เรื่องเล่า "เส้นทาง...การทำ KM ของ กรมสุขภาพจิต" (ภาค 2)


        ต่อภาค 2 นะคะ  จากเรื่องเล่าที่ถอดเทปมาจาก พี่สมพร  อินทร์แก้ว  หนึ่งในแกนนำทีม KM กรมสุขภาพจิต 

       Link ภาคแรก (http://gotoknow.org/blog/play/56771)   

  (คุณสมพร  อินทร์แก้ว)

                หลังจากนั้น เข้าปีงบประมาณใหม่  ทุกหน่วยทำแผน KM ขึ้นมา   ในฐานะที่เราอยู่ส่วนกลาง  เราก็คิดว่าจะทำอะไรบ้างที่จะให้เขาอยู่ในกระแส สามารถจะทำความสำเร็จของงานให้เกิดขึ้น   แต่เนื่องจากแผน ก.พ.ร. ในปี 49  ถือว่ายังไม่มีการบังคับใช้อย่างเข้มข้นในภาคราชการทั่วไป  ถ้าไม่ใช่หน่วยงานที่ถูกกำหนดให้เป็นหน่วยนำร่อง    ดังนั้นของกรมสุขภาพจิต  พูดง่ายๆ ว่าถ้าเป็นกระบวนการพัฒนา ก็คือให้ขึ้นอยู่กับความสนใจ  แต่เราก็รู้สึกว่าถ้าปล่อยให้ตามความสนใจอาจจะไม่ทันการณ์  เพราะพอในปีถัดๆ มา ทุกหน่วยเราจะต้องทำทั้งหมด  เราจึงกำหนดกระบวนการภายในกระตุ้นหน่วยย่อยให้มีการตื่นตัวและทำ       ทางกรมบอกว่าไม่มีเงิน  เราก็บอกว่าถ้าไม่มีเงินก็ต้องใช้การจัดสรรทรัพยากรภายใน   ซึ่งก็ใช้ไม่มากนัก   มีกระบวนการคือ  1. ต้องมีการสื่อสารในองค์กร   ช่องทางที่ดีที่สุดที่เราทำอย่างต่อเนื่องมี 2 ช่อง  คือ หนึ่ง. ในที่ประชุมบริหารของกรม (ทุกเดือน)  มีข้อตกลงกับ CKO ว่าต้องมีการพูดถึง KM ทุก 2  เดือนอย่างน้อยในนั้น  (แนวคิด,หรือ ขบวนการ, หรือ ผลที่ได้)    แล้วก็ของทุกกองทุกครั้งของการจัดประชุมบริหารภายใน ซึ่งมีทุกอาทิตย์ ต้องมีเรื่อง KM เข้าไปพูดอยู๋ในนั้นด้วย     ช่องทางสอง.  เป็นเรื่องของเว็บไซต์ KM ของกรม   เป็นอีกช่องทางให้คนเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้    นอกจากนั้น ยังมีกระบวนการตามงาน  คือ คณะกรรมการอย่างน้อยจะมีการประชุมอย่างน้อย 3 เดือนครั้ง  แต่คณะทำงานจะมากกว่านั้น เพราะจะต้องมาคุยในส่วนของตัวเนื้องานที่ได้   นอกจากนี้เราจัดเป็น  KM สัญจร   โดยให้ผู้บริหารได้ออกไปตามหน่วย   เราจัด 4 ครั้งในปีที่ผ่านมา  โดยมีประเด็น คือ ครั้งแรกเอาหน่วยที่เป็นสถาบันทางวิชาการ มาคุยกัน  โดย CKO และ ผู้บริหารจะเป็นคนหลักในการทำความเข้าใจ และแลกเปลี่ยนกันในส่วนการวางแผน และการกำหนดการจัดการความรู้ของแต่ละหน่วย    จากนั้นจัดสัญจรอีก 3 ครั้งภายใต้  3 ประเด็น  คือ สุขภาพจิตชุมชน, สุขภาพจิตภัยพิบัติ  และ  การวิจัยและพัฒนา   ซึ่งถือว่าเป็นภารกิจหลักของกรม  เป็นลักษณะของการสัญจรเพื่อให้ได้ตัวเนื้องาน  เป็นการประมวลภาพ     แต่ในส่วนของวิจัยและพัฒนา นอกจากจะเป็นการประมวลเนื้องานแล้วยังเป็นการกำกับกระบวนการวิจัยในปี 2549  ไปด้วย ซึ่งเป็นงานหลัก   

 

                ในช่วงปลายปี  เพื่อให้เห็นว่าเรามีเนื้องานอะไรเกิดขึ้น   เราจึงจัด ตลาดนัดความรู้สุขภาพจิตดี  ซึ่งเป็นเวทีให้ทุกหน่วยส่งงานเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน   ปรากฏว่าพอเราดูความสำเร็จของ 40 หน่วยแล้ว เราแบ่งประเภทออกมาได้ 4 ประเภท  คือ  1. ยังไม่ค่อยมีอะไร  ก็เข้ามาในฐานะผู้เข้าร่วมประชุมและร่วมสังเกตการณ์    2. มีชิ้นงานแล้ว  สามารถเอามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับคนอื่นได้  ก็นำมาจัดนิทรรศการ    3. หน่วยที่มีการใช้ KM ไปใช้พัฒนางานที่เห็นผล  สามารถมาเป็นวิทยากรในกลุ่มย่อยได้   สามารถเอาตัวองค์กความรู้มาพัฒนาจัดการงานของเขา   ก็มาอยู่ในส่วนของการเป็นวิทยากรห้องย่อย     4.   หน่วยงานที่โดดเด่น ที่เป็นต้นแบบได้ พูดกระบวนการได้ครบวงจร  ให้เป็นวิทยากรอยู่ในห้องใหญ่       โดยในงาน  อ.ประพนธ์   จาก สคส.  ก็มาสนับสนุนเป็นวิทยากร และมอบรางวัลให้  

               ในปี 2549  เรายังมีกระบวนการพัฒนาทักษะของ คุณอำนวยด้วย อย่างน้อยมี 4 ทักษะสำคัญมากในการไปจัดเวที  คือ 1. การตั้งคำถาม, แม้กระทั่งตั้ง หัวปลา(แม้เราไม่เก่งมาก  แต่ก็เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้)   2. การเล่าเรื่อง  3. การฟังแบบ Deep listening    4. ทักษะ Notetaker (บางคนเล่าดีมากแต่เวลาสกัด  สกัดออกไปหมดเลย ทำให้คุณค่าหายไปหมดเลย)    นี่คือภาพรวมที่เราจัดทำไป   แต่ปรากฏว่าพอเราจัดตลาดนัดความรู้แล้วไปตามงาน  ก็มีภาพที่เราคาดไม่ถึงเกิดขึ้นในหน่วย   ภาพหนึ่งที่ประทับใจคือ  ในระดับปฏิบัติการ เช่นพยาบาล หรือเจ้าหน้าที่  ทุกคนเดิมทำงานเหมือนหุ่นยนต์ (คือพวกเขาทำงานหนักอยู่หน้างาน)   พอเข้าประชุมก็เหมือนเป็นพลเมืองชั้น 2  เพราะไม่ได้เป็นหมอ หรือ นักจิตวิทยา    แต่พอเอากระบวนการ KM เข้าไปแล้ว พวกเขารู้สึกว่าเขามีคุณค่า  แล้วบรรยากาศจะดีมาก ความคึกคักในการทำงานเกิดขึ้น    และระดับบริหารก็ได้เห็นภาพนี้เกิดขึ้นในระดับผู้ปฏิบัติด้วย  โดยเฉพาะในส่วนของการให้บริการ ตาม รพ. ต่างๆ       และบางแห่งสามารถจัด CoP ได้มากกว่า 10 CoP   แต่ที่เรียกว่าได้ผลเป็นรูปธรรมสามารถเอาไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้อย่างดีมี 3 แห่ง     เป็นการจัด CoP โดยไม่ใช้เงิน แต่ใช้การจัดการเข้าไป  และได้ชิ้นงานที่เป็นการพัฒนางานเกิดขึ้น  เป็นที่น่าภาคภูมิใจ     ส่วนในระดับนักวิชาการ ที่ดีมากกคือ   ความเอื้ออาทร และบรรยากาศความใส่ใจมีมากขึ้น  เพราะโดยปกตินักวิชาการจะอยู่กับตัวเอง ไม่ค่อยคุยกันเท่าไหร่  หรือบางทีคุยแบบไม่ค่อยได้ฟังผู้อื่น    ภาพที่เห็นที่สำนักพัฒน์ คือ  ครั้งแรกเราจัด CoP ลปรร. เรื่องงาน   นัด 9.00 น.  ไม่มีใครมา  มีแต่ฝ่ายจัดการคอยอยู่  และแรกๆ มาน้อยมาก  เราต้องให้ทีมเราไปกระตุ้น, ชักชวน และข่มขู่เล็กน้อย (มีเสียงหัวเราะเล็กๆ จากคนเล่า พี่สมพร)    แต่พอเราทำไปครั้งที่ 3  ทุกคนมาก่อนเวลา  ไม่ต้องไปเชื้อเชิญ และข่มขู่    และเขาขอต่อครั้งที่ 4, 5... จนเราจัดไป 7 ครั้ง   แล้วก็มีคนอาสาเป็น คุณอำนวยและ คุณลิขิต ให้      นี่เป็นบรรยากาศในกองวิชาการที่ดีขึ้น        ทุกคนมีจุดร่วมในการสื่อสารโดยใช้ wording ของ KM เป็นจุดเชื่อมต่อ   เช่นคุยเล่นกัน  พอใครบางคนเริ่มบนปัญหาเวลาคุยเนื้องาน  ก็จะบอกว่า KM ให้คุยเรื่องความสำเร็จ   ทำให้เขาหยุด  ดูเหมือนเขาไม่ได้ถูกตำหนิ  แต่ KM บอกไว้อย่างนั้น  อันนี้เป็นภาพในภาควิชาการ

                  .........ภาคที่ 3  เป็นภาคการบริหาร .......ต่อ Blog หน้านะคะ

หมายเลขบันทึก: 57346เขียนเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2006 09:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤษภาคม 2012 13:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • ติดตามอ่านเป็นตอนที่ 2 แล้วเห็นภาพความสำเร็จของกรมสุขภาพจิตอยู่ใกล้ ๆ แล้วค่ะ
  • คนทำ KM เนี่ยต้องใช้เวลานานมาก ๆ เลยเนอะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท