บทความพิเศษ : เมล็ดพันธุ์ KM ใน มมส.


"ถ้าเป็นการปลูกคนเดียวผมถือว่าเป็น Blog และถ้าร่วมมือกันหลายๆ คน หลายๆ กลุ่ม (เกิด CoPs) ก็จะกลายเป็นป่า (Planet) ป่าที่อุดมไปด้วยความรู้และปัญญาปฏิบัติ"

ต้นกำเนิดเมล็ดพันธุ์ KM ใน มมส.

        การจัดการความรู้ ได้เกิดขึ้นจริงๆ แล้วในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม  จะด้วยผลอานิสงฆ์ที่ผู้อ่านท่านได้กระทำไว้โดยไม่รู้ตัวหรือไม่ก็ตาม เมื่อปลายปี พ.ศ. 2549 ผมได้เสนอแนวคิดการดำเนินการจัดการความรู้ต่อที่ประชุมคณะอนุกรรมการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในที่สุดแนวคิดนี้ก็ผ่าน นั่นคือ ABC โมเดลที่ผม (ในหมวกของอนุกรรมการจัดการความรู้คนหนึ่ง) อยากให้เกิดการทำงานแบบมีส่วนร่วมด้านการจัดการความรู้ของสังคมมหาวิทยาลัยมหาสารคามเป็นทุนเดิมอยู่แล้วก็ตาม อีกแรงบันดาลใจ (Passion) อย่างหนึ่งที่ติดตัวผมมาตลอดเวลา คือ ความรักการปลูกต้นไม้ จะต้นอะไรก็แล้วแต่...ถ้ามีโอกาสผมก็จะปลูก ตอนนี้ผมก็กำลังปลูกต้น KM  ผมจึงได้นำมาปรับใช้กับการจัดการความรู้  ถ้าเป็นการปลูกคนเดียวผมถือว่าเป็น Blog และถ้าร่วมมือกันหลายๆ คน หลายๆ กลุ่ม (เกิด CoPs) ก็จะกลายเป็นป่า (Planet)  ป่าที่อุดมไปด้วยความรู้และปัญญาปฏิบัตินับเป็นสมบัติอันล้ำค่าของชุมชนแต่ละชุมชนที่ร่วมมือกันปลูกนั้นเอง

  • การปลูกต้นไม้ : กว่าจะผลิดอกออกผลให้เราได้ใช้ประโยชน์จากผลิตผล เราก็จะต้องดูแลรักษาตั้งแต่การเพาะพันธุ์เมล็ดพืช การเอาใจใส่ รดน้ำ พรวนดิน ใส่ปุ๋ย ป้องกันวัชพืช ศัตรูต่างๆ สภาพดินฟ้าอากาศ ปัจจัยพื้นฐานเหล่านี้มีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยให้ ต้นไม้ที่เราปลูกเป็นต้นไม้ที่สมบูรณ์มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
  • การจัดการความรู้ : มนุษย์ทุกคนมีความรู้ด้วยกันทั้งสิ้น อาจแตกต่างกันบ้างตามมุมมอง หลักปรัชญาและหลักทฤษฎีที่นักวิชาการทั้งไทยและเทศได้นิยามเอาไว้  แต่ประเด็นหลักที่เรากำลังครุ่นคิดกันถึงนิยามเรื่องความรู้ การแสดงหาความรู้ การเก็บรวบรวม การค้นคว้าวิจัย ฯลฯ และอีกสารพัดคำที่จะนิยามเรื่อง "ความรู้" มนุษย์เราจำเป็นต้องใช้ความรู้ควบคู่กับการดำรงชีพและปฏิบัติกิจการงานมากกว่าเมื่อเทียบกับสมัยอดีตกาล ด้วยความสำคัญของการใช้ความรู้ที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว มนุษย์จำเป็นจะต้องจัดการกับความรู้ที่มีอยู่มากมาย หลายสาขา จึงได้มีศาสตร์ที่เกี่ยวข้องขึ้นมา เรียกว่า "การจัดการความรู้"  ขึ้นอยู่กับว่าจะจัดการกับความรู้ในสาขาใด ใช้เครื่องมืออะไรมาจัดการเท่านั้นเอง ถึงตรงนี้แล้วผมจะไม่นิยามเรื่องการจัดการความรู้ เพราะมีนักวิชาการได้นิยามไว้แล้วมากมาย ค้นจาก Search Engine เช่น Google ก็คงหาได้ไม่ยากเกินความสามารถของท่านผู้อ่าน

ตารางแสดงความสัมพันธ์ระหว่างการปลูกต้นไม้กับการจัดการความรู้

การจัดการความรู้

การปลูกต้นไม้ 

 มนุษย์จะต้องแสวงหา การจัดเก็บ การค้นคว้าหาความรู้ เมล็ดพันธุ์ ซึ่งมีอยู่แล้วตามธรรมชาติ มีอยู่แล้วในแต่ละองค์กร มีอยู่แล้วในแต่ละปัจเจก
 การตรวจสอบ ดูแลบำรุงรักษา จัดกลุ่มความรู้ การเรียนรู้ การนำเครื่องมือมาปรับใช้ และการนำความรู้ไปใช้  เราจะต้องดูแล คัดแยก บำรุงรักษาเมล็ดพันธุ์(ความรู้) เพื่อให้เมล็ดพันธุ์ (ความรู้) ที่มีอยู่นั้นเจริญงอกงาม ผลิดอกออกผลให้เราได้ใช้ประโยชน์จากเมล็ดพันธุ์ (ความรู้) เหล่านั้นได้ในที่สุด

เมล็ดพันธุ์ KM ใน มมส. 

        นับแต่แรกเริ่มประเดิมศักราช พ.ศ.ใหม่ 2550 ที่ผ่านมาไม่กี่สิบวัน (ร่วมสองเดือนเห็นจะได้) ที่เม็ดพันธุ์ KM ใน มมส. เริ่มดำเนินการขยายเมล็ดพันธุ์ความดีด้วยการใช้เครื่องมือ การจัดการความรู้ (KM) โดยเริ่มต้นจากบางหน่วยงาน เป็นการขยายเมล็ดพันธุ์เพื่อการปลูกป่า KM ภายในมหาวิทยาลัยมหาสารคามในระยะเริ่มต้นแห่งปี พ.ศ. 2550 ตามลำดับ ดังแสดงในตารางด้านล่างนี้

 หน่วยงาน

วัน เวลา สถานที่ 

Blog Link ที่เกี่ยวข้อง

 1. คณะเภสัชศาสตร์  วันที่ 3 มกราคม 2550 เวลา 09.00 น. ถึง 12.00 น. ณ ห้องประชุมลานไม้หอม ชั้น 3 อาคารเภสัชศาสตร์สิรินธร
 2.  สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช  วันที่ 10 ม.ค.2550 เวลา 09.00 น.- 12.00 น. ณ ห้องประชุมอาคารวิทยาศาสตร์
 3. กองกิจการนิสิต  วันที่ 11 ม.ค. 2550 เวลา 09.00 น. - 12.00 น. ห้องประชุมกองกิจการนิสิต
4. ศูนย์พัฒนาทรัพยากรการศึกษา (CARD)  วันที่ 12 ม.ค. 2550 เวลา 09.00 น. - 12.00 น. ห้องประชุม RN-101
 5. นิสิตป ป.เอก สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา รุ่น 2 มมส.  ห้องประชุมโครงการดุษฎีบัณฑิต อาคาร 8 เหลี่ยม มมส.
6. คณะศิลปกรรมศาสตร์ วันที่ 23 ม.ค. 2550 ห้องประชุมคณะศิลปรรมศาสตร์ เวลา 09.00 น. - 16.30 น.

จากก้าวแรกเพื่อก้าวต่อไป

        การจัดการความรู้จะเกิดขึ้นได้หรือไม่ประการใดแล้ว คณะอนุกรรมการจัดการความรู้มหาวิทยาลัย (MSU-KM Team) เป็นเพียงส่วนหนึ่งจาก ABC Model ที่จะคอยสนับสนุน ส่งเสริมให้เกิดบรรยากาศแห่งการจัดการความรู้ให้กับหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยมหาสารคามเท่านั้น แต่ประเด็นสำคัญยิ่งกว่านั้นก็คือ การจัดการความรู้จะสำเร็จได้ผลดีนั้นส่วนหนึ่งมาจากตัวของผู้อ่านทุกท่านที่สังกัดตามหน่วยงานในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เพื่อร่วมกัน... "พัฒนาคน พัฒนางาน พัฒนาฐานความรู้" เพื่อก้าวสู่การเป็นมหาวิทยาลัยการเรียนรู้และนวัตกรรม สมดังวิสัยทัศน์ที่ได้กำหนดเอาไว้

 

วิชิต ชาวะหา

อนุกรรมการจัดการความรู้มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
เลขานุการศูนย์พัฒนาทรัพยากรการศึกษา

22 กุมภาพันธ์ 2550

หมายเลขบันทึก: 80028เขียนเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2007 10:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)
  • เยี่ยมครับ  ขอบคุณครับสำหรับความรู้ใหม่ ๆๆครับ
  • ตอนนี้ผมกำลังเป็นชาวสวนมือใหม่ที่กำลังจะปลูกและหว่านเมล็ดพันธุ์ใหม่  ป๋าวิชิตคือผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตรที่จะคอยให้คำแนะนำในการปลูกและหว่านเมล็ดให้งอกงามขึ้นมา

ถึง พี่วิชิต

  • นี้สิครับถือเป็นความรู้ฝังลึก จากการปฏิบัติจริง และเป็นการจัดการความรู้ของตนด้วย และถ้าไม่บันทึกออกมาให้คนอื่นได้รู้ ได้อ่านก็คงไม่ครบขั้นตอน KM ซึ่งจะไม่มีประโยชน์ต่อส่วนรวม
  • โดยความเป็นไปเป็นมาผมก็ได้ติดตามความคืบหน้ามาโดยตลอด และสำหรับการประเมินโดยตนเองแบบภาพรวม ก็น่าจะ work ครับ สำหรับการทุ่มเททั้งหว่าน ทั้งปลูก หรือส่วนที่เกิดเองตามธรรมชาติบ้าง
  • สำหรับผมช่วงนี้ก็กำลังจัดการความรู้ของตัวเองอยู่เช่นกัน และภายในองค์กรเล็กๆที่ผมสังกัดอยู่ และวันใดที่ผมรู้สึกว่าผม กล้าแกร่ง จากประสบการณ์ พอ ก็จะขอบันทึกเป็น "บทความพิเศษ" บ้าง แต่ตอนนี้ขอเรียบเรียงความรู้ตนเองก่อน และยังไม่แน่ใจกับตนเองว่ามี tacit หรือไม่
  • ต้องขอขอบคุณอีกครั้งครับพี่วิชิต จะรอไปอ่านฉบับสมบูรณ์อีกที ในวารสารการจัดการความรู้ มมส. ฉบับหน้า

กัมปนาท

  • เยี่ยม และ รวดเร็วมากครับ
  • ขอขยายความอีกเล็กน้อย และ เสริมด้วยรูป เพื่อลงใน ข่าวการจัดการความรู้ มมส. ฉบับที่ 4 ต่อไปครับ
  • ขอเพิ่มบางบันทึกนะครับ
  • กองกิจการนิสิต DSS....แผ่นดิน กับการหว่านเมล็ดพันธุ์ KM มมส.
  • สถาบันวิจัยวลัยรุขเวช
    ข้อคิดเห็น โมเดลปลาตะเพียน

CARD จัดให้ตามคำขอแน่นอนครับ ...เป็นกลยุทธ์ที่ผมใช้ครับ โดยมีเหตุผล คือ 

  • ส่วนที่ขาด-ที่เกิน อาจปรับแก้ได้และจะตามมาหลังจากบันทึกนี้ จะสมบูรณ์กว่านี้ก็ต่อเมื่อส่งต้นฉบับโรงพิมพ์ เป็นการตรวจสอบหลายๆๆๆ...ครั้ง

 ขอบคุณมากครับที่กรุณาช่วยผมตรวจสอบ

 

ขออนุญาตเอาด้วยคนครับ เป็นเอกสารการดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการจัดการความรู้ทั้งหมดในชีวิตที่ผมเคยทำอะไรที่เขาเรียกว่า KM ครับ โดยเน้นภายในศูนย์ฯก่อนครับช่วงแรก มีดังนี้
  1. http://gotoknow.org/file/kampha/Kpn-+UKM.pdf เป็นการนำเสนอจากการเอาประสบการณ์จาก UKM มาใช้กับงานประจำ
  2. http://gotoknow.org/file/kampha/Post+of+my+work+for+my+sister.pdf เป็นเอกสารที่รวบรวมบันทึกของตัวเอง จัดทำเป็นเล่ม มอบเป็นของขวัญให้น้องวันรับปริญญา
  3. http://gotoknow.org/file/kampha/persent_km.pdf เป็นเอกสารนำเสนอที่จัดทำให้หัวหน้า เกี่ยวกับ KM ทำโดยความรู้ ความเข้าใจ จากประสบการณ์
  4. http://gotoknow.org/file/kampha/report_1.pdf เป็นเอกสาร SSM จากการจัดกิจกรรมโสกันวันพฤหัสบดี ครั้งที่ 1 หัวข้อ "หน่วยงานศึกษาดูงานในฝัน"
  5. http://gotoknow.org/file/kampha/discription.pdfเป็นเอกสารคำบรรยายประกอบสไลด์ ครั้งแรกในชีวิตของผม
  6. เอกสาร AAR ของบุคลากรภายในศูนย์ฯ (หาไฟล์ไม่เจอครับ)
  7. http://gotoknow.org/file/kampha/Post+of+my+work+for+my+sister1-1.pdf เป็นเอกสารที่รวบรวมบันทึกของตัวเอง ประจำเดือนมกราคม 50
  8. เอกสารแผนที่ความคิดจากกิจกรรมโสกันวันพฤหัสบดี ครั้งที่ 2 หัวข้อ การพัฒนาประสิทธิภาพในศูนย์ฯ (หาไฟล์ไม่เจอครับ)
ขอบคุณมากครับ

 

 My Teacher Rocks เรียนท่านสายน้ำแห่งความคิด วิชิตมิตรรักแห่ง มมส

 พระอาทิตย์จรัสแสง เริ่มร้อนแรงที่ มมส แล้วครับ

ขอบคุณ อ.jj ที่กรุณาแวะมาทักทาย ให้กำลังใจ ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท