การทำวิจัย (เพื่อพัฒนาในงานประจำ) วันนี้ง่ายหรือยาก?


เมื่ออ่านจบแล้วทั้ง 7 ตอน ประเด็นที่เป็นจุดอ่อนที่กล่าวไว้ทั้งหมด น่าจะออกทางนี้ได้อีกทางหนึ่ง แต่ไม่พบการกล่าวถึงไว้อย่างชัดเจนนัก

     กล้าดีหรืออย่างไร ถึงได้ออกมาแสดงความคิดเห็นในเรื่องต้องห้ามที่จะกล่าวถึงนี้ ผมถามตัวเองก่อนลงมือเขียนตัวอักษรตัวแรกลงบันทึกในครั้งนี้ และตอบตัวเองอย่างมั่นใจว่า ขอให้ได้แสดงออกไปบ้าง เหมือนได้ปลดปล่อยบ้าง แล้วค่อยใช้สติดี ๆ รอรับสิ่งสะท้อนกลับที่จะเกิดขึ้นต่อไป

     เฉพาะในภาคส่วนที่ผมได้รับรู้ และเข้าไปเกี่ยวข้อง จะขอกล่าวถึง “การวิจัย” ว่าไม่ใช่เรื่องใหม่เลยในสังคมนี้ แต่ยังเป็นเรื่องเร้นลับ ต้องห้าม ใครได้ยินคำว่า “วิจัย” ก็เบื่อฟัง ยาก ไม่อยากคุยด้วย คนที่อยากทำ อยากคุย ก็ล้วนมีเหตุผลต่างกันไป เช่น เพื่อกำหนดตำแหน่ง เพื่อเลื่อนระดับ หากเป็นการนึกจะทำวิจัยเพราะนิสัย หรือเพราะต้องการหาคำตอบที่เป็นองค์ความรู้ใหม่ หรือวิจัยเพื่อพัฒนา หรือวิจัยในงานประจำ จะมีไม่เท่าไหร่ อย่างนี้เป็นต้น และที่สำคัญจะหาผู้บริหารหน่วยงาน ที่มีใจในการสับสนุนการวิจัยอย่างเต็มที่ และจริงใจ ได้มากน้อยแค่ไหน นักวิจัยเมื่อได้จับมือกับผู้บริหารทำวิจัยได้ในวันนี้ แต่ในทุก ๆ วันก็นึกหวั่น ๆ ว่าหากมีการเปลี่ยนแปลง เพราะท่านย้ายไป ภารกิจนี้ไม่ล้มหรือ จะป้องกันอย่างไร ฉะนั้นแทนที่จะได้คิดทางบวก ก็ต้องมามัวพวงกับทางลบอยู่ด้วย ด้วยเพราะสิ่งนี้มีจริง และเคยเกิดขึ้นในหน่วยงานมาตลอด ไม่ใช่เพราะไม่อยากได้ผลการวิจัยออกมา แต่เพราะความอคติเสียมากกว่า (ข้อเท็จจริงในระบบราชการที่จะปฏิเสธไม่ได้) จึงใช้วิธีง่าย ๆ เช่น “งานที่สั่งทำไม่เต็มที่เพราะมัวแต่ไปทำวิจัย” “ตัดงบประมาณที่เคยตั้งไว้ เพราะไม่เพียงพอ” เท่านี้ก็เพียงพอแล้ว ฉะนั้นมาถึงตรงนี้ก็ฟันธงเพื่อขอเสนอว่า

          “การทำวิจัย ควรจะได้มีขั้นตอนการรับหลักการ จากองค์กรกลางด้านการวิจัย เพื่อคุ้มครอง สนับสนุน และส่งเสริมให้การทำวิจัยมีความต่อเนื่องไปได้ มีคุณภาพอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ขึ้นไป และการันตีว่าจะมีการนำไปใช้ประโยชน์ต่อไปอย่างคุ้มค่า”

     เชื่อว่าการทำได้อย่างนี้น่าจะเกิดนักวิจัยใหม่ ที่มีคุณภาพได้มากขึ้น ลบสถิติจากข้อมูลของ R&D World Competitive Yearbook (2004) ซึ่งอ้างมาจาก บทความการปฏิรูประบบวิจัยของประเทศไทย ทั้ง 7 ตอนที่ผมอยากให้อ่านก่อนอ่านบันทึกนี้ด้วยซ้ำ (link ไว้แล้วในตอนท้ายบันทึก) ที่ได้รายงานว่าประเทศไทยมีจำนวนนักวิจัยเพียง 3 คน ต่อประชากร 10,000 คน เท่านั้น

     อีกประเด็นหนึ่งก็คือ ความยากในการเข้าถึงแหล่งทุนของนักวิจัยในหน่วยงานที่ไม่ใช่หน่วยงานด้านการศึกษา เพราะไม่ได้มีงบประมาณเฉพาะของหน่วยงานว่าควรจะเป็นสัดส่วนเท่าไหร่ ที่จะถึงมายังระดับจังหวัด ระดับอำเภอ หรือพื้นที่ชุมชน หากจะมีบอกข่าวประชาสัมพันธ์มาบ้างก็จิมจวนเวลาแล้ว ทำให้เกิดความสงสัยเคลือบแคลงว่าเกิดอะไรขึ้น หากจะขอกำหนดขึ้นเองจากวงเงินงบประมาณที่มีอยู่ ก็แสนยากทั้งขั้นตอนการขอกำหนด และระเบียบขั้นตอนการปฏิบัติ จึงเกิดขึ้นได้น้อยมาก เราจึงเพ่งมองไปเห็นยังแหล่งทุนต่าง ๆ ก็พบว่าแหล่งทุนเพื่อการทำวิจัยเหล่านั้น จะเป็นการแบ่งปันกันในกลุ่มหน้าเดิม ๆ บุคคลเดิม ๆ อย่างลงตัวแม้ว่าจะอ้างอย่างไร และดูดีตามข้ออ้างเสมอ ก็อด “ปิ๊งแวบ” อย่างนั้นไม่ได้จริง ๆ และข่าวคราวการตรวจสอบเพื่อความโปร่งใสที่จะได้ทราบ เฉกเช่นโครงการพัฒนาของรัฐที่เราพร่ำเรียกร้องกันก็ไม่ค่อยจะมีนัก ฉะนั้นมาถึงตรงนี้ก็ฟันธงอีกครั้งเพื่อขอเสนอว่า

          “การทำวิจัย ควรจะได้มีการกระจายของแหล่งทุน และเปิดโอกาสให้มีการเข้าถึงแหล่งทุนให้ง่ายขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ เช่นมีระบบพี่เลี้ยงในขั้นตอนการพัฒนาหลังขั้นรับหลักการแล้ว (ซึ่งมีอยู่บ้างแล้ว แต่ยังห่าง ๆ กับที่ควรจะเป็นมากนัก) ตลอดจนความโปร่งใสตรวจสอบได้ เพื่อความสบายใจของสังคม” อันนี้หาอ่านได้ง่าย ๆ จากการแสดงความคิดเห็นต่อท้ายบทความทั้ง 7 ตอนที่กล่าวถึง

     ก่อนจะจบบันทึกนี้จะขอยกบทสรุปที่ สำนักงานกองทุนสนุบสนุนการวิจัย (สกว.) ได้เขียนเป็นบทความ “การปฏิรูประบบวิจัยของประเทศไทย” ไว้ ที่ ผู้จัดการออนไลน์ --> คุณภาพชีวิต --> การศึกษา --> รากแก้วแห่งปัญญา ประเด็น การปฏิรูประบบวิจัยของประเทศไทย (1), (2), (3), (4), (5), (6), (จบ) คือ

          “โครงสร้างระบบวิจัยของประเทศปัจจุบันมีจุดอ่อนหลายประการ เช่น ขาดความชัดเจนเชิงนโยบายหรือทิศทางเพื่อการวิจัยของประเทศ องค์กรภายใต้ระบบขาดเอกภาพและความร่วมมือที่ดีต่อกัน ระบบบริหารจัดการทุนวิจัยไม่เข้มแข็งเพียงพอ ทำให้ผลงานวิจัยขาดคุณภาพ และไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์เพื่อการพัฒนาประเทศได้เท่าที่ควร รวมทั้งเกิดความซ้อนเหลื่อมของการดำเนินงาน ก่อให้เกิดความอ่อนแอทางปัญญาของประเทศโดยรวม ทำให้การก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมฐานความรู้หรือเศรษฐกิจฐานความรู้ เป็นไปได้ด้วยความยากลำบาก ดังนั้น การปรับเปลี่ยนโครงสร้างระบบวิจัยของประเทศจึงเป็นสิ่งจำเป็นเร่งด่วนที่ผู้มีหน้าที่กำหนดนโยบายควรให้ความสำคัญ”

     และเมื่ออ่านจบแล้วทั้ง 7 ตอน ประเด็นที่เป็นจุดอ่อนที่กล่าวไว้ทั้งหมด น่าจะออกทางนี้ได้อีกทางหนึ่ง แต่ไม่พบการกล่าวถึงไว้อย่างชัดเจนนัก ทางออกที่เขียนบันทึกนี้ไว้ 2 ประเด็น คือ
          - การทำวิจัย ควรจะได้มีขั้นตอนการรับหลักการ จากองค์กรกลางด้านการวิจัย เพื่อคุ้มครอง สนับสนุน และส่งเสริมให้การทำวิจัยมีความต่อเนื่องไปได้ มีคุณภาพอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ขึ้นไป และการันตีว่าจะมีการนำไปใช้ประโยชน์ต่อไปอย่างคุ้มค่า
          - การทำวิจัย ควรจะได้มีการกระจายของแหล่งทุน และเปิดโอกาสให้มีการเข้าถึงแหล่งทุนให้ง่ายขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ เช่นมีระบบพี่เลี้ยงในขั้นตอนการพัฒนาหลังขั้นรับหลักการแล้ว ตลอดจนความโปร่งใสตรวจสอบได้ เพื่อความสบายใจของสังคม

หมายเลขบันทึก: 6475เขียนเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2005 11:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
     ขอบคุณที่มีข้อความนี้ออกมา   เพราะเป็นสิ่งที่ดิฉันเองคิดมากอยู่ตลอดเวลาแต่ไม่กล้าเขียนตรงๆ แต่การที่ได้มีอย่างน้อย 1 คนที่คิดคล้ายเราและเขียนได้โดยใจที่สุด   ก็เหมือนได้แสดงออกไปบ้าง เหมือนได้ปลดปล่อยความคิดฟุ้งซ่านออกไปบ้างเหมือนกัน  ถึงอย่างไรในทุกวันนี้   ก็ยังนึกหวั่น ๆ  แทนที่จะได้คิดทางบวก ก็ต้องมามัวพวงกับทางลบอยู่ด้วย  แต่ก็พยายามปลง  และคงทำต่อเหมือนเดิม  เพราะไม่ใช่ใช่ครั้งแรกที่เป็นเช่นนี้.. และเห็นด้วยกับข้อเสนอของท่านชายขอบ
     ขอได้พูดบ้างก็เท่านั้นครับ โดยหลักการส่วนตัวแล้ว ผมเชื่ออย่างไร คิดอย่างไร ก็จะวนอยู่จนได้คำตอบ หากหาไม่ได้จริง ๆ แล้วก็จะใช้วิธีนี้ คือ คิดออกไปให้ดัง ๆ และพยายามวาดให้เป็นรูป ครับ

อยากศึกษาด้วยตนเองเรื่อง วิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม  แต่หาหนังสืออ่านยากมาก หาซื้อก็ไม่มี  อาจารย์พอจะมีข้อแนะนำ ให้กับผุ้ที่ต้องการศึกษา บ้างหรือเปล่า  และมีแหล่งควารู้ที่ไหนบ้าง

จะทำงานวิจัยอ่ะใครมีให้ลอกมั่งหน่อยทำไม่เป็นอ่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท