ทำไมถึงเลือกเรียนวิชากฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล


กฎหมายฉบับเดียวกันใช้บังคับได้ทั่วโลกหรือไม่

กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล

                   บ่อเกิดของกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลมาจากกฎหมายภายในของแต่ละรัฐและไม่ใช่กฎหมายระหว่างประเทศโดยบ่อเกิดของกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลมี 2 ประเภท  คือ

                   1.บ่อเกิดตามกฎหมายภายใน แบ่งได้ 2 ลักษณะ             

                         1.1 กฎหมายลายลักษณ์อักษร                     

                             1)กฎหมายเฉพาะที่อยู่ในรูปของพระราชบัญญัติหรือประมวล  กฎหมาย               

                             2)ประมวลกฎหมายแพ่ง        

                        1.2 คำพิพากษาของศาล

                  2. บ่อเกิดตามกฎหมายระหว่างประเทศ  : อนุสัญญา

                       1.1 อนุสัญญาเกี่ยวกับกฎหมายขัดกันหรือการเลือกกฎหมาย

                       1.2 อนุสัญญาเกี่ยวกับวิธีพิจารณาความระหว่างประเทศ 

1. ความหมาย   กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล ( private internation law) หรือ  กฎเกณฑ์แห่งการเลือกกฎหมาย (Conflict of laws) หมายถึง กฎหมายภายในของรัฐที่กำหนดนิติสัมพันธ์ของเอกชนในทางแพ่งที่มีองค์ประกอบต่างประเทศเข้ามาเกี่ยวข้องในทางหนึ่งทางใด  โดยกฎหมายขัดกันจะบ่งชี้ว่าข้อเท็จจริงเกี่ยวข้องกับกฎหมายต่างประเทศมากกว่าหนึ่งประเทศต้องใช้กฎหมายใดเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับแก่คดี

2. ขอบเขตเนื้อหา  กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลสำหรับประเทศไทย คือ เรื่องสัญชาติอันเป็นเรื่องที่ว่าด้วยการจัดสรรเอกชนระหว่างประเทศด้วยสัญชาติและภูมิลำเนา , สิทธิของคนต่างด้าวในประเทศไทย , กฎหมายขัดกัน และกระบวนพิจารณาความในทางระหว่างประเทศ โดยกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลของแต่ละประเทศมีเนื้อหาที่ไม่เหมือนกันแต่ละประเทศต่างก็มีกฎเกณฑ์เป็นของตัวเองซึ่งอาจเหมือนหรือต่างกัน

3. วัตถุประสงค์ของกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล  คือ การใช้กฎหมายต่างประเทศบังคับกับข้อเท็จจริง  หรือ นิติสัมพันธ์ของเอกชนตามกฎหมายเอกชนที่มีองค์ประกอบต่างประเทศซึ่งต้องคำนึงถึงจุดเกาะเกี่ยวใดมากที่สุดของประเทศนั่นเพียงกฎหมายเดียวเป็นสำคัญ  ทั้งนี้  กฎหมายขัดกันโดยตัวมันเองเป็นนิติวิธี  คือ เป็นเครื่องมือชี้ให้เห็นว่าจะใช้กฎหมายภายในของประเทศใดมาใช้บังคับ  โดยต้องตระหนักว่า หากเป็นนิติสัมพันธ์ภายใต้กฎหมายมหาชนแล้ว  คนต่างด้าวที่เข้ามาและได้พำนักอยู่ในรัฐของดินแดนแล้ว เขตอำนาจตามหลักบุคคลจะถูกยกเว้นไม่ใช้แต่จะใช้เขตอำนาจตามหลักดินแดนแทน กฎหมายมหาชนได้แก่ กฎหมายอาญา , กฎหมายปกครอง  กฎหมายวิธีพิจารณาความ , กฎหมายภาษี กฎหมายว่าด้วยสัญชาติ , กฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง เป็นต้น หากพิจารณาเนื้อหาของกฎหมายขัดกันของไทยแล้ว  จะเห็นได้ว่าใกล้เคียงกับกฎหมายเอกชน  หรือ จากการแบ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  การใช้กฎหมายขัดกันจะต้องใช้เคียงคู่กับกฎหมายเอกชน (กฎหมายแพ่งและพาณิชย์)  ด้วยจะไม่มีการใช้กฎหมายขัดกันโดยลำพัง และนอกจากนี้กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลเป็นกฎหมายภายในด้วย  เนื่องจากที่มาหรือบ่อเกิดส่วนใหญ่มาจากกฎหมายภายใน เช่น ประมวลกฎหมาย คำพิพากษา , หลักกฎหมายทั่วไป หรือ สำหรับประเทศไทยคือพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481  และกฎเกณฑ์ในการรับรองและบังคับคำพิพากษาของศาลต่างประเทศ  ประเทศไทยยังไม่ได้เป็นลายลักษณ์อักษรรองรับแต่อย่างใด  คงเป็นเพียงคำพิพากษาของศาลฎีกาที่เคยวินิจฉัยคดีที่เกี่ยวกับประเด็นในเรื่องการรับรองและบังคับคำพิพากษาของศาลต่างประเทศเท่านั้น 

5.แนวทางการศึกษาวิชากฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล

WHO  คือ ประเด็นที่ว่ากฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลนั้นจะใช้กับใคร  ไม่ใช้กับใคร

WHAT คือ กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลนั้นใช้ในเรื่องอะไร

WHEN ใช้กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลได้เมื่อไหร่  มีกำหนดเวลาหรือไม่

WHERE ใช้ในขอบเขตใด  เป็นการทั่วไป  หรือเฉพาะเขตหรือท้องที่

HOW จะให้ใช้บังคับอย่างไร วิธีการใช้มีลักษณะพิเศษใด มากน้อยแค่ไหน ในรูปของกฎหมายที่ต่างกับกฎหมายประเภทอื่นอย่างไรบ้าง      

                     การศึกษากฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลต้องศึกษาพัฒนาการของการเริ่มต้นของกฎหมายว่าเหตุใดจึงมีที่มาและที่ไปของกฎหมายนี้และมีคุณค่าต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศซึ่งมีความแตกต่างกันในเรื่องการปกครอง, เศรษฐกิจ เพื่อแก้ปัญหาระหว่างประเทศได้จริงมิใช่เป็นเพียงกฎหมายที่ไม่สามารถปรับใช้กับข้อเท็จจริงที่เป็นปัญหาในปัจจุบัน ทั้งนี้หากศึกษาในเรื่องของกฎหมายขัดกันของประเทศหนึ่งก็ไม่ควรบัญญัติไปในทางที่จะก้าวก่ายกฎหมายของอีกประเทศหรือคนชาติหรือของรัฐอื่น โดยรัฐควรตรากฎหมายขัดกันที่กล่าวเฉพาะแต่กฎหมายของชาติตนเท่านั้น โดยการบัญญัติเป็นกลางๆ ไม่ระบุให้ใช้กฎหมายของประเทศของตนแต่เพียงอย่างเดียว แต่จะต้องมีการรับรองจุดเกาะเกี่ยวอื่นๆด้วยเพื่อความสอดคล้องกับหลักมนุษยธรรม และความเป็นธรรมกับรัฐอื่นด้วย                             

หมายเลขบันทึก: 47282เขียนเมื่อ 30 สิงหาคม 2006 21:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2012 11:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ช่วยสรุปอีกทีว่า ในความคิดเห็นของคุณ โดยสรุป วิชากฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลมีความเกี่ยวข้องกับคุณหรือไม่ ? และมีความเกี่ยวข้องกับประเทศไทยหรือไม่ ?

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท