ความเป็นเมือง (urbanization)


นับจากหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา อัตราการเพิ่มของประชากรโลกได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้มีการอพยพย้ายถิ่น และการตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ที่เหมาะต่อการสร้างผลผลิตทั้งต่อการยังชีพ และการพานิชย์ แม้ว่าในช่วงหลังจากนั้นจะมีนโยบายการคุมกำเนิดที่ประสบความสำเร็จในหลายประเทศทั่วโลก เพื่อควบคุมจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นเป็นเท่าทวีคูณ ให้เหมาะสมกับการเพิ่มทรัพยากรที่มีอย่างจำกัดในยุดที่การพัฒนาเทคโนโลยีในการผลิตยังไม่มีประสิทธิภาพมากนัก แต่การเพิ่มจำนวนประชากรยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปรากฏการณ์หนึ่งที่เป็นผลกระทบที่เกิดขึ้น คือ การกระจุกตัวของประชากรจนเกิดพื้นที่ "เมือง" มากขึ้น

องค์ประกอบของเมืองจากการระดมสมองของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาอนามัยชุมชน

มีรายงานว่าปี 2551 ประชากรโลกมากกว่าครึ่งหนึ่งอาศัยอยู่ในเขตเมืองเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์โลก (ไพรัตน์ พงพานิชย์, 2551: มติชน) ซึ่งความเป็นเมือง (Urbanization) นี้นับเป็นปรากฎการณ์หนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิต พฤติกรรม และภาวะสุขภาพของคนปัจจุบันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นับตั้งแต่การใช้ชีวิตประจำวัน การทำงานภายใต้สภาวะแวดล้อมที่เสี่ยง การเดินทางภายใต้การจราจรที่ติดขัดและมีมลพิษ การรับประทานอาหารที่ไม่ทราบว่ามีอะไรปนเปื้อนอยู่บ้าง ฯลฯ ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่มีผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของเราทั้งสิ้น ซึ่งตัวอย่างหนึ่งของการศึกษาแนวคิดความเป็นเมืองของนักศึกษาสาขาอนามัยชุมชน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ศึกษา สามารถติดตามอ่านรายละเอียดได้ ที่นี่

ผลกระทบของความเป็นเมืองจากการระดมสมองของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาอนามัยชุมชน

 

นอกจากวามเป็นเมืองจะส่งผลต่อภาวะสุขภาพของประชากรแล้ว ยังส่งผลต่อส่วนอื่นๆ ของสังคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะทุกภาคส่วนต่างมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน ดังนั้น ภายใต้สภาวะการณ์ดังกล่าวนี้ ทุกภาคส่วนของสังคมต้องปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง และสร้างกิจกรรมการพัฒนาที่สอดคล้องกับบริบทขององค์กรตนเอง เพื่อขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากปรากฎการณ์ความเป็นเมืองนี้ ไปพร้อมๆ กัน ปัญหาจึงจะสามารถแก้ไขได้อย่างครบวงจร 

ด้วยรัก

หมายเหตุ: นักศึกษาชั้นปีที่ 3 ย้ายไปตอบกระทู้ที่ http://learners.in.th/blog/demography/300956 แทนนะครับ

หมายเลขบันทึก: 105046เขียนเมื่อ 21 มิถุนายน 2007 07:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:05 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
นักอนามัยชุมชน ควรจะต้องให้ความสนใจกับประเด็นด้านความเป็นเมือง (Urbanization) ไม่เพียงแต่เพราะอัตราของการเจริญเติบโตของความเป็นเมืองเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วชนิดที่ไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์ มนุษยชาติ เกิดขึ้นในประเทศที่กำลังพัฒนาสูงกว่าในประเทศที่พัฒนาแล้ว สิ่งที่เราต้องจับตามองคือวิถีของความเป็นเมือง ที่มีต่อระบบคิด การดำเนินชีวิตของประชากร และการแพร่ทางความคิดรจากเมืองสู่ชนบท ในขณะเดียวกันการเจริญเติบโตทางกายภาพ และขนาดของประชากรในเขตเมือง จะกระทบต่อความจำเป็นด้านสาธารณูปโภคพื้นฐานและบริการทางสังคมพื้นฐาน เช่นการศึกษา บริการทางการเพทย์และสาธารณสุข ฯลฯ ชนินทร์ เจริญกุล

ขอบพระคุณ อ.ชนินทร์ เป็นอย่างสูงครับ ที่แวะเวียนมาให้บทเรียนกับนักอนามัยชุมชนอยู่เรื่อยๆ

หวังว่า Blog นี้ จะมีสมาชิกเราแวะเวียนกันเข้ามาเรื่อยๆ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และร่วมกันพัฒนาแนวคิดกันนะครับ

ด้วยความเคารพรัก

ปัจจุบัน ประชาชนวัยแรงงาน วัยเรียน มีแนวโน้มที่จะเข้ามาทำงานในเขตเมืองมากขึ้น เพิ่มขึ้น เพิ่มขึ้น เรื่อยๆ  โดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร เมืองศิวิลัยของคนมีเงิน  หลายคนทิ้งถิ่นฐานที่ตัวเองเกิด เพื่อมาแสวงหาความอยู่รอด  เพื่อปากท้องของตนเอง  ภรรยา  ลูกๆ  ถ้าพวกเราลองนั่งรถไปตามชนบท  ภาพที่สังเกตได้ก็คือ ภาพคนแก่  กับเด็กๆ  ที่อยู่ตามหมู่บ้าน  เด็กๆ ไม่มีพ่อแม่ค่อยดูแล  เนื่องจากพ่อแม่ต้องมาทำงานในเขตเมือง  อุตสากรรม แล้วส่งเงินกลับไปให้ลูกที่บ้าน  ส่วนลูกเองบางส่วนก็หลงผิด  เป็นเด็กแว้น (ขับมอเตอร์ไซด์)  เกเร เที่ยวเตร่ไปวันๆ  เกิดปัญหาขึ้นมากมาย  ดังจะเห็นได้จากข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์ต่างๆ  ไม่ว่าจะเป็น  ขโมย  ยาเสพติด  ท้องไม่พึงประสงค์  หึงหวงจนทำร้ายกัน  ข่มขืนแล้วฆ่า  เป็นต้น

 ถ้าพวกเราลองทำ mind map หรือ แผนภูมิต่างๆ ที่เรียนมาดู  บางที่อาจจะเห็นต้นตอของปัญหาก็ได้นะครับ  ลองทำดู  หรือสมาชิก  จะลองเสนอแนวทางแก้ปัญหามาบ้างก็ยินดีนะครับ  เวทีนี้เปิดกว้างให้กับทุกความคิด

 ว่าไปแล้วผมก็เป็นคนหนึ่งในวงจรนี้เหมือนกัน แต่โชคดีรอดมาได้เพราะมีครูที่ดีค่อยสั่งสอน  มีพ่อแม่ที่ดี  มีกัลยาณมิตรที่ดีค่อยชักนำไปในทางที่ดี  ถึงแม้วันนี้จะมาทำงานที่ กทม.เพื่อหาประสบการณ์  แต่คิดว่าในอนาคตอันใกล้นี้จะพยายามกลับไปทำงานที่บ้านเกิดให้ได้  แล้วสมาชิกท่านอื่นๆ เห็นอย่างไรบ้างครับ  กับประเด็นนี้

ขอบคุณครับ

สวัสดีอ๊อบ...

เห็นด้วยนะ กับแนวคิดของการสร้างงานที่บ้านเกิด โดยเฉพาะจากตัวเราเอง โดยอาศัยทรัพยากรที่มีอยู่ ผมเห็นหลายคนที่บ้าน ตจว. มีที่นา มีพื้นที่ แต่พอเรียนจบ ป.ตรี ก็เดินหางานใน กทม. บางสาขาต้องยอมรับว่าไม่เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน หรือบางสาขาก็มีมากเกินจนล้นตลาด แต่ก็ต้องทนทำงานเงินเดือน 7 - 8 พัน บาท ไม่คิดจะกลับไปใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ เพราะเห็นว่าไม่ได้ร่ำเรียนมา ซึ่งหวังว่าอนาคตแนวคิดเหล่านี้จะลดลง

ว่าแต่ ว่างๆ ทุกท่านสมัครสมาชิก blog ด้วยนะครับ เพราะจะได้มีพื้นที่เขียนอะไรเล่าสู่กันฟังบ้าง จริงๆ การใช้ webblog เหมือนกับการเขียน website สำเร็จรูป เราจะมีพื้นที่ของตัวเองในการสร้างบันทึก สร้างเครือข่าย ผ่านการแจ้งไปยัง e-mail ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีทีเดียวสำหรับการเปิดพื้นที่ทางความคิดในโลกของ Cyber ครับ

ด้วยรัก

เพราะมนุษย์มีการอยู่ร่วมกันเป็นสังคม

และทุกสิ่งในสังคมส่งผลกระทบต่อกัน และมีผลต่อสุขภาพของประชากร

จึงจำเป็นที่นักสาธารณสุขจะต้องให้ความสนใจและมีความรู้ในทุกๆด้าน (ใช่มั้ยคะ?)

^__^

ไม่เฉพาะแค่อนามัยชุมชน แต่รวมถึงสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ด้วย

PH5008109 <MEAW>

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท