มาช่วยผมกันหน่อยครับ .. อยากเห็นมหัศจรรย์แห่งกุศลกรรม !


ผมคิดว่าจะเป็นเรื่องวิเศษ และมหัศจรรย์มาก ถ้าเวลาที่เหลือเพียง 2-3 วันนี้ ผมสามารถรวบรวมประเด็น สำคัญเกี่ยวกับความสำเร็จของการนำ Km ไปใช้ปฏิบัติในมหาวิทยาลัย และหน่วยงานระดับต่างๆ ได้สำเร็จ

   กุศลกรรม หรือการปฏิบัติในสิ่งที่ดีงาม และเป็นประโยชน์เกื้อกูลผู้อื่นนั้น เป็นเรื่องหาง่ายในคนมีหัวใจ GotoKnow  ครับ  มีประจักษ์พยานมากมาย  ช่วยพิสูจน์ซ้ำแล้วซ้ำอีกในเรื่องดังกล่าว  สังเกตดูเถิดครับ  พอมีงานที่มีคุณค่า  เราต่างกระโจนเข้าใส่จนบางทีก็ดูไม่ออกว่าใครเป็นเจ้าภาพหรือแขกรับเชิญ  คลุกเป็นเนื้อเดียวกันอย่างเป็นธรรมชาติ ไร้การปรุงแต่ง เสแสร้ง แบบที่เราพบเห็นอยู่ในโลกทั่วๆไป

    บันทึกนี้ของผมจะเป็นเครื่องยืนยันความคิดความเชื่อข้างบนได้  มากน้อยแค่ไหน โปรดคอยติดตามครับ

    เรื่องมีอยู่ว่า ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จะจัดให้มีงาน ตลาดนัด KM ในวันที่ 21 สิงหาคม 2550 นี้ โดยมีชื่องานว่า " การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพงานขององค์กร "
    ในงานดังกล่าวจะมีการนำเสนอผลงานดีเด่นของหน่วยงานต่างๆในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ด้าน การนำ KM ไปใช้จนประสบผลสำเร็จ  เริ่มกันตั้งแต่เวลา 10.30 น. ไปจนถึง 17.30 น.ครับ  โดยใช้เวลานำเสนอหน่วยงานละ 30 นาที  ตามหมายกำหนดการ จะมีหน่วยงานที่นำเสนอไปตามลำดับดังนี้ครับ

  1. คณะวิทยาการจัดการ
  2. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  3. คณะครุศาสตร์
  4. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  5. คณะเทคโนโลยีการเกษตร
  6. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
  7. สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน
  8. กองพัฒนานักศึกษา
  9. สำนักงานอธิการบดี
  10. กองนโยบายและแผน
  11. สถาบันภาษาและศิลปวัฒนธรรม
  12. สถาบันวิจัยและพัฒนา

       ก่อนถึงรายการนำเสนอผลงาน จะมีพิธีเปิดงานโดยท่านอธิการบดี ผศ.ดร.เรืองเดช   วงศ์หล้า ติดตามด้วยการบรรยายพิเศษเรื่อง
     " การใช้ ICT ในการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยและองค์กร "
      และผมได้รับเชิญไปเป็นผู้พูดในเรื่องดังกล่าวครับ  รู้สึกหนักใจอยู่บ้าง ตามที่เขียนระบายไว้ใน บันทึกนี้  แต่ผมก็จะพยายามทำดีที่สุดครับ  เพื่อให้เขาผิดหวังน้อยที่สุด ผมคิดอ่านจะนำเสนอประเด็นใด  อย่างไร  คงได้มีโอกาสนำมาถ่ายทอดแลกเปลี่ยนกันครับ
     
      คราวนี้ก็มาถึงเรื่องที่ต้องการความช่วยเหลือแล้วครับ !

      ผมคิดว่าจะเป็นเรื่องวิเศษ และมหัศจรรย์มาก  ถ้าเวลาที่เหลือเพียง 2-3 วันนี้ ผมสามารถรวบรวมประเด็น สำคัญเกี่ยวกับความสำเร็จของการนำ Km ไปใช้ปฏิบัติในมหาวิทยาลัย และหน่วยงานระดับต่างๆ ที่ท่านทั้งหลายสังกัดอยู่ ได้สำเร็จ

       ท่านคือผู้ที่อยู่เบื่องหลังความสำเร็จของผมครับ 

      จึงขอแจ้งรายละเอียดให้ชัดเจนลงไปว่า  ผมต้องการให้ทุกท่านที่มีประสบการณ์  มีข้อมูล ใน 3 ประเด็นข้างล่างนี้ ได้โปรดรีบช่วยนำมาเสนอ ต่อท้ายบันทึกนี้ของผมด้วยครับ

  • ตัวอย่างความสำเร็จในการใช้ KM ในมหาวิทยาลัย / หน่วยงานของท่าน
  • บทบาทของ ICT รวมทั้งเรื่อง Blog ในการสนับสนุนให้เกิดความสำเร็จดังกล่าว
  • ปัญหาและแนวทางแก้ไข ในการนำ ICT ไปใช้สนับสนุนการจัดการความรู้ 

     เนื่องจากผมมีเวลาจำกัดมากในการดำเนินการรวบรวม เรียบเรียงข้อมูลจากท่าน  เพื่อไปฝากเพื่อนๆชาว ม.ราชภัฏเชียงใหม่ ในวันที่ 21 สค. นี้  จึงขอความกรุณาท่านที่มีใจกุศล  อยากช่วยเหลือและมีส่วนร่วม ทำบุญ กับผมในครั้งนี้ ได้โปรด นำเสนอข้อมูล  ตามรูปแบบ ที่กำหนดดังนี้ครับ

  • ความสำเร็จในการนำ KM ไปใช้ใน ....... ( ชื่อหน่วยงานของท่าน )
  • ชื่อผู้นำเสนอ ... ( ชื่อตัวท่านนั่นแหละ  ถ้าให้ดีควรเป็นชื่อเต็มยศครับ )
  • ตัวอย่างความสำเร็จในการใช้ KM ในมหาวิทยาลัย / หน่วยงานของท่าน ... ( เล่าให้อ่าน ย่อๆพอเข้าใจ เอาที่เด่นๆ และท่านรู้สึกปลื้มกับมัน .. หน่วยงานไม่จำเป็นต้องเป็นองค์กรใหญ่โตอะไรก็ได้  เป็นแค่กลุ่มทำงานก็นับได้ครับ )
  • บทบาทของ ICT รวมทั้งเรื่อง Blog ในการสนับสนุนให้เกิดความสำเร็จดังกล่าว ... ( ว่าไปตามที่เกิดขึ้นจริงในหน่วยงานของท่าน )
  • ปัญหาและแนวทางแก้ไข ในการนำ ICT ไปใช้สนับสนุนการจัดการความรู้  ... ( ปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว และวิธีการในการแก้ปัญหาเหล่านั้น )

      เชิญได้เลยครับ  ... เวลามีจำกัดจริงๆ ... มาช่วยกันนะครับ  เพื่อเพื่อนเรา ชาว ม.ราชภัฏเชียงใหม่ .. กลับมาแล้วมีอะไรดีๆผมจะนำมาถ่ายทอดให้อ่านกันต่อไป .. ขอขอบพระคุณล่วงหน้าครับ.

 

หมายเลขบันทึก: 120365เขียนเมื่อ 18 สิงหาคม 2007 11:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (39)
  • ตามมาบอกแต่ไม่ครบทุกประเด็นครับ
  • หนว่วยงาน
  • ชื่อผู้เสนอคือ นายขจิต ฝอยทอง
  • คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขต กำแพงแสน
  • สิ่งที่ทำสำเร็จคือ การช่วยเหลือครูอาจารย์ในบันทึกนี้
  • http://gotoknow.org/blog/yahoo/100575 การสอนในบันทึกนี้
  • http://gotoknow.org/blog/yahoo/76147ปัญหาคือ 
  • ถ้ามีการสนับสนุนจากผู้บริหาร การทำงานเชิงรุกจะประสบผลสำเร็จมากกว่านี้
  • ขอบคุณครับ 

     

ขอบคุณมากครับ น้องบ่าว "สิงห์ปืนไว"
     ไม่ผิดเลยนะที่เขาพูดว่า  .... รวดเร็วปาน กามขจิต .. เอ๊ย .. กามนิตหนุ่ม.
สวัสดีครับขณะที่ผมอ่านบันทึกของอาจารย์อยู่ขณะนี้ผมกำลังดำเนินการประชุมคณะจัดทำเรื่องแผนยุทธศาสตร์ ระยะเวลา ๕-๑๕ ปี ที่กรีนเลครีสอร์ท

ดังนั้น ข้อมูลที่จะให้อาจารย์จึงจำเป็นที่ต้องส่งภายหลังครับ

 อย่างไรก็ตาม ผมต้องนำเสนอในส่วนของคณะอยู่แล้ว ในช่วงที่สอง หลังจากอาจารย์พูดจบ

ส่วนของคณะผมมี ดังนี้

 
  • ความสำเร็จในการนำ KM ไปใช้ใน คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์
  • ชื่อผู้นำเสนอ อาจารย์พิชัย กรรณกุลสุนทร คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  • ตัวอย่างความสำเร็จในการใช้ KM ในมหาวิทยาลัย / หน่วยงานของท่าน "การจัดสัมมนาการจัดการความรู้ระดับประเทศเพื่อพัฒนาเครือข่ายเรียนรู้ระดับประเทศ"(ตัวอย่างอย่างเป็นรูปธรรมทั้งภาพถ่าย และเรื่องราวทั้งหมดในบล็อก รวมทั้งเบื้องหลังการจัดการครั้งนี้
  • บทบาทของ ICT รวมทั้งเรื่อง Blog ในการสนับสนุนให้เกิดความสำเร็จดังกล่าว ได้ใช้ประโยชน์ของเครือข่ายในชุมชนเสมือน gotoknow คัดสรรวิทยากรที่เป็นแกนนำและมีเครือข่ายในภูมิภาคต่างๆ มาเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนจนเกิดความสำเร็จของการจัดสัมมนาในคราวนี้
  • ปัญหาและแนวทางแก้ไข ในการนำ ICT ไปใช้สนับสนุนการจัดการความรู้  ...

           คณะได้จัดให้มีระบบ ICT อย่างเป็นรูปธรรมในการให้การบริหารและบริการ คือ

 

๑.จัดทำระบบงานสารบรรณ e-office

 

๒.จัดทำระบบสารสนเทศ e-Faculty เพื่อพัฒนาฐานข้อมูลต่างๆในการให้บริการบุคลากรของคณะได้ และพัฒนาระบบเครือข่ายภายในองค์กรให้มีระบบการสื่อสารที่สามารถใช้ในการบริหารและการเรียนการสอนได้

 

๓.จัดทำสื่อการเรียนรู้การฝึกการใช้เครื่องมือสำนักงานโดยใช้ Anmination ตัว"ชลชนาค" มาใช้ช่วยสอนนักศึกษาก่อนเข้าสู่การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

 

๔.จัดหา Hardware เช่นซื้อ note book และ Projecter กล้องดิจิตอล VDO ให้ทุกสาขาวิชาเพื่อใช้ในการเรียนการสอนและผลิตสื่อการสอน

 

๕.จัดพัฒนา Soft ware เพื่อใช้ในการวัดผลประมวลผล ส่งเกรดออนไลน์เป็นคณะแรก ตั้งแต่ ปีการศึกษา ๒๕๔๘ ปัจจุบันได้เริ่มใช้อย่างเต็มรูปแบบ โดยมีทั้งระบบจัดเก็บคะแนนดิบและขั้นตอนการรับรองจากหัวหน้าสาขาวิชาและคณะ

 

๖.จัดพัฒนา Soft ware website รายวิชา โดยมีวัตถุประสงค์ให้เป็นเครื่องมือใช้ในการเรียนการสอน โดยมีข้อมูลตั้งแต่คำอธิบายรายวิชา เนื้อหาวิชาและตัวอย่าง ตลอดจนมีช่องทางที่ให้นักศึกษาใช้ถามคำถามหรือส่งการบ้าน

 

๗.จัดให้มีการอบรม การผลิตสื่อการสอนที่ทันสมัย โดยเริ่มต้นใช้ระบบ Multimedia ในการทำสื่อการสอน โดยใช้โปรแกรม Powerpoint หรือโปรแกรมประยุกต์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง

 กล่าวโดยสรุป ผลการนำเอา ICT มาใช้ในการบริหารจัดการ ในภาพรวมทั้ง ๓ ด้าน คือ ด้าน Hardware Software และ People ware ส่วนที่พัฒนาได้ช้าและหวังผลได้สูงสุดยังมีอัตราต่ำ ที่ต้องการความเอาใส่ใจ ความอดทน และการจัดการความรู้กระตุ้นให้เกิดการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องและจริงจังสรุปให้อาจารย์เท่านี้ก่อนครับ ส่วนข้อมูลจริงๆ จะให้อ.ภายหลังครับ

 

ต่ออีกนิดครับ ตกไป

ได้พัฒนาระะบจัดเก็บและนำเสนอข้อมูลการประกันคุณภาพ ให้สาขาวิชาและคณะ เพื่อใช้ในงานประกันคุณภาพทั้งภายในและภายนอก

ครับทั้งหมดคงมีเท่านี้ครับ

ขออนุญาตไปขึ้นเวทีนำอภิปรายก่อนครับ

เรียนท่านอาจารย์ Handy ไม่ทราบจะใช้ได้ไหมครับ

  • ความสำเร็จในการนำ KM ไปใช้ใน  มหาวิทยาลัยนเรศวร )
  • ชื่อผู้นำเสนอ อาจารย์สมลักษณ์ วงศ์สมาโนดน์
  • ตัวอย่างความสำเร็จในการใช้ KM ในมหาวิทยาลัย / หน่วยงานของท่าน ชุมชนฅนเขียนบล็อก” (NUKM blog)
  • บทบาทของ ICT รวมทั้งเรื่อง Blog ในการสนับสนุนให้เกิดความสำเร็จดังกล่าว ... ( ใช้บล็อก GotoKnow ในการสร้างชุมชนดังกล่าวจนปัจจุบันมีสมาชิกรวมอยู่ประมาณ 309 คน ชุมชนนี้ ได้รับรางวัล KM Bio Award จากสคส.เมื่อ 9 มีนาคม 2549 )
  • ปัญหาและแนวทางแก้ไข ในการนำ ICT ไปใช้สนับสนุนการจัดการความรู้  ... ( สร้าง CoP ชุมชนคนเขียนบล็อก, นำ Blog ไปผูกติดกับหลักสูตร การจัดการความรู้ ที่ทีมงานมน.ไปเป็นวิทยากรให้หน่วยงานต่างๆ, นำ GotoKnow และ Learners ไปใช้ในการเรียนการสอน..ส่งการบ้าน, นำ GotoKnow ไปใช้ในด้านการประกันคุณภาพ ในคณะสหเวชศาสตร์ โดยกำหนดคำหลักตามดัชนีชี้วัดต่างๆ เพื่อให้ง่ายต่อการรวบรวม เป็นต้น )
 

อาจารย์ทำงานเยอะ

เป็นงานช่วยเกิดการเรียนรู้เป็นกุศลนะคะ

ดูแลสุขภาพด้วยนะคะ

  • สวัสดีครับ
  • ขอเป็นฝ่ายให้กำลังใจ
  • เป็นกำลังใจทั้งในงานสอนและงานบริหาร
  • เห็นอาจารย์จับไมค์เมื่อไหร่   ความเป็น "ครู"  ฉายชัดและมีชีวิตชีวาเป็นที่สุด
  • ผมน้อมเคารพด้วยความสัตย์จริง !

ผมหาแหล่งอ้างอิง ประเทศที่มีความสุขที่สุดมาให้อ.นะครับ

"วานูอาตู"หมู่เกาะกลาง"แปซิฟิก"ได้รับเลือกเป็นประเทศที่มีความสุขในโลก เผยผู้คนไม่เห่อตามกระแสบริโภคนิยม มีความหวังดีต่อกัน ไทยติดอันดับ 32 สิงคโปร์รั้งท้าย มีสุขน้อยที่สุดในเอเชีย

สำหรับประเทศที่มีดัชนีความสุขน้อยที่สุด คือประเทศซิมบับเว อยู่ในอันดับสุดท้าย คือ 178 ตามมาด้วยสวาซิแลนด์ บุรุนดี สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกและยูเครน ส่วนกลุ่มประเทศอุตสาหกรรม หรือจี 8 กลายเป็นกลุ่มประเทศที่มีดัชนีความสุขน้อยเช่นกัน อิตาลีอยู่อันดับที่ 66, เยอรมนี 81, ญี่ปุ่น 95, อังกฤษ 108, แคนาดา 111, ฝรั่งเศส 129, สหรัฐอเมริกา 150 และรัสเซียอยู่อันดับที่ 172

ขณะที่ประเทศสิงคโปร์อยู่อันดับที่ 131 กลายเป็นประเทศในเอเชียที่มีดัชนีความสุขน้อยที่สุด ส่วนเวียดนามมากที่สุดคืออยู่อันดับที่ 12 ตามมาด้วยภูฏาน ประเทศไทยถูกจัดอยู่อันดับที่ 32, ฟิลิปปินส์ 17, อินโดนีเซีย 23, จีน 31, มาเลเซีย 44, อินเดีย 62, ไอซ์แลนด์ 64, เนเธอร์แลนด์ 70, สเปน 87, ฮ่องกง 88, ซาอุดีอาระเบีย 89, เดนมาร์ก 99, ปากีสถาน 112, นอร์เวย์ 115, สวีเดน 119, ฟินแลนด์ 123, ออสเตรเลีย 139, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 154, แอฟริกาใต้ 156, คูเวต 159 และกาตาร์ 166

http://www.komchadluek.net/2006/07/13/g001_27121.php?news_id=27121

 

http://www.yenta4.com/webboard/2/226676.html

อ. Handy ค่ะ

ความเห็นของดิฉันอยู่ที่นี่นะค่ะ http://gotoknow.org/blog/think/120544

ปล. ดิฉันช่วยประกาศขอความร่วมมือไว้ให้แล้วนะค่ะ อยู่หน้าแรกและด้านบนสุดค่ะ ประมาณวันจันทร์จะเอาออกนะค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณครู Handy

          พรุ่งนี้จะส่งการบ้านให้นะคะ

อ.Handy ครับ

ผมเขียนฝากไว้ที่ http://gotoknow.org/blog/tutorial/120546 แล้วครับ

เรียน อาจารย์พินิจ

ส่วนของผมเป็นการใช้ ICT ในการแลกเปลี่ยนภายในกลุ่มนักวิจัย ที่มีอยู่ ๕ จุด (จุดบริหาร และ จุดทั้ง ๔ ภาค)  เป็นโครงการวิจัยระดับประเทศประเด็น Community Based Tourism

เราใช้ Blog ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ไม่ทราบว่าผมจะนำเสนอในรูปแบบไหน และพอจะเข้าได้กับแนวคิดอาจารย์ได้หรือไม่ครับ??

สวัสดีครับอาจารย์ Handy

พรุ่งนี้ผมจะลองเสนอประสบการณ์ของผมนะครับ หากไม่ตรงจุดก็อย่าเกรงใจนะครับ เก็บเอาไว้เป็น Information หากพอจะใช้ได้ก็ยินดีกับอาจารย์ครับ

พรุ่งนี้ครับ

อาจารย์ Handy ครับ

เอาประสบการณ์มาเสนอครับที่ เรื่องเล่าจากดงหลวง » ดงหลวง 157 การใช้ ICT ในการจัดการความรู้ขององค์กรพัฒนา กรณีของบางทราย

โปรดพิจารณาตามความเหมาะสมเลยครับไม่ต้องเกรงใจ

สวัสดีครับ
     ขอเข้ามาขอบคุณรอบแรกก่อนครับ ที่ว่ารอบแรกเพราะ จิตผมหยั่งรู้ว่า กำลังจะมีมาเพิ่มอีกหลายท่าน ภายในวันพรุ่งนี้

  • น้องบ่าว "กามนิต" ขจิต ฝอยทอง ... มาคนแรก  แถมยังสนับสนุนข้อมูลการสื่อสารอีกเพียบ .. แต่แอบทำกันนอก Blog ครับ
  • ท่าน อ. พิชัย กรรณกุลสุนทร ... ขนาดกำลังดำเนินการประชุม .. อาจารย์ยังมีใจให้ความร่วมมือ  สมคำ "คณบดีที่รัก" จริงๆครับ
  • ท่านอ. beeman 吴联乐 ... ขนาดสุขภาพย่ำแย่เพราะเจ้า Virus ยังมาร่วมบริจาคประสบการณ์ของชาว มน. ได้อย่างกระชับและรวดเร็วครับ
  • คุณหมอ ซันซัน  ... ขอบคุณในความห่วงใยครับ
  • น้อง แผ่นดิน ... เราต่างคนต่าง "อิน" กันอยู่นะครับ ใครจะรู้บ้างว่า ... เขาจัดให้เราพักด้วยกัน ต่างคนต่างฝันอยู่นานแล้วที่จะได้พบตัวจริง เสียงจริง ตัวเป็นๆ ของคนที่รัก และศรัทธา
  • คุณ ภูวดล ... ขอบคุณครับ  ข้อมูลมีประโยชน์  คงได้นำไปขยายผลให้ผู้คนได้รับรู้ เรียนรู้ต่อไป
  • อ.จัน ดร. จันทวรรณ ปิยะวัฒน์ ... ตามไปอ่านแล้วด้วยความขอบคุณยิ่งนัก ข้อมูลมีประโยชน์มากครับ
  •  คุณ รัตติยา เขียวแป้น ... ด้วยความยินดีครับ นักเรียน .. กำลังรอตรวจการบ้านด้วยใจจดจ่อ
  • อ.ลูกหว้า ... ตามไปเก็บเกี่ยวแล้วครับ  ด้วยความขอบคุณยิ่ง
  • อ. ศักราช ... ตามไปดูแล้วครับ ด้วยความขอบคุณ  สิ่งที่นำเสนอไม่ว่าเรื่องเล็ก เรื่องใหญ่ เมื่อเกิดจริงจากการปฏิบัติ ย่อมเป็นแนวทาง เป็นบทเรียนแก่ผู้อื่นได้เสมอครับ
  • น้องเอก จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร ... ให้ถือว่ากลุ่มคือองค์กรได้เลยครับ แล้วก็สรุปสาระสำคัญ ตาม 3 ประเด็นหลักดังที่แจ้งไว้ตอนต้นครับ
  • ท่าน บางทราย (คนเข็นครก ขึ้นภูเขา) ... ตามไปดูแล้วครับ  ยอดเยี่ยมมาก .. กลั่นมาด้วยใจอยากแบ่งปัน เพื่อสร้างสรรค์ประโยชน์ร่วมกัน มีแต่ได้ไม่มีเสียครับ ผู้รับสารจะได้หลากหลายประสบการณ์ จากหลากหลายบริบท นำไปปรุง ไปปรับใช้ได้กว้างขวางยิ่งขึ้นครับ  ...
        หาก (คนเข็นครก ขึ้นภูเขา) คือ นามสกุล ผมว่า ตัวผมและพวกเราอีกไม่น้อยต่างก็ใช้นามสกุลนี้อยู่ครับ ... เหนื่อยแน่ แต่ไม่ท้อ ช่วยกันเข็นต่อ  โดยมียอดเขาเป็นเป้าหมาย  รุ่นเราหมดแรง  หมดลม ก็น่าจะพอสบายใจได้ เพราะเริ่มเห็นคนรุ่นใหม่มากมาย มาร่วมกระบวนการ เข็นครก ... ใน GotoKnow นี่แหละครับ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ


อาจารย์ครับ

อาจจะเป็นประโยชน์กับอาจารย์บ้างนะครับ
http://gotoknow.org/blog/klaikong/120009

การจัดการองค์ความรู้ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนครดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องตลอดมา และที่ได้นำเสนอให้สมาชิกในองค์กรได้รับทราบ รวมทั้งการรายงาน กพร. ได้ดำเนินการตั้งแต่ปี 2548 เป็นการรายงานผลกิจกรรมการดำเนินการของระบบ KM การฝึกอบรมและการทำคู่มือความรู้เรื่องต่างๆ ในปี 2549 ในภาพรวมของมหาวิทลัยเน้นเรื่องงานสารบรรณโดยเฉพาะ ส่วนในปี 2550 เน้นเรื่องการประหยัดพลังงาน และ เรื่องการจัดการเรียนรู้ที่ใช้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  รายละเอียดต่างๆได้เผยแพร่ไว้ที่เว็บไซต์ http://snrukm.snru.ac.th/ ขอเชิญคุณแฮนดี้ และผู้สนใจเข้าไปดูได้ครับ....

สวัสดีค่ะ...กำลังทำการบ้านให้อาจารย์อยู่ค่ะ...รอประเดี๋ยวนะคะ..เช้านี้โทรบอกทาง ม.นเรศวรและ ม.วลัยลักษณ์ที่เป็นเครือข่ายกันให้แล้วนะคะ...

สวัสดีค่ะอ. Handy

เห็นการบ้านอาจารย์มาวันนึงแล้ว แต่ตัวเองไม่มี success stories ส่วนตัวมาเล่าให้ฟัง ก็เลยเอาที่เคยใช้ เคยเห็นของที่ทำงานก็แล้วกัน อาจนำไปใช้ประกอบเป็นตัวอย่างได้ค่ะ

  • ความสำเร็จในการนำ KM ไปใช้ใน บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • ชื่อผู้นำเสนอ ...กมลวัลย์ ลือประเสริฐ
  • ตัวอย่างความสำเร็จในการใช้ KM ในมหาวิทยาลัย / หน่วยงานของท่าน ... บัณฑิตวิทยาลัยได้ริเริ่มให้นักศึกษาส่งวิทยานิพนธ์ในรูปแบบอิเลกโทรนิกส์ แล้วนำวิทยานิพนธ์มารวมอยู่ในรูปของ database สำหรับให้ผู้สนใจสืบค้นได้ ดูตัวอย่างหน้าสืบค้นได้ที่ http://www.gits.kmitnb.ac.th/thesis/ ซึ่งทำให้ผู้ใช้สามารถค้นหาวิทยานิพนธ์แยกตามคณะ ตามคำสำคัญ ตามชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา ตามปี ตามชื่อนักศึกษา ฯลฯ
  • บทบาทของ ICT รวมทั้งเรื่อง Blog ในการสนับสนุนให้เกิดความสำเร็จดังกล่าว ... บทบาทของ ICT มีส่วนสำคัญมาก เพราะระบบนี้เป็นฐานข้อมูลในคอมพิวเตอร์ ถ้าไม่มีระบบเครือข่าย หรือ internet การสืบค้นลักษณะนี้ต้องไปที่ห้องสมุดเท่านั้น และไม่น่าจะสืบค้นได้เท่าระบบที่สร้างขึ้นใหม่นี้
  • ปัญหาและแนวทางแก้ไข ในการนำ ICT ไปใช้สนับสนุนการจัดการความรู้  ...ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ
  • ๑. ยังลงวิทยานิพนธ์ปีเก่าๆ ได้ไม่ครบ 
  • ๒.ต้อง scan หน้าต่างๆ ลงซึ่งใช้เวลาและทรัพยากรมาก (คาดเดา เนื่องจากไม่ได้เป็นผู้ดำเนินการ) 
  • ๓. คุณภาพของไฟล์ที่สแกนมาไม่ค่อยดี 
  • ๔.ไม่สามารถค้นหาคำสำคัญในไฟล์ที่ scan จากกระดาษได้ ไม่เหมือนกับ file ที่พิมพ์เป็น pdf ซึ่งจะค้นหาในเล่มได้
  • ๕.ขาดการประชาสัมพันธ์ ทำให้อาจารย์หรือนักศึกษาหรือผู้สนใจไม่ทราบว่ามีบริการลักษณะนี้
  • ๖.ระบบฐานข้อมูลไม่ได้ใช้ร่วมกับของห้องสมุด ทำให้เกิดความซ้ำซ้อนในการทำงานและใช้ทรัพยากรสิ้นเปลืองในการพัฒนา
  • สำหรับหนทางแก้ไขค่อนข้างจะชัดเจนในตัวเองอยู่แล้วคือการประชาสัมพันธ์และการสแกนข้อมูลลงให้ครบถ้วน แต่ปัญหาการไม่เชื่อมโยงระบบกับห้องสมุดจะต้องมีการหารือกันระหว่าง ๒ หน่วยงานว่าผู้ใดควรเป็นผู้ดำเนินการหลัก และผู้ใดจะเป็นผู้เชื่อมโยงข้อมูลเพิ่มเติมเท่านั้น
  • ปัญหาในอนาคต - อาจขาดการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง หรือขาดการบำรุงรักษาที่ดีทำให้ระบบใช้งานได้ยากหรือระบบนิ่งไม่มีการปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยและเป็นจริง
  • อนึ่ง ระบบนี้เปิดให้บริการได้ไม่นานนัก (เท่าที่ทราบ) จึงยังไม่สามารถประเมินข้อดี ข้อด้อยทั้งหมดได้

  • ขออนุญาตย้ำว่าตัวเองเขียนประเมินข้างต้นในฐานะผู้ใช้เท่านั้นนะคะ และคาดว่าน่าจะเอาไปยกเป็นตัวอย่างการจัดการความรู้ในมหาวิทยาลัยได้ค่ะ

ขอส่งการบ้านแค่นี้ค่ะ หวังว่าคงจะทันเวลานะคะ

  • อ.handy คะ
  • หว้าเข้าไปเพิ่มเติมต่อจากเมื่อคืนแล้วค่ะ  ตามไปดูได้อีกรอบค่ะอาจารย์
  • http://gotoknow.org/blog/Kulkanit/120557

สวัสดีครับพี่บ่าว

  • ตอนแรกว่าจะเขียนเป็นบทความใหม่ให้ แต่ก็ท่านอื่นยกตัวอย่างไปเยอะแล้วครับ ผมจึงขอมองตั้งแต่ที่มาไปยังอนาคตแล้วกันนะครับ
  • จากประเด็นของพี่บ่าว " การใช้ ICT ในการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยและองค์กร "
  • และขอตอบแบบเล่าต่อเนื่องแล้วกันนะครับ ไม่ตรงตามประเด็นทั้งสามนั้นแต่อาจจะมั่วๆรวมๆ กันเข้าไปครับ ตรงบ้างไ่ม่ตรงบ้างนะครับ
  • ผมเห็นรายชื่อองค์กรต่างๆ ที่เข้าร่วมพูดแล้วแล้ว รู้สึกดีและอิ่มใจนะครับที่มีการนำเครื่องมือเหล่านี้ไปใช้
  • สำหรับองค์กรที่ยังไม่มีการจัดการใดๆ หรือยังใช้แบบไม่เชื่อมต่อกัน ผมว่าไม่น่าจะเสียเวลาที่จะออกแบบระบบไอซีทีแบบองค์รวมตั้งแต่ในระดับองค์กรใหญ่ แล้ววางแผนลงไปยังระบบย่อย ศึกษาระบบการเดิน การไหลของเอกสารต่างบนกระดาษจริง และวางแนวทางในการให้เอกสารเหล่านั้นไหลผ่านสารใยไอซีที โดยวางแผนร่วมกันกับแต่ละคณะองค์กร ไม่ว่าจะเป็น สำนักบริหาร บริการ คณะต่างๆ ทะเบียน บัญชี การเงิน งบประมาณ ฝ่ายดูแลบุคลากร นักศึกษานักเรียน และกิจกรรมต่างๆ รวมไปถึงแนวทางโครงการต่างๆ
  • นั่นคือ การออกแบบระบบฐานข้อมูลใหญ่ขององค์กรรวม โดยออกแบบร่วมกันเพื่อนำไปสู่การใช้ร่วมกัน โดยมีการรวมฐานข้อมูลต่างๆเหล่านี้ให้เข้าอยู่ด้วยกันเช่น
    • ฐานข้อมูลนักศึกษา
    • ฐานข้อมูลบุคลากร
    • ฐานข้อมูลทางด้านการเรียน การสอน กิจกรรมต่างๆ
    • ฐานข้อมูลการจัดการงบประมาณ เอกสารการไหลของเอกสารในเรืองต่างๆ
    • และอื่นๆ
  • จะดีกว่าการออกแบบต่างองค์กรย่อย แยกกันไปตามแต่ละแนวของตัวเอง เพราะไม่งั้นจะมีปัญหาในเรื่องการเชื่อมต่อเข้าด้วยกันแบบองค์รวม มาตอนหลังจะต้องปรับเยอะเพราะการเก็บข้อมูลเก่า อาจจะไม่ตรงกันหรือคนละแบบ ละเอียดไม่ละเอียดต่างๆ กัน แล้วเอามารวมกันได้ไม่ค่อยจะเข้ากันได้นัก
  • หลังจากนั้นก็จัดการให้ดำเนินไปตามระบบให้วิ่งเข้าสู่ระบบการจัดการฐานข้อมูล หรือระบบสารสนเทศต่อไป เตรียมคำถามต่างๆ ที่เป็นประโยชน์สำหรับผู้บริหารในระดับต่างๆ เอาไว้จากแนวทางและต่อยอดจากฐานข้อมูลเหล่านั้นอีกทีหนึ่งครับ จะทำให้ผู้บริหารมีมุมมองในการพัฒนาแบบก้าวหน้าขององค์กร และเห็นภาพรวมได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น หรือปรับหาจุดเด่นด้อยขององค์กรของตัวเอง
  • สำหรับเรื่องไอซีทีนั้น มีประโยชน์เสมอ อันแรกคงต้องเริ่มจากการทำความเข้าใจและปรับพร้อมเปิดกว้างให้เกิดกับคนในองค์กรก่อนว่ามีแนวทางการใช้ร่วมกันอย่างไร
  • การติดต่อกันระหว่างสมาชิกภายในองค์กร ระหว่างองค์กร และบุคคลภายนอกจะจัดการอย่างไร ไม่ว่าจะผ่านบอร์ด ผ่านเมล์ ผ่านเว็บ ผ่านบล็อก ผ่านโปรแกรมอื่นๆ พิเศษ ผ่านระบบ News,และอื่นๆ ทั้งแบบทางเดียวและสองทาง
  • หากองค์กรใหญ่นำพาองค์กรของตัวเองเข้าสู่ระบบการ OA(Office Automation) ระบบสำนักงานอัตโนมัติ ได้ก็จะเกิดประโยชน์ร่วมกัน รวดเร็วฉับพลันครับ แต่ละคนจะมีมุมมองในการดูและจัดการกับสารสนเทศตามสิทธิ์ที่ได้รับการออกแบบไว้ และมีบทบาทว่าใครเห็นหรือไม่เห็นตามสิทธิ์ตามตำแหน่งในระดับผู้บริหารในระดับต่างๆ
  • ส่วนเรื่องประโยชน์หลักๆ ของไอซีทีคือการสร้างเครื่องมือเพื่ออำนวยความสะดวกให้องค์กรเดินไปได้สะดวกและรวดเร็วขึ้นครับ ไม่ต้องวุ่นวายกับเอกสารมากมายที่เก็บไว้ตามชั้นและตู้เอกสารต่างๆ ยุ่งยากในการค้นหาและจัดการ ส่วนการใช้ไอซีทีนั้น รวดเร็วฉับพลันทันใจ ที่จะเรียกใช้
  • นี่ทั้งหมดนี้ น่าจะอยู่ในระดับเทียบกับ กรม นะครับ หรือมหาวิทยาลัยครับ
  • ต่อไปหามีการวางแผนให้ดีจาก กระทรวงไอซีทีเอง ที่เป็นเหมือนร่มโพธิ์ของประเทศ ที่น่าจะออกแบบให้คนไทยใช้ร่วมกันเพื่อเป็นมาตรฐานเดียวกัน ต่อไปก็เชื่อมกรมต่างๆ เข้าด้วยกันครับ
  • เช่นเมื่อมีข่าวใดๆ เกิดขึ้นที่มหาวิทยาลัยใด ข่าวนั้นก็แพร่สะพัดไปยังฝ่ายข่าวสารของมหาวิทยาลัยอื่นร่วมกันทั่วประเทศในวันเดียวกัน รับรู้ร่วมกันหมดครับ ผมจำได้วันนั้นที่มหาวิทยาลัยมาสัมภาษณ์ผมที่เยอรมัน ภายในวันเดียวที่ออกข่าวในมหาวิทยาลัย ข่าวหน้านั้นถูกเอาไปลงกระจายกันทั่วมหาวิทยาัลัยอื่นๆ ในเยอรมันทันที คือข่าวสารของมหาวิทยาลัยจะส่งผ่านถึงกัน และองค์กรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับทางศึกษานะครับ
  • แล้วเราจะเห็นพลังในการพัฒนาประเทศที่ชัดเจนขึ้น อยู่ที่ว่าใครจะมาร่วมกันทำแค่นั้นเองครับ ใครจะเป็นเจ้าภาพที่ดี เช่น ก.ไอซีที น่าจะลงมาจัดการในเรื่องนี้ให้เต็มตัว จะยั่งยืนมากขึ้นครับที่ไม่ขึ้นกับภาวะปัญหาทางการเมือง
  • อิๆๆ ให้พี่บ่าวคิดต่อนะครับ พอจะเห็นแนวทางนะครับ
  • ขอบคุณพี่บ่าวมากๆ นะครับ ตรงบ้างไม่ตรงบ้างนะครับของคุณมากๆ 

ขอส่งการบ้านที่นี่นะคะ เดี๋ยวจะ link ต่างๆ ให้สมบูรณ์ค่ะ http://gotoknow.org/blog/km-psu/120647

P
เข้ามาเยี่ยมชม....
โดยส่วนตัว ไม่เคยรู้เรื่อง KM ตามที่คุยๆ กัน ...
เพียงแต่ใช้ คอมฯ และเน็ต ตามที่เขาใช้ๆ กันเท่านั้น... จึงไม่แน่ใจว่าจะเรียกว่า KM หรือไม่ ?
ก็ขออำนวยพรให้อาจารย์ประสบความสำเร็จตามความคาดหวัง....
เจริญพร
ขอเป็นกำลังใจให้ครับ KM เป็นส่ิงที่ดีมากๆ ขอให้ประสบความสำเร็จครับ
  • ความสำเร็จในการนำ KM ไปใช้ในมหาวิทยาลัยขอนแก่น
 
  • ชื่อผู้นำเสนอ ... ดร. แสวง รวยสูงเนิน
  • ตัวอย่างความสำเร็จในการใช้ KM ในมหาวิทยาลัยขอนแก่น
    • การเรียน การสอน ระดับปริญญาตรี โท และเอก
·         การเรียนการสอนแบบการตั้งประเด็นปัญหาและค้นหาคำตอบ (Problem based learning) ในวิชาการจัดการทรัพยากรเกษตร ทรัพยากรที่ดิน วนเกษตร และการวางแผนการใช้ที่ดิน·         การฝึกคิดและการทำรายงานที่สะท้อนการจัดการความรู้ (Knowledge based learning) ลดการทำรายงานแบบ copy&paste·         การวัดผลโดยใช้ความเข้าใจ ความรู้ และการนำไปใช้จริง (KM ธรรมชาติ)
    • งานวิจัย
·         Participatory action research ที่ใช้การประสานความรู้ใหม่ และเก่าอย่างได้สมดุลและต่อเนื่องในระดับชุมชน และระดับครัวเรือน·         การวิเคราะห์ปัญหาที่ใช้ความรู้เป็นพื้นฐานคิด และวิเคราะห์ปัญหาร่วมกับเจ้าของพื้นที่ที่ต้องการแก้ปัญหาโดยตรง และทำงานวิจัยเพื่อแก้ปัญหาของเขาเอง·         ทำงานวิจัยเชื่อมโยงระดับครัวเรือน ชุมชน ที่เชื่อมโยงกับนโยบาย·         การสร้างพันธมิตรวิจัย·         การนำผลวิจัยสู่การใช้งานจริงในระดับชุมชน ในเรื่องการพัฒนาทรัพยากรดิน น้ำ ต้นไม้ เกษตรอินทรีย์
    • งานบริการสังคม
·         การทำงานประสานกับหน่วยงานต่างๆ และนำองค์ความรู้มาเชื่อมโยงกัน·         การทำงานพัฒนาเชื่อมกับชุมชนในเครือข่ายปราชญ์อีสาน·         การทำแปลงเรียนรู้ เพื่อการฟื้นฟูทรัพยากร และเกษตรอินทรีย์·         การพัฒนาศูนย์เรียนรู้ให้กับเครือข่ายภาคประชาชน
  • บทบาทของ ICT รวมทั้งเรื่อง Blog ในการสนับสนุนให้เกิดความสำเร็จดังกล่าว ...
    • ทำให้นักศึกษาเข้าถึงข้อมูล ความรู้ที่ทันเหตุการณ์ และทันสมัย
    • นักศึกษาสามารถแลกเปลี่ยนกับอาจารย์ เพื่อนนักศึกษา และกับบุคคลทั่วไปได้โดยตรง เป็นการเพิ่มขีดความสามารถ และความมั่นใจในการทำงาน ทั้งเชิงวิชาการ และการใช้ความรู้
  • ปัญหาและแนวทางแก้ไข ในการนำ ICT ไปใช้สนับสนุนการจัดการความรู้ 
    • อาจารย์ และนักศึกษาบางคนเท่านั้น ที่พร้อมทั้งทรัพยากร ความรู้ และความเข้าใจ
    • จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนากระบวนคิด กระบวนการทำงาน และทรัพยากรให้สอดคล้องกับการจัดการความรู้
    • ต้องใช้เวลา และการติดตามประเมินผลที่สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาการจัดการความรู้
  • ความสำเร็จในการนำ KM ไปใช้ใน ....... มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
  • ชื่อผู้นำเสนอ ... นางวีณา  นวลละออง
  • ตัวอย่างความสำเร็จในการใช้ KM ในมหาวิทยาลัย / หน่วยงานของท่าน ... ความสำเร็จในการนำ กระบวนการ KM  มาใช้ในมหาวิทยาลัยก็คือ เริ่มตั้งแต่อธิการบดี ผศ.ดร.ณรงค์  พุทธิชีวินได้ทำความร่วมมือกับ สคส.ร่วมกับภาคีเครือข่ายอีก 13 ราชภัฏ โดยมี ผศ.ดร.ประโยชน์  คุปต์กาญจนากุล เป็นแม่ทัพในการให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการความรู้ให้เกิดขึ้นในทุกระดับ คณะ สำนัก สถาบัน และเมื่อบุคลากรทุกคนได้รับทราบแนวคิดในการจัดการความรู้ ได้นำกระบวนการจัดการความรู้ไปพัฒนางาน เช่น ในการเรียนการสอน อาจารย์ได้นำแนวคิดการจัดการความรู้ไปใช้ เช่น ก่อนนักศึกษาจะออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพจะจัดเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาก่อนโดยการ จัด KM  ถ่ายทอดเรื่องเล่าประสบการณ์ของการทำงาน เทคนิคการทำงานและเหตุการณ์ที่เคยประสบพบเจอจากการทำงาน เมื่อจบกระบวนการจะได้หัวข้อในการทำสาระนิพนธ์เพื่อจัดทำในตอนฝึกงานจริง   และการพัฒนาบุคลากรโดยการทำวิจัยจะมีการจัดทีมวิจัยโดยมีนักวิจัยอาวุโสเป็นผู้คอยให้คำปรึกษาและต่อยอดความคิดของนักวิจัยรุ่นใหม่  หรือแม้แต่กระทั่งการปฏิบัติงานของผู้เขียน ได้ใช้ประโยชน์จาก KM  ในการพัฒนางานเพิ่มเติมเนื่องจากจะสร้างชุมชนนักปฏิบัติที่มีหน้าที่ เหมือนกันมาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ สอนงานหรือแนะนำแหล่งสืบค้น ต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ในการทำงานจริง
  • บทบาทของ ICT รวมทั้งเรื่อง Blog ในการสนับสนุนให้เกิดความสำเร็จดังกล่าว ... บทบาทของ ICT มหาวิทยาลัยมี ICT เข้ามาเกี่ยวข้องค่อนข้างแยะไม่ว่าจะเป็นงานเอกสาร หรืองานประชุมสัมมนา มีปฏิทินออนไลน์จะแจ้งว่าวันนี้มีกิจกรรมอะไรบ้าง หน่วยงานไหนจะจัดกิจกรรมก็เข้ามาแจ้งในปฏิทินออนไลน์ของมหาวิทยาลัยได้ การใช้งบประมาณ การเงิน พัสดุ ผ่านระบบ MIS สำหรับการใช้ blog  บุคลากรในมหาวิทยาลัยให้ความสนใจในการใช้ โดยมีกองนโยบายและแผนจะเป็นหน่วยงานที่จะจัดกลุ่ม และเผยแพร่ข้อมูล ให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องนี้เพิ่มเติม ซึ่งในปัจจุบันมีบุคลากรให้ความสำคัญค่อนข้างมาก
  • ปัญหาและแนวทางแก้ไข ในการนำ ICT ไปใช้สนับสนุนการจัดการความรู้  ... ปัญหาที่เกิดขึ้นอันดับต้น ๆ คือ ใช้ไม่ถนัด และไม่มีเวลา  ในเรื่องนี้มหาวิทยาลัยได้ให้สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ เปิดอบรมในหลักสูตรต่าง ๆ ที่เป็นความต้องการของบุคลากรภายในเป็นการเฉพาะและเน้นในบางหลักสูตร ทุกคนเข้าอบรมฟรี และมีการอบรมอย่างต่อเนื่อง  และสำหรับการใช้ blog จะจัดช่องทางโดยร่วมกับ gotoknow และสร้าง link ร่วมในเวปไซด์มหาวิทยาลัย พร้อมเผยแพร่วิธีการใช้
ท้ายที่สุดนี้ขอบคุณ อ.handy ที่ได้เปิดลานปัญญาในการถ่ายทอดประสบการณ์ ต่อการจัดการความรู้ขึ้น รวมถึงขอบคุณความคิดเห็นอื่นเพราะทุกความคิดเห็นเป็นมุมมองและประสบการณ์ที่ดีที่ผู้เขียนได้ร่วมเรียนรู้ด้วย

สวัสดีค่ะ คุณครู Handy

           ส่งการบ้านแล้วนะคะ   ที่นี่ค่ะ

สวัสดีครับท่านอาจารย์ Handy  มาร่วมสนับสนุนครับ

ตามมาส่งการบ้านด้วยคนค่ะ อยากจะเขียนตามฟอร์มที่พี่ Handy ให้มา แต่ไม่อยากใส่ชื่อตัวเอง เพราะไม่ใช่เจ้าของเรื่องโดยตรง ขออนุญาตใส่ชื่ออ.หมอ ปารมี (รศ.พญ. ปารมี ทองสุกใส ) นะคะ ยังไม่ได้ขออนุญาตอาจารย์ท่าน แต่เชื่อว่าท่านยินดีค่ะ เพราะเรื่องราวนี้ได้รับการเผยแพร่มาพอสมควรด้วยตัวท่านเอง แต่ในรูปแบบนี้และเพื่อชาวราชภัฏเชียงใหม่ซึ่งอาจจะยังไม่เคยทราบเรื่องราว ก็คงเป็นประโยชน์ได้อีกทางหนึ่ง ที่บันทึก ความสำเร็จของการนำ KM มาใช้ในภาควิชาพยา-ธิวิทยา...การบ้านส่งคุณ Handy นะคะ

สวัสดีค่ะท่านพี่  Handy 

นำการบ้านมาส่ง  อย่าลืม  เกรดด้วยนะคะ

ครูอ้อยกับการจัดการความรู้ด้วย ICT ในโรงเรียน

รับรองไม่ติด  ร

ขอบคุณค่ะ

ท่านอาจารย์ Handy ครับ ...ผมจดๆ จ้องๆ อยู่นาน พยายามนึกถึงประสบการณ์ในเรื่องที่อาจารย์ถาม แต่ก็ยังไม่สามารถ กลั่นความรู้ ออกมาได้ ...ยิ่งพอได้อ่านประสบการณ์ของท่านอื่น ก็ยิ่งทำให้ผมไม่กล้าเขียน ....หันมามอง ข้างใน ตัวเองว่าทำไมจึงเขียนไม่ออกทั้งๆ ที่สี่ปีที่ผ่านมานี้หายใจเข้าออกเป็นเรื่อง KM มาตลอด ในที่สุดก็ได้คำตอบครับ...คงเป็นเพราะผมไม่ได้อยู่ในมหาวิทยาลัย ไม่ได้นำ KM เข้าไปใช้ในมหาวิทยาลัย จึงไม่มี ประสบการณ์ตรง ในเรื่องนี้ ไม่เหมือนหลายๆ ท่านที่แชร์กันอย่างมีสีสันเพราะนั่นเป็นประสบการณ์ตรงของท่าน นั่นแหละครับที่เรียกว่า ความรู้มือหนึ่ง หรือ first-hand knowledge” ส่วนความรู้เรื่อง การใช้ KM ในมหาวิทยาลัย ที่อยู่ในตัวผมนั้นเป็น “Second-Hand Knowledge คือเป็นความรู้มือสอง ครับ แต่ถึงอย่างไรผมก็ยังอยากจะสะท้อนภาพการใช้ KM อย่างกว้างๆ ซึ่งบางทีอาจจะเป็นประโยชน์กับท่านอาจารย์หรือท่านอื่นที่สนใจในเรื่อง KM ....ซึ่งเรื่องนี้ต้องถือว่าโชคดีมากๆ ครับที่ตอนนี้คุณหมอนนทลี จากกรมอนามัยได้บันทึกการบรรยายของผมไว้อย่างละเอียดลออ (หลายตอนจบ) เริ่มอ่านตอนแรกได้ที่ตรงนี้ครับ à http://gotoknow.org/blog/kmanamai-nonta/120371
ขอขอบคุณอย่างยิ่งสำหรับความร่วมแรงร่วมใจจากทุกท่านครับ
     ขออภัยที่ไม่อาจเอ่ยนามเป็นรายบุคคล เพราะเพิ่งมาถึงสนามบินดอนเมืองครับ  โชคดีที่ จนท.นกแอร์บอกว่าติด VIP ต้องรออีก 10-20 นาที จึงมาส่งความขอบคุณก่อนออกเดินทางครับ   คืนนี้ผมคงได้จัดการต่อกับข้อมูลที่ทุกท่านแบ่งปันให้  แล้วจะรายงานผลให้ทราบครับ

ท่านใดที่ต้องการทำความเข้าใจเรื่อง KM ทั้งเรื่อง "หลักการและการนำไปใช้ปฏิบัติ" ลองเข้าไปอ่านบันทึกที่คุณหมอนนทลีเขียนไว้ที่ [รวมเรื่อง ตลาดนัดกรมอนามัย] รับรองรู้เรื่องแน่นอนครับ

เรียน อ. Handy

  • ช้าไปหน่อยนะครับ
  • ความสำเร็จในการนำ KM ไปใช้ใน  
    คณะสหเวชศาสตร์
    มหาวิทยาลัยนเรศวร
    )
  • ชื่อผู้นำเสนอ นายอนุวัทย์  เรืองจันทร์
    (บอย สหเวช)
  • ตัวอย่างความสำเร็จในการใช้ KM ในมหาวิทยาลัย / หน่วยงานของท่าน
    " การประกันคุณภาพ" 
    บทบาทของ ICT รวมทั้งเรื่อง Blog ในการสนับสนุนให้เกิดความสำเร็จดังกล่าว"
  • การนำ Blog ไปใช้ในการจัดทำรายงานการประเมินตนเอง หรือเรียกว่า sar on blog โดยบุคลากรที่รับผิดชอบในการประกันคุณภาพ จะบันทึกเรื่องราวจากงานประจำลงในBlog กรณีเรื่องที่บันทึกลงใน Blog เกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพ จะใส่ป้ายคำหลักที่เป็นป้ายกลางของคณะ เช่น ดัชนีที่1-1-50  และทางคณะได้ใช้ข้อมูลจากการบันทึกเรื่องราวในงานประจำ เป็นหลักฐานอ้างอิงในการประกันคุณภาพ ในครั้งที่ผ่านมา ซึ่งกรรมการประเมินสามารถตรวจรายงานการประเมินตนเองของคณะล่วงหน้า โดยให้ข้อคิดเห็นผ่าน Blog ได้เลย
     

สวัสดีคะ อาจารย์ Handy

ได้รับการบอกเล่าจากพี่เมตตา มอ. ให้เล่าประการณ์การนำ KM มาใช้ในมหาวิทยาลัย

ต้องขออภัยอาจารย์มากที่เข้ามา jam ช้า คงไม่ทันการณ์แต่ก็มีใจแบ่งปันคะ

สำหรับบทบาทของ ICT รวมทั้ง Blog ในการให้เกิดความสำเร็จดังกล่าวยังไม่เป็นไปตามที่คาดหวังคะ ยังเป็นกลุ่มคนเดิมๆ ที่เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ไม่กล้าที่จะบันทึกและแนวทางที่จะแก้ไขการนำ ICT ไปใช้ในการจัดการความรู้ที่ได้ผลดีจริงๆ ตามความคิดเห็นของเมคือ การที่ผู้บริหารใช้ ICT หรือ Blog ในการสื่อสารกับคนในองค์กรอย่างต่อเนื่องคะ
น้องเม ม.วลัยลักษณ์

ขอขอบพระคุณทุกท่านอีกครั้งครับ
    ผมเสร็จภารกิจและกลับถึงกทม.แล้วตั้งแต่ตอนดึกคืนวันที่ 21 สค. 50 ครับ
    สิ่งที่ทุกท่านมอบให้  และยังจารึกรอยไว้ในบันทึกนี้ คุ้มค่ากับที่ท่านเสียสละเวลาแน่นอนครับ

  • ผมลองเอามาเรียบเรียง ใน MS word ได้ราว 26 หน้า ถ้าตาม Link เข้าไปอีกก็คงได้เป็น 100 หน้าเอกสารเลยทีเดียว
  • ในเวลาที่แสนจำกัด ได้จัดทำเป็น Powerpoint แบบ Link ออกไปดูที่ท่านนำเสนอไว้ได้ และได้ให้ฝ่ายผู้จัดสำเนาแจกจ่ายผู้เข้าร่วมฟังแล้วครับ
  • แม้ว่าเหตุการณ์ผ่านไป ... สิ่งที่ปรากฏในบันทึกนี้คือร่องรอยที่มีค่า สำหรับทุกคนที่จะตามหา เรื่องจริงเกี่ยวกับ KM ภาคปฏิบัติ ที่นำเสนอโดยเจ้าของเรื่อง หรือผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรง
  • นี่คือกุศลกรรมที่พวกเราร่วมสร้างครับ
  • ขอไปจัดการกับดินที่พอกหางหมูจนหนักอึ้งอีกสักหน่อยแล้วจะค่อยเล่าเรื่องราวที่ มรภ.เชียงใหม่ให้อ่านกันครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท