ยุทธศาสตร์แห่งการทำลาย


ยุทธศาสตร์ที่ยกตัวอย่างมาเพื่อให้สายเหยี่ยว นำไปพิจารณา และยุทธศาสตร์การพัฒนาจะเขียนเล่าเป็นอันดับต่อไป

ยุทธศาสตร์การสู้รบแบบกองโจรที่ผู้ก่อการร้ายในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ใช้ปฏิบัติงานอยู่ขณะนี้ที่ได้คร่าชีวิตผู้คนและทำลายทรัพย์สินของทางราชการ ถือว่ามีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างมาก  และเป็นยุทธศาสตร์หน่วยงานราชการจะใช้มาตรการตอบโต้โดยใช้กำลังรุนแรงโดยไม่มีเหตุผลอันสมคารไม่ได้เลย ( ไม่มีพยานบุคคลและหลักฐานเพียงพอ ) และอีกประการหนึ่งทุกครั้งที่คิดจะตอบโต้ทุกครั้งจะต้องคำนึงถึงหลักของกฎหมายและสิทธิมนุษยชนเป็นสำคัญ  มีหลายหน่วยงานจับตาเฝ้ามองดู และรวมถึงประชาชนเองด้วย  เพียงแค่นี้ก็รู้ๆ กันอยู่ว่า (ทหาร ตำรวจ ) แทบไม่ต้องคิดเรื่องการใช้กำลังในการตอบโต้ ( แพ้อยู่แล้ว เห็นๆ )      แทบจะเรียกว่าเป็น ง่อย ไปเลย มีผลต่อทำให้เกิดความรู้สึกต่อประชาชนและข้าราชการดังนี้

1.  เจ้าหน้าที่รัฐ ไม่สามารถเป็นที่พึ่งพิงได้

2. ประชาชนหรือครูตกอยู่ในภาวะหวาดกล้ว การนิ่งเฉยจึงจะมีผลต่อความปลอดภัยของตนเอง

3. ความใกล้ชิดระหว่างประชาชน(ชาวบ้าน)กับเจ้าหน้าที่รัฐ ดูเหมือนจะไม่ดีขึ้นเลย  ความคิดจะอยู่ในความลังเลว่าจะสนับสนุนเจ้าหน้าที่ของรัฐดีหรือไม่  ( ผู้ก่อการร้ายแฝงตัวเองอยู่ภายในหมู่บ้าน ซึ่งไม่สามารถจำแนกได้ทั้งหมด ใครคือผู้ก่อการร้าย?  ) 

เราจะใช้ยุทธศาสตร์อะไร นำไปตอบโต้ดี? ผมคิดว่าเราๆ ท่านๆ คงจะเคยได้อ่านหนังสือหรือได้ดูหนัง เรื่อง " สามก๊กมาก่อน และคงจะคุ้นเคยกลยุทธ หรือวลี ดังต่อไปนี้ดี 

  • ยืมดาบฆ่าคน
  • โจรปราบโจร (ตำรวจไทยรู้ดี .. แต่มาตายเรื่องโจรใต้...)
  • การทำลายความสามัคคีของศัตรู

 กลยุทธข้างต้นดูเหมือนจะ 'ลิเก' ไปหน่อย แต่ยังคงประยุกต์และนำใช้ได้กับการสู้รบได้เสมอ ( ต้องคิดแบบนักรบ  อย่าคิดแบบนักพรต หมายความว่า ใครมีหน้าที่เป็นนักรบก็ให้ทำหน้าที่ไป   ใครมีหน้าที่รักษาความสงบหรือการพัฒนาก็ทำไป  แต่การคิดจะต้องบูรณาการหรือประสานความสอดคล้องให้สมดุลกัน   การปกครองจะต้องมีทั้งพระเดชและพระคุณ  จะใช้พระคุณทุกกรณีไปจะไม่ได้ มันอุดมคติเกินไป  นั้นคือ การให้และการทำลายต้องสอดคล้องกัน -  : บทความครั้งนี้ผมจะกล่าวเฉพาะยุทธศาสตร์การทำลายก่อน  ยุทธศาสตร์การพัฒนาค่อยว่ากันทีหลังต่อไป  ) 

ยุทธศาสตร์การทำลาย  : ยืมดาบฆ่าคน / โจรปราบโจร / การทำลายความสามัคคีของศัตรู  เป็นอย่างไร

 ในกลุ่มของผู้ก่อการร้าย (หรือกลุ่มแบ่งแยกดินแดนหรือกลุ่มพระยาปัตตานี ) ที่ฝั่งรากลึกอยู่ในหมู่บ้าน รวมกลุ่มกับชาวบ้าน และเป็นผู้ปลุกปั่นความคิดของชาวบ้าน ในขณะนี้    ทางหน่วยงานเจ้าหน้าที่ไม่สามารถจำแนกแยกแยะความชัดเจนได้ว่า ใครคือผู้ก่อการร้าย  ใครเป็นชาวบ้านบริสุทธิ์  ( เนื่องจากไม่มีใครยินยอมให้ความร่วมมือเพื่อเป็นพยานบุคคล แก่หน่วยงานราชการ - สาเหตุเนื่องจากความปลอดภัยในชีวิตของตนเอง )  และทุกครั้งที่จับผู้ต้องสงสัย  เจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่ทำได้เพียงสอบสวน ทำประวัติและ ต้องปล่อยตัวไป (ตามพี่ระเบียบไป ) 

การตอบโต้โดยใช้ยุทธศาสตร์ ดังกล่าวข้างต้นหวังผลอย่างไรเกิดขึ้น? ( ผมขออนุญาต ไม่เล่ากลวิธีการทำลายบน Internet ) การหวังผลมีดังนี้คือ ให้สมาชิกในกลุ่มผู้ก่อการร้ายเริ่มระแวงสงสัยซึ่งกันและกันเอง โดยมีเกณฑ์การวัดดังนี้

  1.  ศัตรูจะมีการแบ่งแยกออกเป็นกลุ่มย่อย เล็ก ๆ หรือสลายเครือข่าย  "ทำไม้ใหญ่ให้เป็นเพียงไม้จิ้มฟัน"   ( ลักษณะของศัตรูเป็นกลุ่มโจร Hi-tech และ มีการเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย )
  2. ประสิทธิภาพและประสิทธิผลการทำลายล้างหรือก่อการไม่สงบของผู้ก่อการร้าย  จะด้อยลง
  3. อาจหวังผล ในการเข้ามาอยู่ในโปรแกรมการพัฒนา ( ซึ่งจะกล่าวในอันดับต่อไป )
  4. หวังผลเกิดการเปลี่ยนแปลงภายในชุมชน ( ที่มีกลุ่มก่อการร้ายแฝงตัวอยู่ ) ที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน  ( หลอกล่อให้ศัตรูเคลื่อนไหว )
  5. สุดท้าย  เกิดการทำลายล้างกันเอง

 เรื่องที่กล่าวข้างต้นนี้ตามปกติไม่มีใครเขาคิดกัน  เพราะเป็นเรื่องที่ไม่สร้างสรรค์   แต่จำเป็นต้องคิด  โดยมีจุดมุ่งหมายการต่อยอดกันต่อไป

 ถามว่า ยุทธศาสตร์ข้างต้น ผิดหลักของสิทธิมนุษยชนหรือไม่?

ถามว่า เป็นแนวทางปฏิบัติการที่ใช้กำลังรุนแรงหรือไม่? 

เราให้ท่าน สายพิราบ และสายเหยี่ยว คิดกันเอาเอง

หมายเลขบันทึก: 104746เขียนเมื่อ 20 มิถุนายน 2007 09:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 01:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ผมคิดว่าเป็นความคิดที่คลาสสิกมากผมชอบ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท