ประเมิน หรือ บรรยาย ความเห็นท่านไร้กรอบ


ประเมิน ในประกันคุณภาพทำอย่างไร

ประเมินอย่างไรดี

 ข้อความข้างล่างนี้ ท่านไร้กรอบ หรือ ผศ.ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ มาให้ความเห็นไว้ใน Blog JJ

 เมื่อเช้าตอนก่อนไปทานเกาเหลาเลือดหมู ได้ Small Talk กัน เลย ขอนำมาเผยแพร่ เป็นแนวคิด ที่ นักประเมิน น่าเรียนรู้ ครับ

ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ

ในความเชื่อของผม (คนไร้กรอบ)คนเดียวนะ

การประเมิน  รูปแบบ คุยกับ ผู้ถูกประเมินแบบนี้    น่าจะเกิด   ตอนวันแรก 15 นาที  ก็พอ    จากนั้น  ประเมิน ด้วยการ พูดคุยกับ  stakeholder ให้มากๆ   อย่าไปเน้น  พวกอาจารย์   อย่างเดียว

สมัยก่อน ที่ผม ตรวจสถานศึกษา   ผม คุยกับ ชาวบ้าน   ทำแบบสอบถาม    ทำ test เชิงพฤติกรรม (แอบดู  ใช้ vdo)   พูดคุยกับนักเรียน  (ฟังสำนวนที่ใช้  sensing ที่นักเรียนมีต่อ มิติต่างๆ )    คุยกับแม่ค้าพ่อค้าหน้าสถานศึกษา   คนขับรถ ร้านค้า   ผู้ปกครอง ฯลฯ

ยังกะงานวิจัยเลยนะครับ

ทำการบ้านมาก่อน     แอบมาดูก่อน

ผมเข้าใจว่า การตรวจแบบพูดกันมากๆ กินกาแฟ เปิดแฟ้ม อยู่กันแต่ในห้องตรวจ ฯลฯ   เป็นการตรวจแบบ สร้างแรงจูงใจ   มากกว่าจะตรวจจริง

ถ้าตรวจจริงคงละเอียดกว่านี้

ผมให้เด็ก  เขียนเรียงความ ทั้งห้อง   ในหัวข้อที่น่าสนใจ   ได้ แนวคิดจากเด็กเยอะมาดเลย

เอา case ไปให้ นักเรียนแก้    เพื่อดู แนวคิด  กึ๋น  ดู  "กระบวนการเรียนรู้"  ครับ

มีเรื่องสนุก ลูกเล่นในการตรวจมากมาย  เล่าไปเดี๋ยว คนโดนตรวจ จับทางได้

อ่านแล้วลอง คิดให้ได้ และได้คิด"ประเมินในการประกันคุณภาพ ทำอย่างไร" ครับ

 เพิ่มเติมครับ JJ ให้ท่านผู้เกี่ยวข้อง หรือ Stakeholder เขียนลงในบัตรคำ ซึ่งออกแบบคล้ายๆ AAR แต่ปรับให้เข้ากับกลุ่มนั้นๆ และ นำมาสังเคราะห์อีกครั้งครับ

 

JJ2007

หมายเลขบันทึก: 104748เขียนเมื่อ 20 มิถุนายน 2007 09:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
  • น่าสนใจดีครับ
  • ผมไปประเมินโรงเรียนผมจะคุยกับนักเรียนและชาวบ้านมากกว่าคุยกับคุณครูครับท่านอาจารย์หมอ JJ
  • ขอบคุณมากครับผม

เรียนท่าน อาจารย์ ดร.ขจิต P

 โดยเฉพาะผู้บริหาร ฟังตอนต้น และ ค่อยกลับมาสัมภาษณ์ ท่านทีหลัง เรียกว่ามา Reconfirm และ Verify อีกน่าจะ ครบถ้วนกระบวนการ ครับ

สวัสดีครับท่านอาจารย์จิตเจริญ

ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง คือ ผู้รับบริการแล้ว คือ แหล่งข้อมูลปฐมภูมิเลยครับ

โดยถ้าใช้การพูดคุยแบบเป็นกันเอง อาจจะปลอมตัวเป็นเหมือนผู้รับบริการเองเลยก็ได้ สำหรับผู้เก็บข้อมูล แล้วก็จะได้ข้อเท็จจริงที่หลายคนไม่อยากจะได้ยิน

แต่ก็อีกหล่ะครับ สำหรับข้อมูลแล้ว ใครๆก็เชื่อถือ ชอบ สิ่งที่เป็นการเป็นงาน ลายลักษณ์อักษร เช่น จากแบบสอบถาม แบบติ๊กๆ ซึ่งผมว่าการเก็บข้อมูลในลักษณะนี้จะเป็นทางการก็จริง ตามระเบียบวิธีวิจัยก็จริง แต่ข้อมูลที่ผู้ตอบนั้นจะเป็นจริงมากแค่ใน

เช่น ในสภาวะที่ถูกบังคับให้ตอบ ในสภาวะที่รีบไป เป็นต้น

ขอบคุณครับ

เรียน ท่าน Jack ผู้ร่วมพัฒนาP 

  • ในประสบการณ์ตนเอง
  • ใช้คำถามปลายเปิดในบัตรคำ แต่
  • ทำความเข้าใจกับผู้ให้ข้อมูลก่อนทุกครั้ง ไม่ต้องลงชื่อ เพราะสิ่งศักดิ์สิทธิ ย่อมรู้ดี
  • ท่านใดอยากจะพูดปากเปล่าก็ได้
  • แต่พลังส่วนใหญ่เงียบครับ แถมมีจำนวนมากเวลาก็จำกัด เร่งรัดมากไปก็เหมือนบีบบังคับ
  • เลยต้องใช้วิธีนี้ครับ
  • เท่าที่ผ่านมาหลายปี ยังไม่มีใครตำหนิวิธีการใช้บัตรคำ ให้ความร่วมมืออย่างดีครับ
  • ปลอมตัวยังไม่เคยครับ ต้องถามท่านคนไร้กรอบ

สวัสดีครับ

  • ครั้งหนึ่งตอนร่วมทีมทำและทดลองเครื่องมือเกี่ยวกับการประเมินทำนองนี้  ผมเสนอให้มีการพูดคุยกับนักการภารโรงด้วยอีกมิติหนึ่ง ว่าครูคนไหนเป็นอย่างไร .. นอกนั้นเราถามทั้งนักเรียนปัจจุบัน  และนักเรียนที่ผานไปเรียนชั้นสูงกว่าแล้ว .. ได้คำตอบที่น่าสนใจมากครับ .. เหมือนเอา Jig saw มาต่อกันไม่กี่ชิ้น ภาพชัดก็ปรากฏ เช่นพบว่า ครูคนหนึ่งมีอิทธิพลทำให้เด็กมีทัศนคติเชิงลบ(เกลียด)วิชาหนึ่งได้มากๆ

ผม ฟัง ผู้ปกครอง คุยกัน

ไป ซื้อ ก๊วยเตี๋ยวทานในโรงอาหารของ โรงเรียน   เจอ แต่เส้น  ลูกชิ้นมีแต่แป้ง   ฯลฯ  

เด็กอ้วน มีมากมาย ในแต่ละห้อง

ฯลฯ

อนิจจา การศึกษาไทย

ยัด ข้อมูล  จน ขาด กระบวนการเรียนรู้ไปอย่างน่าเสียดาย

sensing หายหมด

 

เมื่อเดือนที่แล้วมีโอกาสเป็นผู้ให้ข้อมูลใน ฐานะลูกศิษย์ของสถาบันการศึกษาแห่งหนึ่ง พวกเรา หมายถึง นศ.จากทุกคณะ นั่งรอกรรมการประเมิน 1 คน แต่พวกเรามีกันราว 20 คน มาจากทุกคณะวิชา เราเองคิดในใจว่าการประเมินแบบนี้ไม่น่าจะได้ความจริงเท่าไหร่นัก เพราะแทบทุกคน ได้แต่กล่าวชื่นชมคณะของตน ก็ใครจะกล้านำเอาข้อมูลที่ขายหน้ามาเล่าต่อหน้าคณะอื่นกันเล่า แบบนี้การศึกษาไทยคงก้าวไปอย่างเร็วก็ 20 กิโลเมตรต่อชม. เป็นแน่ ฝากทุกท่านที่ทำหน้าที่กรรมการตรวจประเมินว่า ท่านต้องทุ่มเทกว่านี้ ต้องสัมภาษณ์เป็นการส่วนตัวไม่ใช่ทำเป็นบรรยากาศของการประชุม ที่ทุกคนมีหัวโขนต้องเล่น..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท