เวทีนักพัฒนาสุขภาพชุมชน (อสม.ติดดาว) ในงาน KM Forum #3


ปัจจัยหรือเงื่อนไขแห่งความสำเร็จในเรื่องนี้ คือความสอดรับกับแนวทางตามโครงการสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมบริการปฐมภูมิ ของสถาบันวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน (สพช.)

     ผมได้รับการติดต่อจากพี่ธวัช หมัดเต๊ะ แห่ง สคส. หลายครั้งแล้วในเรื่องการจัดเวที อสม.ติดดาว ในงาน KM Forum #3 ที่จะถึงในวันที่ 1 – 2 ธันวาคม 2549 นี้ โดยพี่ธวัชได้บอกได้จองห้องไว้ 1 ห้อง สำหรับ เครือข่าย อสม. ซึ่งใน 2 วันมีวันละ 2 sessions รวมก็จะมี 4 sessions ย่อย ครับ เมื่อวานนี้ผมได้นำไปเสนอพี่พันธ์ อ่อนเกลี้ยง และพี่สมพงษ์ เหมียนย่อง 2 แกนนำของเครือข่าย อสม.ติดดาวที่พัทลุง บวกกับผมได้เล่าประสบการณ์ที่ผมได้ไปร่วมงานเมื่อคราว KM Forum #2 ซึ่งได้ทำ AAR ไว้หลายตอน ให้พี่เขาฟัง ก็ได้ความว่าอย่างนี้ครับ

     เราควรจะเชิญ อสม.ดีเด่นระดับประเทศสาขาต่าง ๆ ทั้ง 10 สาขา ในปี 2549 มา ลปรร.กัน ให้แต่ละคนได้เล่าเรื่องราวของตนถึงหนทางสู่ความสำเร็จ โดยให้ผู้เข้าร่วมได้ซักถาม ประเด็นนี้จะใช้เวลาทั้ง 2 sessions ในวันแรก แต่ละ session แบ่งครึ่งกันตามสาขาดีเด่น ซึ่งมีดังนี้

    • สาขา: การควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก
      นายถาวร กันยุตะ จังหวัดอำนาจเจริญ
    • สาขา: การดำเนินงานเรื่องเอดส์ในชุมชน 
      จ.ส.อ.สมบัติ วัฒนะโชติ จังหวัดชัยนาท
    • สาขา: สุขภาพจิตชุมชน 
      นางธัญญาภรณ์ ผาสุขกุล
      จังหวัด: เพชรบุรี
    • สาขา: การแก้ไขปัญหายาเสพติด 
      นายคำมูล ดีพรมกุล จังหวัดน่าน
    • สาขา: การสร้างสุขภาพ
      นางนัยนา คชอ่อน จังหวัด: ปัตตานี
    • สาขา: การบริการใน ศสมช. 
      นางสุมณฑา ทองนาคขาว จังหวัดพัทลุง
    • สาขา: การออกกำลังกาย 
      นางอรวรรณ ศรีพจน์ จังหวัดลำปาง
    • สาขา: การคุ้มครองผู้บริโภค 
      นางวรรณา ปรีชานุภักดิ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช
    • สาขา: การแพทย์แผนไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ 
      นายสุนทร เชาวนะพานิช จังหวัดปราจีนบุรี
    • สาขาการพัฒนาสังคม 
      นายเข็มชาติ ชุมแวงวาปี จังหวัดขอนแก่น

     วันแรกนี้เป็นวันของภาคประชาชนผู้เป็นนักพัฒนาสุขภาพชุมชนตัวจริงเสียงจริง ที่จะร่วม ลปรร.กัน สำหรับคุณอำนวยและคุณลิขิตของงาน ใน 2 sessions นี้ จะใช้ภาคีเครือข่ายของ เครือข่าย อสม. จว.พัทลุง ที่พี่พันธ์ และพี่สมพงษ์ รับจะจัดหาและจัดการเอง หาก สคส.ตอบตกลงในเบื้องต้นว่ารับหลักการนี้

     สำหรับวันที่ 2 session แรก เราสรุปกันว่าน่าจะเป็นวันของนักพัฒนาสุขภาพชุมชน ภาคราชการและส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีส่วนสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่าใครเลยในการก่อเกิดการพัฒนาสุขภาพชุมชน ผมเสนอให้ค้นหาจากกลุ่มที่ที่เป็นเครือข่ายตามโครงการสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมบริการปฐมภูมิ ของสถาบันวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน (สพช.) ซึ่งหากจะเน้นมาที่ภาคใต้ก็จะมีการประชุม เพื่อทำ PCU Innovation Mapping ในวันที่ 14 ก.ย.49 นี้ที่หาดใหญ่ งานนี้มีผมร่วมเป็นแม่งานด้วย ภายใต้การสนับสนุนของ สพช.และสวรส.ภาคใต้ มอ. เราก็จะเฟ้นเอามาสัก 5 คน เพื่อร่วม ลปรร.กัน เวทีคล้าย ๆ กับของเวทีของ อสม. แต่ใช้เวลาเพียง session เดียว สำหรับคุณอำนวยและคุณลิขิตของงาน ใน sessions นี้จะใช้ทีมงานจากโครงการไตรภาคีร่วมพัฒนาสุขภาพชุมชน จว.พัทลุง ก็ได้ครับ

     วันที่ 2 session ที่ 2 ก็จะเป็นการผสมผสานกันของนักพัฒนาสุขภาพชุมชนภาคประชาชน คือ อสม.ดีเด่นแห่งชาติ 10 คน และ นักพัฒนาสุขภาพชุมชน ภาคราชการและส่วนท้องถิ่น อีก 5 คน เพื่อร่วม ลปรร.กันในประเด็นการสานต่อเครือข่ายของนักพัฒนาสุขภาพชุมชน ร่วมกับผู้เข้าร่วมงานท่านอื่น ๆ ได้แสดงความคิดเห็น นำเสนอแนวทาง จนให้ได้คำประกาศเจตนารมณ์ร่วมกันของเครือข่ายที่จะดำเนินการร่วมกันต่อไปอย่างยั่งยืนในอนคต ในส่วนนี้สำหรับคุณอำนวยอยากให้เป็นบทบาทของ KFC(oP) แห่งชาติ สักท่านนึงได้มาช่วย โดยจะขอให้ สคส.ได้แนะนำให้ด้วย ตลอดจนช่วยหาคุณลิขิตให้ด้วยก็จะดีครับ

     ส่วนปัจจัยหรือเงื่อนไขแห่งความสำเร็จในเรื่องนี้ คือความสอดรับกับแนวทางตามโครงการสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมบริการปฐมภูมิ ของสถาบันวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน (สพช.) ที่ พญ.สุพัตรา ศรีวณิชชากร เป็นผู้อำนวยการสถาบันฯ อยู่ในปัจจุบัน ซึ่ง ณ ขณะนี้กำลังเตรียมการเปิดรับแผนงาน/โครงการอยู่ ในโครงการนี้ผมเป็นคณะทำงานอยู่ด้วย และเพิ่งประชุมเพื่อเตรียมการไปเมื่อวันที่ 26 – 27 ส.ค. 49 ที่ผ่านมานี้เอง

     หากทางทีมงาน สคส. พี่ธวัช หรือเครือข่ายเพื่อนนักพัฒนาสุขภาพชุมชนท่านอื่น ๆ คิดเห็นเป็นอย่างไร ก็ยินดีที่จะร่วม ลปรร.กันนะครับ ผมเชื่อว่าการพูดคุยกันเพียง 4 – 5  คน เพื่อให้ได้การออกแบบเวทีที่ใหญ่ระดับนี้ จะสมบูรณ์เสียทีเดียวย่อมเป็นไปไม่ได้แน่นอนเลยครับ ขอความคิดเห็นจากท่านผู้มีประสบการณ์ด้วยนะครับ เพื่อเติมเต็มให้กันต่อไป

     หมายเหตุ: ได้คิดร่วมกันว่าน่าจะใช้ชื่อว่า "เวทีนักพัฒนาสุขภาพชุมชน" เพราะพี่ ๆ แกนนำ อสม.เชื่อว่า อสม.ไม่สามารถทำงานตามลำพังได้ ต้องอาศัยความร่วมมือกันแบบ ไตรภาคีฯ คือ ทั้งนักพัฒนาสุขภาพชุมชนภาคประชาชน ภาคราชการ และ ภาคส่วนท้องถิ่น



ความเห็น (7)
  • แวะมาด้วยความคิดถึงครับ
  • ชื่นชมกับความมุ่งมั่นของคุณชายขอบจริงๆ
  • ในจดหมายข่าวชุมชนคนรักสุขภาพ ฉบับสร้างสุข(ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๕๙ กรกฎาคม ๒๕๔๙) ของ สสส. มีเรื่อง อสม.พันธุ์ใหม่ ด้วยครับ
  • เขียนโดย ประสิทธิ์ชัย  หนูนวล โครงการพัฒนาชุมชนเป็นสุขที่ภาคใต้
  • มีของ มาฝาก ตอนดึกด้วยครับ
  • รักษาสุขภาพนะครับ
  • ขอบพระคุณมากครับ

ยินดีที่ได้รู้ข่าว....คงได้พบกันค่ะ....เป็นรูปเป็นร่างแล้ว..ตอนนี้เวที UKM ที่เป็นผู้ประสานอยู่ ยังไม่เป็นรูปเป็นร่างขนาดนี้...จะมีประชุมกัน 15 กย. นี้ แล้วจะมารายงานให้ทราบเช่นกัน

มาร่วมซึมซับ...ยินดี...ภายใต้มิตรภาพที่ดีงาม...

แหม...พอเห็นข่าวแล้วยินดีแทน CoP อสม.นะคะ

เชื่อในศักยภาพเขาเหล่านั้นอยู่แล้ว...สำหรับการนัดหมายลงพื้นที่อีกครั้งจะแจ้งให้ทราบนะคะ....

*^__^*

เป็นกำลังใจ...สู้ๆๆ...นะคะ

ว่าไหมคะ....พี่จิ๊บ...

  • แข็งขันจริงๆ และขอร่วมขอบคุณด้วยนะครับที่คุณชายขอบขยันเก็บเกี่ยวประสบการณ์มาแบ่งปันให้กับผู้สนใจ
  • ขอทาบทามหน่อยนะครับ 12-13 ตุลาคม 2549 นี้ ที่ทำงานผม...สถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียนจะจัดประชุมวิชาการประจำปี เรื่อง ภาวะผู้นำกับการสร้างสุขภาพดีถ้วนหน้า ซึ่งช่วงวันที่สอง จะเป็นการเรียนรู้ประสบการณ์ของท้องถิ่น เปิดไว้ 6 หัวข้อ ซึ่งตอนนี้มีทั้งโครงการวิจัย การถอดบทเรียนจากพื้นที่ และประเด็นสุขภาพที่อุบัติขึ้นในปัจจุบัน เช่น กรณีบูโทลินั่ม...หน่อไม้บรรจุปี๊บเป็นพิษ..เป็นต้น ที่จริงอยากเชิญคุณชายขอบ และเครือข่าย อสม บางท่าน นำเสนอบทเรียนและจุดประกายให้คนทำงานสนามและนักพัฒนาสาขาต่างๆ  ไม่รู้ว่าพอจะมีเวลาหรือไม่ครับ
  • อยากทาบทามเพื่อเรียนเชิญสองกรณี คือ คุณชายขอบเอง  จะถอดบทเรียนจากการปฏิบัติไปเล่าถ่ายทอดอย่างไรก็แล้วแต่จะเห็นสมควร
  • อีกกรณีคือ การทำงานเชิงป้องกัน HIV/AIDS ในระดับชุมชน ของ อสม  
  • การนำเสนอ จะมีเวลา 30 นาที รูปแบบตามแต่วิทยากรและทีม ในวันที่ 13 ตุลาคม 2549 จาก 09.00-14.00 น.
  • นอกเหนือจากนี้แล้ว จะส่งเอกสาร สื่อ หรือ Poster Presentation ไปเผยแพร่ก็ยินดีนะครับ
  • หากพอมีเวลาและเป็นไปได้ ก็จะขอติดต่อเรียนเชิญนะครับ

มีความสุข และมีพลังใจเสมอนะครับ

ขอบคุณครับ วิรัตน์ คำศรีจันทร์

อีกทีครับ

  • ที่จริงทุกบทเรียนน่าสนใจหมดเลย เพราะเป็นการทำงานในชุมชนและเน้นบทบาทของประชาชนที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในเรื่องสุขภาพที่เขาทำได้
  • เรื่องอื่นๆ ถ้าคิดว่าจะขับเคลื่อนบนเวทีวิชาการได้ สร้างเครือข่ายและพันธมิตรทางวิชาการได้ ก็กรุณาเสนอแนะด้วยนะครับ เช่น การพัฒนาสังคม  การพัฒนาบทบาทของ ศสมช แพทย์แผนไทยและการดำเนินการระดับท้องถิ่น  ไข้เลือดออก  การสร้างสุขภาพ  รวมทั้งสุขภาพจิตชุมชน

และแล้ววันที่รอคอยก็มาถึง

ดีใจด้วยค่ะ กับความมุ่งมั่น

และหวังว่า ความสำเร็จ

ก็จะตามมาในไม่ช้า

....

เป็นกำลังใจค่ะ

     ผมยังไม่สามารถตอบทุกท่านได้ได้ให้ คห.ไว้ในเรื่องเวทีนี้ย่างชัดเจนนัก แล้วจะมาตอบทุกท่านอีกครั้งเมื่อทาง สคส.ได้ยืนยันว่ารับหลักการนี้แล้วนะครับ เมื่อวานก็ได้รับการประสานเบื้องต้นจากพี่ธวัชไปบ้างแล้ว ทาง E-Mail ครับ

     สำหรับอาจารย์วิรัตน์ ผมรับหลักการที่ท่านเรียนเชิญ และให้โอกาส "คนชายขอบและทีมงาน" มานะครับ และผมได้ล็อควันไว้ตามที่ท่านแจ้งมาใน คห.นี้แล้วด้วยครับ อย่างไรแล้วจะได้ประสานกันอีกครั้งหนึ่งนะครับ...ขอกราบขอบพระคุณท่านมาก ๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท