จริยธรรมพื้นฐานกับการพัฒนาเด็กและเยาวชน


ภาวะวิกฤติทางจิตใจ แก้โดย ทุกคนมีศักดิ์ศรี ทุกคนมีสิทธิแสดงความเห็น พร้อมกับรับผิดชอบ

       ดังได้บันทึกแล้วว่าวันที่ ๒๕ สค. ๔๙ (click) ผมไปฟัง ศ. ดร. จรรจา สุวรรณทัต อภิปรายเรื่องนี้     ผมฟังด้วยความอิ่มอร่อยในปัญญา  และขอนำมาฝากดังนี้
 
       ปัญหาใหญ่ในสังคมไทยในปัจจุบัน   คือการขาดจริยธรรมพื้นฐาน   ความอดทน (อดทนต่อความแตกต่างทางความคิด  อดทนต่อความแตกต่างหลากหลาย)    แนวโน้มของการวิจัยต่างจากสมัยก่อน     สมัยก่อนหาความเหมือน  เดี๋ยวนี้หาความต่างหรือลักษณะจำเพาะของแต่ละกลุ่ม
     
       ต้องเริ่มจากการอบรมเลี้ยงดูให้อยู่ในกรอบคุณธรรม ๕ ประการได้แก่
           (๑) ไม่ก้าวร้าวรุกราน   
           (๒) ความกตัญญูรู้คุณ ไม่ใช่เฉพาะต่อคน  แต่รู้คุณสัตว์  สิ่งของ ด้วย
           (๓) เมตตาปรานีต่อกัน  มองคนในแง่ดี  แง่ให้อภัยได้
           (๔) รู้จักบทบาทของหญิงชาย  มีการพัฒนาสมตามเพศ วัย
           (๕) ความเกรงใจ (มากกว่า consideration - ไม่มีคำภาษาอังกฤษ นักวิชาการฝรั่งจึงใช้คำว่า Kreng Jai Values)

        วิธีการที่สำคัญที่สุดคือ  family socialization - การหล่อหลอมภายในครอบครัว    ในทางสากลให้ความสำคัญมากขึ้น

             
        ต้องให้เยาวชนฝึกที่จะมีอิสระควบคู่กับความรับผิดชอบ    เต็มใจที่จะรับผลของการกระทำของตน

วิจารณ์ พานิช
๒๗ สค. ๔๙

หมายเลขบันทึก: 47001เขียนเมื่อ 29 สิงหาคม 2006 09:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 09:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอร่วมแสดงความคิดเห็นด้วยนะครับ......

การฝึกจิตจะมีส่วนสำคัญในการพัฒนาเด็กในยุคใหม่ เด็กขาดความอดทน เพราะส่วนหนึ่งเด็กไม่เคยได้รับการฝึกให้อดทน และ รอ

ปัจจุบันเราสอนให้เด็กแสดงออกอย่างอิสระ สอนเรื่องสิทธิหน้าที่ เห็นตนเองเป็นสำคัญ แต่ไม่ได้สอนเหตุผล ความถูกต้องศีลธรรม ฝึกความอดทนการรู้จักรอ ควบคู่ไปด้วย จะเห็นว่าปัจจุบัน จากการสังเกต จะเห็นว่า เด็กสมัยใหม่ ส่วนหนึ่งเป็นคนเจ้าอารมณ์ แสดงออกจากเต็มที ตามความรู้สึก ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ และรออะไรไม่เป็น ขาดเหตุผล วิจารณญาณในการกระทำสิ่งต่างๆ และความคิดวิเคราะห์ว่าสิ่งใดถูกหรือผิด

ส่วนวีธีการในการแก้ปัญหา ก็ตามที่อาจารย์เขียนด้านบนครับ

การพัฒนาจริยธรรมเพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชนของเด็กในยุคปัจจุบัน นอกจาก "ครอบครัว" จะมีบทบาทหลักผ่านกระบวนการขัดเกลาและหล่อหลอมแล้ว ดิฉันพบว่า "ครู" ก็เป็นพลังที่ยิ่งใหญ่ที่สามารถช่วยขัดเกลาเด็กได้ ดิฉันขอแบ่งปันผ่านประสบการณ์ที่ทำ 2 ประการคือ 1) การให้เด็กฟังเสียงที่อยู่ข้างในจิตของตนเองที่เรียกว่า "Inner voice" ถ้าเราได้ยินเสียงที่บอกว่า "ไม่ดีนะ" เราควรหยุดคิด ทบทวน แล้วตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่สำคัญเด็กต้องมีจิตที่เข้มแข็งในระดับหนึ่งถึงจะก้าวข้ามผ่านจุดนั้นได้ และ 2) การสอนให้เด็กรู้จัก "การประเมินตนเอง" ทั้งนี้โดยมีมาตรฐานของ "การกระทำความดี" ในหลายหลายมุมมอง แล้วมาพูดคุยกัน ซึ่งการพูดคุยจะทำให้ครูสามารถเรียนรู้ความคิด หรือมาตรฐานความดีของเด็ก ในขณะเดียวกันก็สามารถปรับเปลี่ยนมุมมองบางเรื่องของเด็กได้ค่ะ

ขออนุญาติร่วมแสดงความคิดเห็นด้วยค่ะ

ค่านิยมและวัฒนธรรมของแต่ละพื้นที่ก็มีส่วนที่จะเป็นต้นแบบให้กับเด็กๆด้วย

และบางครั้งพวกผู้ใหญ่ในครอบครัวก็ไม่ยอมรับฟังข้อเสนอแนะและความคิดเห็นของเด็กๆ ทำให้เด็กรู้สึกว่ากลุ่มเพื่อนสำคัญสำหรับชีวิตของเขามากกว่าญาติพี่น้องโดยเฉพาะนักเรียนโรงเรียนประจำ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท