KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : 143. People Mapping


        การทำ People Mapping เป็นขั้นตอนหนึ่งของ KM     ทำให้รู้ว่ามีความรู้เพื่อการบรรลุ "หัวปลา" อยู่ที่ไหน     ที่จริง People Mapping ก็คือการค้นหาผู้เชี่ยวชาญนั่นเอง

       ก่อนจะค้นหาก็ต้องตั้งเป้า และตั้งเกณฑ์คร่าวๆ เสียก่อน     การตั้งเป้าก็คือกำหนดว่าจะหาผู้เชี่ยวชาญในการทำอะไร     และต้องตั้งเกณฑ์คร่าวๆ ว่าต้องทำได้ผลในระดับไหนจึงจะถือว่าเชี่ยวชาญ

        เมื่อได้เป้า และได้เกณฑ์คร่าวๆ ก็เชิญคนที่อยู่ในข่ายที่ถือว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญมา ลปรร. กัน     โดยต้องสร้างบรรยากาศของการ ลปรร.     ไม่ใช่บรรยากาศของการโอ้อวดหรือแข่งขัน     ทุกคนมีใจที่จะเรียนรู้จากคนอื่น  และมีใจที่จะให้ความรู้ของตนแก่คนอื่น    การ ลปรร. เน้น storytelling ในบรรยากาศสุนทรียสนทนา  โดยมี "คุณอำนวย" คอยจุดประกาย สร้างบรรยากาศ     และมี "คุณลิขิต" คอยจดบันทึกเรื่องเล่า และ ขุมความรู้ (knowledge assets) เพื่อการบรรลุ "หัวปลา"     ก็จะสามารถรวบรวม ขุมความรู้  เอามาสังเคราะห์เป็น "แก่นความรู้" (Core Competence) เพื่อการบรรลุ "หัวปลา"

        แล้วเอาแก่นความรู้มาใช้คัดเลือก "ผู้เชี่ยวชาญเบอร์ ๔ และ ๕" (ผู้เชี่ยวชาญมี ๕ ระดับ ตั้งแต่ ๑ ถึง ๕    จากต่ำสุดถึงสูงสุด) ก็จะได้ผล People Mapping    และผลของการ ลปรร. ในกลุ่มก็จะได้ Knowledge Mapping ที่ "คุณลิขิต" ได้บันทึกไว้แล้วด้วย

        นั่นคือการทำ People Mapping แนว KM     แต่ยังมีวิธีการทำ People Mapping วิธีอื่นอีก    ดูตัวอย่างได้ที่ gotoknow.org/blog/people-mapping/7728

วิจารณ์ พานิช
๒๑ สค. ๔๙

 

คำสำคัญ (Tags): #เครื่องมือkm
หมายเลขบันทึก: 46997เขียนเมื่อ 29 สิงหาคม 2006 09:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ได้รับวามรู้และความเข้าใจในกระบวนการของ Km เป็นอย่างมากครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท