KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : 253. มีงานประจำยุ่งจนทำไม่ไหวอยู่แล้ว จึงไม่ว่างทำ KM


         "มีงานประจำยุ่งจนทำไม่ไหวอยู่แล้ว    จึงไม่ว่างทำ KM"     เป็นคำกล่าวมาตรฐาน ที่มักได้ยินจากข้าราชการทั่วไป     ที่ถูก กพร. บังคับ ให้ต้องทำ KM

        คนในบริษัทเอกชน ก็มักพูดว่า "แค่ QCC, BSC, Six Sigma, TQA, 5ส.  ก็ยุ่งพออยู่แล้ว     KM อีกแล้วเหรอ" 

         นี่คือถ้อยคำที่แสดงว่าเราเข้าใจผิดกันเป็นส่วนใหญ่     เรามอง KM เป็นเป้าหมาย     ต้องทำ KM เพราะถูกกำหนดหรือบังคับ KM เป็นภาระที่ต้องทำ      ได้ยินคำว่า KM ก็แน่นหน้าอก หรืออยากอ้วก    เพราะมีเรื่องอื่นๆ ตามตัวอย่างข้างต้นแน่นขนัดอยู่แล้ว

         ต้องแก้เสียใหม่     เลิกคิด "ทำ KM"      หันมาคิดใหม่-ทำใหม่ คือ "ใช้ KM"     เพื่อทำให้งานประจำได้ดีขึ้น สบายขึ้น อึดอัดขัดข้องน้อยลง      หรือเปลี่ยนที่ทำงานจากนรก ให้เป็นสวรรค์     ตกลงเราไม่ทำ KM นะครับ     เราทำงานประจำ     แล้วใช้ KM มาเป็นเครื่องมือพัฒนางานประจำ     ใช้ KM มาช่วยให้ตัวเราสบายขึ้น มีความสุขจากงานมากขึ้น มีโอกาสก้าวหน้าได้ง่ายขึ้น  มีความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานดีขึ้น

         พูดใหม่ว่า ใช้ KM ทำให้ตัวเราเองและเพื่อนร่วมงาน เป็น "บุคคลเรียนรู้" (Learning Person)      และหน่วยงาน เป็น LO - Learning Organization     รวมทั้งให้หน่วยงานมีผลงานดี มีคุณภาพ    มีการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ     และมีการเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร  เป็นวัฒนธรรมแนวราบ  มีการสื่อสารปฏิสัมพันธ์แบบใหม่     ที่เน้นการชื่นชมยินดีในความสำเร็จเล็กๆ ของกันและกัน     มีการนำเอาวิธีการทำงานดีๆ ของเพื่อนร่วมงานไปปรับใช้กับงานประจำของตนเอง      แล้วเอาประสบการณ์นั้นออกแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนร่วมงาน เป็นวงจรหรือวัฏจักรไม่สิ้นสุด    

วิจารณ์ พานิช
๑๑ มค. ๕๐

หมายเลขบันทึก: 73864เขียนเมื่อ 23 มกราคม 2007 08:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

อยู่ที่ความเข้าใจ  เชื่อว่า ปัญหาเขาคงคุ้นเคยกับ การสั่งการ หรือ ความเป็นทางการ  จึงเข้าใจว่ายุ่งยากครับ.

เมื่อวานนี้ ที่ ม.อ.ใช้ km เป็นเครื่องมือในการจัดเวทีหัวหน้าภาควิชา..."บ่มเพาะนักศึกษา:สมุดความดีของภาควิชาจุลชีววิทยา"  บรรยากาศดีเชียวค่ะ...ท่านอธิการบดีชม...เป็นงานเดิมที่ทำอยู่แต่เปลี่ยนวิธีมาใช้ KM....เป็นเครื่องมือ

ผู้ปฏิบัติมักมีปัญหาเพราะว่าเหนื่อยกับงานน่ะค่ะ...เดี๋ยวเจ้านายก็มาสั่งจะเอาโน่น..จะให้รายงานนี่(เขาสั่งเจ้านายมาอีกที)........ปัญหาที่มีน่าจะเกิดจากความไม่เข้าใจมากกว่าค่ะ..ดิฉันเคยload KM ปี50มาอ่านเล่นๆ(ซึ่งดิฉันไม่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือรับผิดชอบใดๆ...เพียงอยากรู้)....อ่านแล้วดิฉันเข้าใจ เป้าหมายของKMมากขึ้น...มีประโยชน์มากทีเดียวค่ะเพียงแต่ตัวชี้วัดของKMมันวัด KMจริงๆ...ไม่ชัดในoutcomeเป้าหมายของงานเขา...เขาเลยไม่เห็นประโยชน์มากกว่าค่ะ..น่าจะปรับความเข้าใจกันใหม่
การสร้างความเข้าใจกับเพื่อนร่วมงานไม่ค่อยเป็นปัญหา  ระยะแรกๆบางคนรู้ไม่รู้ก็ยินดีและให้ความร่วมมือ  พอทำไปสักระยะหนึ่งก็เริ่มเข้าใจมากขึ้นทำให้เกิดความร่วมมือมากขึ้น   สิ่งสำคัญคือหน่วยงานไหนที่มีผู้บริหารเห็นความสำคัญเรื่อง  KM หน่วยงานนั้นก็จะมีความโดดเด่นในเรื่อง KM   อย่างชัดเจน  คำถามคือทำอย่างไรจึงจะทำให้ผู้บริหารในระบบราชการให้ความสำคัญ KM ในระดับต้นๆ
หากสื่อให้เห็นประโยชน์ที่ใกล้ตัวเขา จะทำให้คนที่ทำเต็มใจที่จะทำมากขึ้น น่าจะมีทางนะครับ

หนูคิดว่า KM ที่เหมาะสมกับเรา คือ การเรียนรู้จากผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนร่วมงาน ลูกน้องเรา ผู้บังคับบัญชา ถ้าเรียนรู้ที่จะให้และรับ KM ก็เกิดขึ้นได้ตลอดเวลาค่ะ

ภัทร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท