Self-depreciation การลดราคาตนเอง โรคร้าย!!


ชั้นภาคภูมิใจในงานของชั้น ถึงแม้ว่าจะแค่ทำความสะอาด แต่ชั้นก็เป็นคนมีศักดิ์ศรี มีชีวิต มีความภาคภูมิใจในงานไม่แพ้ researcher ระดับโลกเหมือนกัน

อ่าน comment ของ โอ๋-อโณ ใน บทความนี้ แล้วเกิดความทนไม่ได้ (ไม่ใช่จะทำร้ายร่างกายคุณโอ๋นะครับ) ต้องเขียนอีกบทความนี้ขึ้นมาครับ

น่าสงสัยความคนเรานี้ความมั่นใจในตัวเองมันหายไปไหนหมดได้อย่างง่ายดาย ใครๆก็ดูเหมือนจะเป็น คนส่วนใหญ่ก็เป็น คนไทยก็เป็น

ผมยกตัวอย่างย่อหน้าบน มีคำหลายคำที่น่าสนใจครับ คือที่เน้นๆไว้นั่นแหละครับ เวลาเราให้ ความเห็นของเราเอง เราไม่ค่อยบอกว่าเป็นความเห็นของเราหรอกนะครับ มักจะบอกว่า "ส่วนใหญ่คิดว่า (เปล่า.. ไม่ได้ทำแบบสอบถามมาหรอก แค่คิดว่า...)" หรือ "จริงๆแล้ว (มันจริงยังไงฟะ?) หรือ "คนไทยยังไมพร้อมจะเรียนรู้ด้วยตนเองหรอก (แปลว่า "ผม" ยังไม่พร้อมจะเรียนรู้ด้วยตนเอง)

ผมโทษหลายอย่างครับ

  • ระบบศักดินายังคงอยู่ มีชั้นวรรณะ แต่ไม่ใช่เรื่องของที่ดินอีกต่อไป เป็นเรื่องของงาน ของอายุ ของตำแหน่ง ฯลฯ
  • ระบบเสียงดัง (กว่า) ความไม่พร้อมจะเผชิญหน้า ไม่ทราบสิทธิ ไม่ทราบหน้าที่ (ตอนหลังนี่ทราบสิทธิเยอะขึ้นเยอะ แต่ยังไม่ทราบหน้าที่เหมือนเดิม)
  • ระบบไม่รู้จักตนเอง (พี่ๆ... ผมเป็นยังไงบ้างง่ะ) ต้องพึ่งพาคนอื่นบอกว่าดีหรือไม่ดีตลอดเวลา อย่าว่าแต่ individual เลย ระดับองค์กรบางทีเรายังต้องไปถามผู้เชี่ยวชาญ (แต่จบคนละสาขากับเรา) ว่างานของเรายังไงเรียกว่าดี เรียกว่ามีคุณภาพ เขาตอบว่าแล้วแต่พี่คิดครับ ก็งงกันยกใหญ่ เสร็จละซิตู ต้องคิดเอง

ตอนผมไปเรียนอยู่ที่อังกฤษ Department of Transplantation Sciences, University of Bristol ได้ไปทำ postdoctoral ทีตึก stemcell research ใหม่เอี่ยมสองชั้น ได้รู้จักกับ cleaning lady คนหนึ่งชื่อ Mary แกน่ารักมากเลยครับ แกจะทำความสะอาดทั่วทั้งตึกวันละสองรอบ และรอบเล็กทุกๆ break ของ staff ดุการทำงานแล้วรู้เลยว่าแกมี mission & vision ยังไงของแกบ้าง ก็คือ ตึกนี้ของฉันจะต้อง sparking clean ทุกเย็น และทุกเช้า ตอนเวลาทำงาน แกก็จะเรียก Professor และ staff อย่างดี แต่พอเลิกงาน บางทีเราก็ชวนกับไป pub (pub ในอังกฤษ หมายถึง public เป็นที่สังสรรค์) กัน ทุกคนก็จะผลัดกันไปซื้อ drink กันมาเลี้ยง แกก็ join ด้วย ไม่ขัดเขิน และไม่มียศถาบรรดาศักดิ์ว่า เธอ professor ชั้น cleaner แก doctor แต่อย่างใด ชั้นภาคภูมิใจในงานของชั้น ถึงแม้ว่าจะแค่ทำความสะอาด แต่ชั้นก็เป็นคนมีศักดิ์ศรี มีชีวิต มีความภาคภูมิใจในงานไม่แพ้ researcher ระดับโลกเหมือนกัน

ผมเกรงว่าเท่าที่สังเกตเห็น เป็นอย่างที่คุณโอ๋ว่ามาจริงๆ ก็คือ พวกเราไม่ใคร่ภาคภูมิใจในงานของตนเองเท่าที่ควร จะเขียนบันทึกที่เราสนใจ ก็กังวลว่าคนอื่นจะไม่อ่าน คนจะไม่ชอบ ซึ่งมันไม่เกี่ยวอะไรกับ value เลยแม้แต่น้อย

รายการโทรทัศน์เดี๋ยวนี้ มี reality show กันเกลื่อนกลาด คนก็แห่กันไป vote ว่าชอบใคร ไม่ชอบใคร มันเรื่องอะไรกันนี่? การที่เบื๊อกที่ไหนก็ไม่รู้ ลงคะแนนเสียงว่าตูชอบเบอร์นี้ มันกลายมาเป็น value ได้ ค่านิยมแบบนี้แหละครับ เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนทุกข์เรื่องเขียนแล้ว rate ไม่ดี rate ไม่สูง พาลสูญเสีย self ไปอย่างไม่มีเหตุผลเลย

ถ้าเรายังไม่สามารถภาคภูมิใจในตนเองได้ ตรงนี้จะเป็นอุปสรรคที่ยิ่งใหญ่ของ KM ครับ เราจะไม่ show อะไร ถ้าไม่เริ่มจาก self  confidence เริ่มจากความสามารถในการ appraise ตนเองเสียก่อน และถึงเริ่มได้แล้ว แต่ยังติดกับการต้องรอ others' opinion มาตัดสิน ก็ยังอยู่อีกไกลที่จะพัฒนาต่อ

Supervisor ผมแนะนำสั้นๆ ตอนสอบ Viva voce (หรืออเมริกันเรียก oral examination) defend Ph.D. thesis ว่า จงเดินเข้าไปในห้องสอบด้วยความเชื่อที่ว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เรา focus ศึกษามาตลอดเวลา 4 ปี มีคนน้อยคนในโลกนี้ที่จะรู้เท่าเราอีกแล้ว แล้วเราก็จะเดินยืดอกกลับออกมา เพราะได้ไป educate examiner มาสำเร็จในที่สุด

หมายเลขบันทึก: 79375เขียนเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2007 01:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 13:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (20)
อยากบอกว่านี่คือหน้าที่ของพวกเราทุกคนที่ควรช่วยกันนะคะ เขียนบันทึกนี้ไว้เมื่อปลายปีที่แล้วค่ะ และยังคงพยายามต่อไปเท่าที่จะทำได้

ขอร่วมแสดงความคิดเห็นนะครับ แล้วจะค่อยๆ ตามไปแสดงความคิดเห็นใน bolg อื่นๆ ของอาจารย์แจน และอาจารย์โอ๋ ฯลฯ ช่วงนี้ยุ่งมากเลยครับ ได้แต่อ่านหรือเขียนแสดงความคิดเห็นสั้นๆ

ในทางจิตเวชหรือจิตวิทยา สิ่งที่สำคัญที่สุดหรือเป็นต้นตอของปัญหาของคนเราที่สุดประการหนึ่งคือ self-esteem ครับ เมื่อเราเชื่อมั่นตัวเองแล้ว เราก็จะผูกความคิดความรู้สึกของเรากับคนอื่นน้อยลง ไม่ได้หมายความว่าคนอื่นไม่สำคัญนะครับ เขายังสำคัญ สิ่งที่เขาพูดเรายังคงเอามาไตร่ตรอง  แต่เราจะแกว่งตามสิ่งรอบตัวน้อยลง หนักแน่นในความคิดหรือการรับรู้ของเรามากขึ้น

เรื่องที่อาจารย์ phoenix เล่าเกี่ยวกับคนทำความสะอาดนั้นทำให้เห็นภาพชัดถึงความแตกต่างใน mentality ความคิดการรับรู้ระหว่างชาวตะวันตกกับตะวันออก ยังไงๆ เราก็ไม่เหมือนเขา เพราะเราถูกเลี้ยงดูมาในสังคมที่ต้องใส่ใจสิ่งรอบข้าง ความรู้สึกของผู้อื่น ในขณะที่สังคมทางตะวันตก โดยเฉพาะชาวอเมริกัน เขาจะเน้นที่ตัวตน individuality และการพัฒนาตัวตนของตนเอง

คนไทยเราผมมองว่ายังแคร์สิ่งรอบตัวมากอยู่แต่ในขณะเดียวกันก็ยังขาดความรับผิดชอบหรือความสำนึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของส่วนรวมหรือสังคม ชอบทำอะไรตามใจ ชอบสนุก

นี่คือส่วนที่เราต่างจากชาวญี่ปุ่นที่เขาก็แคร์คนรอบข้างเหมือนกัน แต่เขาจะมีควมรับผิดชอบและมีความรู้สึกว่าตนเองมีหน้าที่ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคมสูง

TV มี reality show ผมมองว่าอันนี้เราก็ลอกเลียนเขามาไม่ได้เกิดจาก mentality ของเราหรอกครับ เหมือนคฤหาสถ์ที่มีเสาโรมันนั่นแหละ อย่างไรก็ตามอะไรที่เราทำบ่อยๆ โดยไม่รู้ที่มาที่ไป ในที่สุดก็จะส่งผลต่อจุดหมายปลายทางของเราได้

ถ้าให้มองตามหัวข้อ การลดราคาตัวเอง โรคร้าย !! ผมคิดว่า ในญี่ปุ่นเขาก็มีการลดราคาตนเองเหมือนกัน แต่เป็นแค่มารยาททางสังคม สิ่งที่สำคัญและเป็นสิ่งที่เขายึดถือมากว่า น่าจะเป็นความรับผิดชอบต่อหน้าที่และชุมชนของตน

ดังนั้น ถ้าเราจะให้คนไทยเราแสดงออกในแง่นี้มากขึ้น ผมมองว่าถ้าจะให้เขาเชื่อมั่นในตนเองและแสดงออกทุกอย่างตามที่ตนเองคิดเห็นจะค่อนข้างยากเพราะมันเป็นอะไรที่ฝังลึก วิธีการที่น่าจะมีประสิทธิผลคือ ทำให้เขารู้สึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มนี้ รู้สึกว่าตนเองน่าจะแสดงออกหรือทำอะไรเหมือนกับที่คนอื่นเขาทำกัน อันนี้น่าจะตรงกับสภาวะจิตของเรามากกว่า

คุณโอ๋ครับ

ชอบบทความนี้มากครับ โดนใจๆ

=========================

อ.มาโนชครับ

ขอบพระคุณสำหรับ analytical response ครับ ชอบๆ สภาวะสังคมนั้นผมเชื่อว่าเป็น dynamic ครับ เหมือนการศึกษาภาษาศาสตร์นั้นแหละ มิใยที่เราจะไม่ชอบการวิวัฒนาของภาษา แต่ as a matter of fact ภาษาเป็นหนึ่งใน evidence of ever-changing world

ผมเชื่อว่า model of social ที่เรารู้สึก ณ เวลาในเวลาหนึ่งนั้น ไม่ได้ represent อะไรสักเท่าไหร่เลยครับ เพราะเวลาเราประเมินนั้น เราคิดเอาเท่านั้นเอง แถมยังอยู่ใน บริบทที่เราเลือก มี bias เป็นสองเด้ง ผมเลยชอบคิด ฉวยโอกาส ว่าถ้าเราไม่ชอบ model ไหน และชอบ model ไหน ก็อย่าเสียเวลาคิดเลยว่า ตอนนี้มันเป็น model ไหนกันแน่ แต่ให้รีบๆลงมือทำให้มัน ไปสู่ model ทีเราอยากให้เป็น น่าจะดีที่สุด

ประเทศอย่างอเมริกา พยาบามจะเปลี่ยน model ประเทศอื่นให้ตรง style ของตัวเอง และทำได้พอสมควร (จนเดือดร้อนทุกหย่อมหญ้า) แน่นอน passive indwelling ก็จะถูกกลมกลืนไป ไม่เพียงแต่ประเทศเล็กๆนะครับ ตอนนี้ไปถามคนอังกฤษว่า อะไรคือ Englishness หรือ คนอังกฤษ เป็นยังไง เขาจะงงๆ เพราะ Tony Blair ด้วยความ political correctness ให้คนเรียกตัวเองเป็น British ไม่ใช่ English ในขณะเดียวกัน คน Welsh และ Scottish นั้น อย่าไปเรียนเขาว่า British (และห้าม ห้าม ห้าม เรียก English เด็ดขาด) ทีเดียวเจียว ถ้าไม่คิดจะชกกับ Beer Belly ขนาดสองกระสอบ

อาจจะเป็นเพราะเราไม่ค่อยได้ถามว่าเรามาจากไหน เป็นใคร ทำไมถึงอยู่ที่นี้ได้ มีภาษาของเราเองได้ ทั้งพูดทั้งเขียน ถ้าไม่ถามคำถามเหล่านี้ และไม่มีคำตอบสำหรับคำถามเหล่านี้อยู่ในหัวเลย ก็จะไม่แปลกอะไรที่จะหา self value ไม่เจอ ต้องไปให้คนอื่นช่วย vote ให้แทน

ผมเห็นด้วยกับอาจารย์นะครับว่า AF นั่น แค่ producer ไป copy เขามา แต่ที่ผมห่วง ไม่ใช่การทำของคนสองสามคนใน TV board หรอกนะครับ ผมห่วง ที่รายการนี้มันประสบความสำเร็จอย่างท่วมท้น ต่างหาก คนหันไปนิยม vote rating จากใครก้ไม่รู้ ไม่มี self direction ของตนเอง ต้องไป vote เอาธุระกงการของผู้อื่นเป้นกิจในการประเมิน คุณค่าของคน ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ผมคิดว่าจะเกิด ปัญหาเรื่องคุณค่าของคนไทยที่น่านิยม นอนาคต (อันใกล้) นี่แหละครับ

ปรเด็น เรื่อง การสร้าง ความภาคภูมิใจ ...เรื่องนี้สำคัญจริงๆคะ....ต้องเปิดประเด็นนี้ในทุกวง

...............................

แต่เราก็ต้องพยายามช่วยคนอื่น ทลายกำแพงที่เขาสร้างขึ้นมาเองด้วยคะ  กำแพงในที่นี่้

มนุษย์ สร้างมาเพื่อปกป้องตนเอง และปกป้องมากเกินควร ปกป้องภัยจากข้างนอกเลยลืมข้างใน

...................................

เวลาที่เราจัดค่ายให้นักเรียน นักศึกษา คนทั่วไป  สิ่งที่เป็นเป้าหมาย ของเรา คือ การ ที่ สร้างกิจกรรม สร้างผลงาน ที่เป็นของเขาเอง ให้เขาเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง รักตนเอง 

มีความสุข และมองเห็นความสุขของตนและ ความสุขของคนอื่น

.................................

ประเด็นนี้ดีมากคะ 

ที่จริงการเริ่มนั้นง่ายกว่าที่คิด เพียงแต่ถ้าเราคิด "ข้างนอก" แล้วค่อยมากหาข้างใน มันจะไม่มีวันถึงเวลามาหาข้างในเลย เพราะข้างนอกนั้นเป็น chaotic และเปลี่ยนแปลง ปั่นป่วน การจะมี self esteem หรืออย่างที่ อ.มาโนชว่า หรือว่า self appreciation หรือ self satisfaction อะไรก็ได้ เราจะสามารถเริ่มได้จากทำความรู้จักตนเอง เราเป็นใคร มาจากไหน กำลังทำอะไรอยู่ ทำเพื่ออะไร เราดีอย่างไรที่เรียนวิชานี้ ทำอาชีพนี้ และการที่เราทำงานนี้อยู่ มันดีอย่างไรต่อครอบครัว คนรอบข้าง และสังคม เกิดเป็นความเชื่อมโยงต่อเนื่อง (interconnectedness) ของทุกสิ่งทุกอย่าง

ปัญหานี้ดูเหมือนแก้ไม่ยาก แต่การที่จะเริ่มอะไรสักอย่างกับตนเอง เสมือนเส้นผมบังภูเขา ยากกว่าที่คิดครับ และคนอื่นจะแทรกแซงก็ไม่ง่าย เราได้แต่จัดสิ่งแวดล้อมให้ empower มากที่สุด

แต่ผมว่าการจัด ranking หรือ best article อะไรทำนองนี้ ไม่ค่อยจะ boost morale หรือ empower คนที่ยังไม่มั่นใจในตนเองเท่าไร คนที่แสดงออกมากๆ แสดงออกเก่งๆ ที่มักจะเป็นคนได้รางวัลนั้น ก็ไม่ได้ต้องการ boost อะไรอยู่แล้ว แต่คนที่ยังไม่ได้เริ่มรู้จักตนเอง ไม่มี หรือมีน้อย self esteem ยิ่งมีการจัด ranking หรือ ประกวดอะไรนี ต้องระวังจะเป็นดาบสองคม

เห็นด้วยแบบสุดๆ

ผมคนหนึ่งละที่ไม่เคยลดค่าตัวเองลงด้วยคำพูดหรือการกระทำของใคร แต่ก็ประเมินตัวเองอยู่ตลอดนะครับว่าจริงไม่จริง

ขอคุณครับสำหรับแนวคิดดีๆ

 เพียงแต่ถ้าเราคิด "ข้างนอก" แล้วค่อยมากหาข้างใน มันจะไม่มีวันถึงเวลามาหาข้างในเลย

ปัญหาคือไอ้ข้างนอกที่เรามองมันบิดเบี้ยวไปตามการรับรู้ของเรา เพราะข้างในของเรามันไม่เต็ม มันยากที่จะหาสิ่งที่เป็น objective โดยไม่ขึ้นกับข้างใน เราเลือกที่จะรับรู้ตลอดเวลา เราตัดสินใจตลอดเวลา บนฐานของข้างในของเราที่แกว่งบ้างไม่แกว่งบ้าง 

นี่เป็นอันที่บางครั้งผมยอมแพ้คนไข้ผมครับ  เพราะรู้ว่าเขายังไงๆ ก็มองอย่างนั้น ประเด็นที่เราจะคุยต่อกับเขาคือ เมื่อเขามองอย่างนั้นแล้วทำยังไงถึงจะปรับตัวกับสถานการณ์ให้เหมาะสมที่สุด ให้เขาอยู่ได้บ้างพอสมควร

เราจะสามารถเริ่มได้จากทำความรู้จักตนเอง เราเป็นใคร มาจากไหน กำลังทำอะไรอยู่ ทำเพื่ออะไร เราดีอย่างไรที่เรียนวิชานี้ ทำอาชีพนี้ และการที่เราทำงานนี้อยู่ มันดีอย่างไรต่อครอบครัว คนรอบข้าง และสังคม

อ่านแล้วเหมือนสัปปุริสธรรมเจ็ดเลยนะครับ

สวัสดีครับ อ.มาโนช

เรื่องของการรับรู้ที่ พื้นผิว ผมกับพี่เต็ม discuss กัน (ระดับ nuclear physics เชียวหนาจะว่าไป) คล้ายๆกับที่อาจารย์เพิ่มเติมมาเลยครับ ในผป. palliative ยิ่งมีไม่นอยที่ทั้งในและนอกมี turbulent ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันเลย

ผมคิดว่า self esteem ที่เกิดจาก outside ก็มีครับ แต่ว่ามันจะไม่ secure เท่าที่ออกมาจากภายใน ทางที่ดีนอกผ่องแผ้ว ในใสแก้วบริสุทธิ์ สุดสะอาดปราศกิเลส ไม่มีสองเฉดสีแยกจากกัน

ถ้า self esteem จากนอกเข้าในทำไม่ได้เลย ผมยัง happy กว่านะครับ แต่ผมคิดว่าปัญหาคือการจัดการ self esteem จากภายนอกที่ทำกันได้ง่ายกว่านี้สิ นั่นคือราก หรือจุดแข็งของระบบ capitalism หรือ materialism นั้นเลยทีเดียว

เราเคยไปราวน์คนไข้ advanced cancer ที่หอผู้ป่วยนรีเวช ตอน extern present case ก้ได้ภาพลักษณ์ว่าเป้นชาวบ้าน ไม่ได้เรียนหนังสืออะไร ทำขนมเลี้ยงลูก เราก็ไปถามประเมิน ถามป้าว่า ป้ามีลูกกี่คน เจ็ดคนจ้ะ โอ้ โฮ เจ็ดคน แล้วคุณลุงช่วยเลี้ยงไหมจ๊ะ โอ๊ย เสียไปนานแล้วจ้ะ ป้าเลี้ยงมาของป้าเอง เลี้ยงยังไงจ๊ะ เลี้ยงด้วยข้าวหลามจ้ะ (เรางงไปชั่วขณะ อารายกันจ๊ะ ฟังผิดรึเปล่าเนีย) พอดีป้าก็ต่อ ป้าขายข้าวหลามเลี้ยงมันมาหมดเลย 7 คน

เรา (หมอ นศพ. อาจารย์ พยาบาล) ก็หยุดทึ่งกันไป ป้าก็เล่าต่อ ป้าสวดภาวนาทุกคืนให้มันเป็นคนดี แล้วดีไหมล่ะจ๊ะป้า เออ มันก็ไม่กินเหล้า ติดยา (ป้ายิ้ม หยิบน้ำมาจิบ) ป้าเก่งจังเลย แล้วลูกๆรู้ไหมจ๊ะว่าป้าไม่สบาย โอ๊ย บอกมันหมดแล้ว รู้หมดแล้ว (จริงๆจะใส่ sound track ภาคใต้ แต่ผมเองก็ไม่ค่อยรู้เรื่องเหมือนกัน แต่ตอนฟัง มันมากครับ) แล้วป้าเป็นอะไรรู้ไหมจ๊ะ เป็นมะเร็งจ้ะ หมอบอกแล้ว ป้าก็เตรียมตัวตายแล้ว รักษาได้ก้ดี ไม่ได้ก็ไม่เป็นไร โห เตรียมตัวแล้วเหรอป้า เตรียมยังไงจ๊ะ ป้าจะไม่เอาเขาเตาเผา มันแคบ เดี๋ยวจะอึดอัด แต่ก็ไม่เอาโลงสามชั้นด้วย มันมากไป แล้วป้าบอกลูกบ่าวมันรึยัง บอกมันหมดแล้วจ้ะ

case แบบนี้ล่ะครับที่ข้างนอกอาจจะไม่แผ้ว แต่ข้างในนั้นสุดใสแก้วบริสุทธิ์จริงๆ extern เตรียมตัวจะ break bad news เตรียมตัวจะ discuss last hour of life ก็อึ้งไปเลย เพราะปรากฏว่าป้าแกมี model of dying ชัดเจนกว่าหมออีก แถมตระเตรียมการณ์ไว้หมดแล้ว

Self esteem จากภายในนั้นมีได้ง่ายกว่าที่คนอยากจะคิด เพียงแค่เริ่มต้นเราต้องรู้จักและเข้าในในตัวเราเองก่อน ฐานะเราอย่างนี้ เรียนมาแค่นี้ ก็มีอาชีพหนึ่ง ทำงานแบบหนึ่ง แต่การที่เราทำงานได้บรรลุวัตถุประสงค์ ความรู้สึกแห่งความสำเร็จ ไม่ควรจะยิ่งหย่อนไปกว่าตอนที่อีกคนหนึ่งขายหุ้นได้กำไรหลายสิบล้านเลย เพราะมันก็ทำงานสำเร็จเหมือนกัน

model แห่งการ vote คุณค่าของคนในที่สาธารณะ อย่าง AF อย่าง American Idol หรือ Big Brother นี่แหละ ที่ทำลาย self esteem แบบ individual ไป ใครจะเป้นยังไง แต่เสียงส่วนใหญ่บอกว่าไม่ดี ก็แปลว่าไม่ดี ไม่มีคุณค่าไปเสีย

อาจารย์ Phoenix  ครับประเด็นคุณป้านี่น่าสนใจมาก จริงๆ แล้วเป็นอะไรที่เราพบเห็นบ่อยๆ ในโรงพยาบาลต่างจังหวัดนะครับ  จริงๆ แล้วน่าจะถอดประสบการณ์ออกมา  แต่ต้องอาศัย anthropologist มือฉมัง

เคสแบบคุณป้านี่ (อาจารย์จำชื่อได้ไหมครับ เพราะน่าจะเป็นเคสตัวอย่างไปได้อีกนานเลยนะครับนี่ ผมเรียกป้าบัวไปก่อนก็แล้วกัน) ถ้าเราไปเทียบกับป้าแมรี่ โดยดูภายนอกจะแตกต่างกันนะ (ผมคิดเอา) ป้าบัวดูภายนอกแกอาจขี้เกรงใจ เจียมเนื้อเจียมตัว รู้ว่าไม่ได้เรียนหนังสือ คืออาจดูเป็นคนไม่ค่อยมี self-esteem ก็ได้นะ

self-esteem มีที่มาจากแนวคิดตะวันตก โดยเฉพาะในวัฒนธรรมอเมริกันที่เน้น individuation มาก สัมพันธภาพของเขาจะเน้นในเรื่อง independent และตัวตนจะเน้น ambition มาก เมื่อเราเน้นตัวตนของเรา จุดหมายก็คือต้องทำให้ตัวเองหนักแน่นและสูงเด่น

ในขณะที่สังคมตะวันออกจะเน้นสภาพแวดล้อม context เน้นเรื่องคนรอบข้าง  สัมพันธภาพจะเน้นแบบ interdependent (ไม่ใช่ dependent แบบที่เรามักคิดกัน) การอยู่อย่างไรให้ไปกับคนอื่นได้ smooth คือศาสตร์และศิลป์ที่สำคัญกว่าการรักษาหลักการ

ในสังคมแบบหลังนี้การมี self-esteem ไม่ใช่ virtue  ลักษณะแบบป้าบัวนี่แหละคือลักษณะของคนที่ healthy แบบไทยๆ ในขณะที่ป้าแมรี่จะเป็นแบบฝรั่ง   ถ้าถามป้าบัวแกจะไม่ชมตัวเอง อาจบอกว่าป้าเรียนน้อย ป้าไม่ฉลาด แต่แกจะภูมิใจเรื่องลูกเรื่องเพื่อนบ้าน เรื่องที่แกเห็นว่าเล็กน้อยๆ ฯลฯ

ผมคิดเหมือนกันนะว่าเราเรียนและอยู่เติบโตมาในสังคมที่มีลักษณะสภาวะจิตแบบตะวันตก จนบางครั้งกลับกลายเป็นว่าการถอดความรู้จากชาวชนบทจะเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาทีเดียว

แวะเข้ามาอ่านค่ะอาจารย์ อ่านแล้วมันมาก จนอยากเอาประสบการณ์มาแชร์บ้าง

ว่าแต่พื้นแบคกราวน์มันลายตาจังเลยค่ะอาจารย์

กว่าจะอ่านจบ มึนนิดหน่อยเลย ^___^

คุณ k-jira ครับ ระวังนะครับ วิงเวียนมากเป็น sign of aging นะครับ (ภรรยาผมบอก แกเป็นหมอตาครับ)

อาจารย์มาโนชครับ (ผมขอเรียกพี่มาโนชได้ไหมครับ ติดนิสัยนับญาติน่ะครับ) เราได้ทำ post-case conference case นี้ ชื่อป้าบวนครับ (แหม อาจารย์เกือบเดาชื่อถูก ทำได้ไงเนี่ย) ตอนนี้กลับบ้านไปแล้วครับ

เล่าต่อ

case นี้ตอนเราไปหา ป้าบวนกำลังนั่งอ้วกอยู่ที่ข้างๆเตียง (แกมี partial gut obstruction) พอทีมหมอมา ป้าก็อ้วกต่ออย่างรวดเร็วให้เสร็จ แล้วก็ค่อยๆไต่ขึ้นเตียง (ตัวป้าบวนเล็กนิดเดียวเองครับ ขึ้นเตียงต้องต้องเรียกไต่ จึงจะเห็นภาพ) นั่งพับเพียบเรียบร้อยบนเตียงเตรียมสัมภาษณ์ (ผมบอก นศพ.ทีหลังว่าให้สังเกตว่าคนไข้นั้น มองเราเป็นอย่างไร และให้เกียรติเราแค่ไหน ข่อสำคัญคือให้ aware เรื่องแบบนี้ อย่า fail แกในภายหลัง และให้นึกเหตุผลว่าอะไรที่จะทำให้ relationship แบบนี้หายไปได้บ้าง) ป้าบวนพึมพำขอโทษนิดหน่อย (ที่กำลังอ้วกอยู่.... บอกแล้วว่าคนไข้เราขี้เกรงใจหมอขนาดไหน) เรารีบบอกป้าว่าไม่เป็นไร ตอนนี้อาการเป็นยังไงบ้าง คุยไหวไหม ป้าบอกว่า ไม่พรื่อแล้ว รากแล้วก็ดีขึ้นแล้ว (ไม่พรื่อ คือไม่เป็นไร ราก คือ อ้วก) หมอมีไหร ว่าไป่เล้ย (คนใต้จะพูดสั้นๆแบบนี้แหละครับ ไม่ได้แปลว่าแกเป็นนักเลงแต่ประการใด)

ใน post-case conference ผมถามเด็กๆว่า (เด็กคือน้อง นศพ. ครับ จริงๆก็ไม่ควรไปเรียกเขาว่าเด็ก มันติดนิสัย) เห็นอะไรบ้าง ปรากฏว่าเหมือนไปดูภาพยนต์สั้นที่น่าดูมากๆ แต่ละคนก็บรรยายสิ่งต่างๆที่ได้เห็นออกมา ที่น่าสนใจคือ เขาเริ่มเห็นความเป็นมนุษย์ชัดเจนขึ้นในตัวคนไข้ มีมิติ มีที่มา มีความคิด มีที่ไป มีความปราถนา มีคุณค่าในเรื่องต่างๆเป็นตัวของตัวเอง สิ่งที่ป้าบวนต้องการจากหมอนั้น ช่าง simple และตรงไปตรงมา ป้าไม่อยากทรมาน ไม่ได้ต้องการข้อมูลพิศดาร ไม่ได้ต้องการอะไรพิเศษ มีอะไรก็บอกมาสั้นๆ ตรงๆ ไม่มีความกลัวอะไร

นศพ. บางคนที่เคยบอกว่า อยากจะไปคุยกับคนไข้เหมือนกัน แต่ไม่รู้ว่าจะคุยเรื่องอะไร เพราะ background มันช่างต่างกันเหลือเกิน ไม่มีอะไร in common ที่จะ share พอได้ยินเรื่องป้าบวน เล่าเรื่องต่างๆให้ฟัง ปรากฏว่า มันน่าใจมากที่ป้าบวนไม่เห็นสนใจเลยว่า เรื่องที่แกเล่ามันจะ common หรือไม่ common แค่ไหน เป็นแค่เรื่องราวชีวิตที่เรียบง่าย ของ single mother ที่เลี้ยงลูกด้วยข้าวหลามมา 7 คน และกำลังจะปิดฉากลงในไม่ช้าด้วยโรคที่ทั้งหมดที่แกรู้และจำได้เรียกว่ามะเร็ง เท่านั้นเอง

ผมถามน้อง นศพ. ว่าแล้วเรื่องที่ป้าบวนเล่านั้น เราฟังได้ไหม น้องบอกว่าได้ เพลินเลย ทำไมเรื่องของป้าบวนที่ไม่มีอะไร common กับเราเลยนั้น ถึงได้ฟังได้ เพลินล่ะ? มันเป็นเพียงแค่เรื่องที่เรียบง่าย ธรรมดาๆเท่านั้นเอง?

ผมบอกไปว่าเรื่องชีวิตธรรมดาๆนั้น มี ความเชื่อมโยง กับคนเราทุกคนอยูแล้ว เพียงแต่เราไม่ได้สังเกตเท่านั้นเอง พวกเราทุกคนมีพ่อแม่ พ่อแม่เลี่ยงดูเรามา พ่อแม่ดุเราสอนเรา พูดให้ได้ยินไม่รู้จะกี่ครั้งว่าอยากให้เราเป็นคนดี ดังนั้นพอเราได้ยินเรื่องป้าบวนขายข้าวหลามส่งลูกเรียนหนังสือ เราจึงเข้าใจ รับได้ทันที พอเราได้ยินป้าบวนสวดภาวนาให้ลูกเป็นคนดี เราจึงเข้าใจ รับได้ทันที อะไรคือ common? นั่นคือ ชีวิตทุกชีวิต มี interconnectedness นั้นเอง (วกมาจนได้)

ดังนั้น นศพ. จะไปคุยกับคนไข้ ใช้แค่ความเป็นคน เป็นคนที่มี "ชีวิต" ก็เพียงพอที่มีอะไรที่ common กับคนไข้ ที่จะสื่อได้มากเพียงพอแล้ว อย่าไปสวมบท "หมอใหญ่" หรือ "นักศึกษาแพทย์" ที่ไม่มีอะไร in common กับคนไข้ หรือชาวบ้านเลย นั่นคือที่มาที่สมเด็จพระราชบิดา สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร์ อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก จึงมีพระบรมราโชวาทว่า "I not only want you to be a doctor, but I also want you to be a man." ฉันไม่ต้องการให้เธอเป็นหมอเพียงเท่านั้น ฉันต้องการให้เธอเป็นคนด้วย เป็นพื้นฐานของการเป็นแพทย์ เป็นหมอ ที่สำคัญที่สุด

        อาจารย์คะ อ่านแล้วมันส์มากอยากขอแชร์ความคิดด้วยค่ะ

        ดิฉันเองมานึกย้อนถึงตอนเป็นนักศึกษาแพทย์ จำได้ว่า อาจารย์ย้ำเสมอว่าพวกคุณคือครีมของประเทศนะ ประเด็นนี้อาจต้องการให้นักศึกษาเกิดความมั่นใจในตนเอง เพราะอาชีพเราต้องการความมั่นใจมาก ในการรับผิดชอบดูแลชีวิตผู้ป่วย แต่อีกด้านหนึ่ง ก็ทำให้เกิดอัตตาตัวตนสูงมากว่า เราคือคนฉลาด เก่งมาก จึงทำให้ฟังคนอื่นน้อย มองบุคลากรรายรอบ หรือคนไข้ชาวบ้านๆของเราต้อยต่ำกว่าเรา

       ดิฉันจำได้ว่า ช่วงหนึ่งของชีวิตที่ทำงานอยู่ใน รพ.นั้น มองคนไข้เหมือนเป็นเพียงเคสต่างๆเพื่อศึกษา ลืมมองในแง่มนุษย์ด้วยกัน นี่ขนาดดิฉันเคยประสบอุบัติเหตุเองด้วยนะคะ แต่ตอนนั้นการทำงานมันเร่งรีบ เร่งรัดมากซะจน ลืมมองถึงความรู้สึกของคนไข้ไปเลย ลืมมองตัวเองด้วยว่าขณะนั้นชีวิตตัวเองเป็นอย่างไร ทำกันแต่งาน ตรวจๆๆ

        ดิฉันมาระลึกได้เนื่องจากบังเอิญไปได้วิชาฝึกสติจากการปฏิบัติธรรม ขณะที่เราได้มองตัวเอง เรียกว่าศึกษาร่างกายและจิตใจของตนเองอยู่อย่างมีสติและสมาธิ นานเป็นเวลา 7 วัน ทำให้ดิฉันระลึกได้ว่า แก่นจริงๆของมนุษย์ทุกคนคือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย เท่านั้นเอง จะเป็นมหาเศรษฐี พระราชา หมอ ชาวบ้าน หรือขอทาน เสมอภาคกันหมดเลย สิ่งที่รู้มันเกิดในจิตใจจริงๆ ไม่เหมือนกับการอ่านจากหนังสือธรรมะ การอบรมสั่งสอนคนหากมันไม่เข้าไปถึงในใจ ไม่สามารถเปลี่ยนคนได้ค่ะ

        ในห้องกรรมฐาน ที่หลายชีวิตเข้าไปเรียนรู้ตัวเองในนั้น 7 วัน เป็นการให้ทุกคนเรียนรู้จากตัวเองเลย จากร่างกายและจิตใจของตัวเอง เรารู้ว่า เมื่อนั่งนานๆแล้วเป็นเหน็บ  เจ็บปวด เมื่อเจออะไรที่ไม่ชอบใจก็มีอารมณ์โกรธ เกลียด ถ้าเจออะไรถูกใจก็ชอบ รัก เมื่อเราเรียนรู้จากตนเองพบว่าเราก็เป็นแบบนี้ ดังนั้นคนอื่นเป็นมนุษย์เหมือนกัน ก็ต้องรู้สึกแบบนี้เช่นกัน สิ่งนี้สอนให้คนเกิดเมตตาต่อกัน เพราะเป็นเพื่อนร่วมทุกข์เหมือนกันทั้งนั้น เราจะเห็นคุณค่าของชีวิต 

        หลายๆรร.แพทย์เห็นแล้วว่า การเรียนรู้ตัวเองโดยการฝึกสติ ตามหลักสติปัฏฐานสี่ จากวิชาของพระพุทธเจ้า สามารถทำให้คนปรับเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น อาจารย์แพทย์ทั้งหลายคงเห็นจากหน้าหนังสือพิมพ์หลายเคสนะคะ หมอฆ่าหมอ หมอค้ายาบ้า และอื่นๆ หากมนุษย์ที่ได้รับการเชื่อถือจากสังคมว่าเก่ง ปัญญาดี แต่คิดผิด หลงผิด แล้วทำผิดนี่ น่ากลัวจริงๆจะวางขั้นตอนซับซ้อน แล้วถ้าหากเป็นผู้นำของประเทศด้วยยิ่งร้ายเข้าไปใหญ่ ทำให้เกิดสงครามได้เลย

       ขณะนี้ มีนศพ.ของเชียงใหม่ และศิริราชเอหรือจะเป็นรามานะ จุฬาด้วยหรือเปล่าดิฉันไม่แน่ใจ ที่ให้ทุกคนเข้าปฏิบัติธรรมตอนปีหนึ่ง แหมแต่ดิฉันอยากให้เข้าฝึกตอนจบปีหกด้วยค่ะ ก่อนจะออกมาเป็นหมอนี่แหละ น่าจะเป็นประโยชน์มากเลยค่ะ

สวัสดีครับ คุณอนิศรา

ผมทราบมาว่าที่ศิริราช อ.สุมาลี นิมมานนิตย์ จัดโครงการพา นศพ.ไปฝึกอบรมจิตใจกับคุณแม่ศิริทุกปีครับ ที่อื่นไม่แน่ใจ

ขออนุโมทนาในจิตประภัสสรของคุณหมออนิศราด้วยครับ เมื่อแพทย์พกพาจิตใจที่สงบเยือกเย็น มีภูมิปัญญาตระหนักรู้ถึง ความทุกข์ ของผู้ป่วยที่มาหาเราได้ตลอดเวลา เมื่อนั้นจะทำให้งานของเรานั้นมัน make sense ขึ้นเยอะ ว่าทำไมเราจึงเลือกมาเรียนสิ่งนี้  ถ้าช่วยๆกันเผยแพร่ เราก็อาจจะมีหมอพันธุ์แท้ที่สร้างกระแสแห่งความเมตตากรุณาเป็นแรงผลักดันให้แก่สังคมได้

อ่านแล้วโดนด้วยเหมือนกันค่ะ อาจารย์

สวัสดีครับ อาจารย์

" แต่การที่เราทำงานได้บรรลุวัตถุประสงค์ ความรู้สึกแห่งความสำเร็จ ไม่ควรจะยิ่งหย่อนไปกว่าตอนที่อีกคนหนึ่งขายหุ้นได้กำไรหลายสิบล้านเลย เพราะมันก็ทำงานสำเร็จเหมือนกัน"

ความภาคภูมิใจจากความสำเร็จที่เราทำงานได้บรรลุวัตถุประสงค์ ย่อมมีความสุขไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันในหน้าที่ของทุกคนครับ

จริงๆครับ ดังความหมายของคนทำงานว่า "ค่าของคนอยู่ที่ผลของงาน" หน้าที่ไหนไม่สำคัญเท่าความสำเร็จครับ

ขอบคุณครับ

สวัสดีครับคุณเดชา

และผมอยากให้ไปถึงระดับ "ไม่ต้องสำเร็จก็ได้ แต่ให้เราตระหนักรู้ว่าเรากำลังปฏิบัติหน้าที่" ก็ให้ปิติ ปัทสัทธิ ให้ได้ ชีวิตเราจะยิ่งสงบสุขมากขึ้นไปอีกครับ

ขอบพระคุณครับ

  • โดนใจหลายประเด็น
  • ชอบมากที่ว่า ... ไม่มียศถาบรรดาศักดิ์ว่า เธอ professor ชั้น cleaner แก doctor แต่อย่างใด

ไม่ต้องแบ่งชั้นวรรณะเพราะไม่ใช่ขนมชั้น

ขอบพระคุณท่านอาจารย์ครับ...

สวัสดีครับอาจารย์

"ไม่ต้องสำเร็จก็ได้ แต่ให้เราตระหนักรู้ว่าเรากำลังปฏิบัติหน้าที่" ก็ให้ปิติ ปัทสัทธิ ให้ได้ ชีวิตเราจะยิ่งสงบสุขมากขึ้นไปอีกครับ

ขอบคุณครับ

โดนใจมากๆ เลยค่ะท่านอาจารย์หมอนกไฟ และวันนี้อ่านบันทึกคุณพี่ใหญ่เกี่ยวกับแผนพัฒนาสังคมฯ มีเรื่องการสร้างความภาคภูมิใจในความเป็นไทย และน่าจะมาเพิ่มความมั่นใจในระดับปัจเจกชนได้บ้างกระมังคะ ;)  อ่านบันทึกนี้แล้วได้มุมมองใหม่ๆ หลาย ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท