ความห่วงใย.....ผุดขึ้นมาระหว่างเรียนภาษาอังกฤษ


การเรียนภาษาอังกฤษของครูอ้อยกับเพื่อนๆนั้นไม่ได้เครียดอย่างที่คิด มีความสนุกสนานและข้อคิดที่ให้ครูอ้อยและเพื่อนๆได้ขบคิดตลอดเวลา เราเรียนเพื่อนความรู้ ผสมผสานกับการแก้ปัญหา หาทางแก้ปัญหา ซึ่งปัญหานั้นยากมากที่จะแก้ไข

นักเรียนส่วนใหญ่ไม่สนใจเรียนในโรงเรียนที่ไม่ได้เสียค่าเล่าเรียน...โดยเฉพาะเรียนภาษาอังกฤษ 

ประกอบกับชั่วโมงการเรียนภาษาอังกฤษในหลักสูตรนั้นน้อยเกินไป  

และคุณสมบัติของผู้เรียนส่วนใหญ่แล้ว..ยังขาดคุณสมบัติในเรื่อง  ความใส่ใจ  ความสนใจ  ความตั้งใจ  ความอยากรู้  ความอยากได้  ความทะเยอทะยาน และความอดทน 

ไม่ต้องไปดูไกลมากนักเลย  ครูอ้อยจะดูแค่นักเรียนของครูอ้อยก่อน  หลายๆครั้งที่พวกเธอจะไม่ตั้งใจเรียน  ครูอ้อยต้องเก็บนักเรียนก่อนทุกครั้ง  ต้องมีการอบรมให้สนใจเรียนก่อน  สารพัดที่จะทำให้นักเรียนสนใจเรียน 

แต่ความสนใจนั้นก็มีได้ไม่นานนัก  เพราะนักเรียนไม่มีความอดทน  ไม่มีความพยายาม  ไม่มีความอดกลั้น  ไม่อยากได้  ไม่ทะเยอทะยาน  และหลายๆข้อที่กล่าวมา 

ตรงกันข้าม  หลายๆครั้งที่ครูอ้อยลองเปลี่ยนวิธีการสอนมาเป็นแบบติวเข้มที่สถาบันติวเข้มเขาสอนกัน 

นักเรียนกลับพูดกับครูอ้อยว่า  " เหมือนกับที่เรียนพิเศษเลย "  ทั้งๆที่  ครูอ้อยก็สอนในหลักสูตรมาแล้ว  แต่นักเรียนกลับไปชอบการเรียนแบบติวเข้ม  ที่ต้องเสียเงิน 

แบบที่ครูอ้อยสอนในชั้นเรียน  นักเรียนไม่ต้องเสียเงิน  จึงไม่ได้สนใจเรียน 

รู้สึกหดหู่ใจจัง 

รวมไปถึงผู้ปกครองด้วยค่ะ  บางคนเท่านั้นที่สนใจให้ลูกไปเรียนพิเศษที่โน่นที่นี่  นั่นเป็นสิทธิของท่านที่จะดำเนินการอย่างไรกับชีวิตการเรียนของบุตรหลาน  โดยไม่ได้สนับสนุนการเรียนในชั้นเรียนตามปกติเลย 

บางท่านชื่นชมและเป็นห่วงใยกับการเรียนพิเศษในวันเสาร์และอาทิตย์  ตามรับตามส่งลูก

แต่กลับปล่อยปละละเลยกับการสอนภาษาอังกฤษในวันจันทร์ถึงวันศุกร์  บางท่านไม่สนใจกับการบ้านที่นักเรียนต้องทำ  ไม่สนใจฝึกให้นักเรียนอ่าน  หรือท่องคำศัพท์  หรือทำแบบฝึกหัดใดๆก็ตาม 

ไม่ใช่เฉพาะภาษาอังกฤษเท่านั้น  วิชาอื่นๆก็เช่นกัน...เป็นห่วงจริง  ยิ่งตกใจที่อาจารย์เล่าให้ฟังว่า...อาจารย์ได้ไปสัมมนาทางวิชาการ  ที่มีนักศึกษาระดับปริญญาตรีจากประเทศต่างๆ  ซึ่งทุกคนจะต้องนำเสนอเป็นภาษาอังกฤษ  นักศึกษาจากประเทศไทยประเทศเดียวที่ต้องพูดภาษาอังกฤษที่ต้องใช้  " โฉนด "  ติดไปด้วย 

ที่น่าอายก็คือ  ประเทศเพื่อนบ้านเราตรงอ่าวตั๋งเกี๋ย  สามารถพูดภาษาอังกฤษได้คล่องแคล่ว 

และอาจารย์บอกว่า  สงสัยประเทศเพื่อนบ้านของไทยทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  จะยิ่งพูดภาษาอังกฤษไม่ได้กว่าพี่ไทย..ละมั้ง

ผลปรากฏว่า  เขาพูดได้ดีมาก  สง่างาม  ไม่ต้องมีโฉนดติดตัวไปเลย 

อาจารย์วงเล็บว่า  นักศึกษาไทยคนนั้น  คัดเลือกมาจากมหาวิทยาลัยปิดที่มีชื่อด้วย...

นี่เป็นปัญหาใหญ่มาก...

ครูภาษาอังกฤษก็ตั้งหน้าตั้งตา..หาเทคนิควิธีการ...

นักวิชาการก็ตั้งใจค้นหาหลักสูตรที่ดี..

แต่ตัวผู้เรียน...มีคุณสมบัติครบถ้วนหรือยัง..จึงแพ้ประเทศเพื่อนบ้านที่ตามหลังเรามา

หมายเลขบันทึก: 79280เขียนเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2007 14:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 17:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
          ผมอ่านรอบแรก แล้วเรียกลูกสาว เรียน ป.๖ มาอ่านด้วยครับ น่าสนใจจะขอนำไปขยายผลให้นอกบล็อค หวังว่าครูอ้อยคงไม่ขัดข้องนะครับ ขอขอบพระคุณล่วงหน้า

สวัสดีค่ะคุณ  Mr. tanu polbhun

  • ความจริงครูอ้อยตอบความคิดเห็นของท่านแล้วเมื่อวานตอนบ่ายแก่ๆ  แต่เว็บล่มที่มหาวิทยาลัยค่ะ
  • กลับมาบ้านมีภารกิจเลยไม่ได้ตอบซ้ำ
  • ตื่นมาตีสามเลยมาตอบใหม่...ไม่ว่ากันนะคะ
  • ลูกสาวเรียนชั้น ป.6หรือคะ...กำลังชอบเรียนแบบติวเข้มเชียว
  • คุณพ่อนิยมแบบนี้หรือเปล่าล่ะคะ....แบบให้ไปเรียนพิเศษแต่ไม่สนใจเน้นเรียนปกติที่โรงเรียน
  • การเรียนภาษาอังกฤษ  หากครูดี  หลักสูตรดี  นักเรียนต้องมีวินัยด้วย  ...เป็นจักรกลที่ต้องทำงานไปด้วยกันค่ะ
  • เรียนเชิญ...นำไปเผยแพร่ได้เลยค่ะ...ดีเสียอีก..ความคิดนี้จะได้มีการสานต่อค่ะ
  • ทำเพื่อชาติ

ขอบคุณค่ะ..ครูอ้อยขอ tag ....ทำหรือยังคะ ...อิอิ..ยิ้มยิ้ม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท