APHN Diploma of Palliative Care ๒๕: โตๆกันแล้ว อยากเรียนยังไง


    ผมอยากจะแก้คำถามข้างบนใหม่เป็น แก่จนปูนนี้แล้ว อย่างเรียนยังไง
    คำถามนี้ Katrina เป็นคนยกขึ้น ก่อนนำเข้าเนื้อหาในชั่วโมงเรียน
    เธออธิบายว่า ในทฤษฎีการจัดการศึกษาสำหรับผู้ใหญ่ หรือ adult learning นั้น มีหลักการจัดการเรียนการสอนที่แตกต่างจากเด็กๆ อย่างชัดเจน และสิ่งหนึ่งที่บรรดาผู้สอนต้องรู้ ก็คือ learning style ของนักเรียนโข่งแต่ละคน อันนี้คนละตำรากับของอาจารย์สกลที่เขียนไว้ ๓ ตอน แล้วนะครับ ผมอยากจะกล่าวถึงเพื่อเปิดแนวคิดเรื่องนี้ให้มากขึ้น
    คนเราจะถูกแบ่งเป็น ๓ กลุ่มตามนิสัยการเรียนรู้ คือ
    ๑. visual เรียนรู้ผ่านการมองเห็น
    พวกนี้จะเรียนรู้ได้ดี ถ้ามีสื่อการสอนที่มองเห็น ยิ่งมีกราฟ แผนภูมิ mindmap อูย! ยิ่งชอบ ถ้าไม่แจกเอกสารประกอบการสอนละก็ เกิดอาการขาดความมั่นใจ เป็นพวกที่ต้องบอกก่อนล่วงหน้าว่า ประสบการณ์การเรียนรู้มีอะไรบ้าง มีขั้นตอนชัดเจนว่าจะเรียนอะไร ตอนไหน อย่างไร
    ๒. auditory เรียนรู้ผ่านการฟัง
    พวกนี้จะเรียนรู้ได้ดี ผ่านการฟังผู้อื่นเล่า ดังนั้นชั่วโมงที่กลุ่มนี้กระดี๊กระด๊า ชอบสุดๆก็คือ ช่วโมง discussion สามารถรวบรวมความรู้ผ่านการฟังได้เป็นอย่างดี จนน่าจับให้เป็นเลขาฯ การประชุม จำเรื่องผ่านการออกเสียงดังๆ แล้วจะรู้สึกอึดอัดเวลาต้องทำงานเงียบๆ
    ๓. kinesthetic เรียนรู้ผ่านการลงมือทำ
    พวกนี้จะเรียนรู้ได้ดี ต้องลงมือทำเท่านั้น เรียกได้ว่า ช่วโมงบรรยายอีจะนั่งหลับหลังห้อง แต่พอให้ลงมือปฏิบัติจะมีพฤติกรรมเหมือนใช้เครื่องดืมชูกำลัง มีทักษะเป็นเลิศ ชอบเล่นของในมือ ใช้คอมพิวเตอร์หรือจดบันทึกเพื่อไม่ให้มือว่างแต่ไม่เคยอ่านอีก แล้วก็อยู่ไม่สุข

    ความเข้าใจวิธีการเรียนรู้ของแต่ละคน จะช่วยให้ผู้สอนจัดประสบการณ์ให้กับเขาเหล่านั้นได้ดีขึ้น

    ผมรู้สึกว่า ตัวเองมีบางอย่างมากในบางสถานการณ์ แต่ดูเหมือนจะมีส่วน visual มากกว่าอันอื่น  ตัวอย่างเช่น ในชั่วโมง group discussion ที่เป็นภาษาอังกฤษอย่างที่ผมมาเรียนอยู่นี้ ผมรู้สึกว่าชอบ แต่พอเวลาผ่านไปผมจะลืมเกือบหมดถ้าไม่จดไว้  จึงต้องอาศัย visual มากขึ้น เรียนรู้และจะจำได้ดี ถ้าผู้สอนจะค่อยๆสรุปหรือวาดแผนภูมิบน flipchart หรือ whiteboard ไปด้วยระหว่างคุยกัน
    
    ท่าน blogger ทั้งหลายครับ ลองสังเกตตัวเองดูนะครับ ว่าตกอยู่ในกลุ่มไหน

๙ ตุลาคม ๒๕๕๐

<<  APHN Diploma of Palliative Care ๒๔: Voices for Hospices 2007

หมายเลขบันทึก: 158037เขียนเมื่อ 8 มกราคม 2008 07:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

ผมเองตกในกลุ่มที่มีจริตของการเรียนรู้ที่ถูกกับการฟังครับ สังเกตว่า ชอบฟังการเสวนา ชอบฟังสื่อ electronic ที่ฟังได้ แต่ถ้าให้อ่าน ยอมรับว่าอ่านไม่ลึก เป็นพวก scanner ให้ลงมือทำโดยเป็นภาพปฏิบัติก็รู้สึกอึดอัดในช่วงแรก

แล้วอาจารย์เต็มเป็นนักเรียนแบบไหนครับ :)

สวัสดีค่ะอาจารย์ ขอบคุณนะคะที่บันทึกก่อนกรุณาเรียกว่า พี่ ..ปลื้มนิดๆ ยืดหน่อยๆ ^^

อ่านแล้ว็คิดว่าตัวเองคงไม่มี adult learning style ในสามปบบนี้ค่ะ เพราะ จะชอบอ่านหนังสือเงียบๆคนเดียว...ขอเป็นคนกำหนดเวลาการเรียนรู้เอง และเมื่อคิดว่าเข้าใจแล้วก็จะจับประเด็นได้เอง...ไปอ่านของอาจารย์สกล ก็ไม่ค่อยเป็นชนิดใดชนิดหนึ่งในนั้น....อาจจะเพราะว่าเป็นคนขี้เกียจเรียนและสติปัญญาปานกลางน่ะค่ะ เลยไม่เข้าหลักอะไรเลย...เรียกชื่อว่า Hermit style ได้ไหมคะ

P

นาย เต็มศักดิ์ พึ่งรัศมี 

 

เข้ามาเยี่ยม และอ่านบันทึกใหม่ครบ ๓ บันทึกแล้ว เฉพาะบันทึกสุดท้าย...

  • ดู ฟัง ทำ (ความถนัดในการเรียนรู้)

หลังจากพยายามจัดความถนัดตัวเอง ก็ยังไม่มีข้อสรุป รู้แต่ว่า เวลาฟังอาจารย์สอนในห้อง (หรือเวลาประชุม) อาตมาจะต้องมีปากกาวาดอะไรๆ ในกระดาษไปพลางๆ เพราะไม่อย่างนั้นก็จะง่วงและหลับ (มือวาด หูฟัง)... เป็นตั้งแต่เล็กๆ เลย จำได้ว่า ตอนเรียนมศ.๓ อาจารย์ท่านหนึ่งเคยทักว่า น่าจะไปเรียนศิลป์

แต่อาตมาก็ทำอะไรไม่ค่อยเป็นนัก รู้สึกว่ามิใช่ผู้ถนัดเรียนรู้โดยการลงมือทำ (ประการที่สาม) แบบว่าพัฒนาความรู้จากการกระทำได้ช้ากว่าคนอื่นๆ...

อ่านๆ ไปก็สงสัยตัวเอง (อีกแล้ว) ....

เจริญพร   

P  น้องโรจน์ครับ

  • พอรู้ลักษณะของเราแล้ว คนสอนและตัวเราเองก็หาทางที่จะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้เต็มที่ เช่น เป็นพวก ฟัง  ก็จัดสื่อที่มีเสียงหลากหลาย การเน้นย้ำประเด็นหรือคำถามที่สำคัญบ่อยๆ เป็นต้นนะครับ
  • ผมก็น่าจะเป็นพวก ดู ซึ่งจะชอบเห็นตาราง แผนผัง แล้วเขียนโน๊ตย่อของตนเอง เพื่อจะได้จดจำและเรียนรู้จากการสนทนาได้ดีขึ้น ไม่กลายเป็น ฟังหูซ้ายทะลุหูขวา ครับ
P  พี่สร้อยครับ
  • อยากเรียก พี่ มานานแล้วครับ
  • ถ้า ชอบอ่านหนังสืองียบๆคนเดียว ก็จัดอยู่ในพวกชอบ ดู เหมือนกันนะครับ
  • มีลักษะเด่นคืือ เรียนรู้ผ่านการเห็นด้วยตาได้ดี ชอบนักชอบหนากับรูป ตาราง กราฟและแผนผัง จัดการสื่อต่างๆอย่างเป็นระบบ และจดจำเรื่องราวด้วยการนึกเป็นภาพในใจได้ดี
  • สามารถเสริมการเรียนรู้และจดจำของตนเองได้ด้วยการเขียนโน๊ตย่อระหว่างการสนทนา หา mindmap มาใช้  แม้แต่การเขียนบันทึกสิ่งที่ได้เรียนหรือพบเห็นมาลงใน diary หรือ  G2K ก็จะช่วยให้จดจำเรื่องได้อย่างเป็นระบบมากขึ้น ใช่มั๊ยครับ

P  นมัสการพระอาจารย์ครับ

  • ความจริงเราก็ใช้ทั้งสามวิธีกันทุกคนนะครับ เพียงแต่ว่าถนัดแบบไหนมากกว่าเท่านั้นเอง
  • กราบ ๓ หน 

ขอบคุณค่ะอาจารย์

คงอย่างที่อาจารย์บอกไว้ค่ะ

นึกอยากทราบต่อยอดไปถึงที่มาของแต่ละวิธีอีกบ้าง คิดว่าขอถามอาจารย์เลยนะคะ

คำถามคือ วิธีการเรียนรู้เหล่านี้เกิดจากการสั่งสมประสบการณ์และค้นพบว่าวิธีนั้นเคยประสบความสำเร็จมาก่อนด้วยไหมคะ เพราะคิดถึงตัวเองแล้ววิเคราะห์ว่า การชอบจดอาจจะเกิดจากวัยเด็กเรียนแบบจดตามคำบอก lecture มากกว่าทดลองจริง (แม้แต่วิชาเคมีก็ไม่เคยได้ทดลองอะไรเลย...จดและท่องอย่างเดียว)

อยากนึกย้อนว่าถ้าเด็กๆได้เรียนแบบทดลองจริงแล้วค่อยจด อาจจะกลายเป็นแบบที่สามไปก็ได้

แล้วที่กลุ่มเรียนของอาจารย์ ส่วนมากเป็นแบบไหนคะ

 

P  พี่สร้อยครับ

  • คนส่วนใหญ่ที่ปะปนกันทั้งสามอย่าง แต่ว่าเด่นอย่างไรเท่านั้น
  • หลักการที่เราต้องรู้ว่า ตัวเราและนักเรียนของเรา เด่นแบบใด จะได้จัดสื่อ วิธีการให้สอดคล้องกับการเรียน และการจจำ แตกต่างกันไปในแต่ละคนนะครับ
  • ผมแนบเอกสารเรื่องนี้มาให้ครับ 
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท