แกะรอยฝัน KM


ในครั้งนี้ ได้มีโครงสร้างการจัดงานที่สะท้อนถึงความคิดและการจัดการของ สคส. สมกับเป็นมหกรรมการจัดการความรู้จริงๆ ที่ประกอบด้วย การจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัย ของภาคราชการ ธุรกิจ และชุมชน

             ตั้งแต่ผมเริ่มทำงานการจัดการความรู้ในโครงการฟ้าสู่ดินกับครูบาสุทธินันท์ ตั้งแต่ปี 2546  ผมเคยได้อ่านปณิธานของ สคส. ว่า “จะทำให้มีการจัดการความรู้ทุกหย่อมหญ้า” อ่านแล้วก็รู้สึกเฉยๆ เพราะว่าใครๆก็พูดกันอย่างนี้ทั้งนั้น ไม่เคยทำอย่างที่พูดสักที แต่เมื่อได้มาร่วมงานมหกรรมการจัดการความรู้แห่งชาติ ครั้งที่ 3 ที่ศูนย์ไบเทคบางนา เมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 2549 ทำให้ความรู้สึกผมเปลี่ยนไป 
             ในครั้งนี้ ได้มีโครงสร้างการจัดงานที่สะท้อนถึงความคิดและการจัดการของ สคส. สมกับเป็นมหกรรมการจัดการความรู้จริงๆ ที่ประกอบด้วย การจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัย ของภาคราชการ ธุรกิจ และชุมชนประเภทต่างๆ ที่แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาพื้นบ้าน และเทคนิคใหม่ๆ ของการจัดการความรู้  ครั้งแรกที่เดินเข้าไปในงาน ทำให้เห็นภาพฝันและการนำเสนอผลงานของ สคส. อย่างชัดเจนว่า สังคมไทยมีภูมิปัญญาการจัดการความรู้มาแต่เดิมแทบทุกด้าน ดังที่ ครูบาสุทธินันท์ เคยกล่าวไว้ว่า คนไทยสมัยก่อนมีการจัดการความรู้ในทุกด้าน  เช่น ความสามารถคล้องช้างป่ามาใช้งานได้ ซึ่งสะท้อนกระบวนการจัดการความรู้อย่างหลากหลายและครอบคลุม จนทำให้เกิดผลลัพธ์ ตามวัตถุประสงค์อย่างหลากหลายได้
               ความตื่นตาตื่นใจ เมื่อเดินเข้าไปในงานก็พบการตื่นตาตื่นใจกับโครงสร้างของงานตามสูจิบัตรที่ให้ไว้ สมกับการเป็นงานมหกรรมการจัดการความรู้จริงๆ จากความตื่นตาตื่นใจนี้ ผมก็เริ่มวางแผนว่าจะทำยังไงจึงจะแกะรอยฝันของ สคส อย่างครบถ้วนได้ ผมจึงเดินไปดูที่แผนผังการจัดงาน แล้วก็ตัดสินใจว่า ผมจะพยายามไปดูในที่การจัดการความรู้ที่ผมมีความรู้น้อยที่สุดก่อน คงไม่มีใครเชื่อหรอกว่า ผมมีความรู้ในกรมส่งเสริมการเกษตรน้อยที่สุด พอเข้าไปดูผมแทบไม่น่าเชื่อว่า ทางกรมส่งเสริมการเกษตรได้มีการจัดความรู้ที่ชัดเจน มีคนเข้าร่วมงานจัดการความรู้ของกรมฯอย่างมากมาย มีคณะกรรมการถึง 15 คณะ มีคนสนใจเข้าร่วมอย่างต่อเนื่อง แต่ก็น่าสนใจที่กรมส่งเสริมการเกษตร เขาเริ่มที่ การจัดการความรู้ Tacit ก่อน Explicit แต่เขาไม่เปิดโอกาสให้ถาม เลยไม่ได้ถาม ทั้งนี้ เนื่องจากผมเข้าใจเอาเองว่า งาน Tacit Knowledge เป็นเรื่องอยาก แค่ Explicit knowledge ผมยังเอาตัวไม่ค่อยรอดเลยครับ เหมือนกับการบอกคนกำลังจะจมน้ำตาย ว่าวิธีการว่ายน้ำให้รอดนั้นทำอย่างไร ประมาณนั้นแหละครับ ซึ่งผมยังทำไม่เป็น แต่กรมส่งเสริมการเกษตรยังทำได้ ผมขอชมเชยอย่างสุดๆ เลยครับ วันหลังจะขอไปเรียนด้วยหน่อย จะได้ช่วยคนว่ายน้ำไม่เป็นที่กำลังจะจมน้ำทางสังคมได้ทันเวลา นี่แหละครับ ฝันของหมอวิจารณ์ ใกล้จะเป็นจริงเข้าไปทุกทีแล้ว
                ระหว่างรับประทานอาหารกลางวัน ผมก็ได้มีโอการสคุยกับทางกลุ่ม ม นเรศวร ถึง UKM ที่ผมพอจะมีความรู้อยู่บ้าง แต่ก็ได้ความรู้ใหม่มากมายว่า มหาวิทยาลัยต่างๆ เริ่มการจัดการความรุ้ตามถนัดของตนเอง ตามความเชื่อมโยงที่มีกับ สคส โดยเริ่มต้นที่ งานประกันคุณภาพ งานบริหาร และการเผยแพร่ความรู้ แต่ประเด็นนี้ผมก็ทราบดีว่า บุคลากรของมหาวิทยาลัยต่างๆ มีอัตตาที่เป็นปัจเจกสูง มีอัตตาที่เป็นระบบองค์กรน้อยมาก ทำให้การจัดการความรู้ เป็นแบบตัวใครตัวมันเสียเป็นส่วนใหญ่ ยังไม่เข็มแข็งเท่ากับกรมส่งเสริม ตามที่ได้ฟังมา เพราะยังแยกส่วนกันอยู่ค่อนข้างมาก ทั้งๆที่มหาวิทยาลัยควรจะเป็นแกนนำการจัดการความรู้ตามความคาดหวังของสังคมโดยทั่วไป หลังอาหารกลางวัน ผมก็รีบไปดูห้องหลุมดำของอาจารย์ประพนธ์ ก็เห็นตัวอย่างอุปสรรคและปัญหาการจัดการความรู้อย่างมากมาย ผมเลยถึงบางอ้อว่า ในเชิงบทบาทของอ ประพนธ์ใน สคส (ซึ่งไม่รู้ว่าถูกหรือผิดนะครับ) ในเชิงกระบวนยุทธ ในขณะที่ หมอวิจารณ์เป็นเจ้าสำนัก ผู้กำหนดยุทธศาสตร์และการทำงาน ตรงนี้ทำให้ผมมองเห็นการเคลื่อนทัพของ สคส อย่างชัดเจนมากขึ้น หลังจากนั้นผมก็พยายามเดินไปดูหลายๆห้อง อย่างฉาบฉวยเพื่อให้ทันเวลา ทำให้เกิดความเข้าใจโครงสร้างทางความคิดในการจัดการความรู้ของประเทศไทย ว่ากำลังจัดการความรู้ไปทางไหนบ้าง เช่น แวะดูห้องเด็กวัยรุ่นของคุณกะปุ๋ม และห้อง กศน ของคนโคราช และก็วนไปวนมาดูเวทีคุณเอื้อที่สลับคนขึ้นมาพูด ทำให้มองเห็นว่า การเคลื่อนทัพของ สคส นั้นกำลังแพร่กระจายไปในสังคมไทยแทบทุกระบบอย่างรวดเร็ว และสอดประสานกับพื้นฐานการจัดการความรู้ของภูมิปัญญาไทยอย่างแนบเนียน ซึ่งเป็นไปตามความคาดฝันของหมอวิจารณ์และ สคส ที่จะทำให้มีการจัดการความรู้ทุกหย่อมหญ้า หลังจากพักรับประทานชากาแฟ (สารเสพติดที่ผมหลีกเลี่ยงไม่ทานอยู่แล้ว) ผมก็รีบเข้าไปฟังการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตของบริษัทปูนซีเมนต์ไทยก็พบว่าเป็นการจัดความรู้ที่น่าทึ่ง ที่นำระบบการจัดการธุรกิจ เข้าไปสอดประสานการทำงานของสังคมไทย ที่ผมไม่เคยเชื่อมาก่อน ว่าระบบธุรกิจใดจะเป็นมิตรกับระบบสังคมนอกเหนือไปจากการทำเพื่อผลทางธุรกิจของตนเองเป็นหลัก แต่เจ้าหน้าที่ของ บริษัทปูนซีเมนต์ก็อรรถาธิบายจนผมมั่นใจได้ว่า บริษัทนี้เป็นของคนและสังคมไทยจริงๆ ไม่ใช่บริษัทที่มาฉกฉวยผลประโยชน์ทางธุรกิจ อย่างที่ผมประทับใจมาก่อน ซึ่งเป็นสาเหตุใหญ่ทำให้สังคมไทยเสื่อมโทรม เป็นนักบริโภคนิยมที่พร้อมจะทำลายทุกสิ่งที่ขวางหน้าเพื่อตอบสนองความต้องการบริโภคของตนเอง (เช่น การทำลายธรรมชาติ สัตว์ป่า ต้นไม้ แหล่งน้ำ แม้กระทั่งภูเขาก็แทบจะไม่เหลืออยู่แล้ว)  ถ้าธุรกิจของประเทศไทยเป็นเช่นนี้ เราคงไม่ล่มจบ จนถึงกับต้องมาพัฒนาตามแนวพระราชดำริ เศรษฐกิจพอเพียง เพื่อฟื้นคืนความเข็มแข็งให้กับสังคมกันอย่างเข็มข้น เพื่อให้ทันกับเวลา ที่เหลือน้อยลงทุกที
                 หลังจากการประชุม ผมก็รีบเดินไปดูตามบูธต่างๆ ที่เสนอผลงานจริงของ  สคส ที่สอดประสานยุทธศาสตร์ต่างๆ เข้ากับการทำงานของสังคมไทย ทั้งงาน กศน งานมหาวิทยาลัย งานภาคราชการ งานภาคธุรกิจเอกชน และงานภาคประชาชน ที่ได้เห็นการพัฒนาการในการจัดการความรู้ในสามรูปแบบใหญ่ๆ คือ การสร้างความรู้ การพัฒนาบุคลากร และการพัฒนาองค์กร คือการพัฒนาตนเองและสิ่งแวดล้อม

                  หลังจากเดินดูตามบูธต่างๆ เแล้ว ได้มีโอกาสคุยกับหมอวิจารณ์ เลยบอกท่านว่า ผมมาเดินดูความฝันของคุณหมอที่ทำอย่างสร้างสรรค์ อย่างเหมาะกับสถานการณ์ ทันเวลาตามเงื่อนไขของสังคม อย่างพอเหมาะพอดี ไม่ทราบว่าเป็นความบังเอิญ หรือไปความจงใจกันแน่ แม้กระทั่งเรื่อง การเขียน blog ที่ทำให้เกิดสังคมการเรียนรู้ ทำให้เกิดกลุ่มเพื่อนตามความชอบของตน หมอวิจารณ์ยังบอกว่า ตั้งใจให้เกิดแค่ 1%  ไม่ตั้งใจอีก 99% ซึ่งผมไม่ค่อยเชื่อเท่าไหร่หรอกครับ
วันนี้ผมจะไปเดินตามรอยฝัน ของหมอวิจารณ์อีกครั้งหนึ่ง จะได้กลับมาทำนายฝันให้คุณหมอตามที่คุณหมอขอผมไว้

คำสำคัญ (Tags): #km#kmในฝัน
หมายเลขบันทึก: 64795เขียนเมื่อ 2 ธันวาคม 2006 07:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
น่าเห็นใจหมอดู ที่ตั้งใจทำนายฝัน ถามว่า ฝันดีมีเกณฑ์ ทำนายอย่างไร ฝันร้ายมีเกณฑ์ ทำนายอย่างไร ในใจของหมอดู ใช้จิตวิทยากี่เปอร์เซ็นต์ ในการที่จะบำบัด ทุกข์ บำรุงสุขระบบความฝัน หรือจะบริหารความฝันให้ปกติสุข สำหรับผมเคยฝันกึ่งดีกึ่งร้ายผสมกัน บางวันก็ฝันเป็นขาวดำ ตั้งแต่เทคโนโลยีเจริญขึ้น ตอนนี้ฝันเป็นสี แสง เสียง เสียงแอ็ คโค่เสียด้วยสิ เรื่องสำคัณน่าจะอยู่ที่ ตั้งประเด็นฝัน แล้วทำให้ฝันนั้นเป็นความจริง เหมือนความฝันของสถาบันKM.คิดว่าท่านคงค้นหาอุบายอย่างอุตลุด ที่จะแผ่ความฝันไปทั่วแผ่นดินไทย แล้วขายฝันไปทั่วโลก ในอนาคตเมื่อมนุษย์ไปอยู่โลกอื่น ดวงจันทร์ ดาวอังคาร มนุษย์พวกนี้ก็พอเอาวิธีฝันไปด้วย มันเอาไปง่าย ไม่ต้องบรรทุกหนักจรวด อีกประเด็นหนึ่ง ถ้าฝันเฟื่อง ฝันมากๆ มันต้องมีเครื่องมือเก็บความฝันดีๆ ฝันที่เป็นบทรู้บทเรียนไว้ด้วยไหมนี่
ขอบพระคุณอาจารย์มากนะคะที่มาเยี่ยมชมบู้ทกรมส่งเสริมการเกษตร เจอคุณอ้อตอนช่วงเย็นทราบว่าอาจารย์มาเยี่ยม ไม่ได้ทักทายและต้องขออภัยที่ไม่มีเวลาให้ซักถามเพราะเกรงใจคะเกินเวลามามาก หวังว่าคงจะได้คุยกับอาจารย์ในโอกาสข้างหน้านะคะ

ขอบคุณครับ

ผมยังติดใจการใช้ Tacit knowledge นำร่องทำงานอยู่นะครับ

จะแกะออกมาอย่างไร

เช่น ที่ผมยกวิธีการว่ายน้ำ หรือขี่จักรยานก้ได้ ว่า มีส่วนที่เป็น Explicit ที่บอกคนอื่นได้ว่าทำได้อย่างไร กับ Tacit ที่บอกใครไม่ได้ แต่ทำให้ดูได้ว่าทำอย่างไร

และ Tacit ก็มีตั้งแต่ขี่จักรยานธรรมดา ขี่ยกล้อ ปล่อยมือ จนถึงจักรยานล้อเดียว ที่เป็น Tacit แบบสุดๆ

ผมเดาเอาว่ากรมฯน่าจะเล่นประมาณขอบๆของ Explicit ที่ต่อกับ Tacit มากกว่า คงไม่ถึง Tacit ที่ยากเกินไปนิด ทำได้อยู่แต่จะเข้าระบบราชการยากหน่อย

ผมเกรงว่างานจะช้านะครับ แรงต้านมากจะเหนื่อยเกินไป ไปเริ่มที่ Explicit แล้วค่อยไล่ย้อนมาจะดีกว่านะครับ

แต่ถ้าทำได้ก็ดีใจด้วย จะขอไปดูงานหน่อย

เรียน ดร.แสวง  รวยสูงเนิน

  • ขอลิงค์ไปที่ http://gotoknow.org/blog/www-doae/65815  ได้ ลป. ในประเด็นที่ อาจารย์ได้แหย่รังแตนไว้ ที่บล็อกแล้วนะคะ  ไม่ทราบว่า อาจารย์ได้เข้าไปอ่านหรือยังค่ะ
  • ยินดี ลปรร. ค่ะ   

ขอบคุณครับที่เตือนครับ ผมเกือบลืมเลยครับ

ผมตอบและโปรดอ่านด้วยครับ

ผมคิดว่า เรื่องนี้ยังมีหลายคนสับสนในศัพท์ และสือกันคนละมุม

ผงจะลง บล็อก เรื่องนี้เร็วๆนี้ครับ กำลังพิมพ์อยู่ครับ

เรียน ดร. แสวง

  • ได้อ่านแล้วค่ะ
  • คงจะตีความคำว่า Tacit Knowledge  ไม่ตรงกันนะคะ
  • ขอลิงค์ ไปที่บล็อก ดร. ประพนธ์ http://gotoknow.org/blog/beyondkm/36844  ที่ได้ทำความเข้าใจและยกตัวอย่าง  Tacit และ Explicit  K.  ไว้
  • ซึ่งเราก็ได้รับการถ่ายทอดเรื่องนี้มาจาก อ.ดร.ประพนธ์ ค่ะ 

นี่คือปัญหาของการถือคำวิ่งนำทาง โดยไม่ได้ดูสาระของคำในการตีความ เพราะแต่ละตำมีบริบทของมันเอง อาจแปรได้ตามสถานะการณ์ตรับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท