เรื่องเล่าจากอาจารย์


ทำให้นึกถึงในพระอภิธรรมที่บอกไว้ว่า เสียงเป็นรูป เวลาเสียงมากระทบกับหู จะเกิดตัวรู้ว่าได้ยิน คำว่ารูปนี้หมายถึงรูปของคลื่นเสียง
 

                     ขอเริ่มต้นการร่วมสมาชิกแรกของ Gotoknow ด้วยการขายของเก่ากินก่อนครับ <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">                     หลังจากกลับมาจากงานสัมมนาที่ไบเทค ตั้งใจไว้ว่าหากพอมีเวลามานั่งเล่าเรื่องให้ฟัง แต่พอมานั่งหน้าจอกลับนึกอะไรไม่ค่อยออก เลยต้องขออนุญาตว่าจะขายของเก่ากินไปก่อน คือเอาสิ่งที่เคยเขียนไว้ในคอลัมน์เรื่องเล่าจากอาจารย์ ของเวปมูลนิธิศูนย์วิปัสสนาเชียงใหม่  http://vipassanachiangmai.com/มาขายกินไปพลางก่อนก็แล้วกันนะครับ</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">                      </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">                        ตอนปลายเดือนตุลาคม ๒๕๔๙  ผมมีโอกาสไปเยือนเซี่ยงไฮ้ตามคำเชิญของรัฐบาลจีน ที่ให้หน่วยงานของไทยที่มีการเรียนการสอนวิชาภาษาจีน ไปศึกษาดูงานที่มหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศเซี่ยงไฮ้ เป็นระยะเวลา 5 วัน ซึ่งผมเป็นหัวหน้าทีมไปกับตัวแทนผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยม ในสังกัด สพฐ.รวมสมาชิกทั้งหมด 10 คนพอดี</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">                         ช่วงที่ไป อากาศกำลังสบายๆ ประมาณ 20-22 องศาเซ็นเซียส เหมือนติดแอร์ทั้งเมือง สวมแค่แจ็คเก็ตเพียงตัวเดียวก็พอแล้ว และที่เมืองจีนนิยมดื่มแต่น้ำอุ่นหรือน้ำร้อน ทำให้ถูกกับอาการภูมิแพ้ของผม ที่เคยมีอาการไอที่กระทบกับอากาศเย็นจึงไม่เกิด</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">                          ผมสังเกตว่า อาการไอที่เคยเกิดขึ้นของผม หากกระทบกับลมเย็นๆจากพัดลมตรงๆ จะมีอาการแพ้โดยแน่นจมูก หายใจไม่ค่อยออก แต่ถ้าถูกลมเย็นจากแอร์ จะมีอาการจามติดๆกันและเริ่มมีน้ำมูกใสๆไหล ต่อมาก็จะไอติดๆกัน หากยังไม่หนีไปจากที่ตรงนั้น</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">                    หากเป็นลมเย็นจากธรรมชาติ ถึงจะแรงแค่ไหนก็ไม่ยังเป็นอะไร</p><p>                          ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการเข้าใกล้น้องที่ชื่อแอร์…ก็ไม่เกี่ยว  </p><p>                         แพ้เฉพาะแอร์เย็นๆที่อยู่ในห้องประชุมเท่านั้น    ทำให้นึกถึงตอนที่ไปสอนที่มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ที่เกิดมีการแพ้แอร์ขึ้นมาหลังจากอาการไอเรื้อรังหายไปหลายเดือนแล้ว ทำท่าจะฟื้นคืนชีพขึ้นมา </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">                          แต่ไม่เป็นอะไรมากครับ จะเกิดความรำคาญตอนบรรยายธรรมเท่านั้น ที่ใช้เสียงมากแล้วเกิดอาการไอขึ้นมาขัดจังหวะเป็นระยะๆ ทำให้คุณปราโมทย์ต้องมีภาระเพิ่มมาคอยลบเสียงไอของผม ตอนบันทึกเป็นไฟล์เสียงดิจิตอลให้โยคี จนชำนาญสามารถดูเส้นกราฟของเสียงไอ แยกออกได้ทันทีว่าเวลาไอมีลักษณะรูปกราฟอย่างไร</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"><div style="text-align: center"></div></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">                          </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">                           ทำให้นึกถึงในพระอภิธรรมที่บอกไว้ว่า เสียงเป็นรูป เวลาเสียงมากระทบกับหู จะเกิดตัวรู้ว่าได้ยิน คำว่ารูปนี้หมายถึงรูปของคลื่นเสียง </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">                           ในทางวิทยาศาสตร์จะแสดงออกเป็นรูปของคลื่นเสียงที่เรียกว่า wave มีลักษณะเป็นเส้นที่มีความถี่สูงๆต่ำๆไปตามระดับเสียงที่เปล่งออกมา</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">                           ในหูของเรา ธรรมชาติจึงสร้างอวัยวะที่ช่วยในการรับเสียงให้ได้ยินชัดเจน ด้วยแผ่นชิ้นเนื้อบางๆเล็กๆที่เรียกว่าแก้วหู ที่ทำหน้าที่รับเสียงที่เข้ามากระทบด้วยการแสดงอาการสั่นสะเทืยน (Vibration) มากหรือน้อยตามกำลังของคลื่นเสียงที่เข้ามากระทบ</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: center" class="MsoNormal" align="center"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">                            เวลาเรากำหนดว่ายินหนอ จึงมีความแตกต่างไปตามกำลังสติของผู้ปฏิบัติ ยินหนอของคนบางคนหมายถึงได้ยินเสียงแล้วเกิดความรู้สึกยินดี พอใจเพลิดเพลินไปกับเสียงที่ได้ยิน</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">                             แสดงว่า โลภะ ความอยากได้อีกหรือความยินดี ติดใจ (ราคะ)เกิดขึ้นแล้ว ในแวบเดียวที่หูกระทบกับเสียงนั้น</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">                            หรือ ในทางตรงกันข้าง เกิดความรู้สึกไม่พอใจในเสียงนั้น โทสะ ความไม่ชอบใจหรือความหงุดหงิดรำคาญใจ(ปฏิฆะ) ก็เกิดขึ้นแล้วในจิตที่รู้ว่าได้ยินเสียงนั้นแวบเดียวเช่นกัน</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">                            หากฝึกสติดีขึ้นมาระดับหนึ่ง การกำหนดเสียงที่ได้ยิน ก็จะเพียงอาการรู้ว่าได้ยินเพียงรูปของเสียงที่เข้ามากระทบกับหู(แก้วหู)ในขณะหนึ่งเท่านั้น</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">                            นึกภาพเป็นรูปของแผ่นแก้วหูบางๆ ที่กำลังสั่นสะเทือนตามเสียง ไปมาแล้วค่อยๆหยุดลง นี่เป็นอาการของรูป หากแสดงให้ดูเป็นภาพประกอบกราฟิกได้จะชัดเจนยิ่งขึ้น</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">                            และลองคิดดูว่า เมื่อเห็นรูปเช่นนี้แล้ว จะปลงตกได้ว่า เวลาที่ได้ยินเสียงครั้งหนึ่งๆ มีอาการเป็นอย่างนี้เท่านั้น ทำไมสร้างให้คนเราหลงไหล เคลิบเคลิ้มไปได้หรือทำให้โกรธเป็นบ้าเป็นหลังได้ขนาดนั้น</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">                            คำตอบคือ อยู่ที่จิต คือตัวรู้</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">                            ต่างกันที่ชนิดของจิต ว่าจะกำกับ หรือฝึกให้จิตรู้แบบไหน</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">                            รู้แบบที่กล่าวมาข้างต้น คือรู้แบบ ยึดติด</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">                            ภาษาธรรมเรียกว่า อุปาทาน ที่ยึดในความที่เคยรู้แบบผิดๆมานั้นตลอดมา และตัวยึดที่ว่านี้ หากพัฒนาการได้ยินอย่างนี้บ่อยๆ ก็จะสร้างการยึดเป็นตัวกูของกู ที่เรียกว่า ยึดว่าเป็นตน(สักกายทิฏฐิ) หรือยึดว่าเป็นเราเป็นเขา(อัตตถทิฏฐิ)</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">                             การที่จิตเป็นไปอย่างนี้ได้ คือการที่เราไม่รู้เท่าทัน ในการทำงานของธรรมชาติของกายและใจ จึงเกิดการปรุงแต่งให้เป็นไปต่างๆตามความชอบใจและไม่ชอบใจ</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">                             ใครที่เคยรักแรง เกลียดแรง ด้วยฤทธิ์ของเสียง ลองหลับตานึกภาพของการเต้นของแผ่นเยื่อบางๆของแก้วหูดู</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">                              หรือลองดูให้เป็นเพียงเส้นยึกยือ ขึ้นๆลงๆ แบบรูปที่ผมลงให้ดูข้างๆนี้</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">                              ดูแล้ว จะบ้ารัก จะบ้าเกลียดได้อีก ก็ตามใจ</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">                                                                                                               พิชัย กรรณกุลสุนทร</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">                                                                                                                            16 พย. 49</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">*ข้อมูลประกอบ จากวิกกี้พีเดีย</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">                              การทำงานของหู เริ่มจาก เสียงจะเข้าไปในรูหูผ่านใบหู หลังจากนั้น ก็จะไปสั่นที่แก้วหู หลังจากนั้นแก้วหูก็จะไปสั่นกระดูกทั่ง ค้อน และ โกลน หลังจากนั้น กระดูกโกลนและจะไปสั่นคอเคลีย ของเหลวในคอเคลียจะไปสั่นเซลล์ขนในคอเคลีย เซลล์ขนจะแปรความสั่นสะเทือนเป็นกระแสไฟฟ้าและส่งไปยังเส้นประสาท กระแสไฟฟ้าจะเดินทางผ่านเส้นประสาทและไปที่ไปที่สมอง เพื่อให้สมองแปรเป็นข้อมูล.</p>

หมายเลขบันทึก: 65050เขียนเมื่อ 4 ธันวาคม 2006 00:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
"เวลาที่ได้ยินเสียงครั้งหนึ่งๆ มีอาการเป็นอย่างนี้เท่านั้น ทำไมสร้างให้คนเราหลงไหล เคลิบเคลิ้มไปได้หรือทำให้โกรธเป็นบ้าเป็นหลังได้ขนาดนั้น" อ่านแล้วก็ทำให้นึกว่า อย่าถือคนบ้า อย่าว่าคนเมา(สามี)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท