Blog คุณภาพ และ บทเรียนจากสุนทรียสนทนา


แล้วเราก็ประสบความสำเร็จในการ degrade individual's experience อย่างสิ้นเชิง

บทความนี้ได้แรงบันดาลใจหลังจากการอ่านบทความของ อ. จันทวรรณ เรื่อง สมดุลย์ของบันทึกแห่งประสบการณ์และบันทึกแห่งมิตรภาพ

มีศาสตร์หรือวิธีการศึกษาชนิดหนึ่งเรียกว่า Contemplative education มีคนแปลเป็นชื่อไทยหลาย version เช่น จิตตปัญญาศึกษา หรือ "การเรียนรู้ด้วยใจที่ใคร่ครวญ" มีมหาวิทยาลัยที่ devote วิธีการเรียนทุกรายวิชาโดยวิธีการเรียนแบบนี้ เช่น มหาวิทยาลัยนาโรปะ ที่สหรัฐอเมริกา อ.ณัฐฬส วังวิญญู ก็เรียนจบมาจากที่นี่

Key หนึ่งของการเรียนแบบจิตปัญญาศึกษา คือกาให้คุณค่าไม่เพียงแต่ output หรือ outcome เท่านั้น แต่ ประสบการณ์การเรียนรู้นั้นสำคัญมากอย่างยวดยิ่ง และต้องไม่ละเลยสิ่งที่เกิดขึ้น ขณะศึกษา เป็นอันขาด เพราะเป็นสิ่งที่มีประโยชน์อย่างยิ่ง ปัญญาจากปัจเจกบุคลลนั้น แท้ที่จริงในที่สุดก็จะเป็นปัญญาของชุมชน ของโลก ของจักรวาล ทุกอย่างมี ความเชื่อมโยงถึงกันหมด และการศึกษาที่ไม่เข้าใจ หรือไม่มุ่งสู่หัวใจแห่งความเชื่อมโยงของสรรพสิ่ง หรือแม้กระทั่งการ minimize effects ของความเชื่อมโยง ได้แก่การพยายาม "แบ่งแยก" เพื่อ "วิเคราะห์เป็นส่วนๆ" นั้น จะยิ่งทำให้เราไม่เข้าใจปัญหา ห่างไกลออกจากแก้ปัญหามากขึ้นเรื่อยๆ

Concept ของการแก้ปัญหาโดยการ "หั่นย่อย" นั้นฝังรากลึกในการศึกษาปัจจุบัน เดี๋ยวนี้ อะไรๆก็จะ "วิเคราะห์" อะไรๆก็จะ "อภิปราย" ทั้งคำ analysis และ discussion ต่างก้แฝงรากคำ "แบ่งแยก" อยู่ในรากทั้งนั้น พอเราแก้ปัญหาที่ถูกหั่นย่อยสำเร็จ พอนำมาใช้ก็แปลกใจที่แม้ว่าปัญหานั้นดูลุล่วงไปได้ แต่ก็เกิดปัญหาใหม่โผล่ขึ้นที่อื่นๆ จากการที่สมดุลเก่าถูกรบกวน เกิดสมดุลใหม่ เกิดปัญหาใหม่

การเขียน blog หรือเขียนบทความ diary หรืออะไรก็ตามที่เป็นประสบการณ์สด เป็นความคิด เป็นความเห็น ทั้งหมดนั้นมีค่า และควรจะบันทึกรวมใน collective consciousness เป็นอย่างมาก ในขณะที่มีบทความที่ popular มีบทความที่ไม่ popular แต่ผมคิดว่าการให้ reward หรือการ appraise ใดๆนั้นต้องทำด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่งยวด

แพทยสภามีรางวัล "หมอดีเด่น" ประจำปี ก็ดีครับ เป็นการแสดงว่าเราเชิดชูอะไร แต่ในทางปฏิบัติปรากฏว่าเราต้องคัดให้เหลือแค่ไม่กี่คนเท่านั้น ก็เกิดความสงสัยว่าหมอที่เหลืออยู่อีกหลายพันคนในประเทศนั้น ไม่ดีเด่นอย่างไร ไม่สมควรที่จะได้รับการยกย่องอย่างไร?

ไม่ว่าจะเป็น Popular vote หรือ quality vote ล้วนแล้วแต่เป็น opinion ทั้งสิ้นครับ คุณค่าของความรู้นั้น คงจะไม่ได้ขึ้นอยู่กับ opinion เท่านั้น น่าจะมีอย่างอื่นด้วย เวลาเรา set index หรือ key performance อะไรก็ตามที่ฮิตๆกันในขณะนี้ KPI หรืออะไรก็แล้วแต่ เรากำลังบอกต่อคนที่เกี่ยวข้องว่า เราคิดว่าอะไรดี และโดยนัยก็คือ สิ่งที่อยู่นอกเหนือจากนี้เราไม่คิดว่า มันดีพอ ที่จะเป็นkey โดยไม่รู้ตัวเราได้ set cultural value ไปโดยอัตโนมัติ ว่าสิ่งใดเรา approve สิ่งใดเราไม่ approve ถ้าเรา set popularity คนก็จะเริ่มกระวนกระวายว่าบทความเรื่องการทำบอนโซเป็นรูปเรือ Enterprise ที่เขียนมาสองหน้ากระดาษมีคนอ่านน้อยจังเลย หรือการเขียนเรื่องจริยศาสตร์ของ molecular biochemist มีคนอ่านแค่ไม่กี่คน อย่ากระนั้นเลยเราไปเขียนอะไรที่มัน popular ทีคนส่วนใหญ่ชอบอ่าน เจาะกลุ่ม middle class หรือ major population แล้วเราก็ประสบความสำเร็จในการ degrade individual's experience อย่างสิ้นเชิง

เช่นกันครับ ถ้าเราเริ่มใช้คำว่า การเขียน blog ที่มีคุณภาพ ปุ๊บ ผมว่ามันจะเหมือนเปิด can of worm คืออะไรต่อมิอะไรที่เลื้อยหยุบหยับลื่นไหลจับไม่ติดจะเกิดขึ้น เราจะวาง category อย่างไร หรือเน้นที่ "วิธีการเขียน" หรือเน้นที่ "เนื้อหา" ฯลฯ ซึ่งของเหล่านี้จะเจือจางความมี interconnectedness ทั้งสิ้น

หมายเลขบันทึก: 79288เขียนเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2007 15:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 17:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
- ด้วยระบบ KnowledgeVolution ที่เราพัฒนาขึ้นนี้ มีความพร้อมในการเชื่อมโยงบันทึกระหว่างบุคคลได้ค่ะ และสามารถเชื่อมโยงให้เห็นถึงเครือข่ายทางสังคมที่ก่อตัวเองอย่างอัตโนมัติ เช่น http://gotoknow.org/post/tag/km เป็นต้นค่ะ (แนะนำอ่านค่ะ http://gotoknow.org/blog/tutorial/33663)

แต่งานนี้ยังเป็น priority ที่สำคัญค่ะ ระบบยังต้องปรับปรุงพัฒนาอีกหลายอย่างค่ะ เช่น ตอนนี้กำลังเปลี่ยนโฉมของการ tagging ทั้งหมดค่ะ

- การให้รางวัลด้วยการตัดสินด้วยความคิดเห็นของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งนั้นต้องระวังค่ะ ที่ตั้งใจไว้ว่าจะทำต่อจาก tagging คือ การ rating ค่ะ แค่ thumb-up, thumb-down ก็พอค่ะ แต่จะเป็นเสียงจากสมาชิกโดยแท้ค่ะ ตัวอย่างเช่น http://digg.com ค่ะ ก็ยังคิดอยู่เช่นกันค่ะผลจะออกมาเป็นอย่างไรเมื่อใช้ในบริบทไทย แต่สำหรับ http://digg.com ได้รับความสนใจอย่างมากค่ะ และสามารถดึงเอาข้อมูลดีๆ ที่แฝงอยู่ท่ามกลาง information overload ออกมาได้อย่างน่าสนใจค่ะ

ขอบคุณครับ อ.จันทวรรณ

สิ่งหนึ่งที่ผมคิดว่าอาจจะมีประโยชฯสำหรับ blogger หน้าใหม่ (หรือหน้าเก่าก็ตาม) คือการ "ปรับ" กระบวนคิดการบันทึก blog ว่าเป็นเสมือน บันทึก diary

ที่ผมคิดว่าดี เพราะว่าปกติตอนเราบันทึก diary นั้น จะไม่มีแรงกดดันเรื่องคนอ่านน้อย อ่านมาก แต่เราบันทึกไว้ก็มีประโยชน์อย่างยิ่ง

  • เพิ่มอุปนิสัยการเขียน (มีประโยชน์มหาศาลต่อมวลมนุษยชาติ)
  • เพิ่มอุปนิสัยการอ่าน (เราอาจจะไม่ได้สังเกต ตอนเราเขียนนั้น เรา "อ่าน" ไปด้วยเกือบตลอดเวลา)
  • สร้างอุปนิสัยในการมี ปูมความคิด ของเราเอง เหมือนปูมเรือ มีประโยชน์มากในภายภาคหลัง

ทีนี้ก็จะ relax มากขึ้นในเรื่องมี/ไม่มีคนมาอ่าน จนกระทั่งมีคนมาอ่านก็ ยิ่งดีใหญ่ เป็น bonus แต่ไม่ใช่เป็น pre-requisite

ตอนที่เราเขียนอะไรที่น่าสนใจเพื่อตัวเราเองนั้น จะมีความผ่อนคลาย อ่อนโยน และเป็นตัวของตัวเองมากที่สุด ชุมชนจะได้รู้จัก blogger คนนี้ก็ตอนนี้ มากกว่าตอนที่เขาระมัดระวังตัว เขียนเพื่อให้คนอื่นอ่าน ไม่ได้เขียนแสดงความเป็นตัวของตัวเองออกมาพร้อมๆกัน

เห็นด้วยกับคุณ Phoenix มากเลยค่ะ แต่รู้สึกว่าต้องใจเย็นๆมากเลยนะคะ ที่จะโน้มน้าวให้สิ่งนี้เกิดขึ้นในสังคมไทย ที่พวกเราส่วนใหญ่จะเขียนน้อย อ่านน้อย และให้ความสำคัญกับเสียงตอบรับจากคนอื่นมาก เห็นคุณค่าของตัวเองน้อย แต่ต้องบอกว่า ได้เห็นแล้วค่ะ ว่าเป็นไปได้
ว่าจะตอบสั้นๆ ตอบยาวๆดีกว่า คุณโอ๋ เชิญที่นี่เลยครับ

เข้ามาอ่านแล้วได้ความรู้ดี ครับ  ขออนุญาตนำไปโพสต่อที่บล็อกผม ต่อนะครับ  ........http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=nanana-intermed&month=15-08-2007&group=4&gblog=7      แล้วจะแวะเวียนเข้ามาหาความรู้ ใหม่ ๆ  ครับ   

                                  ขอบคุณ

การ "ปรับ" กระบวนคิดการบันทึก blog ว่าเป็นเสมือน บันทึก diary

ขอบคุณครับ  ..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท