งานสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง WUCLM
งานสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

'โลกในดวงตาข้าพเจ้า' ของ มนตรี ศรียงค์ คว้ารางวัลซีไรต์ ประจำปี 2550


 

มนตรี ศรียงค์ กวีซีไรต์ ปี 2550

 

คณะกรรมการตัดสินผลรางวัลรอบสุดท้าย รางวัลซีไรต์ ประเภท กวีนิพนธ์ ประจำปี 2550 ได้จัดงานแถลงข่าวประกาศผลผู้ที่ได้เป็นกวีซีไรต์   ในวันที่   28   สิงหาคม  2550       โรงแรมโอเรียนเต็ล ณ. ห้องแม่กลอง โดยมี นิตยา มาศะวิสุทธิ์ พร้อมด้วยผู้ให้การสนับสนุน เป็นประธานในการแถลงข่าว 

  <h1 style="margin: 0pt;">คณะกรรมการตัดสินประด้วย </h1> ชมัยพร แสงกระจ่าง       เป็นประธานคณะกรรมการตัดสิน   จิระนันท์ พิตรปรีชา, เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์, .ดร. กุสุมา รักษมณี, ผศ. ดร. ตรีศิลป์ บุญขจร, พิมล แจ่มจรัส และ อดุล จันทรศักดิ์   <h2 style="margin: 0pt;"> ผลการตัดสิน    </h2> <p class="MsoNormal" style="margin: 0pt;"> กวีนิพนธ์เรื่อง โลกในดวงตาข้าพเจ้า ผลงานของ มนตรี ศรียงค์ </p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0pt;"></p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0pt;"></p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0pt;"></p> <h3 style="margin: 0pt;">ประวัติของ  มนตรี  ศรียงค์</h3>   <p class="MsoNormal" style="margin: 0pt;">มนตรี ศรียงค์ เกิดที่หาดใหญ่ อาศัยอยู่ย่านใจกลางเมือง (กิมหยง) เดินผ่านและแวะเข้าห้องสมุดประชาชนทุกวันในช่วงประถม เข้าเรียนที่อำนวยวิทย์ .1-.3 จากนั้นไปเรียนที่มหาวิราวุธ เช่าบ้านอยู่กับเพื่อนจนจบ ม.6 โปรแกรมพลานามัย แต่ไม่ได้ดีในแวดวงกีฬา ตั้งเป้าเข้ารามฯปี 2529 เศษๆ ตีตั๋วรถไฟขึ้นไปเรียนรามคำแหงคณะมนุษยศาสตร์ เลือกเอกภาษาไทย ทั้งที่รักการอ่านการเขียนแต่กลับสอบตกซ้ำซากวิชาร้อยกรอง-วรรณวิจารณ์ เลยตัดสินใจเปลี่ยนคณะมาลงรัฐศาสตร์ การเมืองการปกครอง ทำท่าจะไปได้ดี 3 ปี แรกทำได้ 84 หน่วยกิต (ทั้งที่เข้าเรียนน้อยถึงน้อยที่สุด) แต่เก็บเกี่ยวประสบการณ์ใช้ชีวิตในเมืองหลวงมามากมาย ช่วงนั้นแม่เรียกกลับบ้าน มาช่วยกิจการหมี่เป็ดที่ร้านศิริวัฒน์ฯถนนละม้ายสงเคราะห์ หาดใหญ่ ที่ขายดิบขายดีมาจนถึงวันนี้</p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0pt;"></p> <div style= "border-right: medium none; padding-right: 0pt; border-top: medium none; padding-left: 0pt; padding-bottom: 1pt; border-left: medium none; padding-top: 0pt; border-bottom: windowtext 3pt dotted;">  </div> ภาพประกอบและข้อมูลจาก  :  http://www.manager.co.th/MetroLife/ViewNews.aspx?NewsID=9500000101325http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9500000101265  <div style= "border-right: medium none; padding-right: 0pt; border-top: medium none; padding-left: 0pt; padding-bottom: 1pt; border-left: medium none; padding-top: 0pt; border-bottom: windowtext 3pt dotted;">  </div>   <p class="MsoNormal" style="margin: 0pt;"> โลกในดวงตาข้าพเจ้า   ของ มนตรี  ศรียงค์</p>  http://www.seawrite.com/Thai%20Site/Press%20Releases-T.html <p class="MsoNormal" style="margin: 0pt; text-align: justify;"> รวมบทกวีชุดนี้สะท้อนให้เห็นความพยายามของกวีร่วมสมัยที่ต้องการหลุดพ้นไปจากข้อจำกัดทางฉันทลักษณ์อันเบ็ดเสร็จและตายตัวแบบกวีอนุรักษ์นิยม ขณะเดียวกันก็ยังคงยอมรับถึงความงดงามของมรดกทางวรรณกรรมชิ้นนี้ด้วยการหยิบเอาโครงสร้างใหญ่ของฉันทลักษณ์กลอนสุภาพมาใช้  จึงทำให้โลกในดวงตาข้าพเจ้าเป็นกวีนิพนธ์ฉันทลักษณ์ที่มีอิสระทั้งทางด้านจังหวะ เสียง และลีลา ก่อความรู้สึกแปลกใหม่ ไม่คุ้นเคยให้กับการอ่าน  คุณสมบัติข้อนี้ดูจะสอดรับกันเป็นอย่างดีกับเนื้อหาของกวีนิพนธ์ที่พยายามนำพาผู้อ่านไปสู่ภาพและเรื่องเล่าที่ผู้อ่านไม่คุ้นเคยและขนบของกวีนิพนธ์แบบดั้งเดิมไม่เคยอุทิศพื้นที่ให้  ได้แก่ภาพของปัจเจกบุคคลที่ไม่มีความยิ่งใหญ่ใดๆ ไม่มีบุคลิกพิเศษ และไม่มีความเป็นมา อันได้แก่ พ่อค้า แม่ค้า หญิงคนรัก ช่างเสริมสวย  เพื่อนเก่า เด็กวัยรุ่นในอินเทอร์เน็ต เป็นต้น </p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0pt; text-align: justify;"> ตัวละครที่ผู้อ่านรู้สึกไม่คุ้นเคยเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เวียนว่ายใช้ชีวิตอยู่ในเมืองใหญ่ บทกวีสร้างภาพตัวแทนของพวกเขาขึ้นมาด้วยการให้ภาพเคลื่อนไหวที่มีทั้งเรียบง่าย ดิ้นรนต่อสู้ เจ็บปวด ผิดหวัง มักมากฯลฯ ทำให้ผู้อ่านได้มองเห็นว่าพื้นที่ความเป็นเมืองใหญ่ที่วรรณกรรมเพื่อชีวิตและวรรณกรรมสร้างสรรค์ในยุคต้นๆ วิพากษ์วิจารณ์ว่าเต็มไปด้วยความเลวร้ายและเสื่อมถอยนั้น มีแง่มุมความหมายที่น่าสนใจ  ที่สำคัญ เมื่อต้องเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงของเมือง  ผู้คนในเมือง ไม่เพียงแต่ไม่ยอมถูกกระทำหรือยอมรับการเสี้ยมสอนให้กลายเป็นปีศาจเหมือนภาพที่วรรณกรรมสร้างสรรค์ในยุคแรกสร้างภาพเอาไว้เท่านั้น  แต่ผู้คนตัวเล็กๆ เหล่านี้มีวิถีการต่อสู้ต่อรอง  เพื่อรักษาไว้ซึ่งอัตลักษณ์ของตัวเองด้วยวิธีการต่างๆ  บทกวีเสนอว่าลึกๆ แล้วมนุษย์ทุกผู้ทุกนามย่อมมีระบบศีลธรรมที่เหมาะสมกับตนเอง เหมาะสมกับสถานการณ์ และสิ่งนี้นี่เองที่ช่วยประคับประคองให้ความเป็นคนเมืองของตัวละครไม่เลวร้ายอย่างที่วรรณกรรมเพื่อชีวิตเคยนึกฝันเอาไว้ </p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0pt; text-align: justify;"> รวมบทกวีชุด โลกในดวงตาข้าพเจ้าจึงเป็นบทกวีที่ค่อนข้างสมบูรณ์เท่าที่กวีนิพนธ์ที่ดีควรมี  กล่าวคือสามารถสร้างจินตภาพเชิงกวีแบบใหม่ๆ ให้ผู้อ่านได้สัมผัสอย่างตื่นเต้นและแปลกหูแปลกตา  คุณูปการของจินตภาพเชิงกวีใหม่ๆ เหล่านี้ทำหน้าที่สะกิดเตือนให้ผู้อ่านหวนกลับไปมองเมืองใหม่ มองคนธรรมดาสามัญด้วยสายตาแบบใหม่ อันจะนำไปสู่ความเข้าใจและยอมรับความเป็นคนของกันและกันมากขึ้น ไม่ว่าเธอหรือเขาผู้นั้นจะเป็นคนเมือง” “คนชนบท” “คนในเอ็มเอสเอ็นหรือคนในเว็บแคม</p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0pt;"> </p>

 

หมายเลขบันทึก: 122896เขียนเมื่อ 29 สิงหาคม 2007 08:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2014 15:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้าจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท