มุ่ยฮวง
นาง ศันสนีย์ เกษตรสินสมบัติ

บทบาทของคณะกรรมการศูนย์บริการฯ


คณะกรรมการศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล
  • เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ได้มีโอกาสไปตัดสินการประกวดศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลดีเด่น ระดับจังหวัด จากการออกไปพบเจอกับคณะกรรมการศูนย์ฯ ทุกๆ อำเภอ ทำให้ความรู้สึกเดิมๆ ที่เคยมีต่อศูนย์บริการฯ เปลี่ยนไปมาก
  • ใครคิดว่าการทำงานศูนย์บริการฯเป็นการสร้างภาระให้กับคณะกรรมการศูนย์?
  • ใครคิดว่าการทำงานศูนย์บริการฯเป็นการสร้างภาระให้กับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร?
  • ใครคิดว่าศูนย์บริการฯ เป็นสูญไปแล้ว?
  • ความคิดแบบนี้ หรืออีกหลายๆ ความรู้สึกที่เคยมีต่อศูนย์บริการฯ อาจต้องเปลี่ยนไป หากได้เจอกับคณะกรรมการศูนย์ฯ ตำบลเขาล้าน  อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  เพราะคณะกรรมการศูนย์ฯ ที่นี่ เขามีความสุขและสนุกกับการทำงานในบทบาทของคณะกรรมการศูนย์ฯ ที่มีคุณภาพ  ทั้งนี้ทั้งนั้น ต้องยกความดีนี้ให้กับ คุณสุชาติ  วงค์เฌร  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 6 ว ในฐานะเลขานุการศูนย์ฯ  ที่มีความสามารถในการรวบรวมและผนึกกำลังคณะกรรมการศูนย์ฯ ชุดนี้
  • ทำไมคณะกรรมการศูนย์ฯ ที่นี่ถึงมีความสุขและสนุกกับการทำงาน?
  • คำตอบก็คือ  อันดับแรก การพิจารณาคัดเลือกคนเข้ามาเป็นคณะกรรมการ ต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในด้านการเกษตร  มีจิตวิญญาณของความเป็นครู เป็นพ่อแม่  และมีความเต็มใจ ในการเข้ามาทำงานในบทบาทของคณะกรรมการศูนย์ฯ  (คณะกรรมการศูนย์ฯ ที่นี่ เป็น ส.อ.บ.ต. เพียงคนเดียวเท่านั้น)
  • เมื่อได้คนที่พร้อมทำงานแล้ว ก็มีการวางระบบการทำงาน โดยมีการประชุมกันเป็นประจำทุกเดือน ซึ่งบรรยากาศการประชุม จะประชุมแบบไม่เป็นทางการมากนัก มีความเป็นกันเอง เปิดโอกาสให้ทุกคนแสดงความคิดเห็นเต็มที่ และร่วมกันพิจารณาแก้ไขปัญหาที่ได้รับมาจากพื้นที่  ที่ปะทับใจมากก็คือ มีคณะกรรมการศูนย์ฯ คนหนึ่งบอกว่ารู้สึกดีใจและตื่นเต้นที่จะได้ประชุม เพราะจะได้นำแนวความคิดที่จะพัฒนาเกษตรกรในพื้นที่ มานำเสนอในการประชุมคณะกรรมการศูนย์ฯ  และที่น่าทึ่ง คือ คณะกรรมการศูนย์ฯ ทุกคน รู้และเข้าใจในบทบาทของตนเองอย่างแท้จริง ทุกคนสามารถเป็นตัวแทนเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรได้อย่างดี
  • และแน่นอนว่างานจะเดินได้ดีนั้น ท้องก็ต้องอิ่ม คณะกรรมการศูนย์ฯ ได้ร่วมลงหุ้นเปิดร้านจำหน่ายสินค้าปัจจัยการเกษตร ไว้บริการเกษตรกรในราคาถูกคุณภาพดี ส่วนเงินกำไรก็นำมา บริหารช่วยเหลือกันเป็นสวัสดิการให้แก่คณะกรรมการและกลุ่มผู้ลงหุ้น
  • นอกจากนี้ คุณสุชาติ  วงค์เฌร  บอกว่า หัวใจสำคัญของศูนย์บริการฯ ไม่ได้อยู่ที่ตัวอาคารที่ตั้งของศูนย์บริการฯ แต่อยู่ที่จุดสาธิตการเกษตร ที่เกษตรกรสามารถเข้าไปเรียนรู้ได้จากพื้นที่จริง จากผู้ทำจริง 
  • แต่ก็อยากจะบอก คุณสุชาติ  วงค์เฌร  ว่าหัวใจสำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ ความสามารถของคณะกรรมการศูนย์ฯ ที่จะช่วยบริการพี่น้องเกษตรกร และร่วมพัฒนาการเกษตรในพื้นที่ อย่างเข้มแข็ง
  • นี่คือตัวอย่างเดียวหยิบยกมานำเสนอ ยังมีคณะกรรมการศูนย์ฯ อื่นๆ อีกหลายแห่งที่มีคุณภาพ ก่อนที่จะจบก็ขอบอกว่ารู้สึกภาคภูมิใจแทนนักส่งเสริมการเกษตรทุกคน ที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างคนที่มีคุณภาพ ช่วยพัฒนาการเกษตรและสังคมได้อย่างดี
 
หมายเลขบันทึก: 120284เขียนเมื่อ 17 สิงหาคม 2007 20:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 09:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • หวัดดีครับ คุณ มุ่ยฮวง
  • ถ้ามีศูนย์ฯ อย่าง ศูนย์ฯ ตำบลเขาล้าน สัก 20-30 % ก็น่าจะดีนะครับ 

    สวัสดีครับ

    เข้ามาแลกเปลี่ยน ครับ  ได้ศูนย์ดีเด่นหรือเปล่าครับ

  • สวัสดีครับ คุณมุ่ยฮวง
  • งานศูนย์ถ่ายทอดในภาคสนาม มีกรณีศึกษาที่ดีๆ อยู่มากมายนะครับ หากทุกฝ่ายยอมรับ สร้างการเรียนรู้ และนำมาแลกเปลี่ยนกันเพื่อพัฒนากระบวนการทำงาน ก็จะเกิดประโยชน์ต่องานส่งเสริมการเกษตรมาก
  • ขอบพระคุณมากครับที่นำมาแบ่งปัน

เรียน คุณมุ่ยฮวง

  • ขอบพระคุณมากครับ ที่บันทึกมา ลปรร.
  • ศูนย์บริการฯ ที่ดำเนินงานได้ประสบความสำเร็จยังมีมาก เราน่าจะมีวิธีการที่จะนำสิ่งดี ๆ มาเผยแพร่ในวงกว้างนะครับ (อย่างน้อยก็จะได้เป็นกำลังใจให้คณะกรรมการศูนย์บริการฯ ในแต่ละแห่ง )
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท