ข้อคิดเห็น โมเดลปลาตะเพียน


เรื่องแม่ปลาจะพาไปในทิศทางที่ไม่ถูกต้องนั้น จะไม่เกิดขึ้นเพราะการกำหนด หัวปลา หรือ ทิศทางที่จะไป จะต้องร่วมกันกำหนด เป็นสิ่งที่เรียกว่า วิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision) หรือปณิธานความมุ่งมั่นร่วม (Common Purpose) หรือ เป้าหมายร่วม (Common Goal) โดย คุณอื้อ อำนวย และ คุณกิจ

       ในช่วงท้ายของการที่เราไปแนะนำเพื่อหว่านเมล็ดพันธุ์ KM 3 มมส. ที่สถาบันวิจัยวลัยรุขเวช  มีผู้ให้ข้อคิดเกี่ยวกับโมเดลปลาตะเพียน ที่เราพูดว่า ลูกปลาทั้งหลายจะต้อง หันหัวไปทางทางเดียวกับแม่ปลาตะเพียน คือว่ายไปในทิศทางเดียวกัน จึงจะทำให้มีพลัง นำพาไปสู่จุดหมายปลายทางได้ว่า จะต้องระวังให้ดีอย่าตามแม่ปลาไปอย่างเดียวโดยไม่พิจารณา  เพราะถ้าแม่ปลาพาไปเข้าอวนหรือไซ ก็จะพากันไปตายทั้งฝูง  เนื่องจากไม่มีเวลาที่จะได้อธิบายหรือขยายความ ก็ขอมาขยายไว้ ณ ที่นี้

         เรื่องแม่ปลาจะพาไปในทิศทางที่ไม่ถูกต้องนั้น จะไม่เกิดขึ้นเพราะการกำหนด หัวปลา หรือ ทิศทางที่จะไป จะต้องร่วมกันกำหนด เป็นสิ่งที่เรียกว่า วิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision) หรือปณิธานความมุ่งมั่นร่วม (Common Purpose) หรือ เป้าหมายร่วม (Common Goal) โดย คุณอื้อ อำนวย และ คุณกิจ ไม่ใช่กำหนดโดยคุณ อำนาจ (หัวหน้า) เหมือนกับในระบบเดิม ๆ อ่านเพิ่มเติมได้ในบันทึกของท่าน อาจารย์หมอวิจารณ์ ได้ที่นี่ครับ ซึ่งได้เน้นเพิ่มเติมว่า   แม่ปลายังต้องปล่อยให้ลูกปลา หรือ ปลาตัวเล็ก ๆ มีอิสระด้วยพอสมควร เพราะการไปสู่เป้าหมายร่วม ไม่ใช่มีเส้นทางเดียวเท่านั้น จะต้องมีความยืดหยุ่นพอสมควร

หมายเลขบันทึก: 72645เขียนเมื่อ 14 มกราคม 2007 22:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 00:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • งั้นหนิงว่ายตาม พ่อปลา Pa-nda หละค่ะ
  • อาจารย์ค่ะรูปใหม่ไฉไลมากค่ะ ^__*
  • ในความเป็นองค์กร  ยังไงก็คงต้องรับรู้จุดหมายปลายทางร่วมกัน ...วิธีเดินอาจแตกต่างกันบ้าง แต่ที่สุดแล้วก็ไปบรรจบกันที่ปลายทาง
  • เรียกว่า ยืดหยุ่น ได้ใช่หรือเปล่าครับ
  • ขอบคุณครับ 
    P
  • ถูก ๆๆๆๆ ต้องแล้วครับ
    P
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท