010: การวัดความดันในถุงลมของท่อช่วยหายใจ: งานประจำที่ทำให้เป็นวิจัย


การดมยาสลบที่ต้องใส่ท่อช่วยหายใจนั้น ที่ปลายของท่อช่วยหายใจจะมีถุงลม (cuff)  ประโยชน์ของถุงลมคือ เมื่อเติมลมใน  cuff  จะช่วยป้องกันไม่ให้ยาสลบและอากาศรั่วออกจากคนไข้   และยังช่วยป้องกันการสำลักเศษอาหารเข้าหลอดลมได้ด้วย 

 แสดงรูปท่อช่วยหายใจที่มี Cuff และอุปกรณ์การวัดความดัน
การใส่ลมในถุงลมที่น้อยไป
จึงได้ประโยชน์ไม่เต็มที่และอาจเป็นอันตรายจากการสำลักได้
ส่วนการใส่ลมมากไป
ถุงลมที่โป่งมีแรงดันมาก (มากกว่า 25 mmHg) จะกดเยื่อบุผนังหลอดลมทำให้ขาดเลือดไปเลี้ยงได้ โดยเฉพาะถ้าต้องใส่ท่อช่วยหายใจนานหลายวัน จะเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยได้ อันตรายที่สำคัญคือในหลายวันต่อมา (อาจเป็นเดือน) หลอดลมจะเป็นแผลเป็นและหดตัวทำให้หลอดลมตีบและตันได้ 
ทำอย่างไรจึงจะใส่ลมในถุงลมให้ได้พอดี
ในทางปฏิบัติจะใช้วิธีการฟัง ถ้ายังมีลมรั่วจะมีเสียงเบาๆ พอให้สังเกตได้แต่ว่าความไม่แน่นอนย่อมมีสูง เพราะการได้ยินของแต่ละคนนั้นไม่เท่ากัน 
 

คุณพุ่มพวง และ อ. ชัยชนะ เจ้าของผลงาน 

ดังนั้น นพ.ชัยชนะ  คุณพุ่มพวง และคณะ  จึงการทำวิจัยเรื่องการวัดความดันภายใน cuff   เพื่อให้ได้ค่าความดันที่พอเหมาะ และนำผลงานวิจัยมาใช้ในงานประจำ เป็นการให้บริการผู้ป่วยเพื่อป้องกันอันตรายที่กล่าวมาแล้ว   ที่สำคัญเป็นการพัฒนามาตรฐานการดูแลผู้ป่วยให้มีคุณภาพอีกด้วย
งานวิจัยนี้ได้รับรางวัลรองชนะเลิศจากการประกวดงานวิจัยของคณะแพทย์ ปี 2543
และได้รับคัดเลือกให้ไปนำเสนอผลงานในการประชุมประจำปีของ HA ที่ศูนย์ประชุมสิริกิต กทม. ปี 2543 อีกด้วย  
งานวิจัยนี้ได้ตีพิมพ์ในวารสาร วิสัญญีสารปี 2540 ; 23: 45-53. วิสัญญีสารปี 2541 ; 24: 7-12.  และ ศรีนครินทร์เวชสาร ปี 2541 ; 13: 191-7. 

รายละเอียดและขั้นตอนการทำวิจัย รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคในการทำ จะให้คุณพุ่มพวง มาช่วยเล่าให้ฟังต่อไป

 

คำสำคัญ (Tags): #cop#r2r#endotracheal#tube#cuff#pressure
หมายเลขบันทึก: 73928เขียนเมื่อ 23 มกราคม 2007 12:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (26)

 อ. หมอสมบูรณ์คะ

  • คุณพุ่มพวงเธอบอกจะมาเล่ารายละเอียดให้ฟัง
  • พวกเรารอฟังอยู่ครับ
  • ขอบคุณที่แวะมาบอก จะไปเดี๋ยวนี้ครับ
เครื่องมือหมอๆ.....มีคุณประโยชน์ และช่วยคนไข้....แต่ไม่อยากใช้เลยค่ะ

อ. paew ครับ

  • ผมเข้าใจคนทั่วๆไปดีครับว่าไม่มีใครอยากไปโรงพยาบาล ทั้งเสียเวลา ทั้งเจ็บตัว และเสียเงินอีกต่างหาก ไม่มีอะไรดีซักอย่าง  แบบนี้เขาเรียกว่า จ้างให้ก็ไม่อยากไป จริงไม๊ครับ
อยากให้พยาบาลทุกท่านฝึกปฏิบัติ และนำไปใช้จริง
  • คุณนู๋พุก ครับ
  • ทางทีมงานวิจัยเรื่องนี้ เขาทำ CQI งานเรื่องนี้มาโดยตลอด ได้พยายามสอนให้คนที่ดมยาสลบทุกระดับ ไม่ใช่เฉพาะพยาบาล ได้หัดใช้ และใช้อย่างต่อเนื่อง เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยครับ
  • ขอบคุณสำหรับความเห็นที่มีประโยชน์ครับ

 

  • สวัสดีค่ะ    รู้สึกดีใจแทนผู้ป่วย  ที่อ.สมบูรณ์ นำเรื่อง การวัดความดันภายในcuff    ของท่อช่วยหายใจมาเผยแพร่อีกครั้ง .........
  • ถ้านำไปใช้จะเกิดประโยชน์กับผู้ป่วยอย่างแท้จริง
  • ก่อนที่จะมาเป็นวิจัยนี้...เรื่องมันยาวมากค่ะ
  • เป็นการทำวิจัยที่ต่อยอดมาจาก   การวิจัยของคุณทิพยวรรณ  มุกนำพร  ซึ่งได้ศึกษาพบว่าผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจ ในร.พ. ศรีนครินทร์ความดันภายใน cuff    ไม่เหมาะสมมากกว่าร้อยละ  80
  • วิสัญญี  ซึ่งผู้เป็นผู้นำในเรื่องท่อช่วยหายใจจะนิ่งเฉยได้อย่างไร............

 

  • กลุ่มวิสัญญีผู้รัก Tube ยิ่งชีพ เห็นความสำคัญในเรื่อง intracuff pressure เป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะ อ.เทพกรจะเน้นเรื่องนี้อยู่บ่อยครั้ง เพราะไม่อยากให้เกิด incidence ประเภท subglottis stenosis  แล้วต้องมาเข้า OR บ่อย ๆ   หัวหน้าพุ่มเคยพาลูกทีมไปสวัสดีค่ะตามWARD ต่าง ๆ เพื่อแนะนำในเรื่องการวัด cuff pressure ซึ่งได้รับการตอบรับพอสมควร และการวัด cuff pressure เป็นส่วนหนึ่งที่จะต้องบันทึกในใบ anesthetic record 

  • ขอบคุณ คุณ smile ที่มาช่วยเติมเต็มในบันทึกนี้ครับ
  • และที่สำคัญที่สุดคือขอบคุณเจ้าของผลงาน "คุณพุ่มพวง" ที่ช่วยทำให้บันทึกนี้มีชีวิต อยู่ได้ ครับ
  • อรุณสวัสดิ์ค่ะ   เมื่อเช้ามี MM conference เรื่องคนไข้เสียงแหบ จากการใส่ท่อช่วยหายใจ (ผู้ป่วยมาผ่าตัดตับ)   หาสาเหตุแล้วไม่น่าจะเกิดจากสาเหตุอื่น   ........ทำให้คนไข้ไม่สามารถร้องคาราโอเกะได้ดีเช่นเดิม  น่าเห็นใจมาก(เข้าใจดีค่ะ เพราะคอเดียวกัน)
  • อาจารย์วิสัญญีแพทย์จึงได้ร่วมรณรงค์ให้ วัด cuff  pressure เป็นประจำ 
  • ขอบคุณวิสัญญีทุกท่านที่เห็นความสำคัญของเรื่องนี้  โดยเฉพาะ คุณเพ็ญวิสา กำลังต่อยอดวิจัยเรื่องนี้อยู่ค่ะ(อยู่อีกแล้ว)

 

 

  • เสียงแหบอยู่นานไม๊ครับ
  • ถ้าเสียงแหบหลังผ่าตัดใหม่ๆ รอซัก 2-3 ก็น่าจะดีขึ้น
  • ความจริงเสียงแหบมีสาเหตุได้หลายอย่างมากนะ ปกติแล้ว cuff ไม่ควรจะไปรบกวนสายเสียง จริงไม๊
  • ผู้ป่วยรายนี้เสียงแหบไม่หาย จนต้องปรึกษา แพทย์หู คอ จมูก พบว่าเป็นสายเสียงไม่ขยับจริง
  • หลังจำหน่าย(หลายวันแล้ว)จนผู้ป่วยกลับมาตรวจด้วยอาการอื่น พบว่ายังเสียงแหบและสำลักอาหารได้ง่าย
  • เหนื่อยง่าย  ใช้แรงในการพูดมากขึ้น

 

  • เท่าที่ทราบผู้ป่วยรายนี้ต้องใส่ท่อช่วยหายใจไป ICU อีกหลายวัน
  • เพราะฉะนั้นอาจเป็นไปได้มากว่าสายเสียงได้รับอันตรายจากท่อหายใจไว้นาน
  • อ.เดือนเพ็ญ บอกว่าบางครั้งท่อช่วยหายใจอาจจะเลื่อนขึ้นมาจน cuff กดเส้นประสาทบริเวณนั้นได้ 
  • อ. สรรชัยได้สรุปว่าระหว่างดมยาสลบควรจะมีการ release  cuff ทุก 1-2 ชั่วโมง
  • ตามแนวทางเดิมของภาควิชาได้กำหนดให้มีการวัด cuff  pressure  ให้ได้  pressure  20 mmHg  ทุก2 ชั่วโมง  และลงบันทึกในใบ record ทุกครั้ง 
  • ขณะนี้ อ.ชัยชนะ ,พ.สุจิตรา , คุณเพ็ญวิสาและคุณวิตารัตน์ กำลังทำวิจัยเกี่ยวกับการวัด cuff  pressure  อย่างต่อเนื่องและลงบันทึกในใบ record ทุก 15 นาที ขอความร่วมมือจากบุคลากรด้วยค่ะ
  • เวลา cuff เลื่อนขึ้นมาค้ำกับสายเสียง จะสังเกตได้ว่ามีลมรั่วออกมา หากเรายิ่งเติมลมใน cuff ไปอีกจะยิ่งทำให้สายเสียงถูกกดมากขึ้นครับ
.....การทำวิจัยเรื่องแรก..ในชีวิต .....ไม่ยากนักในเรื่องเอกสาร เพราะอ.ชัยชนะเข้ามาช่วยดูแลเยอะมาก ...... แต่ไปยากอย่างอี่นมาก มาก..ยังงึด(แปลกใจ)ว่าเจ้าของทำได้อย่างไร ดึ..ดึ๋ย (ไม่ได้โม้....จริงๆ) ถ้าเป็นเดี๋ยวนี้คงไม่ทำ 1.อันดับแรก....พอรู้ว่าความดันใน cuff ของผู้ป่วยในร.พ.ศรีนครินทร์ ไม่เหมาะสมถึง 87% จึงต้องการสอนพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยให้มีความรู้ก่อน ....จากนั้นก็ทำหนังสือขออนุญาตจาก ผอ.โรงพยาบาลเพื่อทำวิจัย 2.วางแผน-ออกแบบสอบถามประเมินความรู้ 3.ติดต่อกับหัวน้าตึกทุกตึกที่มีผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ โดยใช้ทั้งการโทรศัพท์ การเดินไปหา เพื่อขอเวลา-ความร่วมมือในการสอนเป็น class .... นี่แหละคือเรื่องยาก ถึงยากที่สุด .....กลับจากเหนือจะเล่าให้ฟังค่ะ
com ที่บ้านไม่ทันสมัย จัดสี-วรรคตอนไม่ได้เลยค่ะ
  • ลองกด ctrl + F5 (พร้อมกัน) แล้วดูว่าคำสั่งต่างๆ จะขึ้นหรือไม่
  • ตอนนี้คิดว่าที่ ward ต่างๆ จะกลับไปสู่สภาพเดิมอีกไม๊ ครับ

เห็นภาพการทำงานราวได้อยู่จริงใน ORค่ะ...

  • วันก่อนยังแอบได้ยิน dent พูดกันเรื่องวัดความดันใน cuff ด้วย แสดงว่า MM วันนั้น เป็นบทเรียนที่ใช้ได้ดี ครับคุณพุ่มพวงและคุณกฤษณา
เมื่อมีโอกาสได้นิเทศน้อง (หลานๆ) นร.วิสัญญีพยาบาลที่ดมยาสลบอยู่ห้องเดียวกัน มักจะตรวจสอบว่านร.เข้าใจวิธีการวัด intracuff presser ที่ถูกต้องหรือยัง บางคนก็ยังไม่ get ดังใจ ก็ต้องให้ความรู้เพิ่มเติมและชักชวนให้วัดและลงบันทึกในใบ anesthetic record ด้วย
  • โรงเรียนแพทย์ก็เป็นแบบนี้แหละครับ พอเป็นก็จบออกไป เด็กใหม่เข้ามาก็ต้องสอนใหม่ เมื่อก่อนจึงใช้คำว่า เรือจ้าง ไงครับ
  • เดี๋ยวนี้น่าจะใช้คำอื่นแทนเรือจ้างหรือเปล่า แต่จะใช้อะไรดี ยังคิดไม่ออก
  • สวัสดีค่ะ  กลับมาจากปิดงานพืชสวนโลกแล้ว
  • จะเล่าเรื่องการทำวิจัยให้ฟังต่อค่ะ  คราวที่แล้วเล่าถึงการไปขอความร่วมมือจากหัวหน้าตึกทุกตึก  
  • .....ไปตึกแรกพร้อมทีมงาน วินิตา กาญจนา ทิพยวรรณ ที่แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน  ได้รับความช่วยเหลือเป็นอย่างดียิ่งจาก..พี่พนอ เตชะอธิก  รู้สึกมีกำลังใจมาก  ได้สอนวิธีการประยุกต์ทำเครื่องวัด   วิธีวัด cuff แก่พยาบาลที่ดูแลผู้ป่วย 
  •  และถามว่าต่อไปจะวัด cuff หรือไม่  เกือบ 100%  บอกว่จะทำ
  • ...แต่จนถึงขณะนี้พุ่มพวงยังตอบ อ.สมบูรณ์ไม่ได้  ว่าทางตึกวัด cuff มาก-น้อยแค่ไหน

 

ความดันใน pressure cuff ที่ปลอดภัยสำหรับผู้ป่วยที่ ใส่ท่อช่วยหายใจ มีค่าเท่าไรคะ...

ขอโทดนะค่ะนู๋อยากทราบว่าตกลงค่าที่เป็นปกติที่ควรให้การพยาบาลคือค่าเท่าไรค่ะจึงจะเหมาะสมเพราะบางที่ใช้เกณฑ์  30 ค่ะ ช่วยตอบทีนะค่ะขอรบกวนด้วยค่ะ

ขอโทดนะค่ะนู๋อยากทราบว่าตกลงค่าที่เป็นปกติที่ควรให้การพยาบาลคือค่าเท่าไรค่ะจึงจะเหมาะสมเพราะบางที่ใช้เกณฑ์  30 ค่ะ ช่วยตอบทีนะค่ะขอรบกวนด้วยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท