ใช้ KM ช่วยสร้าง Happy Workplace


น่าจะถือเป็นโครงการความร่วมมือกับกรมอนามัยได้เลยเพราะเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพเป็นงานของกรมอนามัยอยู่แล้ว

         รศ. สุชาตา ชินะจิตร  ผช. ผอ. สกว. ส่งเอกสาร Happy Workplace มาให้พร้อมนามบัตรของ นพ. ชาญวิทย์  วสันต์ธนารัตน์  แพทย์อาชีวเวชศาสตร์  กลุ่มงานอาชีวเวชกรรม  กลุ่มงานเวชกรรมสังคม  ประธานคณะทำงานโครงการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตคนทำงาน จ.ชลบุรี

         รศ. สุชาตา  แนบบันทึกมาว่า "ได้แนะนำว่างานที่ทำอยู่นี้  ถ้าใช้ KM มาจับน่าจะทำให้มองเห็นอะไรมากขึ้นได้   เขาจึงขอนำหนังสือนี้มาเรียนอาจารย์ก่อน   แล้วคงจะติดต่อขอความรู้หรือร่วมงานต่อไปค่ะ"

                                 

                                             ปกหนังสือ

         หน้าปกเอกสารนี้ระบุคำขวัญ "คนทำงานมีความสุข  ที่ทำงานน่าอยู่  ชุมชนสมานฉันท์"   ผมอ่านแล้วนึกในใจว่า  แค่กระบวนการ storytelling, deep listening,  dialogue & AI  คนก็เกิดความสุขแล้ว   ถ้าเอาหลักวิชาด้านอาชีวเวชศาสตร์และอื่น ๆ เข้ามาด้วย   เห็นผลตามคำขวัญแน่นอน

         อย่างนี้ต้องสร้าง CoP  เริ่มโดยค้นหา Good Practice มา ลปรร. กัน

         สคส. เรายินดีร่วมมือนะครับ   โดยให้คำแนะนำว่าคุณหมอชาญวิทย์น่าจะคุยกับคุณหมอนันทา  อ่วมกุล  แห่งกรมอนามัย   เพราะคุณหมอนันทามีทีมวิทยากร KM ที่เก่งมาก   สามารถช่วยเป็นวิทยากรออกแบบกระบวนการ ลปรร. Good Practice ที่จะนำไปสู่ CoP ได้สบายมาก   เก่งกว่าทีม สคส. เพราะทีมกรมอนามัยมีความรู้เชิง content ของ Happy 8 ด้วย   จริง ๆ แล้วน่าจะถือเป็นโครงการความร่วมมือกับกรมอนามัยได้เลยเพราะเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพเป็นงานของกรมอนามัยอยู่แล้ว

         ความคืบหน้าในการคุยกับทางกรมอนามัยเป็นอย่างไรแจ้งทาง สคส. ด้วยครับ   เราจะส่งทีมไป "จับภาพ" กิจกรรม   เรื่องนี้ สคส. มอบให้คุณจ๋า (ฉันทลักษณ์  อาจหาญ) เป็นผู้ประสานงานครับ

วิจารณ์  พานิช
 25 ส.ค.49

หมายเลขบันทึก: 46993เขียนเมื่อ 29 สิงหาคม 2006 09:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 10:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

คุณหมอวิจารณ์ครับ

ขอบคุณสำหรับข้อมูลนี้อย่างมากครับ บริษัทเรากำลังศึกษาและหาลู่ทางในการพัฒนาองค์กรขั้นต่อไปอยู่จาก Learning Organization ไปสู่ Happy Organization มิติเรื่องความสุขของพนักงานเป็นสิ่งที่น่าท้าทายมากครับ นอกจากเรื่องขวัญกำลังใจแล้ว ในแง่ของผลิตผลขององค์กรเปรียบเหมือนเราเพื่มพนักงานโดยไม่ได้เพิ่มคนจริง (Reveal the invisible employee)

ปรอง 

นพ ชาญวิทย์ วสันต์นารัตน์

 

    เรียน  อาจารย์วิจารณ์

             ผมขอแนะนำตัวเองก่อนครับชื่อนายแพทย์ ชาญวิทย์ วสันต์ธนารัตน์  เป็นอาชีวเวชศาสตร์ รพ ชลบุรี และเป็นประธานคณะทำงานโครงการ happy workplace ครับ ขอบคุณมากครับสำหรับข้อคิดเห็น  ผมจะนำไปปฏิบัติเพื่อให้เกิดผลมากกว่าที่เป็นอยู่ครับ  มีโอกาสจะเข้าไปขออนุญาติเล่างานที่ทำอยู่ให้อาจารย์ฟังครับ 

                                                       ขอบพระคุณครับ

                                                         หมอชาญวิทย์

คุณหมอชาญวิทย์ คุณหมอวิจารณ์ครับ

 ผลการศึกษาและเก็บข้อมูลในโครงการนี้กับพนักงานโรงงานดูน่าตกใจครับ แต่ผมยืนยันว่าเป็นแนวนั้นจริงๆ ผมไม่มีข้อมูลโดยตรงครับแต่รับรู้ได้จากการสังเกตุกับน้องๆฝ่ายการผลิตของเรา หนี้สินล้นพ้น และมีความนิยมในวัตถุนิยมเพิ่มมากขึ้นทีเดียว ผมได้ข้อสรุปเบื้องต้นว่าจริงๆแล้วความสุขของพนักงานควรประกอบด้วย หนึ่งความตระหนัก ห้าความรู้สึกมั่นคง และหนึ่งความอิ่มเอมใจครับ

หนึ่งความตระหนักคือ ความตระหนักถึงปรัชญาการดำเนินชีวิตด้วยความพอใจในสิ่งที่ตัวเองมีอยู่ ว่ากันตามตรงก็คือการตระหนักในความพอเพียงนั่นเอง

ห้าความรู้สึกมั่นคง ก็คือสิ่งที่พนักงานแต่ละคน พึงพอใจและรู้สึงมั่นใจ กับ 1. รายได้เพื่อดำเนินชีวิต (อย่างพอเพียง) ทั้งในวัยทำงาน และ ในวัยชรา 2. การมีคุณค่า และ การมีงานทำ 3. สถาบันครอบครัว 4. สังคมที่เราอยู่ 5. สุขภาพที่ดี (ไม่ใช่แค่อายุยืนแต่ต้องทานยาเป็นอาหาร)

หนึ่งความอิ่มเอมใจก็คือ การที่คนใดๆสามารถได้มีโอกาสไล่ล่า หรือเติมเต็มความฝันให้กับตัวเอง แม้นิดหน่อยก็ยังดี

 ผมจะพยายามศึกษา Happy Workplace Model มากขึ้นครับ

 

ปรอง

 

   เรียน อาจารย์วิจารณ์และคุณปรองครับ

            โครงการ HAPPY WORKPLACE ที่ผมทำนั้นมีเครื่องมือสำคัญที่จะนำไปสู่ คนทำงานมีความสุข ที่ทำงานน่าอยู่ ชุมชนสมานฉันท์  เราเรียกว่า HAPPY 8 หรือความสุขทั้งแปดครับ ประกอบด้วย

 1. Happy Body ( สุขภาพดี ) มีสุขภาพแข็งแรงทั้งกายและจิตใจ 

 2.  Happy Heart ( น้ำใจงาม )  มีน้ำใจเอื้ออาทรต่อกันและกัน  

 3. Happy Society ( สังคมดี )    มีความรักสามัคคีเอื้อเฟื้อต่อชุมชนที่ตนทำงานและพักอาศัย มีสังคมและสภาพแวดล้อมที่ดี      

 4. Happy Relax ( ผ่อนคลาย ) รู้จักผ่อนคลายต่อสิ่งต่างๆในการดำเนินชีวิต           

  5. Happy Brain ( หาความรู้ )   การศึกษาหาความรู้พัฒนาตนเองตลอดเวลาจากแหล่งต่างๆ  นำไปสู่การเป็นมืออาชีพและความมั่นคงก้าวหน้าในการทำงาน  6. Happy Soul     ( ทางสงบ )  มีความศรัทธาในศาสนาและมีศีลธรรมในการดำเนินชีวิต  

 7. Happy Money ( ปลอดหนี้ )   มีเงินรู้จักเก็บรู้จักใช้ไม่เป็นหนี้   

8. Happy Family  ( ครอบครัวดี )    มีครอบครัวที่อบอุ่นและมั่นคง  

             ความสุขทั้งแปดนี้เกิดจากการนำสุขภาวะสี่มิติคือกาย ใจ สังคม จิตวิญญาณ มาปรับให้เหมาะกับสภาพสังคมเราทุกวันนี้  สำหรับรายละเอียดที่มากกว่านี้ผมสามารถจะเมลล์เนื้อหาไปให้ได้ครับ

                                                   ขอบคุณครับ

                                                   หมอชาญวิทย์   

 

ผมขอด้วยได้ไหมครับ

หมอชาญวิทย์ครับ

 ขอขอบคุณล่วงหน้าเลยครับสำหรับความกรุณาที่จะส่งรายละเอียดเพิ่มเติมครับ ผมอ่าน Happy 8 คร่าวๆจากหนังสือพิมพ์ น่าสนใจทีเดียว ถ้าเป็น electronic file e-mail ผม คือ [email protected]

มิติ 4 มิติที่คุณหมอพูถึงตรงกับปรัชญาการพัฒนาบุคคลากรของเราอย่างมากเลยครับ ผมกำลังสนใจในการยกระดับ 4 มิตินั้นขึ้นอีก 4 มิติของเราคือ

Physical, Mental, Speritual, Socio-emotional

ผมหวังว่าคงมีโอกาศและเปลี่ยนเรียนรู้กันในอนาคตนะครับ

ปรอง

 

     ผมขอด้วยนะครับ ที่ E-Mail chinekhob@ gmail.com สำหรับเอกสารเนื้อหา วันที่ 7-8 ก.ย.นี้ ทางพัทลุงจะมีการประชุมเพื่อ ลปรร.และทำแผนที่เครือข่ายฯ ตามบันทึกนี้ครับ ยกร่างเวทีเสวนา Mapping เครือข่ายครอบครัวเข้มแข็ง จะได้นำไปใช้ด้วย คิดว่าน่าจะบูรณาการเข้ากันได้เป็นอย่างดี
     ขอบพระคุณคุณหมอชาญวิทย์ด้วยนะครับ

เรียนคุณหมอชาญวิทย์  ดร. ปรอง และคุณอนุชา

สคส. จะหารือ รศ. สุชาตา (สกว.) และ สสส. จัดประชุมวงเล็กหารือว่าจะจัดเวที ลปรร. "สุขทั้ง ๘" กันอย่างไรดี     ผมเข้าใจว่ามีกิจกรรมดีๆ มากพอที่จะนำมา ลปรร. กันและหาทางขับเคลื่อนเป็นเครือข่าย (CoP) ทั่วประเทศ

แล้วผมจะแจ้งกำหนดนัดประชุมหารือนะครับ 

ขอบคุณมากครับอาจารย์หมอวิจารณ์

ผมคิดว่าเครือข่าย COP ในเรื่องนี้น่าจะเป็นที่สนใจของหลายๆคน ผมยังเห็นเพิ่มเติมอีกว่า ถ้า COP ในเรื่องนี้เกิดอย่างเป็นรูปธรรมจะเป็นการแสดงถึงการเชื่อมต่อจากการวิจัย (ซึ่งผลักดันโดย สกว) ผ่านทางกลไกของการจัดการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (ซึ่งผลักดันโดย สคส) ไปสู่การปรับปรุงสุขภาพของคน และสังคม (ซึ่งผลักดันโดย สสส) โดยมีทั้งภาค รัฐ เอกชน และ ประชาชน สามารถใช้ประโยชน์ได้โดยตรง และ เป็น Active Participants.

แค่คิดผมก็ตื่นเต้นแล้วครับ

ปรอง

อ. หมอวิจารณ์ และ อ. หมอชาญวิทย์ ครับ

 อย่างที่ผมได้เกริ่นมาบางแล้วว่า Spansion กำลังทำเรื่องความสุขของพนักงานอยู่ หลังได้มีการอภิปรายและศึกษาโมเดลต่างๆ เช่น Maslow, 7 habits from S. Covey, Life matter model, Dr. Jira Hongladarom, Guanxi model, great place to work model เราพบ่า Happy 8 เป็นฐานความคิดที่จะนำไปประยุกต์ได้กับวิถีไทยเพื่อไห้เป็นรูปธรรมที่สุดโดยเราปรับเปลี่ยนนิยามและเพิ่มเติมเล็กน้อย (เป็น 9 happy) และกำลัง velidate ความคิดต่างๆเพื่อจะผลักดันให้เป็นรูปธรรมอยู่ครับ

 ไม่ทราบว่าผมจะหาซื้อหนังสือ Happy 8 ได้ที่ใหนครับ และจะเป็นการรบกวนหรือไม่ถ้าจะขอ E-mail ของ อ. หมอชาญวิทย์เพื่อเสวนาเพิ่มเติม

ด้วยความเคารพอย่างสูง

ปรอง

     ผมได้นำประเด็นที่ไปเปิดขึ้นสนทนาในกลุ่มเล็ก ๆ กับทีมงานตอนทำ AAR วันนี้ใน เวทีเสวนา Mapping เครือข่ายครอบครัวเข้มแข็ง มีแกนนำหลายท่านสนใจมากที่จะนำมาเป็นเครื่องมือในการเดินเรื่อง เพราะวันนี้เราได้ค่านิยมร่วมจากเวทีว่า "เราจะทำให้ครอบครัวคนพัทลุงมีความสุขเพิ่มมากขึ้น"  แต่เนื่องจากผมยังไม่ได้รับเอกสาร ทำให้พูดได้แต่หลักการเบื้องต้นที่ นพ.ชาญวิทย์ นำเสนอไว้นะครับ 

 

     เรียนทุกท่านครับ

              ผมต้องขอประทานโทษอย่างสูงครับที่หายไปนานพอดีช่วงนี้ยุ่งมากครับ แต่มีความสุขมากครับที่ทุกท่านให้ความเห็นอันมีค่าต่อสิ่งที่ผมทำอยู่ครับ ผมขออนุญาติส่งข้อมูลต่างๆไปให้ทุกท่านครับ

             เรียนคุณปรองครับหนังสือผมไม่มีขายครับมีแต่แจกครับ เราทำโครงการนี้ในจังหวัดชลบุรีเพราะจังหวัดเรามีคนทำงานจำนวนมากและมาจากทั่วประเทศครับ   เราจึงอยากสร้างหลักยึดในการดำเนินชีวิตเพื่อเข้าสู่ความพอเพียงซึ่งคือความสุขอย่างยั่งยืน  ความสุขอันใดเล่าจะเท่ากับความสุขที่รู้จักตนเองรู้จักความพอดีในการดำเนินชีวิต 

             สาเหตุที่ผมดำเนินโครงการนี้เพราะผมเป็นแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ ( ดูแลโรคจากการทำงาน )เพียงคนเดียวในจังหวัดชลบุรี ผมมีคนทำงานมากกว่าห้าแสนคนที่ต้องรับผิดชอบถ้าเกิดเจ็บป่วยจากการทำงาน  ผมมองเห็นแต่อนาคตที่มืดมนถ้ายังรอให้คนป่วยเป็นโรคแล้วเดินเข้ามาหา  ผมเคยดำเนินงานเรื่องสร้างเสริมสุขภาพในโรงงานแต่ก็ไม่สำเร็จเพราะสุขภาพในมุมมองของสถานประกอบการส่วนใหญ่นั้นมีแต่การออกกำลังกาย  กิจกรรมจึงมีแต่ออกกำลังกาย ในความเป็นจริงคนทำงานคงไม่สามารถออกกำลังกายได้ในเวลาปกติเพราะทำงานมากกว่าสิบสองชัวโมงต่อวัน  และการออกกำลังกายไม่ได้ทำให้สุขภาพดีแน่ๆถ้าไม่ปรับรูปแบบการดำเนินชีวิตที่เหมาะสม คณะทำงานของเราซึ่งมีตัวแทนผู้จัดการฝ่ายบุคคลของสถานประกอบการต่างๆและภาครัฐที่เกี่ยวข้องมานั่งคุยกัน ได้ข้อสรุปว่าต้องแก้เรื่องคุณภาพชีวิตคนทำงาน ต้องหาหลักในการดำเนินชีวิตที่ง่าย เข้าใจง่าย คนทำงานทุกระดับเข้าใจได้ง่าย ไม่ต้องมีตัวชี้วัดมากดีที่สุดคือไม่มีเลย  ความสำเร็จของโครงการคือความสุขของทุกคน  นั่นจึงเป็นที่มาของ ความสุขทั้งแปด  หลักการคือเราหาหลักยึดในการดำเนินชีวิต  ส่วนรายละเอียดแต่ละความสุข  ใช้หลักอิสระยืดหยุ่น ปรับใช้ตามวิถีชีวิต วัฒนธรรมของแต่ละสถานประกอบการ เราเชื่อกันว่าความสุขแต่ละองค์กรเป็นสิ่งที่ทุกองค์กรสร้างขึ้นมาเองด้วยความปราถนาในรูปแบบของตนเอง คงไม่มีใครสามารถคิดแทนได้  เพราะผู้ใช้จริงยอมรู้ดีที่สุด เราจึงให้เพียงแนวทางในการดำเนินเท่านั้น เราฝันว่าวันหนึ่งเราจะมีตัวอย่างการทำงานด้านคุณภาพชีวิตคนทำงานเป็นร้อยเป็นพันความสำเร็จมากกว่าตำราการดำเนินงานเพียงเล่มเดียวแล้วทุกคนต้องทำเหมือนกัน  เราอยากทำแบบธรรมชาติ เรามองความล้มเหลวที่ผ่านมาจากโครงการต่างๆ แล้วเราถามตัวเองว่าทำเพื่อใบ ( ใบรับรอง ) หรือทำเพื่อตัวเรา  ถ้าทำเพื่อตัวเรา องค์กรเรา คนที่ตอบได้ว่าสำเร็จหรือไม่คือตัวเรา แต่ทำเพื่อให้คนอื่นมาตรวจวัดเราอาจผ่านได้โดยที่คนในองค์เราเองไม่ได้รับรู้เลยว่าเราทำสิ่งนี้เพื่ออะไร

                                                       ขอบพระคุณครับ

                                                          หมอชาญวิทย์

   ปล.  ติดต่อผมได้ที่ เมลล์นี้ครับ           [email protected],[email protected]

          

เรียนคุณหมอค่ะ

ดิฉันศึกษาป.โทอยู่ที่ ม.บูรพา สาขา HRM

ข้อมูลของคุณหมอมีประโยชน์มากกับการทำสารนิพนธ์ของดิฉัน ขออนุญาตอ้างอิงข้อมูลของ Happy Work Place นะคะ

 ขอบคุณมาค่ะ

บัณฑิตตา มีทิม

ได้มีโอกาสไปดูงาน Happy Workplace ที่ชลบุรี แต่มีความรู้สึกว่าหลายที่ยังเป็นการทำแบบฉาบฉวย เกรงว่าจะมีประเด็นเรื่องความยั่งยืน เช่น happy brain ก็มีแค่ห้องสมุดขึ้นมาเท่านั้น

ขอบคุณค่ะสำหรับความรู้ใหม่และดีค่ะ

"สำหรับรายละเอียดที่มากกว่านี้ผมสามารถจะเมลล์เนื้อหาไปให้ได้ครับ"

รบกวนคุณหมอ ช่วยส่งรายละเอียดเนื้อหาให้ด้วยนะคะ ที่เมลล์ [email protected]

ขอบพระคุณค่ะ

อาจารย์ ชาญวิทย์

ดิฉันชื่อเล่น ดาหลาค่ะ ตำแหน่ง HRD เป็นลูกศิษย์ของอาจารย์ PMAT รุ่น PM381ค่ะ ได้เรียนกับอาจารย์เลยนำโครงการ Happy Wrok Place ของอาจารย์มาใช้ในองค์กร และโชคดีที่ผู้บริหารสนับสนุนมากเลยค่ะ ที่องกรค์เริ่มจากการเลือกตัวแทนจากพนักงานเข้ามาร่วมทำงานในครั้งนี้ แต่งตั้งทีมงานทั้ง 8 Happy (8 คน)

จึงรบกวนขอคำแนะนำจากอาจารย์ด้วยค่ะ หากดาหลาต้องการพาทีมงานทั้ง 8 Happy ไปศึกษาดูงาน อาจารย์คิดว่าจะไปที่ไหนดีค่ะ และต้องติดต่อผ่านทางอาจารย์หรือเปล่าค่ะ

เมื่อช่วงเดือนมีนาคม ได้เข้าร่วมสัมมนากับทาง สสสที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติ เห็นมีหลายบริษัทฯ ได้รับรางวัล จากสสส.ด้วย อยากถามอาจารย์ว่าต้องทำอย่างไรบ้างค่ะถึงจะได้รับรางวัลเพื่อเป็นกำลังใจให้กับทีมงานและพนักงานที่จะรักษา Happy Work Place ให้อยู่กับองค์กรต่อไป เพื่อให้ทุกคนได้มีความภูมิใจในสิ่งที่ทุกคนร่วมกันสร้างขึ้นมาจากพนักงานเอง ไม่ใช่จากบริษัทฯเพียงอย่างเดียว

อาจารย์ ชาญวิทย์

ดิฉันชื่อเล่น ดาหลาค่ะ ตำแหน่ง HRD เป็นลูกศิษย์ของอาจารย์ PMAT รุ่น PM381ค่ะ ได้เรียนกับอาจารย์เลยนำโครงการ Happy Wrok Place ของอาจารย์มาใช้ในองค์กร และโชคดีที่ผู้บริหารสนับสนุนมากเลยค่ะ ที่องกรค์เริ่มจากการเลือกตัวแทนจากพนักงานเข้ามาร่วมทำงานในครั้งนี้ แต่งตั้งทีมงานทั้ง 8 Happy (8 คน)

จึงรบกวนขอคำแนะนำจากอาจารย์ด้วยค่ะ หากดาหลาต้องการพาทีมงานทั้ง 8 Happy ไปศึกษาดูงาน อาจารย์คิดว่าจะไปที่ไหนดีค่ะ และต้องติดต่อผ่านทางอาจารย์หรือเปล่าค่ะ

เมื่อช่วงเดือนมีนาคม ได้เข้าร่วมสัมมนากับทาง สสสที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติ เห็นมีหลายบริษัทฯ ได้รับรางวัล จากสสส.ด้วย อยากถามอาจารย์ว่าต้องทำอย่างไรบ้างค่ะถึงจะได้รับรางวัลเพื่อเป็นกำลังใจให้กับทีมงานและพนักงานที่จะรักษา Happy Work Place ให้อยู่กับองค์กรต่อไป เพื่อให้ทุกคนได้มีความภูมิใจในสิ่งที่ทุกคนร่วมกันสร้างขึ้นมาจากพนักงานเอง ไม่ใช่จากบริษัทฯเพียงอย่างเดียว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท