การบริหารงานบุคคล


เครื่องมือที่จะช่วยส่งเสริมและทำให้อาจารย์เห็นเป็นเรื่องง่ายขึ้น ก็คือ การทำคู่มือ...

การที่ผู้บริหารทั้งระดับคณะวิชา  หรือระดับมหาวิทยาลัย จะคาดหวังให้คณาจารย์ภายในคณะ หรือมหาวิทยาลัย  ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ(ผศ. รศ. ศ.) เมื่อทำงานสร้างผลงานมาตามสมควรแก่เวลา ไม่ควรดำรงตำแหน่งเป็นเพียงอาจารย์ไปชั่วชีวิตการทำงาน  เพราะสิ่งนี้คือเครื่องชี้วัดคุณภาพของทรัพยากรบุคคลในมหาวิทยาลัย นั้น

ดิฉันเห็นว่า  เครื่องมือที่จะช่วยส่งเสริมและทำให้อาจารย์เห็นเป็นเรื่องง่ายขึ้น  ก็คือ การทำคู่มือเพื่อขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการให้แก่อาจารย์นั่นเอง  คู่มือนี้จะบอกขั้นตอน  วิธีการ  เกณฑ์วิธีพิจารณาต่างๆ อย่างละเอียด (เพราะแต่ละมหาวิทยาลัยจะไม่เหมือนกัน)  ซึ่งงานบริหารบุคคลของมหาวิทยาลัย น่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องในจุดนี้มากที่สุด  หรือไม่ก็เป็นสภาอาจารย์ที่อาจช่วยเป็นหน่วยงานประสานด้านรวบรวมข้อมูล เพราะใกล้ชิดกับอาจารย์มากกว่า

อาจารย์รุ่นเยาว์ ในคณะวิชาเกิดใหม่ ในมหาวิทยาลัยใหม่ๆ  ยังไม่ประสีประสากับระเบียบกฎเกณฑ์ในเรื่องนี้ จึงเห็นเป็นเรื่องลำบากลำบนมาก อีกทั้ง สถานภาพที่เป็นพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ  ทำให้เกิดความลังเลสงสัยว่า แล้วเราหล่ะมีสิทธิ์ใช้กฎเกณฑ์เดียวกับข้าราชการ สาย ก หรือไม่อย่างไร

คำถามพื้นๆ ที่ดิฉันได้ยินเสมอ คือ  เอกสารประกอบการสอน กับ เอกสารคำสอน ต่างกันอย่างไร  หนังสือ กับ ตำรา ต่างกันอย่างไร..... และยังมีเรื่องอื่นๆ อีกมาก

ดิฉันขอนำ นิยามที่ท่าน อ.ประเสริฐ ทองเจริญ เขียนไว้ในหนังสือเรื่อง การเขียนบทความทางวิชาการ มาเผยแพร่ให้ทราบพอสังเขป  ดังนี้

เอกสารประกอบการสอน (Lecture outline)

หมายถึงเอกสารหรือสื่ออื่นๆ ที่ใช้ประกอบการสอนวิชาใดวิชาหนึ่งตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัย ที่สะท้อนให้เห็นเนื้อวิชา และวิธีการสอนอย่างเป็นระบบ  อาจจะตีพิมพ์หรือใช้สำเนาพิมพ์เย็บเล่มแจกจ่ายประกอบการสอน  ปัจจุบันนี้ อาจารย์บางท่านที่สอนด้วยสื่อการสอนที่จัดเตรียมโดยคอมพิวเตอร์โปรแกรมเพาเวอร์ พอยท์ ก็อาจพิมพ์สำเนาแจกก็มีความชัดเจนเช่นกัน

เอกสารคำสอนหรือบันทึกการสอน (Lecture Note)

หมายถึงเอกสารคำบรรยายหรือสื่ออื่นๆที่ใช้ในการสอนวิชาใดวิชาหนึ่งตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัย  ที่สะท้อนให้เห็นเนื้อวิชาและวิธีการสอนอย่างเป็นระบบ และมีรายละเอียด มีความสมบูรณ์มากกว่าเอกสารประกอบการสอน โดยจะมีความสมบูรณ์ใกล้เคียงกับหนังสือหรือตำรา  แต่อาจจะไม่ได้ตีพิมพ์เป็นรูปเล่มสมบูรณ์แบบโดยโรงพิมพ์ หรือสำนักพิมพ์อย่างเป็นทางการก็ได้

ตัวอย่างสองประเภทนี้จะเลียนแบบตำราฉบับย่อ และมีรายละเอียดน้อยกว่าตำรามาก  แต่ก็เป็นผลงานทางวิชาการที่จะนำไปประเมินเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการต่อไปได้

หมายเลขบันทึก: 6468เขียนเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2005 22:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท