบคุณคุณครูนะค่ะ ที่เข้ามาเยี่ยมบันทึกของหนู...ไม่เปลี่ยนรูปและ เอารูปนี้แหละ 5555+++

         เป็นกำลังใจให้เจ้าค่ะ ----> น้องจิ ^_^

วันนี้อ่านกวีนิพนธ์ซีไรต์เล่มล่าสุดหรือยัง   มีเรื่องวัยรุ่นอยู่ตอนท้ายเล่มและน่าสนใจมาก

...

ที่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีอาจารย์ที่เป็นซีไรต์ 1  ท่าน คือ อ.ธัญญา  สังขพันธานนท์  (ไพฑูรย์   ธัญญา)    .... ท่านเขียนเรื่องสั้นเก่งมาก และเขียนบทกวีก็เก่งมากเช่นกัน

ผมรู้สึกอิจฉา ครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาเหลือเกิน

ทุกครั้งที่ผมเข้าไปทำกิจกรรม "สัปดาห์ห้องสมุด" หรือ "สัปดาห์รักการอ่าน" ผมจะมีเวลาอยู่กับนักเรียนเพียง ๓ ถึง ๕ วัน วันละ ๒ หรือ ๓ ชั่วโมง และถ้าหากรับเชิญไปคุยเรื่อง "อ่านเอาเรื่อง" ซึ่งตอนนี้มีอยู่หลายชื่อ ไม่ว่าจะเป็น "ผู้ไม่รู้ พบ ผู้ไม่รู้" หรือล่าสุดที่อ.ชวลิต(รร.ธรรมโชติศึกษาลัย-ขอภัยที่เอ่ยนาม) ตั้งชื่อให้เป็นวิทยาศาสตร์ว่า "แล้คโตบาซิลัส" ผมก็จะมีเวลาอยู่กับนักเรียนเพียงชั่วโมงเดียวเท่านั้น

ผมมีเวลาอยู่กับนักเรียนเพียงน้อยนิด ผมจึงอิจฉาทุกท่านเป็นอย่างมาก ที่ท่านมีเวลาอยู่กับนักเรียนทุกวัน วันละหลายชั่วโมง

หากผมมีเวลามากกว่านี้ ผมคงหา "วัคซีน" มา "ฉีด" ให้กับเยาวชนของเราได้เพิ่มขึ้น พวกเขาก็จะมี "ภูมิต้านทาน" มากพอที่จะเข้าใจได้ว่า "การเรียนหนังสือนั้น ต้องเพื่อตัวเองและผู้อื่นด้วย"

อยากให้คุณครูได้รู้ว่า Ralph Waldo Emerson เคยบอกไว้ว่า The secret of 'Education' lies in respecting the pupil. แปลตามความรู้ของคนจบ ม.ศ.๕ โรงเรียนเทพศิรินทร์ ได้ว่า "ความลับของการศึกษา อยู่ที่การให้เกียรติ นับถือ ลูกศิษย์" (เขียนถึงตรงนี้ก็อดนึกถึงพวกอาจารย์สามไม่ได้ - อาจารย์สามหาว น่ะ)

อยากบอกคุณครูเหลือเกินว่า จรรยาบรรณของครูข้อที่ ๖ ที่คุรุสภากำหนด ต้องการให้คุณครูพัฒนาตนเองทั้งด้านวิชาชีพ บุคลิกภาพ วิสัยทัศน์ และการเมืองอยู่เสมอ ไม่ใช่ "ติดตาม"นักการเมือง เพราะมันถูกพิสูจน์อย่างแน่ชัดแล้วว่านักการเมืองในประเทศนี้เหมือนกับ Handy Drive คือเห็น "รู" ไม่ได้ จ้องจะ "เสียบ" อย่างเดียว พอเสียบติดแล้ว ก็ปล่อย "ไวรัส" ให้ระบบเสียหายไปหมด

อยากบอกครูว่าอ่าน "การขับเคลื่อนนโยบายของ สพฐ. ปี ๒๕๕๐-๒๕๕๑" แล้วหรือยัง ในนั้น ๖ ข้อ เขาเน้นการมีส่วนร่วมของ "ผู้ปกครอง" อยู่ ๑ ข้อ

อยากบอกอะไรอีกเยอะแยะ อยากบอกว่าประเทศของเรา ตั้งแต่ ปี ๒๕๔๐ไม่ได้ประสบกับวิกฤตทางเศรษฐกิจดอก ประสบกับ "วิกฤตทางปัญญา" ต่างหาก เราจึงต้องมี "การปฏิรูปการศึกษา" ไง เพื่อขจัดวิกฤตทางปัญญาให้หมดไป

อย่างที่บอกไว้ข้างต้น ผมอิจฉาทุกท่านเหลือเกิน เพราะหน้าที่ "สร้างชาติ" ไม่ได้ตกอยู่กับผม ตกอยู่กับคุณครูและอาจารย์ทุกท่าน

สิ่งที่ผมทำ(สัปดาห์ห้องสมุด และอื่น ๆ) จึงเป็นเพียงอาการของ "สุนัขจรจัด" ที่มองหา "รั้วผุๆ" เพื่อเข้าไปวิ่งเล่นเพ่นพ่าน

แม้ว่าบางทีจะพบกับ "กำแพง" ที่แข็งแรงมาขวางกั้น ซึ่งผมเรียกของผมเองว่า "กำแพงแห่งปัญญา" ก็มิได้ทำให้ปณิธานหมดไป

หวังเพียงหาเพื่อนร่วมทาง ที่จะ "เตรียม" สังคมที่ดีไว้ให้ลูกหลานได้อยู่อาศัย - ที่นี่คงมีเพื่อนสักคน   

สวัสดีเจ้าค่ะ ครูแผ่นดิน..ถิ่นสยามที่น่ารัก

             ยังไม่ได้อ่านเลยเจ้าค่ะ....แต่ก็จะหาอ่านนะเจ้าค่ะ....มหาวิทยาลัยมีอาจารย์ที่มีฝีมือและความรู้มากมายเจ้าค่ะ.....อยากฝากตัวเป็นศิษย์ด้วยจัง ...

              เป็นกำลังใจให้คุณครูเจ้าค่ะ --------> น้องจิ ^_^

สวัสดีเจ้าค่ะ พี่ทายาทคุรุ

           อยากรู้จังว่าพี่คือใคร...(ต้องเป็นนักเขียนแน่ๆ).....ขอบคุณเจ้าค่ะที่เข้ามาเยี่ยมบันทึกของหนู....ทุกเรื่องราวที่ท่านนักเขียนทุกคนได้เข้ามาให้ความรู้และเล่าประสบการณ์....และความสนุกสนาน...หนูจะเก็บไปเป็นแนวคิดและการเรียนของหนูเจ้าค่ะ

             ขอบคุณมากเจ้าค่ะ..--------> น้องจิ ^_^

เมื่อมวลชนไม่มาหาหนังสือ หนังสือก็จะไปหามวลชน

ว่าแล้ว ร้านหนังสือเล็ก ๆ อย่าง pick n' pay ก็ยกขบวนหนังสือ "เคลื่อน" ไปยังโรงเรียนต่าง ๆ ในเขตจังหวัดสุพรรณบุรี โดย "ตั้งใจ" ที่จะชวนนักเขียนร่วมอุดมการณ์ไปด้วย กลายมาเป็นสัปดาห์ห้องสมุด สัปดาห์รักการอ่าน นักเขียน พบ นักเรียน สัปดาห์.... อะไร ก็แล้วแต่เจ้าของสถานที่ แต่ทั้งหมดมีวัตถุประสงค์เดียว คือ ทำอย่างไรก็ได้ ให้เด็ก ๆ ของสุพรรณ ฯ "ชอบ" อ่านหนังสือ เพื่อสืบทอด "แหล่งปราชญ์...ศิลปิน"ของเราต่อไป

ตระเวณกันไปตั้งแต่ ปี ๒๕๔๗ จนได้รับการยกย่องจากสำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติว่า เป็น ๑ ใน ๖๗ กิจกรรมที่สร้าง "สุขภาวะ" ให้กับชุมชน มีการสัมภาษณ์ออกอากาศทางวิทยุจุฬา วิทยุ อสมท. และออกรายการ "คิดได้ไง ?" ทางไอทีวี เป็น "พันธนาการ" ที่มีความสุขของผู้จัด

นักเขียน พบ นักเรียน ยังคงดำเนินต่อไปตาม "สำนึก" ของผู้ประกอบการเล็ก ๆ ท่ามกลางวงล้อมของห้างขนาดใหญ่ที่เรียกว่า Modern Trade

๑๑ ก.ย.๕๐ เด็ก ๆ ที่ศรีประจันต์ "เมธีประมุข" จะได้พบกับ กุดจี่-พรชัย แสนยะมูล

๑๒ ก.ย.๕๐ พบกับ ศิวกานท์ ปทุมสูติ

๑๓ ก.ย.๕๐ พบกับ คมสัน นันทจิต และ เอก-วิชัย จงประสิทธิ์พร

๑๔ ก.ย.๕๐ พี่รณเดช ส่องศิริ จะมานำน้อง ๆ ร้องเพลง วาดการ์ตูน และเล่นเกมส์

โอกาสนี้ขอขอบคุณนักเขียนทุกท่าน ที่ให้ความเมตตากับเด็ก ๆ

ขอขอบคุณผู้บริหารโรงเรียน อาจารย์ บรรณารักษ์ ที่ "มอบ" โอกาสให้กับผู้จัด

ขอขอบคุณบรรพบุรุษที่รักษา "ภาษาไทย" ไว้ให้พวกเรา

ปล.โรงเรียนใดสนใจกิจกรรมนี้ ลองเขียนมาคุยกันที่ [email protected]

To Sir With Love - แด่คุณครูด้วยดวงใจ หนังดีที่ "ครู" ต้องดู

ในสัปดาห์ห้องสมุดที่ร้าน pick n' pay เข้าไปร่วมจัดกับทางโรงเรียนต่าง ๆ นอกจากจะมีนักเขียนไปแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับนักเรียนแล้ว ยังมีการฉายภาพยนตร์ให้ชมด้วย

ภาพยนตร์ที่ฉายคงไม่ใช่หนังที่ฉายกันอยู่ทั่วไป หากแต่เป็นหนังที่มี "ความหมาย" เพื่อให้คุ้มค่ากับเวลาของนักเรียนและอาจารย์ที่เสียไป

TO SIR WITH LOVE คือหนึ่งในนั้น หนังเรื่องนี้มีอายุ ๔๐ ปีแล้ว แต่ก็คงความอมตะมาจนถึงทุกวันนี้ เพราะความสมบูรณ์ของหนัง ตั้งแต่บทประพันธ์(ซึ่งเก็บมาจากเรื่องจริง) บทภาพยนตร์ ดาราที่แสดง เพลงประกอบ และแง่คิดที่แฝงไว้อย่างแยบยล

หนังแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างครูกับลูกศิษย์ ที่แทบจะไม่น่าเชื่อเลยว่า จาก "เด็กเหลือขอ" ของคนที่ต้องจำใจมาเป็นครู กลับกลายเป็นเด็กที่น่ารัก จากครูที่ "จำใจ" กลายมาเป็นครูที่ "จำเป็น" ของวงการศึกษา

เคล็ดลับคืออะไร ลองตามไปดูที่หมวดภาษาอังกฤษ รร.บางลี่วิทยา pick n' pay ได้ "ปัน" ไว้ให้แล้ว

ปล.สำหรับครูสอนภาษาอังกฤษ หนังเรื่องนี้ใช้สอนนักเรียนได้เลย บทพูดไม่ยาก มีซับไตเติ้ลไทยให้ด้วย เพลงประกอบชื่อเดียวกับหนัง เป็นบทกวีชั้นดีที่น่านำมาให้เด็ก ๆ ได้ลองฝีมือในการตีความ

ขอให้มีความสุขกับการศึกษาชีวิตจาก "หนัง"

 

ขอบคุณเจ้าค่ะ พี่ Citizen Journalist

         ที่แวะเข้ามาให้ความรู้กัน.....หนูจะนำข้อมูลต่างๆไปบอกให้เพื่อนๆได้รับรู้นะเจ้าค่ะ

        ขอบคุณเจ้าค่ะ -----> น้องจิ ^_^

สวัสดีเจ้าค่ะ พี่ peck n'pay

          ขอบคุณเจ้าค่ะ ที่เข้ามาให้คำแนะนำและความรู้เกี่ยวกับการอ่าน   หมวดภาษาอังกฤษหนูมีคุณครูที่สอนเด็กได้ดีมากๆเจ้าค่ะ...(แต่หนูเรียนไม่ค่อยรู้เรื่อง เพราะไม่เก่งอังกฤษ แต่ก็จะพยายามเจ้าค่ะ) 555+++

       ถนัดภาษาไทยมากกว่าเจ้าค่ะ.....แต่ยังไงก็จะพัฒนาต่อไปเจ้าค่ะ

       ขอบคุณเจ้าค่ะที่เข้ามาเยี่ยมกัน ------> น้องจิ ^_^

ขอแสดงความยินดีกับโรงเรียนบางลี่วิทยาที่มีกิจกรรมดีดีกระตุ้นให้เด็กเด็กรักการ "อ่าน" มากกว่าดูและฟังเพื่อรักษา "แหล่งปราชญ์ศิลปิน"ของเราไว้นานนาน แถมบางลี่ยังต่อยอด "ภาษาถิ่นชวนฟัง" ไปไกลถึงเพลงพื้นเมืองอีก  น่าภูมิใจแทนท่านผู้อำนวยการประจักษ์จริงจริง  กิจกรรมดีดีอย่างนี้เด็กเด็กที่ ธรรมโชติฯก็มีโอกาสได้เสพแล้วเมื่อสิงหาคม อิ่มเอมกันทั่วหน้า  อยากให้มีคนที่เห็นคุณค่าของการอ่าน  รักเด็กเด็ก  โดยไม่มีผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้องอย่างนี้มากมาก  เผื่อจะยกระดับการอ่านจาก เจ็ดบรรทัดขึ้นมาอีกสักนิดหนึ่ง  พูดแล้วก็อดคุย(โม้)อวดน้องจิไม่ได้ว่าที่ ธรรมโชติฯนอกจากจัดกิจกรรมสัปดาห์รักการอ่านแล้วยังต่อยอดไปสู่การเชิญวิทยากรภายนอกที่ไม่ใช่อาจารย์สาม(หาว)มาให้ความรู้กับนักเรียนในหลากหลายหัวข้อ ไม่ว่าจะโลกร้อน , อ่านเอาเรื่อง หรือการตั้งคำถาม ฯลฯ เด็กเด็กที่พบแต่ครูหน้าเก่าเก่า  เล่นแต่บทเดิมเดิม มาสู่การปลดปล่อยกับวิทยากรที่แตกต่างอย่างสร้างสรรค์เข้าออกมาแสดงกิจกรรมหน้าห้องกันอย่างสนุกสนาน  แถมได้เมล็ดพันธุ์ทางความคิดดีดีเข้าไว้ในสมองอีกด้วย  รุ่งขึ้นอีกวันเด็กเด็กก็ตั้งตารอคอยวิทยากรโดยคิดว่าจะมาอีก  เสียดายมีโครงการแค่เดือนละ หนึ่งครั้งเท่านั้น  น้องจิสนใจหรือเปล่าล่ะ ถ้าสนใจก็ลองติดต่อ "ทายาทคุรุ"ดูก็ได้อาจจะมีคำตอบดีดีก็ได้

ทุกท่านชอบทำปริศนาไว้ให้หนูอยู่เรื่อยเลยเจ้าค่ะ.....ไม่ยอมเอ่ยนามให้หนูรู้...ให้หนูจินตนาการไปเองเรื่อยเลยว่าเป็นใคร....(เดี๋ยวก็นึกเป็นพี่แดนกับพี่บีมซะนี่) 555+++ เอิกๆๆ

           หนูว่า ท่านทายาทคุรุ คือ คุณสุรพล แน่ๆเลยเจ้าค่ะ แต่ คุณ อนุคุรุ นี่สิค่ะ ใครเอ่ย...โรงเรียนธรรมโชติ เดี๋ยวต้องเป็นสายลับรุ่นจิ๋วสักหน่อย คิคิ

            ขอบคุณเจ้าค่ะ สนใจแน่นอนเจ้าค่ะ....กิจกรรมเกี่ยวกับรักการอ่านเช่นนี้ สมควรได้รับการส่งเสริม......น่าอิจฉาโรงเรียนธรรมโชตินะค่ะเนี่ย....ยินดีกับความสำเร็จของโรงเรียนธรรมโชติค่ะ...(บางลี่วิทยาไม่ยอมแพ้ สู้ๆ)

           เป็นกำลังใจให้และขอบคุณมากเจ้าค่ะ -----> น้องจิ ^_^

ในสัปดาห์ห้องสมุดฯ นอกจากจะมีการพบ ปะ พูด คุย แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับนักเขียน ฉายหนังแล้ว ยังมีอีกกิจกรรมหนึ่งที่เด็ก ๆ ชอบมาก คือ การวาดการ์ตูน ในสายตาของเด็ก ๆ เวลาพี่รณเดชวาด จะรู้สึกว่าง่ายมาก แต่ในความเป็นจริง พี่รณเดชต้องใช้เวลาในการฝึกฝนมาอย่างยาวนาน ขอเป็นกำลังใจให้เด็ก ๆ ทุกคนที่บางลี่ ค่อย ๆ หัดวาดรูปทรงต่าง ๆ ที่พี่รณเดชฝากไว้ ให้คล่องมือ อีกหน่อยก็จะเขียนเก่งไปเอง

ในฐานะที่พี่รณเดชเป็นนักดนตรีด้วย จึงนำเอาบทเพลงมาฝากน้อง ๆ ๓ เพลง เพลงแรก "จ้ำจี้มะเขือเปาะ" ทุกคนร้องได้หมด - นี่ละมั้งที่เขาบอกว่าคนไทยเจ้าบทเจ้ากลอนมาตั้งแต่เด็ก แล้วพี่รณเดชก็พาให้ทุกคนร้องเพลง Your Cheating Heart ของ Hank Williams ได้ด้วย เพราะใช้ทำนองเดียวกัน

เห็นมั้ย เริ่มเป็น "มิตร" กับคนที่เกลียดภาษาอังกฤษแล้ว

เพลงที่ ๒ เพลงเมืองไทย ๒๖๕๑ เพลงนี้แต่งโดยคุณทิวา สาระจูฑะ บก.หนังสือสีสัน เจ้าของรางวัลสีสันอะวอร์ดส์ ขับร้องครั้งแรกโดยคุณชัช วัฒนไกร มือกลองเสียงดีจาก อ.สามชุก ครั้งที่สองขับร้องโดยคุณยืนยง โอภากุล(แอ๊ด คาราบาว)

เพลงนี้น่าจะได้รับรางวัลบ้าง ในฐานะที่มีเนื้อหา "อนุรักษ์" แต่ก็ไม่ได้รางวัลอะไร เพราะเมืองไทยเราต้องเขียนบอกออกไปตรง ๆ ว่าจะรักษาสัตว์อะไรไว้บ้าง - พี่รณเดช(อยากจะเรียกว่าพี่อัพเดทจังเลย) "แอบ" ปลูกต้น "อนุรักษ์" ไว้ในใจเด็ก ๆ (อีกแล้ว)

ก่อนที่พี่รณเดชจะเล่นเพลงที่สาม มีการถาม-ตอบปัญหาเล็กน้อย เช่น ถามว่าโรงเรียนเลขที่เท่าไหร่ ตั้งอยู่บนถนนอะไร ใครสร้าง สร้างเมื่อไหร่ มีนักเรียนกี่คน หญิงเท่าไหร่ ชายเท่าไหร่ ห้องสมุดมีกี่ระบบ ของเราใช้ระบบอะไร พุทธศาสนาอยู่หมวดที่เท่าไหร่ ฯลฯ แปลกแต่จริง สิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเรา เรากลับไม่รู้ แต่สิ่งที่อยู่ไกลตัว เรารู้เกือบหมด - พี่รณเดชแอบให้เราคิดพิจารณาตัวเราเองอีกแล้ว

มาถึงเพลงที่ ๓ Where Have All The Flowers Gone เพลงนี้แต่งโดย Pete Seeger ชาวอเมริกัน ลองมาดูเนื้อเพลงกัน ทำไมพี่อัพเดทถึงเอามาร้อง

 Where have all the flowers gone, long time passing?Where have all the flowers gone, long time ago?Where have all the flowers gone?Young girls have picked them everyone.Oh, when will they ever learn?Oh, when will they ever learn?Where have all the young girls gone, long time passing?Where have all the young girls gone, long time ago?Where have all the young girls gone?Gone for husbands everyone.Oh, when will they ever learn?Oh, when will they ever learn?Where have all the husbands gone, long time passing?Where have all the husbands gone, long time ago?Where have all the husbands gone?Gone for soldiers everyoneOh, when will they ever learn?Oh, when will they ever learn?Where have all the soldiers gone, long time passing?Where have all the soldiers gone, long time ago?Where have all the soldiers gone?Gone to graveyards, everyone.Oh, when will they ever learn?Oh, when will they ever learn?Where have all the graveyards gone, long time passing?Where have all the graveyards gone, long time ago?Where have all the graveyards gone?Gone to flowers, everyone.Oh, when will they ever learn?Oh, when will they ever learn?Where have all the flowers gone, long time passing?Where have all the flowers gone, long time ago?Where have all the flowers gone?Young girls have picked them everyone.Oh, when will they ever learn?Oh, when will they ever learn?

ในเพลงไม่ได้บอกถึงความโหดร้ายของสงคราม แต่การสูญเสียสามีของสาวน้อยก็เป็นเครื่องชี้ได้ว่า เธอโศกเศร้าเพียงใด เพลงนี้เป็นบทกวีชั้นดีที่ใช้ถ้อยคำง่าย ๆ ทำนองง่าย ๆ แต่ความหมายลึกซึ้ง เด็ก ๆ ที่บางลี่วิทยาร้องกันลั่นห้องสมุด ทั้ง ๆ ที่บางคนไม่เคยสนใจภาษาอังกฤษมาก่อน

พี่รณเดช แอบมายืนยันว่า "ภาษาอังกฤษ" ง่ายนิดเดียว เป็นการปิดท้ายสัปดาห์ห้องสมุดอย่างมีสาระ แบบไร้สาระ ?

ไม่สามารถบอกได้ว่ากิจกรรมทั้งหมด ครอบคลุมเนื้อหาสาระทุกวิชาที่นักเรียนต้องเรียน แต่บอกได้ว่า"การเรียนสำคัญกว่าการสอบ" และผู้เรียนต้องมี "ความสุข"

หวังเป็นอย่างยิ่งว่า กิจกรรมเล็ก ๆ นี้ จะได้มีโอกาส "แตกหน่อ-ต่อยอด" เพื่อเด็ก ๆ ของเราจะได้มีความสุข ทั้งที่บ้าน และที่โรงเรียน

ด้วยความปรารถนาดี

สุรพล จินดาอินทร์

สวัสดีเจ้าค่ะ คุณน้า สุรพล

         เห็นไหมหนูทายถูกด้วย....ขอบคุณมากเจ้าค่ะสำหรับกิจกรรมดีๆที่คุณน้านำมามอบให้กับเด็กโรงเรียนบางลี่วิทยา.......ภาษาอังกฤษไม่ใช่เรื่องยากเจ้าค่ะ....(แต่เป็นเรื่องยากมาก) 555555++ เอิกๆๆๆ.....

          ปีหน้าอยากให้มีกิจกรรมดีๆเช่นนี้อีกเจ้าค่ะ....จะได้เปิดโอกาสให้รุ่นน้องที่ยังไม่มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมดีๆอย่างนี้เข้าร่วมบ้าง....

             ส่วนตัวหนูเอง....อาจารย์ก็คงจะไม่เก็บไว้แล้วเจ้าค่ะ.....ต้องบินไปหารังใหม่.....

             ขอบคุณและเป็นกำลังใจให้คุณน้าเจ้าค่ะ -----> น้องจิ ^_^

 มาแล้ว เนื้อเพลง "เมืองไทย ๒๖๕๑"

เมืองไทย 2651คำร้อง-ทำนอง : ทิวา สาระจูฑะ ขับร้อง : ยืนยง โอภากุล, ชัช วัฒนไกร จับมือน้อยน้อย ค่อยค่อยหัดลูกวาดเขียนเป็นนกเงือกบินเวียน ในป่าดงพงไพรกว้างเป็นละมั่งเลียงผา เป็นไก่ฟ้า เป็นเก้งกวางเป็นชะนีลิงค่าง เป็นช้าง เป็นเนื้อทรายเป็นกระจง อีเห็น เป็นเม่น เป็นหมีควายเป็นแรด เป็นม้าลาย เป็นเสือสิงห์กระทิงไพร จับมือน้อยน้อย ค่อยค่อย สอนขีดเส้นสายเป็นชีวิตเวียนว่าย ในท้องทะเลกว้างไกลเป็นหมึก เป็นแมวน้ำ เป็นม้าน้ำ เป็นโลมาเป็นกุ้งหอยปูปลา เป็นฉลาม เป็นปลาวาฬเขียนสาหร่าย ปะการัง วาดลายกัลปังหาพลิ้วไหวเอนไปมา ใต้มหาสมุทรสีคราม เด็กน้อยวาดไป ใจอยากเห็นสัตว์สวยงามสงสัยจึงไถ่ถาม พ่อจ๋าหาดูที่ใดพ่อนิ่งบอกไม่ถูก ไม่รู้ตอบลูกอย่างไรทุกอย่างแปรเปลี่ยนไป ไม่มีอะไรเหลือแล้วทุกอย่างแปรเปลี่ยนไป ไม่มีอะไรเหลือแล้วทุกอย่างแปรเปลี่ยนไป ไม่มีอะไรเหลือเลย 

การจัดสัปดาห์ห้องสมุดของร้านหนังสือ pick n' pay มิได้จัดทำเครื่องมือวัดผล หรือประเมินผลใด ๆ ทั้งสิ้น เพราะเชื่อว่าเราอยู่กับ "รูปแบบ" มาพอแล้ว เรามีคนเก่งด้านนี้เยอะจนนับไม่หวาดไหว

ได้ยินเสียง ได้เห็นรอยยิ้ม ได้เห็นแววตา และที่สำคัญ รู้สึกได้ถึง แรงบันดาลใจ "แบบฉับพลัน" ของนักเรียนก็ถือว่า ประสบความสำเร็จแล้ว

อยากจะบอกว่า "แรงบันดาลใจ" นี่แหละ ที่มีความสำคัญมาก มีอยู่ในตัวเราทุกคน หากได้บรรยากาศที่เหมาะสม มันจะแสดงออกมาโดยไม่รู้ตัว ผลของมันจะอยู่กับเราไปจนวันตาย

ไม่รู้ว่าในการประเมินคุณภาพของครู กระทรวงศึกษาธิการมีปัจจัยนี้ด้วยหรือเปล่า ? - ไม่ได้เป็นข้าราชการ จึงไม่ทราบจริง ๆ

ในวัยเด็ก สมัยที่ยังเรียนหนังสือ มีโอกาสได้ไปตามสถานที่ต่าง ๆ ที่เขามีการพูดคุยกันทางวิชาการบ้าง ทางการเมืองบ้าง บันเทิงบ้าง ความรู้สึกของเด็กสมัยนี้ก็ไม่น่าจะแตกต่างกัน การได้ฟัง "ปราชญ์" มาพูดคุย เนื้อหา สาระ แน่นอนย่อมได้อยู่แล้ว แต่ที่ลึกลงไปก็คือ เราก็เป็น "ปราชญ์" ได้เหมือนกัน อยากให้เด็กสุพรรณ ฯ เป็น "ปราชญ์" กันทุกคน

อ้อ ! จะว่าไม่มีเครื่องมือวัดกิจกรรมฯ เสียทีเดียวก็คงไม่ถูกนัก มีอยู่อันหนึ่ง เรียกว่า "มาตรา Happiness" ก็แล้วกัน

สุรพล จินดาอินทร์

สวัสดีเจ้าค่ะ คุณน้าสุรพล

               ขอบคุณเจ้าค่ะที่นำเพลงเพราะๆ แถมยังสนุกมาเล่าสู่กันฟัง.....

               ว่างๆจะแวะไปที่ร้าน pick'n pay นะเจ้าค่ะ ----------> น้องจิ ^_^

เชื่อได้ว่า ร้านหนังสือ pick n' pay   เป็นร้านหนังสือที่ดีอีกแห่งหนึ่งของเมืองสุพรรณ......ต้องขอขอบคุณ ...คุณน้าสุรพล จินดาอินทร์มากเจ้าค่ะ....ที่เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และมอบข้อมูลดีๆ ให้แก่หนูทราบ

           เป็นกำลังใจให้เจ้าค่ะ -------> น้องจิ ^_^

ผ่านไปอีก ๑ วัน (๑๓ ก.ย.๕๐) วันนี้เด็ก ๆ ที่ ศรีประจันต์ "เมธีประมุข" ทำให้ห้องโสต ฯ คับแคบไปถนัดตา ต่างมานั่งรอพี่คมสัน (นันทจิต) และพี่เอก-วิชัย จงประสิทธิ์พร สองพิธีกรชื่อดังจากรายการจุดเปลี่ยน

ทั้ง ๆ ที่พี่ทั้งสองเป็นพิธีกรมืออาชีพ แต่พี่ทั้งสองไม่ได้ทำงานแบบลวก ๆ มีการ "เตรียมตัว" กันพอสมควร เพื่อความสุขของกะทิ เอ้ย...ไม่ใช่ ความสุขของน้อง ๆ

พี่คมสัน และพี่เอก นำเอาบทละคร(จริง) ที่พี่เอกใช้เล่นในทีวี มาสาธิตให้น้อง ๆ ดู แล้วบอกว่า ต้องหัดอ่านเพื่อ "จับประเด็น" ให้ได้ จะอ่านเฉพาะบทของตัวเองไม่ได้ ต้องอ่านของทุกคนด้วย เพื่อให้ได้อารมณ์ของทั้งเรื่อง เมื่อมีเวลาน้อย จึงต้องอ่านแบบรวดเร็ว และได้ใจความ

พี่คมสัน และพี่เอกยังบอกอีกว่า ธนาคารคำ คลังเรื่องราวต่าง ๆ ในสมอง ที่เกิดจากการอ่าน เป็นสิ่งที่จำเป็นมากในอาชีพพิธีกร พี่เอกยกตัวอย่างว่า เมื่อวันศุกร์ที่แล้ว มาเป็นพิธีกรในการเปิดตัวอัลบั้มใหม่ของคาราบาวที่สุพรรณฯ เจ้าหน้าที่ให้บทมาชุดเดียว แต่พี่เอกต้องพูดเพื่อคนตั้งหลายฝ่าย ฝ่ายนักดนตรี ฝ่ายผู้ว่าจ้าง(ค่ายวอร์เนอร์) ชาวบ้าน แฟนเพลง ฯลฯ พี่เอกสามารถทำงานผ่านพ้นไปได้ด้วยดี จนนักดนตรีอดทึ่งไม่ได้ ก็พี่เอกเล่นอ่านเก็บความรู้มาหมดว่า คาราบาวมีกี่อัลบั้ม อันไหนก่อน อันไหนหลัง ผู้ฟังอื่น ๆ ก็พลอยได้ประโยชน์ไปด้วย - น้องจิคงทำเป็นปรกติอยู่แล้ว ?

หลายคนอาจจะไม่ทราบว่าพี่ทั้งสอง มีผลงานรวมเล่มออกมาด้วย คนละหลาย ๆ เล่ม โดยเฉพาะพี่คมสันมีคอลัมน์ประจำอยู่ในหนังสือเนชั่นสุดสัปดาห์ พี่คมสันยังบอกอีกว่ามีโครงเรื่องนวนิยายอยู่ในหัวแล้ว รอเวลาค้นคว้าและเขียนออกมา

ในคณะที่มายังมีพี่ป๋อง ใบไม้ป่า คอยช่วยเล่นกีตาร์ พี่เสี้ยวจันทร์ แรมไพร บรรณาธิการหนังสือของพี่ทั้งสอง พี่เสี้ยวจันทร์เป็นกวีและนักเขียนด้วย แต่ที่โดดเด่นมากก็คือ หนังสือรางวัลซีไรท์อย่างน้อยสามเล่ม มีพี่เสี้ยวจันทร์เป็นบรรณาธิการ และก็มีสุภาพสตรีชาวอเมริกันชื่อว่าซาบีน่าติดตามมาด้วย ทราบว่าพี่เสี้ยวจันทร์จะให้คุณซาบีน่าช่วยแปลวรรณกรรมของไทยเป็นภาษาอังกฤษ

ภาพสุดท้ายที่เด็ก ๆ ได้เห็นในวันนี้ก็คือ พี่เสี้ยวจันทร์ขึ้นไปอ่านบทกวี

นักเรียน นักเขียน นักดนตรี กวี ถ่ายรูปร่วมกัน ยืนยันว่า "มีกูไว้..ไม่อดตาย" อย่าคิดมาก "มี...ภาษาไทยไว้....ไม่อดตาย ! "

 

สุรพล จินดาอินทร์

ตั้งแต่มี Weblog น้องจิเคยสังเกตมั้ยว่าพวกเราทุกคนในPlanet นี้ กำลังทำหน้าที่รายงานข่าวสารต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นให้กับชาวเรา และชาวโลกได้รับทราบ ในรูปแบบของข้อความ และ Video Clip

สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นอยู่นี้ ไม่เคยมีมาก่อนบนโลกร้อน ๆ ใบนี้

 "สื่อ" แบบนี้ฝรั่งเรียกว่า Social Media มันกำลังกลืนกิน "สื่อ" อื่น ๆ แบบเงียบ ๆ จนมีคนบอกว่าในอนาคตจะไม่มีใครดูทีวี เพราะทนถูก "ยัดเยียด" จากทีวีไม่ไหว  

เขายังเรียกพวกเรา(นักรายงานข่าว) ว่า "Citizen Journalist"

เห็น "พลัง" นี้ได้จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวในอินโดนีเซีย ข่าวนี้แพร่กระจายไปทั่วโลกในเวลาไม่กี่นาที ชนะ "สื่อ" อื่น ๆ ทั้งมวล

น้องจิเห็นความสำคัญของ "การใช้ภาษา" แล้วหรือยัง ?

ต่อไปวิชาการใช้ภาษา วิชาสื่อสารมวลชน วิชาหนังสือพิมพ์ ฯลฯ จะต้องถูกสอนให้รู้กันตั้งแต่เด็ก ๆ เพื่อที่จะเป็น Citizen Journalist ที่มีคุณภาพ

ช่วงเดือนกันยายน เห็นครูเดินเต็มร้านถ่ายเอกสาร กระจายเงินเดือนให้ร้านถ่ายเอกสารกันอย่างทั่วถึง ไม่ผิดดอกที่ใครจะเพิ่ม "วิทยฐานะ" ให้กับตัวเอง แต่จะมีบ้างมั้ยหนอที่คิดเตรียมการในเรื่องนี้

รัฐมนตรี..รึ...เดี๋ยวก็ได้ไปเลี้ยงหลานแล้ว...... รัฐบาล/นักการเมือง ก็ยังทำตัวเป็น Handy Drive อยู่ ......ใครล่ะ ?

หันรีหันขวาง มองไปมองมา น้องจินี่แหละ........ความหวังของพวกเรา !

 

สุรพล จินดาอินทร์

ว้าว....ที่โรงเรียนศรีประจันต์ มีพิธีกรมืออาชีพมาด้วยอะค่ะ ....หนูตาร้อนหมดแล้วค่ะ .....ส่วนโรงเรียนหนู มีหนูเป็นพิธีกร แหะๆๆๆ....มือสมัครเล่น คิคิ......หวังว่าเพื่อนๆที่โรงเรียนศรีประจันต์คงจะสนุกและได้ความรู้เกี่ยวกับการเขียนเหมือนพวกเราชาวบางลี่วิทยานะค่ะ..

            เป็นกำลังใจให้คุณน้าค่ะ --------> น้องจิ ^_^

ขอบคุณ คุณน้าสุรพลค่ะ ที่นำเอาข่าวสาร เกี่ยวกับการอ่านและความรู้ต่างๆมาบอกหนูและทุกๆๆคนที่เข้ามาอ่านบันทึกของหนู...

         โห .....ให้หนูเป็นนักการเมืองเลยหรือค่ะ 555++.....ความหวังอันยิ่งใหญ่ซะด้วย....คงเป็นได้แค่นักการภารโรงละมั่งค่ะ คิคิ.....

             แต่ตอนนี้หนูสมัคร นิติศาสตร์ไปแล้วนะค่ะ....ตั้งใจจะเข้า ม.นเรศวรค่ะ แต่ไม่รู้จะเข้าได้หรือเปล่า....แต่คงจะต้องตั้งใจเต็มที่...

          ขอบคุณมากค่ะ --------> น้องจิ ^_^

พี่ ๆ สองพิธีกร คงได้มาเยี่ยมที่บางลี่บ้าง ไม่ต้องห่วง

(คนรุ่น)น้องจิ คือความหวังของพวกเราจริง ๆ จะเป็นนักการเมือง นักการภารโรง ผู้พิพากษา ฯลฯ อะไรก็ได้ที่เป็นแล้ว เรามีความสุข

 

อย่าลืมว่า พลังที่ยิ่งใหญ่(ความสามารถที่น้องจิมี) มาพร้อมกับภาระที่ยิ่งใหญ่เสมอ

- จากหนังเรื่องสไปเดอร์แมน (ถ้ามีโอกาสจะเอาไปฉายให้ดู)

 

 

สุรพล จินดาอินทร์

 

ความรู้และความสามารถของเด็กๆ  ก็คือ  ความรู้ที่ครูอาจารย์และคนรอบข้างป้อนสู่สมองเด็กๆเจ้าค่ะ.....เอาไว้ถ้าหนูเป็นนักการเมืองละก็...55555+++.....(ชาติจะเป็นอย่างไรเนี่ย).....แค่ไม่มีส่วนในการเมือง เป็นเพียงประธานสภาเด็กและเยาวชนอำเภอเท่านั้น.....งานยังหนักหนาสาหัส.....เป็นกำลังใจให้ทุกๆๆคนที่กำลังกุมแผ่นดินอยู่นะเจ้าค่ะ.....อย่าทำให้ขวานไทยร้อนไปมากกว่านี้เลยเจ้าค่ะ

           คุณน้าสุรพลเจ้าค่ะ....เอามาฉายเร็วๆนะเจ้าค่ะ...เดี๋ยวหนูกับเพื่อนๆ จบม.6แล้ว ไม่ได้ดู 5555++

             เป็นกำลังใจให้คุณน้าเจ้าค่ะ -------> น้องจิ ^_^

หากได้อ่านบทความ "คำถาม : กุญแจสู่สังคมความรู้" น้องจิจะทราบว่า "ความรู้" เราก็สามารถหาได้ด้วยตนเอง

ตำแหน่งประธานสภาเด็ก และเยาวชนอำเภอ.......น่าจะเข้าข่าย "ภาระหน้าที่ ที่ยิ่งใหญ่ มาพร้อมกับความสามารถที่ยิ่งใหญ่"..รึเปล่า ?...

หากไม่เล่นการเมือง....การเมืองก็จะเล่นท่าน ความจริงในเรื่องนี้ พูดกันมาหลายร้อยปีแล้ว

 แต่ "เพลโต" พูดไว้เป็นพันปีมาแล้วว่า "การไม่เล่นการเมืองถือเป็นความผิดสถานหนึ่งทีเดียว เพราะเราอาจได้นักการเมือง ที่ โง่ กว่าเรา มาปกครองเรา"  ลองสังเกตดูจากเหตุการณ์จริง ที่เกิดขึ้นกับประเทศไทย......

 

Spiderman - คนฉายพร้อม......โรงเรียน ล่ะ......พร้อมมั้ย ?

ครูอ้อยมาบอกว่าวันก่อนได้นั่งข้างๆ  วันต่อไป  น้องจิ  ต้องได้รับรางวัล ซีไรท์นะคะ

สวัสดีเจ้าค่ะ คุณน้า สุรพล

          แน่นอนค่ะ.....อาจมีส่วนเล็กๆในทางการแก้ปัญหาของเด็กและเยาวชน ซึ่งหนูจะไปร่วมเสนอความคิดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดได้รับทราบถึงปัญหาของเด็กและเยาวชน ที่ควรจะต้องแก้ไขต่อไป.....(ภาระนี้ยิ่งใหญ่สำหรับหนูมากเจ้าค่ะ)

          Spiderman  .....โรงเรียนและคนดูพร้อม....รอคนฉายมาฉายเจ้าค่ะ

          ขอบคุณเจ้าค่ะ คุณน้าสุรพล ------> น้องจิ ^_^

สวัสดีเจ้าค่ะ  ครูอ้อยที่น่ารัก

              ขอบคุณค่ะ.....สมพรปากเจ้าค่ะ หวังว่าเป็นเช่นนั้นเหมือนกันเจ้าค่ะ......อยากจะมีสักวันที่หนังสือซีไรท์มีชื่อ น้องจิ  คิคิ

              เป็นกำลังใจให้เจ้าค่ะ ---------> น้องจิ ^_^

ใกล้ปิดเทอม การสัญจรไปตามโรงเรียนต่าง ๆ เพื่อจัด "นักเขียน พบ นักเรียน" หรือ "สัปดาห์ห้องสมุด..มีชีวิต" ก็ยุติลงชั่วคราว เปิดเทอมหน้า ค่อยสัญจรต่อ

 แต่วันที่ 21 ก.ย.50 คนจัดจะสัญจรไปห้องสมุดโรงเรียนธรรมโชติศึกษาลัย เพื่อ "คุย" กับนักเรียนที่นั่น ๓ คาบ(๓ ชั้น) เรื่อง "ชีวิต และผลงานของ บัณฑิต อึ้งรังสี" วาทยากรชาวไทยที่ไปกำกับวงออร์เคสตร้าฝรั่ง

โครงการ"อ่านเอาเรื่อง" "ผู้ไม่รู้ พบ ผู้ไม่รู้" หรือ"แล็คโตบาซิลัส" เป็นการนัดแนะกันระหว่างนักเรียน กับผู้รู้(ซึ่งจริง ๆ ไม่รู้)จากภายนอก ว่าในเดือนนี้เราจะ "คุย" หรือนักเรียน "อยากรู้" เรื่องอะไร ต่างก็ไปหาข้อมูลมา แล้วมา "แชร์" กันว่าข้อมูลของแต่ละฝ่ายเป็นอย่างไร จากนั้นก็นำเอาข้อมูลของทั้งสองฝ่าย ที่ไป "อ่าน" หรือหามา "สรุป" เป็นองค์ความรู้ร่วมกัน

มันจึงถูกเรียกว่า "อ่านเอาเรื่อง" เพราะทั้งสองฝ่าย ต้องอ่านเก็บเอาประเด็นมาให้ได้

และ "ผู้ไม่รู้ พบ ผู้ไม่รู้" เมื่ออ่านได้ใจความแล้ว ทั้งสองฝ่ายก็จะกลายเป็น "ผู้รู้"

สำหรับ "แล็คโตบาซิลัส" เป็นคำที่อาจารย์-หัวหน้ากลุ่มสาระวิชาภาษาไทยใช้เรียกวิทยากร(ที่จริงต้องเรียกว่า "วิทยาเกิน") เพราะ "ย่อย" สาระต่าง ๆ จนเด็กนักเรียนเข้าใจได้ง่าย 

สถานที่คือห้องสมุด เพราะบางครั้งมีการเปิดเพลง-ฉายหนังด้วย

เป็นการขยายผลจาก "ห้องสมุด" ธรรมดา ๆ ไปเป็น "ห้องสมุด..มีชีวิต"

ในชีวิตประจำวัน มีเรื่องราวที่น่าศึกษามากมาย เกินกว่าที่ "ตำรา" จะเขียนไว้

ขอให้มีความสุขกับการ "ศึกษา"

 

สุรพล จินดาอินทร์

หนูเริ่มจะอิจฉาโรงเรียนธรรมโชติ แล้วสิค่ะ คุณน้าสุรพล......ยังไงก็อย่าลืมโรงเรียนบางลี่วิทยาของหนูนะค่ะ คุณน้า

       อ๋อ......มีคราวหน้า อย่าลืมหนังเรื่อง spiderman มานะเจ้าค่ะ

       เป็นกำลังใจให้เจ้าค่ะ --------> น้องจิ ^_^

วันนี้ ผู้ไม่รู้(นายสุรพล) ได้มีโอกาสไปพบ ผู้ไม่รู้(นักเรียนชั้น ม.๒ รร.ธรรมโชติ ฯ) อีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากใกล้สอบ จึงบอกนักเรียนว่า ขอให้นั่งฟังสบาย ๆ ไม่ต้องจดบันทึกอะไรทั้งนั้น เดี๋ยวจะเปิดเพลงให้ฟัง เปิดหนัง(คอนเสิร์ต)ให้ดู

ว่าแล้วก็เปิดเพลง I Need Somebody ของบี้ เดอะสตาร์ให้ฟัง เด็ก ๆ ชอบใจกันใหญ่ ทุกคนรู้จักดี ซุบซิบกันใหญ่ว่า วันนี้วิทยากร In Trend น่าดู

ยังไม่ทันจบเพลง ก็เปิดเพลง Rhythm of the rain ให้ฟัง เด็ก ๆ มองหน้ากันไปมา สงสัยว่าทำไมท่อนขึ้นต้น มันจึงเหมือนของ I Need Somebody ก็ได้แต่บอกว่าเพลงฝรั่งเพลงนี้ออกมาตั้ง ๔๔ ปีแล้ว แต่เพลงของพี่บี้ เพิ่งออกเมื่อปี่ที่แล้วนี่เอง ใครลอกใคร-ไปคิดกัน !

 

--------ขอพักไว้ก่อน ต้องไปทำธุระที่ กทม. แล้วจะกลับมาต่อ----------

สวัสดีค่ะ คุณน้า สุรพล

        ขอบคุณค่ะที่นำข่าวคราวความเคลื่อนไหวของกิจกรรม การอ่านมาบอกให้รู้  ....เริ่มจะอิจฉาโรงเรียนธรรมโชติแล้วสิ  ..ดูน่าสนุกดีจังเลยเนอะ...คิคิ

          เป็นกำลังใจให้เจ้าค่ะ -------> น้องจิ ^_^

หลังจากฟังบี้ เดอะสตาร์แล้ว ก็ต่อกันด้วย ตาผุยชุมแพ เพลงนี้วงอมตะร้องไว้ก่อน แต่ที่เอามาให้เด็ก ๆ ฟังเป็นของแฮมเมอร์ ดูจากรอยยิ้ม ฟังจากเสียงหัวเราะเชื่อว่าเด็ก ๆ รู้จักกันดี จากนั้นก็เปิดเพลง Changing Of The Guard ของ Bob Dylan อาจารย์ใหญ่ของเพลง"สะท้อนสังคม" ไม่อยากเรียกว่า "เพลงเพื่อชีวิต" เพราะเพลงที่ตีแผ่เรื่องราวในสังคม น่าที่จะเรียกว่า "สะท้อน" สังคม ไม่น่าใช่เพลงเพื่อชีวิตอย่างที่เราเรียกกัน เพลงที่มีทำนองป๊อบ หรือร็อค ฯลฯ ก็น่าที่จะเป็น "เพลงเพื่อชีวิต" ได้ ไม่จำเป็นต้องแต่งตัว หรือดีดกีตาร์แบบหงา คาราวาน แอ๊ด คาราบาว

Bob Dylan คือกวีที่นักกิจกรรมทั่วโลกได้รับอิทธิพล รวมทั้ง หงา คาราวาน (ไม่เว้นแม้แต่ทรงผม) Bob Dylan เขียนเพลง Changing Of The Guard ไว้ตั้งแต่ปี ๑๙๗๘ - ๒๙ ปีมาแล้ว

ตาผุยชุมแพ จึงตกเป็น "จำเลย" ในทันทีที่เพลง Changing Of The Guard จบลง

และก็มาถึงคราของ "พี่เต๋อ"-เรวัต พุทธินันท์ เจ้าของเพลง "สมปองน้องสมชาย" ที่ตกเป็นจำเลยในทันทีเช่นกัน เมื่อเพลง The Cisco Kid จบลง ตอนนี้เราไปกันเร็ว ๆ ด้วย "ใจของเรา" ซึ่งก็เหมือน "Tin Man" ของคณะอเมริกาอย่างกับแกะ

The Cisco Kid คณะ The Wars เขียนไว้ตั้งแต่ปี ๑๙๗๓ เพลง Tin Man คณะอเมริกาก็เขียนไว้ตั้งแต่ปี ๑๙๗๓ เช่นกัน

เรวัต พุทธินันท์เป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทแกรมมี่ เป็นอาจารย์ใหญ่ของ "พนักงานร้องเพลง" มากมาย (ไม่อยากเรียกว่าศิลปิน) แต่ใครจะรู้บ้างว่า เบื้องหลังเพลงที่พวกเขาผลิตออกมา ไม่หลงเหลือ "ความภูมิใจ" ไว้ให้กับคนไทยเลย

 

ไม่เหมือนชายไทยอีกคนหนึ่ง ที่มีอายุเพียง ๓๗ ปี พกความมุ่งมั่น ไม่ได้เลียนแบบใครโดยที่ไม่ให้เครดิต สานฝันของตัวเอง จนมีชื่อเสียงไปทั้งโลกกับอาชีพ "วาทยกร"

เด็ก ๆ ไม่รู้จักอาชีพ "วาทยกร" แน่ แต่เดาว่ามันจะต้องเกี่ยวกับ "มือ"

 

----ขอพักครึ่งเวลา----

สวัสดีค่ะ คุณน้าสุรพล

     ขอบคุณที่นำข่าวสารมาเล่าสู่กันฟังนะค่ะ

     เป็นกำลังใจให้เจ้าค่ะ -> น้องจิ ^_^

บัณฑิต อึ้งรังษี คือชายไทยอายุ ๓๗ ปี ที่สานฝันของตัวเองจนเป็นจริง เป็นอีกหนึ่งความภาคภูมิใจของประเทศไทย เทียบกันไม่ได้กับผู้ที่เรียกชอบเรียกตัวเองว่า "ศิลปิน"

 

ฝันที่หนึ่ง คือการเป็น "วาทยกร" ผู้ทำหน้าที่กำกับวงออร์เคสตร้า

ฝันที่สอง คือการชนะเลิศการแข่งขันวาทยกรระดับโลก Maazel-Vilar

เมื่อ ปี ๒๕๔๕ เขาเอาชนะวาทยกร ๓๖๒ คนจากทั่วโลก ครองรางวัลร่วมกันกับวาทยกรชาวจีน

บัณฑิต อึ้งรังษี เป็นที่รู้จักไปทั่วโลกรวมทั้งคนไทยก็จากรางวัลนี้นี่เอง วัยเด็กเขาไม่มี "เส้น-สาย" ที่จะทำให้ได้รับสิทธิพิเศษเหนือคนอื่น หากแต่ความมุ่งมั่นเท่านั้นที่เขามี จนจบการศึกษาการกำกับวงออร์เคสตร้าจากสหรัฐอเมริกา และไปชนะเลิศการแข่งขันในที่สุด

บัณฑิตบอกไว้ในหนังสือ "ต้องเป็นที่หนึ่งให้ได้" ที่เขาเขียนไว้ในหน้า ๘๕ ว่า เขาชอบอ่านหนังสืออยู่ ๔ ประเภท ๑. หนังสือที่เพิ่มพูนความรู้ในอาชีพดนตรี ๒. ปรัชญาแห่งความสำเร็จ ๓. ประวัติบุคคลสำคัญ ๔. วรรณกรรมและบทละคร

หนังสือประเภทที่ ๔ เขายอมรับว่าเพิ่งมาเริ่มอ่านเมื่อตอนที่เขาต้องกำกับวงเพื่อประกอบการแสดง Opera

บัณฑิตยังบอกไว้ในหนังสืออีกว่า รายได้อาจารย์ของเขา(Lorin Maazel) ทันทีที่เซ็นสัญญาว่าจะกำกับวงออร์เคสตร้าใด ก็จะรับเงินขั้นต่ำทันที ปีละ 72 ล้านบาท นี่เป็นแค่ค่าการทำงานกับวงเท่านั้น เช่น การซ้อม การคัดนักดนตรี ไม่นับการแสดงแต่ละคืน ที่สูงถึงคืนละ ๔ ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีค่าอัดแผ่นเสียง ซีดี ดีวีดี ลิขสิทธิ์ต่าง ๆ อีก รวมแล้วหลายร้อยล้านบาท สำหรับบัณฑิต อึ้งรังษี วันนี้รายได้ก็คงไม่ห่างจากอาจารย์ Maazel นัก ได้แต่บอกเด็กๆ ที่ธรรมโชติฯ ว่า รายได้มากกว่าพวกขายยาบ้าหลายเท่านัก

 

ปัจจุบันบัณฑิตมีผู้จัดการส่วนตัว ๔ คน ดูแลผลประโยชน์ของบัณฑิตในสี่ภูมิภาค อเมริกา ยุโรป ไทย เกาหลี

เขาได้รับการว่าจ้างจากรัฐบาลประเทศเกาหลีให้ทำการ "ปรับปรุง" วงออร์เคสตร้าในประเทศเกาหลี วงแรกที่เขาเข้าไปดำเนินการแล้วคือวง Seoul Philharmonic Orchestra เขาเล่าว่า เมื่อเข้าไปทำงานใหม่ ๆ เขาขอให้นักดนตรีทั้งวงเขียน "ใบลาออก" แล้วเขาก็เริ่มรับสมัครเข้ามาใหม่ เขาใช้เวลา ๑ เดือน คัดนักดนตรีชาวเกาหลีพันกว่าคน ให้เหลือร้อยคน ในที่สุดก็ได้วงที่เขาทำการ "ปรับปรุง" เรียบร้อยแล้ว และมีโอกาสมาเล่นที่เมืองไทยสองคืน

ก่อนที่จะฉายตัวอย่างของการทำงานของวาทยกรให้เด็ก ๆ ชั้น ม.๒ ที่ร.ร.ธรรมโชติ ฯ ดู ต้องอธิบายภาษาอังกฤษ ๕ คำให้นักเรียนเข้าใจก่อนพอสังเขป คือ Conductor, Orchestra, Opera, Symphony และ Philharmonic

จากนั้นก็เอาคอนเสิร์ทเพลง Symphony  No.2 หรือที่เขาเรียกกันว่า Resurrection ของ Gustav Mahler บรรเลงโดยวง Lucerne Festival Orchestra กำกับวงโดย Claudio Abbado ซึ่งมีชื่อเสียงไม่แพ้ Lorin Maazel อาจารย์ของบัณฑิต อึ้งรังษี

เด็ก ๆ นั่งดูการบรรเลงของวงออร์เคสตร้า และการทำงานของคอนดัคเตอร์ แบบตาไม่กระพริบ สนใจซักถามกันไม่ขาดปาก แม้เวลาจะล่วงเลยมาจนครบชั่วโมงการเรียน สนุกสนานกันทั้งคนฟังและคนพูด

 

เป็นอีกครั้งหนึ่งของ "ผู้ไม่รู้ พบ ผู้ไม่รู้" เพื่อนำไปสู่องค์ความรู้ ของทั้งสองฝ่าย

วันนี้พิเศษกว่าทุกวัน เพราะมีการ "ประเมิน" วิทยากรด้วย ส่วนผลจะออกมาเช่นไร คงต้องรบกวน อ.ชวลิต มาเฉลย

อย่างที่แนะนำนักเรียนไว้ตั้งแต่ต้นว่า "ไม่ต้องจด" เพราะหนังสือ "ต้องเป็นที่หนึ่งให้ได้" ของบัณฑิต อึ้งรังษี "นอนรอ" นักเรียนอยู่แล้ว ที่ห้องสมุดของโรงเรียนธรรมโชติ ฯ ใครสนใจก็ไปอ่านได้อย่างเต็มอิ่ม

---จบการรายงานข่าวแต่เพียงเท่านี้---- 

        (กว่าจะจบ.....คนอ่าน คงเซ็งแย่แล้ว)

ว้าว ...ขอบคุณค่ะ คุณน้าสุรพล

          อิจฉาโรงเรียนธรรมโชติจริงๆแล้วละซิ.....คุณลุงพาท่านผู้นี้มาสร้างสีสันให้โรงเรียนหนูบ้างนะค่ะ.....น้องๆคงจะสนุกกันมาก...เพราะจากที่คุณน้าเล่ามาแล้ว ท่านผู้นี้มีความรู้และประสบการณ์เยอะทีเดียว....(อ้างน้องๆ ความจริง หนูอยากเจออยากฟังอยากเห็นด้วยเจ้าค่ะ) คิคิ..

         เชิญคุณน้าเขียนได้ตามสบายเลยนะค่ะ....นำความรู้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเจ้าค่ะ ...รับรองหนูขยันอ่านเจ้าค่ะ เพราะชอบอ่าน.....ต้องขอบคุณ  คุณน้าสุรพลมากนะค่ะที่นำความคืบหน้ามาบอกกัน...ให้อิจฉาเล่นๆ คิคิ (แต่ก็อาจจะอิจฉาจริงๆก็ได้นะค่ะ ถ้าคุณน้าไม่พามาโรงเรียนบางลี่วิทยา) คิคิ

         เป็นกำลังใจให้เจ้าค่ะ ---------> น้องจิ ^_^

                ก็ต้องนับเป็นความโชคดีของโรงเรียนธรรมโชติศึกษาลัยที่ได้มีโอกาสต้อนรับผู้ไม่รู้(น้อย)อย่างคุณสุรพลมาให้ความรู้กับเด็กนักเรียนตาดำดำที่ไม่รู้  แต่เดิมหนังสือ  "ต้องเป็นที่หนึ่งให้ได้"  ของบัณฑิต  อึ้งรังษี มักจะถูกมองข้าม  เพราะไม่ทราบว่าวาทยากรคืออะไร  ทำไมต้องเป็นที่หนึ่ง ฯลฯ แต่พอถูกจุดประกายจากคุณสุรพลเข้า  นักเรียนชั้น ม.2 ก็เลยหายสงสัย  กลายเป็นอิจฉาแทน  เพราะพอทราบผลตอบแทนของบัณฑิตแล้วก็เลยอยากเป็นวาทยากรกันบ้าง  นอกจากนั้นยังมีภาพยนตร์ที่อธิบายให้นักเรียนได้รู้จักวงออร์เคสตร้า(ซึ่งเกิดมายังไม่เคยได้เห็นเลย)  หลายคนจึงชอบ  แถมผู้ไม่รู้(น้อย)ถามว่าอยากพบตัวจริงของบัณฑิตไหม...ยิ่งเร้าความรู้สึกเข้าไปใหญ่  ไม่แน่นะ  ธรรมโชติศึกษาลัยอาจมีโอกาสต้อนรับบัณฑิตก็ได้(พูดให้น้องจิตาร้อนเล่น)  

             เมื่อจบการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ผลการประเมินจึงมีค่าเป็น "มาก" เป็นส่วนใหญ่  มีอยู่ข้อเดียวที่นักเรียนบอกว่าน้อยคือระยะเวลาในการจัดกิจกรรม  เล่นเอาครูประจำอายหน่อยๆ  สำหรับข้อเสนอแนะของนักเรียนก็คือ  อยากให้วิทยากรมาบ่อยๆ  เด็กพวกนี้ชักนอกคอกไม่ไว้หน้าครูบ้างเลย  หรือน้องจิว่าอย่างไร...... 

สวัสดีเจ้าค่ะ ครูชวลิต ที่น่ารัก

           อั่นแน่!!  เป็นครั้งแรกที่เห็นเข้ามาในบันทึก ขอบคุณครูมากค่ะที่เข้ามาเยี่ยมบันทึกของหนู...

           ในเรื่องของกิจกรรมดีๆ ที่คลายเครียด แน่นอนค่ะ ย่อมเป็นที่ชื่นชอบของเด็กๆ ...(ใครจะชอบอยู่กับสถานการณ์เครียดๆ จริงไหมค่ะ หรือว่าครูชอบค่ะ) คิคิ.......ดังนั้น ถ้าครูอยากให้เด็กๆรักและชอบที่จะเรียนวิชาครู  ครูก็ต้องสอนให้สนุกและควบคู่ไปกับความรู้ที่จะป้อนสู่เด็กนักเรียนค่ะ คิคิ  .....

         เป็นกำลังใจให้คุณครูเจ้าค่ะ --------> น้องจิ ^_^

เก่งจังเนอะ .......  เราก้อม่ายเคยติดตามหนังสือซีไรท์หรอกนะ .... แต่เทอเก่งมากเลย....เป็งกำลังจัยให้นะคะ  l-o-v-e  ว่างๆๆๆๆๆๆๆๆ    ก็ออน  m   มาเล่นด้วยหน่อยนะ

สวัสดีเจ้าค่ะ จี๊ด

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมชมบันทึกของเรา เยาวชนไทย ใช้ภาษาไม่วิบัตินะจ๊ะ คิคิ รักษาสุขภาพด้วยจ้า

เป็นกำลังใจให้จ๊ะ ---> น้องจิ ^_^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท