KnowledgeVolution ระบบการจัดการความรู้แบบเปิดเผยรหัสต้นฉบับ ระบบแรกของไทย


จากความสำเร็จในการนำระบบบล็อก (Blog) นำมาประยุกต์ใช้สร้างสังคมออนไลน์สำหรับคนไทยเพื่อการจัดการความรู้ ณ GotoKnow.org โดยสมาชิกจะสร้างบล็อกหรือไดอารี่ เพื่อบันทึกและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความรู้ ประสบการณ์ ข่าวสาร และ ความคิดเห็นต่างๆ

หนึ่งปีแห่งการเฝ้าเก็บเกี่ยวความต้องการของผู้ใช้ในการนำบล็อกไปใช้เพื่อการจัดการความรู้ ประกอบกับ การเฝ้ามองติดตามเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นบนโลกอินเตอร์เน็ตที่เน้นการนำมาใช้เพื่อสนับสนุนการเติบโตของสังคมออนไลน์ต่างๆ

ในที่สุด ระบบการจัดการความรู้ระบบแรกของประเทศ ก็ได้รับพัฒนาขึ้นอย่างสมบูรณ์แบบ ภายใต้ชื่อว่า KnowledgeVolution ซึ่งเกิดจากคำว่า Knowledge และคำว่า Evolution มาผนวกรวมกัน โดยความต้องการที่จะสื่อถึง การพัฒนาการของความรู้ที่เป็นไปอย่างต่อเนื่องไม่หยุดยั้งด้วยความร่วมมือกันของสมาชิกในสังคม และในขณะเดียวกัน Volution มีความหมายคือ วงจรของลายก้นหอยที่มุ่งเข้ามาสู่จุดศูนย์กลาง จึงเปรียบเสมือนกับ การจัดการความรู้ที่ต้องมีเป้าหมายเป็นหลักยึด

KnowledgeVolution ปัจจุบันได้นำมาแทนที่ระบบบล็อกเดิมที่เว็บไซต์เพื่อการจัดการความรู้GotoKnow.org เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2549 และจะเผยแพร่รหัสต้นฉบับ (Source code) ให้ผู้ที่สนใจดาวน์โหลดไปใช้ได้ฟรี! ในเร็ววันนี้ที่ http://KnowledgeVolution.com โดยระบบนี้เป็นลิขสิทธิ์แบบ GPL (Open-source) คือ การแก้ไขปรับปรุงระบบจะต้องแลกเปลี่ยนเผยแพร่กลับมาสู่สาธารณะ ภายใต้ลิขสิทธิ์ GPL เช่นกัน และผู้เป็นเจ้าของซอฟต์แวร์ KnowledgeVolution คือ สกว. และ สคส. ซึ่งเป็นผู้ให้ทุนพัฒนาและวิจัย

KnowlegeVolution มีความสามารถที่หลากหลายเพื่อตอบสนองกิจกรรมการจัดการความรู้ ซึ่งเน้นที่ก การบันทึกความรู้ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดหมวดหมู่ความรู้ การค้นหาความรู้ การสร้างแผนที่ความรู้ และ การสร้างเครือข่ายของกลุ่มผู้ชำนาญการในด้านต่างๆ หรือ กลุ่มคนที่มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมต่อกัน

ความสามารถดังกล่าวนี้ ถูกถ่ายทอดออกมาเป็น features ที่มีให้ในเวอร์ชันล่าสุดของ KnowledgeVolution อันได้แก่ tag, blog, photo & file blog, planet, ask-me, bookmark, portal และ visitor statistics ซึ่งมีรายละเอียดโดยคร่าวดังนี้คือ

1. ป้าย (Tag)

ป้าย หรือ tag คือ การระบุคำต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลชุดหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็น บันทึก ไฟล์ข้อมูล บล็อก แพลนเน็ต หรือแม้กระทั่ง ตัวสมาชิก ซึ่งการติดป้ายจะมีประโยชน์อย่างมากในการค้นหาความรู้และสร้างแผนที่ความรู้ที่เกี่ยวข้องกัน เช่น ท่านสามารถค้นหาสมาชิกใน Gotoknow.org ที่เป็นนักวิจัยด้วยคำว่า “นักวิจัย” เป็นต้น

2. บล็อก (Blog)

บล็อกเป็น feature เดียวที่ได้นำมาประยุกต์ใช้เพื่อการบันทึกความรู้ในระบบเดิมของ Gotoknow.org ซึ่งเป็นที่ประจักษ์ชัดถึงประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และนำมาซึ่งการเข้าถึงความต้องการของผู้ใช้เพื่อการพัฒนาระบบการจัดการความรู้ KnowledgeVolution

สำหรับความสามารถของบล็อกใน KnowledgeVolution ที่เพิ่มเติมเข้ามา นอกจากการเน้นถึงการระบุบันทึกด้วยป้ายแล้ว ก็คือ การเขียนและส่งบันทึกผ่านทางอีเมลมาเข้าบล็อกได้ และ เมื่อบันทึกใดมีข้อคิดเห็นฝากไว้ ระบบก็จะส่งอีเมลไปแจ้งให้เจ้าของบล็อกทราบได้โดยทันทีเพื่อการต่อยอดความรู้อย่างทันท่วงที

3. ไฟล์อัลบั้ม (Photo & File Blog)

สื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่สำคัญมากพอกับการบันทึก คือ ไฟล์ข้อมูลและรูปภาพ ซึ่ง KnowledgeVolution เพิ่มความสามารถในการนำไฟล์ข้อมูลและรูปภาพขึ้นเก็บในพื้นที่ของแต่ละบุคคลที่กำหนดไว้ให้ และแสดงผลรูปภาพนั้นพร้อมกับป้ายและรายละเอียดของรูปและไฟล์ที่นำขึ้นเก็บ ตัวอย่างการนำ ไฟล์อัลบั้ม นี้ไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ระหว่างการประชุมหนึ่งๆ ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถนำรูปที่ถ่ายในงานขึ้น Photo Blog และกำหนดรูปแต่ละรูปด้วยป้ายหลักป้ายหนึ่ง เช่น มหกรรมการจัดการความรู้ และป้ายรองต่างๆ ตามความสมควร ซึ่งก็จะทำให้สามารถค้นหารูปที่มาจากหลากหลายผู้เข้าร่วมประชุมที่ถ่ายเก็บไว้ได้ทันที

4. แพลนเน็ต (Planet)

แพลนเน็ต หรือ Planet ก็คือ คำว่า ชุมชนบล็อก ของระบบเดิม แต่ใน KnowledgeVolution เราหันมาใช้คำที่ถูกต้องกว่า แต่ความเป็นชุมชนบล็อกที่มีอยู่เดิมนั้นก็ยังคงอยู่ และจะเพิ่มความสามารถของการเป็นชุมชนเข้ามาอีกมากมายในเวอร์ชันถัดๆ ไป เช่น Ask-us ซึ่งจะคล้ายคลึงกับการเป็น Webboard ของเฉพาะกลุ่ม เป็นต้น

แพลนเน็ตนั้นเป็นเหมือนกับระบบการรวบรวมบล็อกที่มีอยู่ในระบบเฉพาะที่สมาชิกแต่ละคนสนใจที่จะติดตามอ่านอยู่เป็นประจำ (Reading list) และเจ้าของบล็อกนั้นๆ จะสามารถติดตามได้ว่ามีสมาชิกท่านใดสมัครรับอ่านบล็อกของตนอยู่บ้าง หรือที่เรียกว่า วงจรแพลนเน็ต นั่นเอง

5. ถามตอบ (Ask-me)

Ask-me คือ feature ของการถามตอบ โดยผู้เยี่ยมชมสามารถสอบถามคำถามต่างๆ ไปยังสมาชิกคนหนึ่งๆ ได้โดยตรง เมื่อมีผู้เข้ามาถามคำถาม ระบบก็จะส่งอีเมลไปแจ้งให้สมาชิกทราบโดยทันที และสมาชิกเองก็สามารถตอบและแก้ไขคำตอบนั้นๆ ได้ตลอดเวลา ส่วนผู้เยี่ยมชมหรือสมาชิกท่านอื่นที่อยากให้คำตอบเสริมก็สามารถเขียนลงในส่วนของข้อคิดเห็นได้ด้วยเช่นกัน

6. เว็บอ้างอิง (Bookmark)

การรวบรวมแหล่งความรู้จากเว็บไซต์ต่างๆ ที่สมาชิกสนใจและเข้าไปเยี่ยมชมอยู่เป็นประจำนั้น สามารถนำมารวมเก็บไว้ที่ เว็บอ้างอิง หรือ Bookmark ได้ และยังสามารถกำหนดป้ายของ bookmark แต่ละอันได้อีกด้วย หากอยากทราบว่ามีเว็บไซต์ใดบ้างที่ถูกจัดกลุ่มให้อยู่กลุ่มเดียวกัน หรือ กำหนดด้วยป้ายเดียวกัน นั่นเอง ก็สามารถค้นหาได้อย่างง่ายดาย หรือ อาจจะดูความ Popular หรือ จำนวนคนที่สนใจเว็บนั้นๆ ได้อีกด้วย

7. ศูนย์รวมข้อมูล (Portal)

ศูนย์รวมข้อมูล หรือ Portal คือ อีกหนึ่ง feature ที่เพิ่มขึ้นมาให้แก่สมาชิกเพื่อเอื้ออำนวยต่อการติดตามกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสมาชิกท่านหนึ่งๆ กับสมาชิกท่านอื่น

ในศูนย์รวมข้อมูลจะแสดงข้อมูลล่าสุดต่างๆ ของสมาชิก เช่น บันทึกล่าสุด คำถามล่าสุด ไฟล์ที่นำขึ้นล่าสุด คำถามหรือข้อคิดเห็นที่สมาชิกแลกเปลี่ยนเรียนรู้ไว้ในที่ของสมาชิกท่านอื่น เป็นต้น

เรียกได้ว่า ศูนย์รวมข้อมูลเป็นสถานที่ประจำที่สมาชิกสามารถติดตามการต่อยอดความรู้ได้อย่างรวดเร็วนั่นเอง

8. สถิติการเข้าชม (Visitor statistics)


ในแต่ละหน้าของระบบจะเก็บประวัติและแสดงผลการเข้าเยี่ยมชม เช่น จำนวนผู้เข้าชมทั้งหมดและในแต่ละวัน รายการ IP address พร้อมกับรายการหน้าเพจที่นำผู้เยี่ยมชมเข้ามาถึงหน้าเพจ ณ ปัจจุบัน

 

หมายเลขบันทึก: 33407เขียนเมื่อ 9 มิถุนายน 2006 11:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 ตุลาคม 2015 12:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (26)
  • ขอบคุณอาจารย์ที่เ ฉลยคำถามผมแล้ว
  • ระบบการจัดการความรู้ระบบแรกของประเทศ ก็ได้รับพัฒนาขึ้นอย่างสมบูรณ์แบบ ภายใต้ชื่อว่า KnowledgeVolution ซึ่งเกิดจากคำว่า Knowledge และคำว่า Evolution มาผนวกรวมกัน โดยความต้องการที่จะสื่อถึง การพัฒนาการของความรู้ที่เป็นไปอย่างต่อเนื่องไม่หยุดยั้งด้วยความร่วมมือกันของสมาชิกในสังคม และในขณะเดียวกัน Volution มีความหมายคือ วงจรของลายก้นหอยที่มุ่งเข้ามาสู่จุดศูนย์กลาง จึงเปรียบเสมือนกับ การจัดการความรู้ที่ต้องมีเป้าหมายเป็นหลักยึด

 

  • ขอบคุณอาจารย์มากครับ
  • เดาถูกหลายอัน
  • ขอให้กำลังใจอาจารย์ดำเนินสิ่งดีๆแก่สังคมไทยต่อไปครับ

เรียน  อ.จันทวรรณ

         ยัง งง ๆ อยู่กับเวอร์ชั่นใหม่ มีคำหลายคำที่ไม่คุ้นเคย ทำให้ยังไม่มั่นใจในการใช้  คงต้องทดลองเรียนรู้สักระยะหนึ่งก่อน จึงจะเกิดความมั่นใจ และบันทึกต่อ  แต่โดยส่วนตัวแล้ว รู้สึกชอบ เวอร์ชั่นเก่ามากกว่า รู้สึกสวยงาม และน่าอ่านมากกว่าค่ะ....

เอารูบลงบันทึกยังไครับอาจารย์ งง งง ม่ายเป็นเลยอะครับ
  • ช่วงระหว่างปิดใช้งาน เหมือนชีวิตขาดอะไรไปสักอย่าง  Version2 เปิดใช้งานได้ ก็ทำให้ชีวิตดำเนินต่อไปได้อย่างมีเป้าหมาย  ขอบคุณอาจารย์ทั้งสองท่านมากๆ เลยค่ะที่ทุ่มเท  โปรดดูแลรักษาสุขภาพด้วย
  • ดีใจมากๆ ที่เรามีเครื่องมือการจัดการความรู้ online ที่สมบูรณ์แบบไม่น้อยหน้ากว่าต่างประเทศ
  • ยังไม่คุ้นเคยกับรูปลักษณ์ใหม่ของ V2  ยังคิดถึงของเก่าไม่ได้ โดยเฉพาะตรงที่แสดงรายการบันทึกย่อหน้าละ 10 บันทึก  มีข้อความต้นบันทึกประมาณ 2-3 บรรทัดแสดง มีวันที่สีเขียวตัวโต  และมีเส้นขวางระหว่างบันทึก
  • และคงต้องทำความเข้าใจ และคุ้นเคย กับทั้งภาษาไทย เช่น ป้าย และ ภาษาอังกฤษ เช่น planet สักระยะหนึ่งค่ะ  อีกสักพักคงเข้าที่ คนแก่ก็คงต้องใช้เวลาปรับตัวระยะหนึ่งค่ะ

ก็ไปที่ตู้เก็บไฟล์ แล้วก็กดนำไฟล์ขึ้นคะ

ข้อมูลย่อๆ ของบันทึกก็ยังมีให้อยู่นะคะ

ลืมใส่ชื่อค่ะ ความเห็นก่อนหน้าเป็นของพี่เองค่ะ อ.จันทวรรณ

ในเวอร์ชันนี้ ถ้าอาจารย์ login เข้าใช้ระบบไว้ก่อนนะคะ จะดีมาก เพราะจะช่วยให้การฝาก comment ต่างๆ ขึ้นชื่อของอาจารย์แบบลิงค์ได้ เป็นการสร้าง Social network คะ และก็ ถ้า login ไว้ ก็ไม่มีการบังคับใส่ รหัสตัวเลข ด้วยนะคะ :)

  •  Star Star Moon 2 Star                        Star Earth Star         
  • ขอขอบคุณท่านอาจารย์จันทวรรณ...

คำอธิบายของ "Starแพลเน็ตStar" น่าสนใจมากครับ ทว่า... ยังไม่กระจ่าง...

  • ขอเรียนถามว่า สมาชิกทุกคนควรนำบล็อกเข้าแพลเน็ตหรือไม่ (ถ้าเป็นสมาชิกของชุมชนบล็อกอยู่ก่อนแล้ว)






  • บล็อกใดที่เป็นสมาชิกของแพลนเน็ตอยู่แล้ว เจ้าของบล็อกนั้นจะมี แพลนเน็ต ปรากฏขึ้นที่ วงจรแพลนเน็ต คะ

 

  • แพลนเน็ต มีประโยชน์เสมือน การรวบรวมบล็อกที่สนใจติดตามอ่าน (readling list) ซึ่งในเวอร์ชันนี้ ทุกคนสามารถสร้างแพลนเน็ตได้ง่าย รับบล็อกได้ง่าย ไม่ต้องรอขออนุญาตเจ้าของบล็อกคะ เพราะเจ้าของบล็อกจะเห็นอยู่แล้วใน วงจรแพลนเน็ตว่ามีคนมาอ่านบล็อกเราเป็นประจำจากแพลนเน็ตใดบ้างคะ

 

  • สรุปว่า คนที่อยากมี readling list ก็ควรสร้างแพลนเน็ตคะ เพราะถ้าไม่สร้าง ก็จะตามอ่านบล็อกยากคะ http://gotoknow.org/stat

 

อาจารย์ครับอย่าเพิ่งรำคาญคนรอยหยักในสมองมีน้อย ผมจะเอารูปลงบันทึกยังไง

ผมเปิดตู้เก็บไฟล์แล้ว นำไฟล์ขึ้นแล้วแต่มันไม่ไปปรากฎที่บันทึกนะครับ ทำไงบอกละเอียดด้วย

ต้อง copy ลิงค์ที่อยู่ถาวรคะ เดี๋ยวจะทำเป็นปุ่มสำหรับ copy ลิงค์ ไว้ให้เลยคะ ตอนนี้ copy ไปเองก่อนนะคะ

ขอบคุณครับอาจารย์สำเร็จแล้ว เดาไปเดามา ดูจากคำแนะนำของอาจารย์บ้าง คนอื่น ๆ ที่ส่งมาช่วยเหลือบ้าง ตอนนี้ได้แล้ว

ในคู่มือน่าจะทำขั้นตอนให้ละเอียดนะครับ คนที่ไม่ทีโอกาสไปอบรมจะได้ทดลองทำเป็น ไม่ให้เสียเวลามากเพราะบางครั้งทำไม่ได้ก็ท้อเหมือนกัน

ขอบคุณอาจารย์อีกครั้งครับ

จะทำคู่มือให้แน่นอนคะ แต่ตอนนี้รอก่อนนะคะ ทำงานไม่ทันคะ เน้นการปรับปรุงระบบให้เสถียรเป็นหลักก่อนคะ

อาจารย์ครับ ผมอยากแนะนำ web site ที่คิดว่ามีประโยชน์  ซึ่งเป็น web ที่คนไทยได้ดำเนินการขึ้นเอง อยากให้อาจารย์วิจารณ์ทีครับ

ขอบคุณครับ

http://map.sran.net/theking

เก็บความประทับใจงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ผ่านเทคโนโลยี google map

 

 


ดิฉันทิ้ง gotoknow.org/blog  ไปหลายวัน เพราะงานยุ่งมาก ( ข้ออ้างมั้ง) กลับมาอีกที เปลี่ยนโฉมหน้าไป ตอนนี้กำลังเริ่มเรียนรู้ของใหม่ ไม่แน่ใจว่าจะได้เรื่องมากน้อยขนาดไหน  ขอบคุณสำหรับข่าวสารใหม่ ๆ

ลองทำคู่มือแบบง่ายๆให้ไปลองดูกันได้ที่นี่ค่ะ คิดว่าถ้าไม่ติดกับสิ่งที่มีและวิธีการของ version ที่แล้วจะพบว่า version นี้ใช้ง่ายและเพิ่มความสะดวกหลายอย่างมากค่ะ ขอยกนิ้วให้กับการเปลี่ยนแปลงค่ะ ยิ่งใช้ยิ่งชอบใจ

อ้อ แต่อยากให้มีตัวเลือก "มีต่อ..." สำหรับส่วนที่เป็น portal ของเราบ้างน่ะค่ะ เพราะจะมีเฉพาะแค่ไม่เกิน 10 บันทึกล่าสุดเท่านั้น บางทีคิดถึงอันที่เราไปแจมไว้ก่อนหน้านั้นด้วยน่ะค่ะ (ไม่ได้ก็ไม่พรือ...ค่ะ)

ขอบคุณในแรงพลังที่ทุ่มเท รักษาสุขภาพด้วยนะคะ

ขอบพระคุณทุกท่านที่มุ่งมั่น ทุ่มเทและเสียสละเพื่อพัฒนา "คน" ให้เป็น "มนุษย์" ที่สมบูรณ์

ลองสร้างบล๊อกดูครับ

หลายคนบอกว่าลงรูปไม่ได้

เป็นเรื่องธรรมดาครับ ในโลกนี้ไม่มีสิ่งใดยาก และไม่มีสิ่งใดที่ง่ายครับ

 

ถ้าคุณได้มาโดยไม่เสียอะไร แสดงว่ามีอีกคนที่เสียอะไรโดยที่ไม่ได้มา

http://gotoknow.org/blog/tblog

ก็ฝากบล๊อก เล็ก ๆนี้ ไว้ กับท่านผู้อ่านด้วยนะครับ

จะหาเวลานำข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ท่านทั้งหลาย มาแบ่งปันกันเสมอครับ

shaere knowledg for you

 

ปล. ขอบพระคุณทุกท่านที่เกี่ยวข้องทั้งหลายที่ทำให้ผมมีบล๊อกครับ ขอบพระคุณมาก  ๆ ครับ

เรียนอาจารย์ครับ

     ผมอยากขอคำแนะนำในการเปลี่ยนหัวบล็อกจากอาจารย์หน่อยครับ   หรือท่านใดทราบช่วยกันให้ความรู้หน่อยครับ ขอบคุณครับ

คืออยากจะถามว่า web คืออะไรค๊ะ เป็นเว็บเกี่ยวกับอะไร ช่วยตอบด้วยนะค๊ะ

หัวข้ออันบนพิมพ์ไม่ครบค่ะ

คือจะถามว่าweb portal คือเว็บอะไรค๊ะ เปนเว็บเกี่ยวกับอะไร ช่วยตอบด้วยนะค๊ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท