วิสัชนาสวัสดิการข้ามblog


ความพอดี พอประมาณ มีเหตุมีผล มีภูมิคุ้มกันเป็นความจำเป็นของสังคมที่จะเลือกใช้สวัสดิการแบบใด หรือไม่มีทางเลือก?

ผมทบทวนวิถีการดำเนินชีวิตในแต่ละวันพบว่า แต่ละคนเป็นผู้จัดสวัสดิการให้กับตนเองมากที่สุด ลองลงมาคือครอบครัว

ที่เหลือใน3ส่วนคือ รัฐ ตลาด และชุมชน

การจัดสวัสดิการคือการดูแลรักษาตัวเองในเรื่องการเป็นอยู่ทั้งหมด   เพื่อความอยู่รอด เป็นสุข จนกระทั่งถึงเหนือความสุขหรือนิพพาน

ผมเห็นด้วยกับอ.ปัทมาวดีว่าส่วนใหญ่ในปัจจุบันเป็นรัฐกับตลาดที่เน้นเรื่องปากท้องซึ่งมีความสำคัญ
เพราะความเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี ทำให้การพึ่งพากันเองในชุมชนด้วยความจำเป็นทั้งเรื่องปากท้องและความอยู่เย็นเป็นสุขทั้งทางร่างกายและจิตใจ มีความจำเป็นน้อยลง

ที่ทางส่วนใหญ่อยู่ที่รัฐกับตลาด
รัฐเป็นตัวแทนในการจัดสวัสดิการให้กับประชาชน
ตลาด(เอกชน)เป็นผู้จัดสวัสดิการด้วยความสมยอมของบุคคล

โดยที่
ชุมชนยังคงเป็นกลไกในส่วนที่มีความเป็นชุมชน โดยเฉพาะในท้องถิ่นที่ห่างไกลความเจริญ

ผมนำข้อมูลที่มีอยู่มาจัดกลุ่มลงตารางเพื่อเป็นข้อมูลยืนยัน
แน่นอนว่า
รัฐมีบทบาทนำในฐานะหน่วยจัดการของประเทศกับประชาชนของรัฐโดยที่ตลาดช่วยจัดสวัสดิการให้กับบุคคลในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยนในปัจจัย4ผ่านระบบเงินตรา

ปัจจัยที่ห้าที่ตลาดเข้ามาทำให้เป็นสิ่งจำเป็นไม่นับเป็นการจัดสวัสดิการ
แต่เส้นแบ่งตรงนี้มีความยากเหมือนกับรูปธรรมของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงว่า มันอยู่ตรงไหน?

งานที่เราสนใจคือ วิถีและพลังของการจัดสวัสดิการโดยชุมชน
ซึ่งแน่นอนว่ามีมิติของคุณค่าที่เป็นการพัฒนาคน(capability approch)และการสร้างทุนทางสังคมอยู่ด้วย
ผลที่ได้ใน2เรื่องนี้อาจถูกทำลายไปจากผลที่ได้โดยส่วนบุคคลที่เชื่อมต่อกับระบบสวัสดิการโดยรัฐและตลาด เป็นผลให้ชุมชนอ่อนแอลง หรือเพราะชุมชนอ่อนแอลงจึงต้องอาศัยการจัดสวัสดิการโดยรัฐและตลาด อย่างไรมาก่อนกันแน่ ไก่กับไข่?

ตัวอย่างง่ายที่สุดคือ การเปลี่ยนแปลงของร้านโชห่วยกับห้าง
สังคมโชห่วยมีความเป็นชุมชนมากกว่าตลาดผ่านห้างโดยเปรียบเทียบ
แต่สังคมอาจเลือกห้างเพราะให้สวัสดิการต่อบุคคลมากกว่า ทั้งราคาความสะอาด รวดเร็ว โดยที่ตลาดห้างได้เพิ่มปัจจัยที่5เข้ามาเป็นจำนวนมากด้วย ซึ่งทำให้บุคคลต้องจ่ายแพงขึ้นโดยไม่รู้ตัว ซึ่งเป็นข้อเสียของตลาดทุน

ความพอดี พอประมาณ มีเหตุมีผล มีภูมิคุ้มกันเป็นความจำเป็นของสังคมที่จะเลือกใช้สวัสดิการแบบใด หรือไม่มีทางเลือก?

สวัสดิการโดยชุมชนมีสภาพแตกต่างกันตามสภาพชุมชน
เราอาจใช้สวัสดิการโดยชุมชนเป็นเครื่องมือในการสร้างสภาพชุมชนในฝัน(เข้มแข็ง-เรียนรู้และมีความเอื้ออาทรต่อกัน) หรืออาจใช้ชุมชน(ที่ยังคงมีสายใย-ระบบความสัมพันธ์ที่ดี)เป็นเครื่องมือในการจัดสวัสดิการให้กับสมาชิกในชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ(ร่วมกับเครื่องมืออื่นๆทั้งรัฐและตลาด)
หรือทำร่วมกัน สร้างอย่างหนึ่งเพื่อกลับมาเสริมพลังอีกอย่างหนึ่ง

วันที่13ก.ย. เราจะทบทวนความรู้เรื่องนี้จากแวดวงวิชาการ

วันที่14ก.ย. เราจะทบทวนเรื่องนี้จากแวดวงงานพัฒนา

สวัสดิการสังคม/ชุมชนท้องถิ่น

สวัสดิการชุมชน
รัฐ  ประชาสังคม  เอกชน วัฒนธรรม ฐานทรัพยากร การพัฒนา
สุขภาพ พรบ.หลักประกันสุขภาพ-กองทุนรักษาฟรี-กองทุนประกันสังคม-ประกันชีวิต-สถานพยาบาล-กองทุนสุขภาพชุมชน-มูลนิธิ สมาคม ชมรม  รัฐรัฐเอกชนรัฐ/ท้องถิ่น/เอกชนรัฐ/ท้องถิ่นประชาสังคม ความสัมพันธ์เครือญาติ ธรรมชาติ ผ่าน วงจรชีวิต (เกิด แต่งงาน แก่ ป่วย ตาย)ปัจจัย 4 (อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค)ความเชื่อ ศาสนา (พิธีกรรม จิตภาวนา)-แรงงาน-แรงใจ -ความรู้ -ตัวเงิน-ปัญญาองค์กรการเงินชุมชน ดิน น้ำ ป่า อากาศพืชพันธุ์ธัญญาหารสัตว์ป่า

(พรบ.ป่าชุมชน)

(พรบ.เกษตรยั่งยืน)
กลุ่มอาชีพกลุ่มสนใจองค์กรการเงินชุมชน 
การศึกษา พรบ.การศึกษา-เรียนฟรี12ปี-กองทุนกู้ยืม-ทุนการศึกษา-โรงเรียน  รัฐรัฐรัฐ/ท้องถิ่น/ประชาสังคม/เอกชนรัฐ/ท้องถิ่น/ประชาสังคม/เอกชน
อาชีพ -พรบ.สหกรณ์-พรบ.วิสาหกิจชุมชน-กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร-กองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร(คชก.)-กองทุนประกันสังคม-กองทุนบำนาญราชการ-กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ-กองทุน มิยาซาว่า-กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง และเงินทุนหมุนเวียนเพื่อประกอบอาชีพเสริม-โครงการสนับสนุนกลุ่มอาชีพ รัฐรัฐรัฐ รัฐรัฐ/เอกชน/บุคคลรัฐรัฐ/บุคคลท้องถิ่นรัฐ  รัฐ/ท้องถิ่น      
ศาสนา   รัฐ/ประชาสังคม/ชุมชน      
ที่อยู่อาศัย -บ้านมั่นคง-บ้านเอื้ออาทร-ธนาคารอาคารสงเคราะห์ รัฐ/ชุมชนรัฐรัฐ      
ด้อยโอกาส/ยากไร้ -เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ (บำนาญ)-กองทุนสงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน-กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ-กองทุนประชาเศรษฐกิจสงเคราะห์-กองทุนแก้ไขปัญหาความยากจน รัฐ/ท้องถิ่นรัฐ รัฐ รัฐ รัฐ      
พื้นที่ -กองทุนส่งเสริมสวัสดิการสังคม-กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง รัฐ ท้องถิ่น ประชาสังคม ชุมชนรัฐ ประชาสังคม ชุมชน      
ผู้สูงอายุ กองทุนบำนาญชาติ        
หมายเลขบันทึก: 124690เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2007 16:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ตัวเองได้ทำตารางเหมือนกันค่ะ

แต่ด้วยบางมุมที่มองต่างกัน  การแบ่งกลุ่มต่างกัน ทำให้ผลที่ได้ต่างกัน  และที่จริงความเป็นสังคมเมือง สังคมชนบท สังคมชนบทกึ่งเมืองก็มีระดับการพึ่งตนเองต่างกันมาก  

ที่ได้ลองทำตารางเอาไว้ (แบบง่ายๆ)  มองภาพเฉลี่ยของสังคมด้วยความจริงที่ว่า  ปัจจุบัน คนชนบทก็ออกไปทำงานนอกภาคเกษตรเยอะ   แค่เรื่องอาหารการกินอย่างเดียว  บทบาทของตัวเอง ของครอบครัวก็หายไปเยอะ  เหลือกลายเป็นการซื้อกับข้าวถุงมากขึ้นทุกที   ทำเรื่องระบบแลกเปลี่ยนชุมชนแล้วชาวบ้านในหลายหมู่บ้านบ่นแต่เรื่อง "รถพุ่มพวง" ค่ะ

วันที่ 13 จะลองเอาไปให้ดูค่ะ

 

อาจารย์ภีมตั้งโจทย์ไว้น่าสนใจมากค่ะ   วันที่ 13 ปรับตารางสอนได้แล้ว  คงอยู่ร่วมประชุมได้ทั้งวันค่ะ 

เรื่องไก่กับไข่นัวเนียแน่ค่ะ 

ลองถามง่ายๆ   ซื้ออาหารถุงเพราะที่บ้านไม่ทำอาหาร (ด้วยบางสาเหตุ)   หรือ ที่บ้านไม่ทำอาหารเพราะมีอาหารถุง    

คิดว่าน่าจะเป็นประการแรก  คือ  ตลาดทำงานเพราะครอบครัวลดบทบาทลง  ถามว่า ทำไมครอบครัวลดบทบาทในการดูแลเรื่องอาหารการกิน  ก็เพราะคุณแม่ต้องทำงานนอกบ้าน  ทำไมคุณแม่ต้องทำงานนอกบ้าน ...ก็เพราะ....ฯลฯ

ตลาดอาหารถุงบูมเพราะการโฆษณารึก็เปล่า...

ผลที่สุด  การที่บทบาทของสถาบันหนึ่งทดแทนอย่างหนึ่ง  เพราะมี "สาเหตุบางอย่าง"  เข้ามา    สาเหตุบางอย่าง (สืบเนื่องกับหลายๆอย่าง) นี่แหละค่ะที่เป็นตัวเดินเรื่อง  และพัวพันกันอย่างยิ่ง

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท