การต่อยอดโครงการ patho-OTOP2ให้เป็น R2R


กำลังจะนำโครงการ patho-OTOP2 ที่ทำไปต่อยอดโดยจะทำเป็นงานวิจัยให้ได้

 หลังจากจบโครงการ patho-OTOP2 กลุ่มโครงการประดิษฐ์อุปกรณ์วัดปริมาตรปัสสาวะ 24 ชั่วโมงกำลังคิดการใหญ่ ไม่ใช่ครับ กำลังจะนำโครงการที่ทำไปต่อยอดโดยจะทำเป็นงานวิจัยให้ได้ ตอนนี้กำลังปรึกษาพี่ปนัดดา พี่นุชรัตน์ (ผู้ชำนาญการงานวิจัยของหน่วย) อีกคนครับ อ.ประสิทธ์  อาจารย์ได้ให้คำแนะนำเป้นคนแรก แต่ผมไม่แน่ใจในสิ่งที่อาจารย์บอกเลยต้องไปถามพี่นุชอีกคน พอซักพักพี่นุชกลับมาบอกว่าที่อาจารย์แนะนำมาถูกแล้ว เพราะพี่นุชไปถามพี่ปนัดดาอีกคน ผมเลยไม่รอช้าเข้าไปพูดคุยกับพี่นุชและพี่ปนัดดาว่าจะทำอย่างไรให้เป็นงานวิจัย ผมจะเล่ารายละเอียดนะครับ

ตอนแรก อ.ประสิทธ์ แนะนำให้วัดปัสสาวะ24ชั่วโมงที่นำมาตรวจในหน่วยของเรา(เคมี)วัดปริมาตรเปรียบเทียบวิธีเก่ากับวิธีใหม่และคำนวณค่าที่ได้ผลการทดสอบต่างๆ(creatinine, BUN ,phos,ca, uric acid ,protein)ว่ามีความแตกต่างทางสถิติหรือไม่ ผมมานั่งคิดแล้วว่าถ้าใช้วิธีของอาจารย์ประสิทธ์ต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 1 ปีกว่าจะได้จำนวนตัวอย่างตามต้องการคือต้องมีค่าครอบครุมทั้งหมด(ค่าต่ำ ค่าปกติ และค่าสูง)

ปรึกษาพี่นุชอีกคนครับ พี่นุชมีความคิดเหมือนผมคือวัดปริมาตรเปรียบเทียบเหมือนเดิมแต่ใส่ค่า creatinine, BUN ,phos,ca, uric acid ,protein ลงไปเลยแต่ที่ก็ต้องครอบครุมทั้ง3ค่าที่บอกมาแล้วข้างต้น วิธีนี้จะทำให้ลดเวลาลงไปกว่าครึ่งครับ

ตอนบ่ายๆพี่นุชไม่แน่ใจไปถามพี่ปนัดดา พี่ปนัดดามีความคิดเหมือนอาจารย์ประสิทธ์ พี่ปนัดดาบอกว่างานวิจัยต้องทำกับตัวอย่างจริงๆไม่ใช่ใส่ค่าลงไป สรุปความคิด 2 เสียง ต่อ 1 เสียง(ผมงดออกเสียงครับ) ต้องใช้วิธีของอาจารย์ประสิทธ์ครับ

          ตอนนี้กำลังวางแผนอยู่ครับ แล้วจะนำเรื่องราวมาเล่าต่อครับ

         หลังจบโครงการ patho -OTOP 2 ว่างงานครับ เลยมานั่งคิดเรื่องงานวิจัย (คนมันไฟแรง)แต่ไม่รู้จะได้กี่น้ำ ตอนชิ้นแรกเกือบตายมาแล้ว ยังไม่เข็ด

หมายเลขบันทึก: 64060เขียนเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2006 08:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
ยินดีด้วยค่ะ นายดำ...แอบมาอ่านเป็นพลังงานแฝงแต่เช้า....ขอบคุณค่ะ
เข้ามาช่วยให้นายดำงงเล่นๆ เพราะพี่เม่ยกำลังจะโหวตเสียงข้างพี่นุชนะ เป็นสองต่อสองเสียง (ถึงแม้ว่าเสียงพี่เม่ยจะเป็นเสียงนอกสภาก็ตาม  วิเคราะห์ในมุมมองของผู้ไม่เชี่ยวชาญนะ)
  • เรากำลังจะประเมินการใช้งานเครื่องวัดปริมาตรไม่ใช่หรือคะ ซึ่งกระบวนการวัดนั้นไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทดสอบเลย เพียงแต่นำค่ามาคำนวณเท่านั้นเอง ทำไมเราไม่ประเมินความถูกต้องของการวัด (เทียบกับมาตรวัดที่มาตรฐาน : accuracy) ความแม่นยำของการวัด (precision) หรือวิเคราะห์ความแตกต่างของการวัดระหว่างแบบเก่ากับแบบใหม่?
  • เข้าใจนะว่าที่จะทำ test ด้วยเพื่อจะบอกว่าเมื่อเอาปริมาตรที่วัดได้ทั้งสองเครื่องไปคำนวณแล้ว  บาง test ที่ช่วงค่าต่ำๆแคบๆอาจจะแตกต่าง บาง test ที่ช่วงค่าสูงๆกว้างๆอาจจะไม่แตกต่าง ....
  • ถ้าอย่างนั้นเราใส่ตัวเลขสมมติเข้าไปเลยตามช่วงค่าปกติ สูง ต่ำ แล้ววิเคราะห์เลยไม่ได้หรือคะ? เพราะวัตถุประสงค์เราอยู่ที่เครื่องวัดปริมาตร (ว่าจะมีความแม่นยำ ใช้งานได้กับช่วงค่าเท่าไรบ้าง? ไม่ใช่ที่วิธีทดสอบ??)
  • งง...แล้วค่ะ ฝากความสงสัยไว้ก่อนนะ กลับจาก กทม.จะมาถามต่อค่ะ
 ตอบพี่เม่ยนะครับ พี่เม่ยเข้าใจถูกต้องทุกประการ และความคิดเห็นที่เม่ยเขียนมาก็เหมือนพี่นุชครับ แต่วันนั้นเถียงกันแทบตาย (ไม่ใช่ครับ) แสดงความเห็นกันเต็มที่แต่ 2 เสียง ชนะไปแบบหวุดหวิดครับ ได้เสียงพี่เม่ยอีกหนึ่งเสียง คะแนนเท่ากันครับ ที่นี้ยุ่งซิครับ จะทำอย่างไรดี  เออ !..  นึกออกแล้วครับ เก็บไว้ก่อนค่อยทำแล้วกัน ฮิๆๆๆ
  • เห็นด้วยกับพี่เม่ยครับ ถ้าเราต้องการประเมินว่าอุปกรณ์ที่เราประดิษฐ์ขึ้น วัดปริมาตรได้แตกต่างจากอุปกรณ์ที่เราใช้อยู่แต่เดิมอย่างไร ควรเน้นเรื่องการเปรียบเทียบปริมาตรครับ โดยใช้น้ำกลั่นเปรียบเทียบก็ได้ และวิเคราะห์เน้นหนักที่การเปรียบเทียบตรงนี้
  • เมื่อผลการเปรียบเทียบขั้นต้นได้ผลว่าไม่แตกต่างกัน จึงนำมาใช้ในการตรวจวัดจากคนไข้จริงครับ ซึ่งการนำมาใช้จริงคราวนี้อาจไม่จำเป็นต้องใช้ตัวอย่างตรวจมากมายครับ เพราไม่ใช่ประเด็นหลัก เพียงแต่เป็นประเด็นเสริมว่า เครื่องมือที่เราประดิษฐ์ขึ้นใหม่นั้น สามารถใช้งานได้จริง และเมื่อใช้ในสถานการณ์จริง ก็ไม่ทำให้ผลที่ได้เปลี่ยนแปลงไปครับ
  • เวลาเขียนงาน ก็เขียนลงไปทั้งสองส่วนครับ จะทำให้มีน้ำหนักมากขึ้น
  • ในงานวิจัย การทดสอบกับตัวอย่างจริงสามารถทำได้ทั้งสองแบบครับ ทั้งแบบที่เติมสารลงไป หรือวัดสารโดยตรงจากตัวอย่างตรวจ เลือกเอาแบบใดแบบหนึ่งได้ครับ เพราะประเด็นสำคัญไม่ได้อยู่ตรงนี้ ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่า เครื่องมือที่ประดิษฐ์ใหม่ ตรวจวัดปริมาตรได้ ไม่แตกต่างจากเครื่องมือเดิม ซึ่งเมื่อนำมาใช้งานจริงแล้ว พบว่า สามารถใช้ทดแทนเครื่องมือเดิมได้ โดยตรวจวัดสารต่างๆ ได้ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญครับ

 ขอบคุณพี่ Mitochondria มากครับ ตอนนี้เสียง 3 ต่อ 2 เสียง ครับ ผมน่าจะลงมือทำได้แล้วใช่มั๊ยครับ  

      หลังจากนี้คนอื่นๆห้ามมีความเห็นเพิ่มมากกว่านี้นะครับ เดี๋ยวผมก็ต้องหยุดทำอีก ฮิๆๆๆ (พูดเล่นครับ) เสนอมาได้ครับ ผมจะได้ฟังความคิดเห็นจากหลายๆความคิดเห็น  ขอบคุณมากๆๆเลยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท