มัทนา
มัทนา (พฤกษาพงษ์) เกษตระทัต

งานประชุมวิชาการงานสาธารณสุข แห่ง BC (3)


คำคม ที่ได้จากงานประชุม
  •  "What good does it do to treat people's illness and then send them back to the conditions that made them sick" - Social Determinants of Health, Canadian Perspectives 

      Lao Tzu

  • ๋ำJeannette Armstrong
  • Jeannette Armstrong  นักเขียน นักกิจกรรม ชาวอินเดียนแดง สอนไว้ว่า ในกลุ่มชนเผ่านั้น "การเรียนรู้ เหมือนกับ การซึมซับหยดน้ำที่ละหยด  เข้าไปในสมอง ความรู้คือหยดน้ำแต่ละหยด ไม่ใช่การกรอกน้ำทั้งถัง (เทียบเท่ากับข้อมูลจำนวนมาก) ยัดลงคอ"
  • คุณอาร์มสตรอง เป็นผู้ก่อตั้ง ศูนย์การเรียนการสอนชื่อ  En'owkin ซึ่งเป็นภาษาอินเดียนแดงที่อยู่แุถว Okanagan, BC แปลว่า "การให้กำลังใจ" ฟังแล้วอุ่นใจดีนะคะ ถ้าเราเป็นนักเรียน แล้ว ครูเราให้ความรู้เราโดยมีปรัชญาว่าการสอนคือการให้กำลังใจ
  • คำๆนี้ใช้เป็นแนวความคิดในการบริหารและพัฒนาศูนย์การเรียน การสอนวัฒนธรรมชนเผ่านี้ด้วยค่ะด้วย เค้าสอนไว้ว่า การเรียนรู้ คือกระบวนการ ทำให้แจ่มแจ้ง เป็นการจัดการความขัดแย้งทั้งในใจและในกลุ่ม การเรียนรู้เป็นกิจกรรมร่วมกันของกลุ่ม ไม่ใช่ของคนๆเดียว
  • การเรียนรู้ที่ดีที่สุด ที่เรียกว่าแบบ En'owkin ต้อง ให้กำลังใจซึ่งกันและกัน ให้ความเคารพ มีการสนทนาแบบเปิดใจ และมีความสมานฉันท์ ลงรอยกัน
  • "In order to do, be." - Lao Tzu
  • Process is purpose. "We too are the   outcomes" - Shannon Turner, President of PHABC
  • "เวลาจัดระบบบริหารงาน อย่าไปแบ่งกลุ่มย่อยมาก อย่าไปแบ่งเป็นโครงการย่อยๆมากเกินไป เพราะคุณก็ต้องแจกจ่ายเงินให้กลุ่มย่อยเหล่านั้นไปทำโครงการ  แล้วถ้ามีหลายกลุ่ม เงินก็ต้องแบ่งหลายกลุ่ม กลายเป็นว่าแต่ละกลุ่มก็ได้กันก้อนกระจิดริด จะเอาไปทำอะไรก็ลำบาก" - ซิลเวีย โรบินสัน รายงานประสบการณ์ดูงานจากประเทศอังกฤษ
  • "Health has to become a corporate issue" - ผู้ว่าราชการจังหวัด BC

------------------------------------------------------------------------------------ 

  • ภาพหนังสือจาก http://www.cspi.org/books/s/socialdeter.htm และ
  • ภาพคุณอาร์มสตรองจาก http://quarles.unbc.ca/kbeeler_html/research/photarm.html
  • ภาพ Lao Tzu จาก http://www.wisdomportal.com/Numbers/LaoTzu(180x231).jpg
หมายเลขบันทึก: 65057เขียนเมื่อ 4 ธันวาคม 2006 05:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

คุณมัทนาคะ

  • น่าสนใจมากเลยค่ะ
  • เมื่อครูอ้อยมีเวลาว่างจะเข้ามาศึกษานะคะ
  • วันนี้มีงานวันพ่อ ต้องไปดูก่อนค่ะ

ขอบคุณค่ะ

  • อ่านแล้วเห็นภาพเลยครับ อาจารย์มัทนา "การเรียนรู้ เหมือนกับ การซึมซับหยดน้ำที่ละหยด  เข้าไปในสมอง ความรู้คือหยดน้ำแต่ละหยด ไม่ใช่การกรอกน้ำทั้งถัง (เทียบเท่ากับข้อมูลจำนวนมาก) ยัดลงคอ"
  • บางคนคุ้นเคยกับอาหารจานด่วน คืออยากได้ อยากรู้ อยากดู อยากเห็น ทุกอย่างด่วนหมดครับ และ เมื่อได้รู้ ได้ดู ได้เห็น แล้วเริ่มต้นลงมือทำ อีก 3 วันต้องเห็นผล ไม่เช่นนั้นถือว่าสิ่งที่ได้รู้มาดูจะไม่มีประโยชน์ ข้อความข้างต้นเปรียบเทียบได้ชัดเจนมากครับ ต้องใช้เวลาค่อยๆ ซึมซับไปเรื่อยๆ เหมือนการเรียนภาษาอังกฤษของคุณลุงขจิตให้ได้ดี ต้องเป็นการสะสมครับ คนเราคงไม่สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ดีเพียงชั่วข้ามคืนครับ ความพยายามที่จะเก็บเล็กผสมน้อยไปเรื่อยๆ ช่วยให้สักวันหนึ่งเรามีมากเพียงพอที่จะแบ่งปันครับ แต่ความรู้เป็นสิ่งที่ยิ่งให้ก็ยิ่งเพิ่มครับ ไม่ใช่สิ่งที่ให้แล้วหมดไปเหมือนสิ่งของ เพียงแค่เรามีใจที่จะแบ่งปันความรู้ นอกจากจะมีคนรู้เพิ่มขึ้นแล้วเรายังได้เพื่อนร่วมรู้อีกด้วย มิตรภาพเป็นสิ่งยืนยาวในสังคมของการแบ่งปันครับ
  • ขอบคุณมากครับ

ชอบเหมือนคุณ Mitochondria เลยค่ะ ที่ว่า "การเรียนรู้ เหมือนกับ การซึมซับหยดน้ำที่ละหยด  เข้าไปในสมอง ความรู้คือหยดน้ำแต่ละหยด ไม่ใช่การกรอกน้ำทั้งถัง (เทียบเท่ากับข้อมูลจำนวนมาก) ยัดลงคอ"

ขอนำไปเผยแพร่ต่อยอด การจัดการความรู้ให้กรมอนามัยนะคะ

ดีใจได้เห็นภาพ อ.มัทนาค่ะ

  • ขอบคุณครูอ้อย คุณไมโต และ พี่หมอนนท์มากค่ะที่แวะมาอ่าน
  • ดีใจค่ะที่ชอบกัน ช่วยกันเผยแพร่ต่อยอดได้ไม่อั้นเลยค่ะ ต้องขอบคุณคุณอาร์มสตรองค่ะ  : )
  • เรื่องรูปนี่ เพิ่งมารู้ตัวไม่นาน จริงๆ upload เข้า file album นานมากแล้ว แต่ไปตั้งค่าเป็น private ตัวเองมองเห็น แต่ไม่ทราบว่าคนอื่นมองไม่เห็น จนดร.จันทวรรณเพิ่งมากระซิบบอกไม่นานมานี้เองค่ะ
  • เห็นหน้ากันแล้ว คราวนี้ไปเดินเจอที่เมืองไทยก็เข้ามาทักได้นะคะ
  • มัทจะกลับไปเยี่ยมบ้าน ปลายเดือนนี้ค่ะคงอยู่แค่สามอาทิตย์ เสียดายที่งานมหากรรม KM จัดไปซะแล้ว ไม่งั้นจะไปร่วมแน่นอนค่ะ

ขอขอบคุณอาจารย์มัทนา

  • ชื่นชอบข้อความนี้มากครับ... Jeannette Armstrong  นักเขียน นักกิจกรรม ชาวอินเดียนแดง สอนไว้ว่า ในกลุ่มชนเผ่านั้น "การเรียนรู้ เหมือนกับ การซึมซับหยดน้ำที่ละหยด  เข้าไปในสมอง ความรู้คือหยดน้ำแต่ละหยด ไม่ใช่การกรอกน้ำทั้งถัง (เทียบเท่ากับข้อมูลจำนวนมาก) ยัดลงคอ"

การเรียนการสอนทุกวันนี้ "ยัด(เยียด)" มากขึ้นทุกที...

  • นักร่างหลักสูตร... เพิ่มๆๆๆ เนื้อหา
  • ครูบาอาจารย์... อัดๆๆๆ เข้าไป
  • นิสิตนักศึกษา... ก็ชอบท่องชี้ท (sheets) เสียด้วย

การศึกษาไทยเลยมีลักษณะคล้ายกบอัดแก๊สเข้าไปทุกที...

ชอบเหมือน ๆ กันเลยครับ อ.มัทนา มี "การเรียนรู้ เหมือนกับ การซึมซับหยดน้ำที่ละหยด  เข้าไปในสมอง ความรู้คือหยดน้ำแต่ละหยด ไม่ใช่การกรอกน้ำทั้งถัง (เทียบเท่ากับข้อมูลจำนวนมาก) ยัดลงคอ" เป็นภาษาอังกฤษไหมครับ ขอบคุณครับ

ด้วยเหตุนี้เอง นักคิดอินเดีย (ไม่แดง) อย่างผู้ที่เรียกตัวว่าตถาคต จึงต้องรอให้คนหนึ่งคนบารมี (อยากรู้) เต็มก่อนจึงค่อยหยอดความรู้ :-)
ดีใจที่ได้อ่านเรื่องของอาจารย์ครับผม ขอบคุณมากครับ
  • ขอบคุณมากๆค่ะ อ.วัลลภ, Aj. Kae, คุณ นม และ อ.ขจิต
  • Aj. Kae คะ ข้อความนั้นภาคภาษอังกฤษแบบถอดเทปมาไม่มีหน่ะค่ะ ตอนที่ฟังใน conference ก็จดใส่กระดาษมาเป็นคำๆ (keyword) ถ้าเอาแบบ version เดาๆก็คงประมาณว่า "Learning is when knowledge absorbs into your brain like a water drop ... slowly drop by drop. For sure, it isn't like shovel a bucket of water down your throat. That's information overload."
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท