ดัชนีอุตฯ พ.ค.เริ่มขยับบวก ยอดขายกระเตื้อง-ดอกเบี้ยลด


ดัชนีอุตฯ พ.ค.เริ่มขยับบวก ยอดขายกระเตื้อง-ดอกเบี้ยลด
ส.อ.ท. เผยดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือน พ.ค.50 ขยับขึ้น เหตุปัจจัยบวกด้านยอด คำสั่งซื้อ ทั้งในและต่างประเทศเริ่มฟื้น ทั้งอัตราดอกเบี้ยขาลง นักลงทุนหวังรัฐธรรมนูญฉบับใหม่คลอด เรียกความเชื่อมั่นผู้บริโภคกลับคืน นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมไทย (Thai Industries Sentiment Index: TISI) ในเดือนพฤษภาคม 2550 พบว่า ค่าดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม ปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 86.1 จาก 77.0 ในเดือนเมษายน ที่ผ่านมา  อย่างไรก็ตาม การที่ค่าดัชนียังคงอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 100 แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นต่อภาวะการณ์อุตสาหกรรมในระดับที่ไม่แข็งแกร่งนัก ทั้งนี้ในช่วงเดือนพฤษภาคมที่มีการสำรวจยอดคำสั่งซื้อและยอดขายมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ ส่งผลให้ดัชนีผลประกอบการปรับตัวดีขึ้นตามไปด้วย รวมทั้งมีปัจจัยบวกด้านอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง ประกอบกับภาครัฐได้มีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ มีการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณ และปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอย่างต่อเนื่อง จึงล้วนเป็นปัจจัยที่สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมมากยิ่งขึ้น   "ปัจจัย        ที่มีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมดีขึ้น ได้แก่ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้   ทั้งนี้ ผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมต่าง ๆ ส่วนใหญ่ยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองในประเทศ อัตราแลกเปลี่ยน รวมถึงราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มสูงขึ้น โดยผู้ประกอบการมีความเห็นว่า สถานการณ์การเมืองยังคงเป็นอุปสรรค ที่ส่งผลต่อเนื่องไปยังความเชื่อมั่นของผู้บริโภค รวมทั้งความเชื่อมั่นในการลงทุน อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการมองว่า หากร่างรัฐธรรมนูญสามารถผ่านประชามติ และการเลือกตั้งสามารถเกิดขึ้นได้ภายในปีนี้ จะส่งผลให้ความเชื่อมั่นของประชาชนและผู้ประกอบการฟื้นตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว และทำให้เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มเริ่มฟื้นตัวอย่างชัดเจน ในไตรมาสสุดท้าย "นายสันติกล่าว ในส่วนดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่แยกพิจารณาตามภูมิภาค พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นปรับตัวเพิ่มขึ้นเกือบทุกภูมิภาค ยกเว้นภาคเหนือที่ค่าดัชนีปรับตัวลดลงเล็กน้อย ซึ่งเป็นผลมาจากการปรับตัวลดลงของอุตสาหกรรมเซรามิก ที่ตลาดภายในประเทศได้รับผลกระทบจากปัญหาทางด้านเศรษฐกิจและการเมืองที่แย่ลงทำให้ผลประกอบการปรับตัวลดลง ราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นทำให้ต้นทุนในการขนส่งเพิ่มขึ้น คู่แข่งที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งปัญหาการแข็งค่าของเงินบาท ด้านข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการต่อภาครัฐ พบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เห็นสอดคล้องกันว่า ต้องการให้รัฐบาลเร่งออกมาตรการกระตุ้นการบริโภคของประชาชนในประเทศ และสร้างความชัดเจนเกี่ยวกับนโยบายเศรษฐกิจ ตลอดจนเร่งสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน รวมทั้งควรมีมาตรการส่งเสริมนักลงทุนไทย ในต่างประเทศอย่างมีแบบแผนแนวหน้า  ไทยรัฐ    20  มิ.ย.  50
คำสำคัญ (Tags): #ภาวะเศรษฐกิจ
หมายเลขบันทึก: 105054เขียนเมื่อ 21 มิถุนายน 2007 08:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท