กลุ่ม "ทองหลาง"
นศ.มรภ.พระนคร ศูนย์เรียนรู้สุราษฎร์ธานี

ภูมิปัญญาหาเงินได้


กะลามะพร้าวของเหลือใช้สร้างสรรค์ภูมิปัญญาท้องถิ่น
เพิ่มรายได้ด้วยภูมิปัญญาชาวบ้าน จากวัสดุใกล้ตัว
 โดย  พี่เอก  (นายเอกภพ  แซ่ว่อง)

    มะพร้าวมีประโยชน์ตั้งแต่ผลมะพร้าว ใบมะพร้าว เปลือกมะพร้าว ต้นมะพร้าว  เช่น  เนื้อมะพร้าวทำน้ำกะทิ กะลาะพร้าวเป็นวัตถุดิบ ประดิษฐ์ของใช้ เปลือกมะพร้าวส่งโรงงานเพื่อทำที่นอนใยมะพร้าว ส่วนใบมะพร้าวทำเครื่องจักรสาน,ลำต้นมะพร้าว เมื่อแก่มากๆก็สามารถโค่นมาทำไม้มะพร้าวเพื่อเป็นไม้แบบสร้างบ้านที่ตำบลคลองน้อยเป็นแหล่งปลูกมะพร้าวขึ้นชื่อของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้นำวัสดุเหลือใช้จากมะพร้าวมาทำเป็นผลิตภัณฑ์กะลามะพร้าว และ เครื่องจักสานจากใบมะพร้าว  

     อ. สุวรรณี  ณ พัทลุง  อายุ 59 ปี  เจ้าของภูมิปัญญาชาวบ้าน  อยู่บ้านเลขที่ 69 หมู่ที่ 1 ตำบลคลองน้อย อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี  ได้ลาออกจากราชการ และหันมาทำงานด้านจักรสานจากก้านมะพร้าว และงานผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าวเพื่อเผยแพร่ให้   ผู้มีความสนใจและใจรักได้สืบต่อผลงานด้านภูมิปัญญาชาวบ้านโดยจัดตั้งกลุ่มพัฒนาสตรี เพื่อรวมกลุ่มทำผลิตภัณฑ์จำหน่าย และเป็นที่รวมกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ด้านภูมิปัญญาของชาวบ้านในท้องถิ่น      <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">       วัสดุที่นำมาใช้  ก้านมะพร้าว กะลามะพร้าว  เลือกกะลามะพร้าวทำชิ้นงาน และเลือกจากผิวของกะลามะพร้าว เช่น สีดำ สีน้ำตาล  มะพร้าวห้าง สีขาวมะพร้าวทึมทึก เครื่องมือที่ใช้ในการผลิตชิ้นงาน  มี   มีด   เลื่อยฉลุ  เครื่องเจาะ  เครื่องขัดผิวกะลามะพร้าว  สว่านไฟฟ้า  </p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">        งานสานก้านมะพร้าว ใช้ก้านมะพร้าวโดยนับจากทางยอดตัดทางที่ 3 นับจำนวน 120 ก้าน/ 1 ชิ้นงาน งานกะลามะพร้าวเลือกกะลาตามชิ้นงานกะลามะพร้าวสีดำจะผลิตงานประเภทโคมไฟ แจกัน ส่วนกะลามะพร้าวสีน้ำตาลผลิตชิ้นงานประเภท กะปุกออมสิน รูปสัตว์ต่างๆ   ระยะเวลาในการผลิตแต่ละชิ้นงานใช้เวลาผลิตประมาณ 3-4 ชม./ 1 ชิ้นงานเล็ก ส่วนรายได้จะแบ่งกันในกลุ่มใครเป็นผู้ผลิตชิ้นงาน รายได้ตกแก่ผู้ผลิต โดยหักให้กับกลุ่ม 10%  ของรายได้</p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">                "ทองหลาง"  ได้รวบรวมจากการทำรายงานของเทอมที่  1  ปีที่  1  เพื่อเผยแพร่แก่ผู้สนใจและได้ระลึกเสมอว่า  "ภูมิปัญญา"  สร้างคุณค่ามากมายให้พวกเราได้ภาคภูมิใจแห่งการดำเนินชีวิตและไม่ลืม  "รากเหง้า"   </p> 

หมายเลขบันทึก: 120283เขียนเมื่อ 17 สิงหาคม 2007 20:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
ถ้ามีรูปภาพประกอบ จะน่าสนใจกว่านี้
  • ดีใจมากที่มีแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาอีกแห่งหนึ่ง
  • คนเหนือศึกษาภูมิปัญญาใต้ เพิ่มความกว้างไกลในวิสัยทัศน์

บ้านเดิมผมอยู่อำเภอป่าซาง  จังหวัดลำพูน  เมื่อย้อนหลังไปก่อนสี่สิบปี  ผมจำความได้ว่า ใบมะพร้าว  ใบตาล  ใบลาน  เป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตเด็ก ๆ ไม่ว่าจะเป็น หนังสือธรรมที่วัด  ปลาตะเพียน กล่องข้าวเหนียว หลังคาเพิงพัก ฯลฯ แต่หลังจากนั้นมาผมเห็นแต่ต้นลำไย  มากมายสุดลูกหูลูกตา สวนหอมกระเทียม  ปัจจุบันเห็นแต่ความเหงาของผู้เฒ่าผู้แก่ ที่รอคอยลูกหลานกลับบ้านมาเยี่ยม  เพราะคนรุ่นเดียวกันกับผมได้เรียนหนังสือ และไปทำงาน ทำมาหากินต่างจังหวัดกันหมด เหลือแต่เด็กรุ่นใหม่ กับความเจริญยุคใหม่ คิดถึงทางมะพร้าวที่เราเปลี่ยนกันขี่แล้วลาก  วิ่ง ใครหล่นก็ไปเป็นวัว ลากวิ่ง ไปกับถนนในซอย ดินทราย ยุคนั้น  เมื่อกลับมาเยี่ยมบ้านเจอเพื่อน ๆ ที่เป็นผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมือง  คุยกันเรื่องนี้ก็เป็นที่ตกลกขบขันยิ่งนัก

สาธิต ม.ราชภัฏเพชรบูรณ์

อยากทราบว่า มีวิธีการเหลาก้านมะพร้าวอย่างไร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท