การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ตามแนวทางโมเดลหินสองก้อน


การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างหินสองก้อน ควรจะใช้หน้าสัมผัสหรือมุมใดเพื่อให้ความรู้ของการต่อยอดรับส่งกันได้เร็วที่สุดและยั่งยืนที่สุด

สวัสดีครับทุกท่าน

         วันนี้ได้คุยกับท่านอาจารย์ แสวง รวยสูงเนิน

P

ดร. แสวง รวยสูงเนิน
มหาวิทยาลัยขอนแก่น

นิดหนึ่งครับ และได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนในส่วนหนึ่งของการเรียนรู้คน และแลกปลี่ยนเรียนรู้เพื่อทำการปรับสภาพก่อนจะมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ

         ทุกท่านคงเข้าใจ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กันเป็นอย่างดีแล้วนะครับ ว่าคนเรามีความหลากหลาย รากไทรแต่ละราก (ต้นไทร สายใยโกทูโนว์) ก็มีความแตกต่างและหลากหลาย ความคิดในตัวเราก็มีความหลากหลาย เรามีแง่มุมในด้านต่างๆ ในตัวเรา อาจจะแตกต่างจากคนอื่น และคนอื่นก็อาจจะแตกต่างไปจากเรา แต่ผมเชื่อเหลือเกินว่า ท่ามกลางความหลากหลายที่เรามี ไม่ว่าจะเรื่องความคิด แนวทางการดำรงชีพ และด้านอื่นๆ จะมีอย่างน้อยหนึ่งเรื่อง ที่เหมือนกัน (เข้ากันได้) ในคนสองคน ส่วนจะเหมือนกันมากในหลายๆ ด้านนั้น ก็แล้วแต่ว่าจะมีมากหรือน้อยอย่างไร

          หลายๆ คนที่มีแนวทาง นิสัย แนวคิดคล้ายๆ กัน ก็ได้เป็นเพื่อนเกลอกัน เป็นเพื่อนเสี่ยวกัน เป็นเพื่อนซี้กัน เป็นเพื่อนร่วมอุดมการณ์กัน บางคนก็คุยกับอีกคนได้เป็นเพียงแค่บางเรื่อง หากคุยอีกเรื่องก็คุยกันไม่ได้ก็พยายามเลี่ยง ศึกษากัน เพื่อหามุมหรือด้านที่รับส่งกันได้ แล้วเชื่อมต่อพลังงานให้แก่กันในด้านนั้นๆ

         เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น ผมขอนำเสนอโมเดลหินสองก้อน หากให้ง่ายที่สุด ให้ท่านหยิบหินขึ้นมาสองก้อนครับ จะขนาดเท่ากันหรือ ใหญ่เล็กต่างกันก็ตามครับ 

แล้วทำตามวิธีการดังต่อไปนี้ครับ

  1. หยิบหินขึ้นมาสองก้อน ก้อนหนึ่งเอาไว้ในมือซ้าย ก้อนหนึ่งไว้ในมือขวา

  2. เป้าหมายต่อไปคือ หาหน้าสัมผัสอย่างน้อยหนึ่งหน้า ที่สัมผัสเข้ากันได้ แล้วเลือกหน้าที่ดีทึ่สุดของทั้งสอง ที่สัมผัสพื้นที่มากที่สุดครับ (หน้าที่ทาบกันได้เรียบที่สุดและมีพื้นที่หน้าสัมผัสมากที่สุดนะครับ)

  3. แล้วก็จำหน้านั้นเอาไว้นะครับ

  4. เพื่อให้เป็นการอธิบายที่เป็นวิทยาศาสตร์หน่อย ให้นำก้อนหนึ่ง ไปเผาไฟโดยใช้เวลาประมาณสองนาที ให้หินอีกก้อนอยู่เฉยๆ

  5. ต่อมาหยิบหินสองก้อนนี้มาวางทาบกันในมุมหรือด้านที่เราสัมผัสกันได้ดีที่สุดในตอนที่ทำการทดลองในข้อที่ 2 นะครับ

  6. แน่นอนว่าหินก้อนหนึ่ง ร้อนกว่าหินอีกก้อนหนึ่งครับ ตามแนวทางของการถ่ายเทความร้อนไปหากันนั้น จำเป็นต้องมีหน้าสัมผัสที่จะส่งผ่านความร้อน (ความรู้) ไปหากันนะครับ ตามหลักของ การถ่ายเทความร้อนของสมการความร้อน Heat Equation นะครับ (อธิบายด้วยสมการเชิงอนุพันธ์)

  7. ผมมองว่า การที่หินสองก้อนจะปรับตัวเข้าหากันผ่านหน้าสัมผัสที่เหมาะสม จะทำให้การไหลของพลังงานความร้อนผ่านหน้าสัมผัสมีการถ่ายเทความร้อน(ความรู้) กันได้เร็วที่สุดครับ จนในที่สุดอุณหภูมิในหินสองก้อน (ความรู้้) ก็เกือบจะทัดเทียมกันได้หรือมองเป็นการปรับตัวเข้าหากันของคนสองคน

  8. หรือสองครอบครัว  หรือ สองชุมชน สองสังคม จนถึงสองต่างๆ แล้วแต่ระดับครับ

คุณมีความเห็นอย่างไรบ้างครับ หากหินก้อนหนึ่งเป็นคนธรรมดา ก้อนหนึ่งเป็นปราชญ์ หรือ ก้อนหนึ่งเป็นคนธรรมดา อีกก้อนเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือ เอกชน และอื่นๆ

http://www.ezytrip.com/webboard/images/10000/01000/00929_4897.jpg

(Image from http://www.ezytrip.com/webboard/images/10000/01000/00929_4897.jpg

 นี่คือโมเดลของหินสองก้อนที่จะปรับตัวเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันครับ หากเราลองมามองย้อนสู่รากไทร สายใยโกทูโนว์ (ต้นไทร สายใยโกทูโนว์) นะครับ หรือบล็อกเกอร์แต่ละคน จะมีความแตกต่างกัน และมีความหลากหลายมากๆ เลยครับ ดังนั้น การที่คนสองคนมาเจอกัน จะมีเรื่องใดเรื่องหนึ่งจูงให้มาเจอกัน ไม่ว่าจะเป็นบทความใดก็ตาม ที่ปรากฏขึ้นในหน้า monitor.gotoknow.org นะครับ หรือจะปรากฏในหน้า Home หรือลิงก์ต่างๆ ก็ตามครับ นั่นคือ สายใยที่ดึงหินสองก้อนให้มาเจอกัน สายใยนั่นก็คล้ายๆ กับแนวทางในการหาด้านหรือมุมสัมผัสระหว่างบล็อกเกอร์นั่นเอง

จริงหรือไม่จริง ลองคิดดูได้นะครับผม ผมเองก็มีหลายด้าน หลายแนว คุณมาูรู้จักผมผ่าน ด้านต่างๆ ในสิ่งที่ผมเป็น หรือสิ่งที่คุณเห็น ผมรู้จักคุณๆ ก็ในทำนองเดียวกัน จะมีด้านหนึ่งที่เราคุยกันได้ เป็นอย่างน้อย หากมีหน้าสัมผัสหลายๆ ด้านตรงกันหรือเข้ากันได้มาก เราก็จะรู้จักกันมากขึ้นครับ

คุณเห็นเป็นอย่างไรครับ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กับ โมเดลหินสองก้อน ที่กล่าวมานะครับ แลกเปลี่ยนร่วมกันได้ครับ

ขอบคุณมากครับผม

ด้วยมิตรภาพ

เม้ง 

หมายเลขบันทึก: 130105เขียนเมื่อ 20 กันยายน 2007 21:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 14:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (30)
  • สวัสดีค่ะ ครูเม้ง
  • ยังไม่มีอะไรแลกเปลี่ยนเลยค่ะ เพราะยังมองหินได้ไม่รอบด้านค่ะ :-))
  • ขอบคุณค่ะ

 

  • สวัสดีครับคุณเม้ง
  • นำมาเปรียบเทียบแบบชนิดที่เข้าใจจนถึงแก่นเลยนะครับ เยี่ยมจริงๆ
  • ขอบคุณคุณเม้งที่นำสิ่งดีๆมีค่า ที่ต่อความคิดและมิตรภาพ ขอชื่นชมอีกครั้งครับ

เยียมน้องเม้ง ทฤษฎีนี้ เห็นด้วย

หากหินต่างชนิดกันก็ไม่เป็นปัญหามนการถ่ายเทความร้อน เพียงแต่อาจแตกต่างกันในเรื่องอัตราความเร็วในการถ่ายเทและรับการถ่ายเท

 หากเอาคุณสมบัติของสะสารนั้นมาพิจารณาประกอบก็จะยิ่งเข้าใจรายละเอียดของหลักการถ่ายเทความร้อน และ resistance 

อย่างเช่นพี่สรุปว่าพี่น้องผู้ไทปรับตัวเร็วมากกว่า ไทโซ่เมื่อเขาไปประกบกับความรู้เรื่องตลาดชุมชนกับหมู่บ้านที่ทำเรื่องตลาดชุมชนมาก่อน ผู้ไทรับรู้และรีบตัดสินใจทำกิจกรรมเลยเพราะเขาเรียนรู้เร็วและสรุปได้เร็วว่ากิจกรรมนี้ดีแน่ๆในหมู่บ้านเรา หินห้อนที่หนึ่งเป็นบ้านต้นแบบตลาดชุมชน หินก้อนที่สองเป็นกลุ่มพี่น้องผู้ไทย ตลาดชุมชนเป็นความร้อน...

เอ้า อธิบายไปได้ไงเนี่ยะ..  ใช่ ปะ น้องเม้ง

และอื่นๆ....เข้าท่า เห็นรูปธรรมจริงๆ

  สวัสด้ครับ  อาจารย์

  • ผมยินดีด้วย
  • และคงเป็นประโยชน์มาก
  • ผมสมัครเป็นแนวร่วม
  • ขอบคุณมากครับ
P
1. pa_daeng

 

สวัสดีครับป้าแดง

  • สบายดีไหมครับป้าแดง ขอบคุณมากๆ นะครับ
  • ผมก็ต้องมองหินของตัวเองเหมือนกันครับ คงต้องศึกษากันทั้งชีวิตครับป้า และพร้อมกันก็ต้องศึกษาหินก้อนอื่นๆ ด้วยเช่นกันครับ เพื่อถ่ายเทความร้อน เรียนรู้่ร่วมกันเพื่อการอยู่ร่วมนะครับ
  • นอกจากนี้ ก็ต้องถ่ายเทความร้อน ความรู้กับสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ด้วย นอกจากหินด้วยกันแล้ว กับต้นไม้ กับอากาศ กับดิน น้ำ ลมไฟ กับลมหายใจ กับดวงจิตวิญญาณ อีกมากมายเลยนะครับ
  • ขอบคุณป้ามากๆ นะครับ
P
2. บัวชูฝัก

 

สวัสดีครับคุณเศกสรร

  • ขอบคุณมากนะครับผม
  • อิๆๆ แบบว่าฝึกๆ มองๆ อยู่นานพอสมควรแล้วครับ ผมชอบเอาหินสองก้อนตอนเด็กๆ หยิบมาทาบๆ กันครับ บางทีก็กระทบกันก็เกิดไฟครับผม หินบางชนิดเหมือนกัน กระทบกันก็ได้ไฟ ไดประกายไฟ หากสภาพแวดล้อมพร้อมก็พร้อมจะจุดระเบิดให้ไออุ่นต่อสังคมได้ครับ
  • แต่บางชนิดเอาไปชนกัน ก็ทำให้สภาพอีกก้อนเปลี่ยนไปก็ได้ครับ มีความเหนี่ยวแข็งต่างกัน
  • หินบางก้อน โด่งดังได้ไม่นานก็ดับ หินบางก้อนคิดทำอะไรบางอย่าง ไปขัดแย้งกับกลุ่มคนส่วนใหญ่ทำให้ได้เกิดหรือดับได้ในพริบตา
  • ลองๆ คิดต่อะครับ ผมว่าคงได้ต่อยอดกันต่อๆ ไปได้อีกครับ เรื่องของหินๆที่ไม่ธรรมดานะครับ
  • ขอบคุณมากๆ นะครับ
P
3. บางทราย (คนเข็นครก ขึ้นภูเขา)

 

สวัสดีครับพี่บางทราย

  • พี่บางทรายสบายดีไหมครับผม ไม่ค่อยไปเข้าไปปะทะคารมในบล็อกพี่เลยครับ แต่ไปตามอ่านอยู่นะครับผม ความรู้ผมกับเรื่องชุมชนยังน้อยมากครับ
  • ขอบคุณมากๆ นะครับ ที่เข้ามาเติมเต็ม ต่อยอดนะครับผม เรื่องสภาพการถ่ายเทความร้อน ระหว่างสสารของสองสิ่งเป็นอย่างน้อย โดยเฉพาะเรื่องสภาพความต้านทาน ของสมบัติของแต่ละสิ่ง
  • บางสิ่งเป็นฉนวน บางชนิดเป็นตัวนำ แต่ยังไงก็มีส่วนในการนำความร้อนได้ไม่มากก็น้อยครับ
  • ขอบคุณมากๆ เลยครับ สำหรับการถ่ายทอดเรื่องการปรับตัวของผู้ไท และไทโซ่ครับ ผมอยากมีโอกาสสัมผัสความรู้สึกนี้บ้างซักครั้งครับ
  • ช่วยกันมอง เข้าใจ เพื่อร่วมประสาน หินสองก้อนเข้ากัน เราจำเป็นต้องมีตัวกลางเช่นกันครับ
  • ตัวกลางนี่สำคัญมากๆ ในการปรับด้านของหินให้หันหน้าเจอกัน ตัวเราเองก็เป็นตัวกลางให้ตัวเราได้เช่นกัน ใช่ไหมครับผม
  • มีอะไรเพิ่มๆ มาช่วยกันต่อยอดนะครับ  ไม่ว่าจะแย้งหรือไม่ ยินดีเพื่อความสวยงามของธรรมชาตินะครับ ท่ามกลางความหลากหลายนะครับ
  • ขอบคุณพี่มากๆ นะครับผม เป็นกำลังใจในการจัดการดงหลวงนะครับผม

สวัสดีค่ะคุณเม้ง

สายใย  Gotoknow  ก่อนหน้านี้เปรียบเหมือนรากไทร......ครั้งนี้คงเปรียบเหมือนด้านหนึ่งของหิน   อีกก้อนหนึ่ง......การถ่ายเทความร้อนคงขึ้นอยู่กับชนิดและคุณสมบัติของหิน  ว่าจะถ่ายเทได้มากน้อยแค่ไหน     สิ่งที่ให้ซึ่งกันและกันถึงรับได้ไม่หมดแต่ก็ยังได้รับบ้าง........

หากหินสองก้อนเป็นหินชนิดเดียวกัน ความสัมพันธ์  สายใย จะเหนียวแน่นค่ะ 

หากหินที่ต่างชนิดกันมาก แม้กระทั้งวางทาบกันยังไม่ติดแล้วความร้อนจะถ่ายเทอย่างไรหละ?..........

ขอบคุณที่เปิดเวทีสนทนานี้........ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ

  • หินสองก้อนที่มีพื้นที่ผิวสัมผัสไม่แตกต่างกันมากนักจะสามารถถ่ายเทความร้อนหากันได้มาก.....เหมือนเครื่องส่งสัญญาณวิทยุที่จะต้องมีเครื่องรับสัญญาณในคลื่นความถี่เดียวกันใช่ไหมคะ
  • ทำให้คิดถึงการให้ศีล/รับศีลรับพรจากพระค่ะ
  • มีผู้ให้ (พระ) กับผู้รับ (โยม)
  • รับศีลกันอยู่ทุกบ่อย...แต่ไม่ยักจะได้ชื่อว่าเป็นผู้ทรงศีล (เพราะรับอย่างเดียวไม่นำไปปฏิบัติ)
  • จะเข้ากันได้กับ "หินสองก้อน" ได้ไหมคะ
P
4. เกษตรยะลา

 

สวัสดีครับพี่ไมตรี

  • สบายดีไหมครับพี่ ผลไ้ม้ทางยะลาเป็นไงบ้างครับ ช่วงนี้ ดีขึ้นบ้างไหมครับผม
  • ร่วมๆ กันแลกเปลี่ยนนะครับ สายใยบางๆ แนวทางในการเชื่อมโยง เรามีใจถึงกัน เป็นแนวร่วมด้วยกันครับผม พึ่งพากัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกันครับ
  • เพราะไม่ว่ายังไง ภูเขา หรือหินดิน ก็มีส่วนประกอบร่วมกันมากมายครับ
  • กว่าจะเป็นภูเขา ก็มีการจัดเรียงหินหลายๆ ก้อนร่วมกัน จนมีพลังกลายเป็นภูผาเขาใหญ่โชว์สวยงามและแสดงถึงความเข้มแข็งของพลังการจัดเรียงหน้าสัมผัสได้เช่นกันครับ
  • ขอบคุณมากครับผม
P
8. หญ้าบัว

 

สวัสดีครับคุณครูหญ้าบัว

  • สบายดีไหมครับ วันนี้ได้เห็นอีกมุมหนึ่งของคุณครูครับผม (หมายถึงรูปนะครับผม)
  • ขอบคุณมากๆ นะครับ เข้ามาเยี่ยมชม ความคิดเพ้อฝันไปเรื่อยๆ ของผมนะครับ
  • เมื่อก่อนในภาพรวมที่ตรึงกันอยู่แบบต้นไทร รากไทร การส่งรากลงถึงดิน และการให้ความร่วมเย็นต่อสังคม
  • วันนี้ เข้าสู่แบบรากไทยแต่ละรากครับ ต้องเปลี่ยนแนวทางเพื่อให้เห็นภาพชัดมากขึ้นครับ เลยขอเปลี่ยนเป็นหิน และใช้พลังที่ให้ถึงกันเป็นความร้อน (ว่าไปก็คล้ายหนังจีนที่จะถ่ายทอดพลังยุทธนะครับ อิๆๆ เคยบ้าคลั่งหนังจีนตอนเด็กๆ นะครับ)
  • หากหินสองก้อนเป็นหินชนิดเดียวกัน ความสัมพันธ์  สายใย จะเหนียวแน่นค่ะ 

    หากหินที่ต่างชนิดกันมาก แม้กระทั้งวางทาบกันยังไม่ติดแล้วความร้อนจะถ่ายเทอย่างไรหละ?..........

  • ขอบคุณมากครับ ที่ทิ้งท้ายไว้ให้ต่อยอดกันน่าสนใจมากๆ เลยครับผม หากหินต่างชนิดกัน ก้อนหนึ่งใหญ่ ก้อนหนึ่งเล็กด้วย ต่างทั้งโครงสร้าง ทั้งขนาด ทั้งคุณสมบัติ.... แต่ท้ายที่สุดแล้ว ก็จะมีส่วนที่เหมือนกันอยู่ครับ ก้อนหินแต่ละก้อน หากหาหน้าสัมผัสไม่ได้ เราจะมีจุดสัมผัสแทนใช่ไหมครับ  การสัมผัสกันเป็นจุด จะทำให้ถ่ายทอดความร้อนส่งถึงกันได้ช้าหน่อยครับ แต่ก็ทำได้ครับผม แม้ว่าจะแตกต่างกันในคุณสมบัติก็ตาม ผมคิดอย่างนั้นครับ อาจจะไม่ถูกทั้งหมด ต้องวานญาติมิตรในนี้ช่วยกันมองนะครับ
  • อย่างคนเรา ส่วนที่เหมือนกันสุดๆ คือ เรามีธาตุทั้งหก ประกอบกันเป็นร่างของเราในตอนที่มีชีวิตอยู่ หมายถึงรากฐานนะครับ ได้แ่่ก่ ดินน้ำ ลมไฟ อากาศ จิต  แต่จะมีส่วนที่เหมือนและต่างกันอยู่ครับ
  • แต่ในแนวทางความคิดหรือนามธรรมนั้น ก็ดำเนินในแนวทางเดียวกันครับ
  • หากคุณครูเขียนเลข 1,2,3 เป็น ผมเขียน 4, 5, 6 เป็น เรามาแลกกันก็ได้ ว่าด้วยเรื่องที่สนใจเหมือนกัน ในเรื่องตัวเลข ในที่สุดเราถ่ายทอดกัน ก็จะได้เรียนรู้ 1,2,3,4,5,6 ร่วมกัน ก็รอวันที่จะไปเรียนรู้ 0,7,8,9 อีกครับ
  • อาจจะต้องร่วมกันถกและต่อยอดกันต่อนะครับ เพื่อความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นครับผม
  • ขอบคุณมากๆ เลยครับป๋ม
P
9. Gutjang

 

สวัสดีครับคุณครูกั๊ตจัง

  • ยินดีต้อนรับนะครับผม ยินดีที่ได้รู้จักครับผม และยินดีต้อนรับสู่บ้านช่วยหลังนี้นะครับ
  • ขอบคุณมากๆ เลยครับ ผมเห็นความหลากหลายในการต่อยอดของคุณครูแล้วเลื่อมใสจริงๆ ครับผม แตกยอดกิ่งก้านได้เยอะเลยนะครับผม ดีมากๆ เลยครับ ทำให้ผมอิ่มตามไปด้วยครับ
  • ทั้งหมดในตัวอย่างที่ว่ามานะครับ เกี่ยวข้องกับหินและการถ่ายเทความร้อนได้หมดเลยครับ
  • การถ่ายเทความร้อนบางทีต้องอาศัยเวลา สถานที่ สิ่งแวดล้อมด้วยใช่ไหมครับ บางทีก็สถานการณ์ต่างๆ ในการช่วยขับส่งเพื่อให้ความร้อนถ่ายเทไหลถึงกันได้ง่ายขึ้น
  • เพราะท้ายที่สุดแล้ว หินสองก้อนจะลู่เข้าสู่ภาวะสมดุล คือ ความร้อนของหินทั้งสองจะใกล้เคียงกันเพื่อจะรอปรับหน้าต่อไปให้้สัมผัสกับหน้าหินของก้อนต่อๆ ไปครับ เป็นเครือข่ายหินทรงพลังต่อไปใช่ไหมครับ
  • วิทยุ การรับส่ง เข้าสู่ หลักการของการสื่อสารอีกแล้วครับผม ไม่ว่าจะ ผู้ส่ง ผู้รับ และสื่อกลาง และมีข้อมูลไหลผ่านถึงกัน เป็นได้ทุกๆ กรณีเลยครับผม
  • ขอบคุณมากๆ เลยครับ ในการช่วยแตกแขนงให้รากในระบบคิดเป็น Network System ครับผม
  • ขอบคุณมากครับผม ด้วยมิตรภาพครับ

พี่เม้งครับ

  • หินก้อนบนใหญ่อยู่บนหินก้อนเล็ก แต่หินก้อนเล็กรองรับได้ไร้ปัญหา
  • หินก้อนใหญ่ทั้งหลายน่าจะรับฟังหินก้อนเล็กด้วย ใช่ไหมครับ
  • http://www.ezytrip.com/webboard/images/10000/01000/00929_4897.jpg
P
13. ออต

 

สวัสดีครับน้องออต

  • ขอบคุณออตมากๆ เลยครับ ที่เข้ามาช่วยชูประเด็นนี้ครับผม
  • ที่้ออตมองหน่ะครับ เข้าเป้าหมดเลยครับผม
  • มองถึงตัวเรา เหมือนหินก้อนบนคือหัวของเรา หินก้อนเล็กนั่นคือคอเรา รองรับหัว แล้วฐานด้านล่างหินก้อนใหญ่หลายๆ ก้อน หรือลำตัวเรา รองรับคออีกทีหนึ่งครับ
  • แต่ไม่ว่าจะหัว คอ หรือลำตัว เราก็เชื่อมเข้ากันได้ ในส่วนสัมผัสที่ส่งผ่านความร้อน เส้นเลือด ความรู้ ความเย็นถึงกันนะครับ
  • ออตลองมองอีกรอบอีกครั้งนะครับแล้วมาต่อยอดกันอีกรอบครับ
  • มองว่าหินชุดนี้ กลางคืนจะเป็นไง เมื่อได้รับอากาศเย็น เค้ามีการส่งผ่านความร้อนกันอย่างไร พอตกดึกอากาศก็เย็นลง หนาว ขึ้น เปลี่ยนไปเรือยๆ จนถึงเที่ยงวัน ที่คิดว่าร้อนที่สุด แล้วเค้าจะส่งผ่าน เกื้อกูลกันอย่างไร
  • แล้วมาต่อยอดกันต่อนะครับ ได้อะไรอีกเยอะเลยครับ
  • ขอบคุณออตมากๆ เลยครับผม

หินแต่ละก้อน มีรูปร่างไม่เหมือนกัน เราเปรียบเหมือนกินก้อนหนึ่ง ซึ่งต้องมีบางส่วนที่สัมผัสได้กับหินก้อนอื่นๆ ซึ่งบริเวณที่สัมผ้สกับแต่ละก้อนอาจมีไม่เท่ากัน แต่อย่างน้อยก็สัมผัสได้...แต่หากเป็นหินก้อนที่กลมไปหมดทุกด้านก็อาจมีพื้นที่ในการสัมผัสกับหินก้อนอื่นได้น้อย แต่ถ้ามีส่วนที่แบนๆ ก็อาจสัมผัสกับก้อนที่มีแบนๆ เหมือนกันได้มาก ตรงนี้อาจจะเป็นส่วนที่คล้ายกัน แนวคิดทำนองเดียวกันมีค่อนข้างมาก...ก็จะเป็นกลุ่มเป็นเครือข่ายคนที่มีแนวคิด แนวร่วมไปในด้านเดียวกัน.....ชักยาวแค่นี้ก่อน ก่อนจะเป็นหินกลมมาก มะกอกสามตะกร้าปาไม่ติด....อิอิอิ

P
15. paew

 

สวัสดีครับพี่แป๋ว

  • ขอบคุณมากๆ เลยครับ ดีใจจังครับที่พี่เข้ามาเติมเต็มในเรื่องจุดหน้าสัมผัสของหินนะครับ
  • กรณีที่หินสงก้อน กลม จุดที่สัมผัสกันได้จะมีเพียงแค่จุดเท่านั้น แต่ที่จะเป็นหน้าสัมผัส ก็จะเป็นเพียงแค่ จุดสัมผัส ที่ส่งผ่านถึงกันได้ครับ ถูกต้องเลยครับว่าการส่งผ่านนั้น ย่อมช้าแน่นอนครับเพราะจะเป็นคอขวดที่จุดสัมผัสกันครับ
  • พี่ทำให้ผมนึกถึงคำพังเพยที่เค้ากล่าวไว้ว่า  ก้อนหินกลมกลิ้ง ไ้ร้มอสเกาะ แปลเอาจากอังกฤษนะครับ เลยไม่แน่ใจว่า ต้นแบบเดิมเค้าว่าอะไรครับ หากหินก้อนนั้น กลมแล้วก็กลิ้งไปเรื่อยๆ ก็ย่อมมีโอกาสน้อยที่จะมีมอสเกาะ หากมองมอสเป็นความรู้ เพราะว่าหน้าสัมผัสมีน้อย ทำให้หินกลิ้งไปเรื่อยๆ ไม่หยุดเป็นหลักแหล่ง โอกาสในการถ่ายทอดความรู้ระหว่างกันก็น้อยครับ
  • ขอบคุณพี่มากๆ เลยนะครับ ลองไปคิดต่อยอดกันอีกนะครับผม เรื่องหินก้อนกลมๆ นะครับแต่หากหินไม่กลมกลิ้งโอกาสจะสัมผัสและมีแรงหน้าสัมผัสต้านแรงให้หินหยุดก็สูงขึ้นครับ
  • ขอบคุณมากครับ

สวัสดีครับ เพิ่งมาอ่านบล็อกของพี่ครั้งแรกเพราะหัวข้อน่าสนใจมากครับ
หินสองก้อนของพี่ ทำให้ผมได้นึกกว้างมาก (แต่ลงลึกมากๆ ผมก็ชักปวดหัวแฮะ)

พี่ได้พูดประเด็นของร่างกาย การที่สมองกับแขนขาสามารถประสานกันได้ก็เช่นเดียวกับหินสองก้อนเช่นกัน
คือ ถึงแม้นอวัยวะทั้งสองจะต่างกันมากแต่ก็ยังมีพื้นฐานมาจากเซลล์แม่เดียวกันตั้งแต่แรก มีการเชื่อมโยงกันมาตั้งแต่แรก จากที่ไม่แตกต่างกลายเป็นแตกต่าง แต่แม้นแตกต่างก็ยังอยู่ร่วมกันได้โดยไม่ขัดแย้งกัน
ถ้าพูดเรื่องนี้แล้วแตกย่อยต่อตามที่พี่ว่า ทุกสิ่งล้วนมีพื้นฐานเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นโดยนหลักธาตุดินน้ำลมไฟไม้ทองตามแนวคิดของจีน
หรือลึกกว่านั้นก็คือแนวคิดหยินหยางของจีนที่ว่าทุกอย่างประกอบด้วยสองอย่างนี้
แม้แต่แนวคิดของข้อมูลของคอมก็มาจากเลข 0,1 คือ มีกับไม่มี
(คล้ายแนวหยินหยางไม่๊ครับ)

หรือแนวศาสนาคริสต์ที่ว่า ทุกสิ่งมาจากพระเจ้า 

หรือหลักศาสนาพุทธที่ว่าทุกสิ่งล้วนอนิจจัง
ทุกสิ่งล้วนมีจุดร่วมกันเพียงแต่เราจะเห็นมันหรือไม่
เช่นนั้นการแบ่งเขาแบ่งเราก็จะไม่มีอีกต่อไป...

ไม่มีตัวเรา ไม่มีคนอื่น
มีเพียงสิ่งเดียวคือ ธรรม(ชาติ)
เราคือ ธรรม, ธรรมคือสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา
เราจะไม่มีการทำร้ายธรรม
เพราะนั่นคือ การทำลายตัวเราเช่นกัน

 

สวัสดีครับเม้ง

ผมไม่ได้คิดเปรียบเทียบอะไรนะ ง่วงนอน มึนๆ คิดอะไรไม่ออก แต่พอพูดถึงหินถึงต้นไทร หินแกร่งแค่ไหนรากไทรก็จัดการได้ นานวันเข้าหินก็แตก ที่เขาไม่ให้ปลูกไทรในบ้านเพราะรากไทรนี่แหละ ถ้าวันหนึ่งมีนกคาบลูกไทรแล้วมาวางไว้บนก้อนหินในภาพ ถึงสภาวะที่เหมาะสมลูกไทรเจริญเติบโตเป็นต้นไทร รากไทรก็จะจัดการหินให้แตกได้อาจต้องใช้เวลานานแต่มีความเป็นไปได้สูง 

http://www.ezytrip.com/webboard/images/10000/01000/00929_4897.jpg

 

คุณคิดว่าหินสองก้อนนี้จะเป็นอย่างไรต่อไป

หรือคุณคิดว่าแค่นี้ก็พอใจครับ

 P

17. จันทร์เมามาย

สวัสดีครับคุณทันสิษฐ์

  • ยินดีต้อนรับและยินดีที่ได้รู้จักนะครับ ดีใจมากๆ เลยครับ อย่างน้อยชื่อบทความก็สื่อให้ผมได้คุยกับคุณนะครับ
  • สิ่งที่คุณเทียบแล้วต่อยอดให้เห็นนั้นชัดเจนมากๆ นะครับผม จนโยงไปสู่ว่าทุกสิ่งล้วนมีพื้นฐานเดียวกัน โยงไปสู่แนวความคิดต่างๆ ของกลุ่มคนต่างๆ หรือว่าแนวศาสนาต่างๆ ซึ่งล้วนมาจากฐานที่ไม่ต่างกัน
  • ท้ายทีุ่สุดแล้วที่คุณสรุปไว้เด็ดมากๆ นะครับ

    ไม่มีตัวเรา ไม่มีคนอื่น
    มีเพียงสิ่งเดียวคือ ธรรม(ชาติ)
    เราคือ ธรรม, ธรรมคือสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา
    เราจะไม่มีการทำร้ายธรรม
    เพราะนั่นคือ การทำลายตัวเราเช่นกัน



  • ทุกอย่างเกี่ยวเนื่องเกี่ยวข้อง แม้หินก็จะมีหน้าสัมผัสที่ไม่เท่ากันในด้านที่ัสัมผัสเข้าหากันได้
  • ต่อยอดกันต่อไปนะครับ ผมเองก็ไม่ค่อยถนัดในแต่ละลัทธิหรือแนวคิดต่างๆ นะครับ แต่พยายามมองจากธรรมชาติ ซึ่งผมคิดว่าเป็นรากของความรู้ หากขาดรากเราก็ไม่ได้ผลครับ
  • ขอบคุณมากๆ นะครับ และดีใจที่ได้รู้จักเพื่อนใหม่ครับผม
P
18. บ้านสวนพอเพียง

 

สวัสดีครับโส

  • สบายดีนะครับผม ขอบคุณมากๆ เลยครับ ที่เข้ามาช่วยเติมเต็มในอีกแบบ เป็นความสัมพันธ์ระหว่างไทรกับหิน
  • ไทรกับหิน เป็นเรื่องที่มีความสัมพันธ์กันมาตลอดครับ โดยเฉพาะไทรที่งอกบอกหิน หากจะยกตัวอย่าง อย่างเช่นที่นครวัด ที่กัมพูชานะครับ ไทรหลายต้นทำให้วัดพังเช่นกัน เพราะหินก้อนใหญ่ๆ นั้นเพียงแต่เอามาวางๆ ซ้อนกัน แล้วจึงจะแกะสลัก บังเิอิญมีนำคาบลูกไทรไปหย่อนไว้ นานๆ เข้า ก็เกิดไทรงามขึ้นมา รากชอนไชไปตามร่องหิน จนรากโตขึ้นเพื่อจะหย่อนรากลงดินและทำหน้าห่อหุ้มหินบ้าง บ้างก็แยกหินให้ร่วงลงมาพังทลายบ้าง
  • ความสัมพันธ์ระหว่างหินสองก้อนนั้น เมื่อทาบกันสนิทหรือทาบกันแล้วไม่ใช่ว่าจะคงทนยาวนานครับ แต่จะมีปัจจัยอื่นๆ เข้ามาเชื่อมเข้ามาแยกได้เช่นกันครับ
  • รากไทรบางรากก็แยกหินออกจากกัน บางรากก็ดันหินให้ชนกันแนบสนิทมากขึ้น พร้อมกับห่อล้อมหินให้อยู่เป็นส่วนหนึ่งของรากไทรไปด้วยกัน
  • เพราะคุณสมบัติของรากไทรจะพยายามหย่อนรากลงดินเป็นไปตามแรงดึงดูด Gravitropism คุณสมบัติที่มีสิ่งเร้าเนื่องจากแรงโน้มถ่วงครับ
  • นี่คือส่วนที่เรามองเห็นเหนือพื้นดิน และก็เช่นเดียวกันครับ กับใต้ดินก็มีความสัมพันธ์แบบนี้ด้วยครับ นั่นคือ รากจะไปในทิศทางที่เหมาะสมตามที่คุณสมบัติของเค้ากำหนดมา จะชอนไชไปทางที่อ่อนนุ่ม โดยความแข็งของรากต้องแข็งกว่าทิศทางที่จะไปไ่ม่งั้น รากอาจจะฟกช้ำได้ครับ
  • แต่ไม่ว่าจะยังไงความสัมพันธ์ของไทรและหินต้องช่วยเหลือกันมีขัดแย้งบ้างเป็นเรื่องธรรมดา
  • บล็อกเกอร์ก็เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นรากไทรหรือก้อนหิน ย่อมมีอุปสรรคได้เสมอ ที่จะมามีผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างบล็อกเกอร์ด้วยกันครับ
  • ขอบคุณเพื่อนมากๆ เลยครับผม
  • สวัสดีคะคุณเม้ง เข้ามาตามเก็บเรียนรู้สิ่งดีๆจากที่นี่คะ
  • ขอบคุณต้นไทร ขอบคุณก้อนหิน ที่เป็นมุมมองให้เห็นหลายด้าน หลายเรื่องราว และที่สำคัญเรื่องของ ..ใจ ..
P
19. ดร. แสวง รวยสูงเนิน

 

สวัสดีครับ อ.แสวง

  • ว้าาาววว ดีมากๆ เลยครับ ที่ยกหินนี้มามองอีกครับผม ขอบคุณมากครับผม บ่มไว้หนึ่งวัน ได้เวลามาตอบครับ เผื่อจะได้แพร่เชื้อคิดคำถาม ไปยังคนอื่นๆ ด้วยครับผม
  • อาจารย์ตั้งคำถามเอาไว้ว่า

     

    คุณคิดว่าหินสองก้อนนี้จะเป็นอย่างไรต่อไป

    หรือคุณคิดว่าแค่นี้ก็พอใจครับ


  • หินก้อนนี้จะเป็นอย่างไรต่อไป... ตอบแบบง่ายๆ เพื่ออธิบายปัญหาทั้งหมดที่จะเกิดขึ้น จึงขอตอบว่า เป็นไปตามเหตุปัจจัย ตามหลักทางวิทยาศาสตร์เลยครับ
  • หินแต่ละก้อนก็มีอายุขัยครับ เกิดแก่เจ็บตายเช่นกันครับ ก้อนที่ตั้งอยู่บนสุด จะเห็นว่ามีพื้นที่ยังเหลืออยู่เยอะที่จะรอการสัมผัสกับสิ่งอื่น ส่วนก้อนที่ค้ำอยู่นั้น ก็มีพื้นที่มากสุดเท่าที่เค้าสัมผัสได้แค่นั้น
  • มีแรงกระทำอยู่หลายๆ อย่างในภาพ โดยเฉพาะแรงต้านจากหินก้อนเล็ก แรงโน้มถ่วงที่ดึงหินลงมา แรงลมที่พัดผ่านหินไปมา แรงจากการย่อยสลายจากน้ำ ลม อากาศ อุณหภูมิ อีกครับ
  • ผมเลยตอบสั้นๆ ว่า จะเป็นไปต่อไป ตามเหตุและปัจจัย และคำตอบก็มีให้คิดกันต่อไป ว่าจะเป็นอย่างไรบ้างครับ
  • หากหินก้อนที่ค้ำอยู่เหนื่อยล้า เบื่อ ไม่สุขใจ ภาพนี้ก็เป็นแค่ความทรงจำในอดีตครับ เหมือนกับมิตรภาพระหว่างบล็อกเกอร์ ก็เช่นกันครับ
  • และหากหินก้อนบนกดมากๆไป ไม่พอเพียง ก็ล่มสลายเช่นกัน
  • และหามีปัจจัยภายนอกเช่น ลม พายุ ฝนห่าใหญ่ และอื่นๆ ก็อาจจะมาช่วยบำรุงให้เค้าอยู่คงทนหรือล่มสลายได้เช่นกันครับ ซึ่งสอดคล้องกับความสัมพันธ์ของบล็อกเกอร์ได้อีกเช่นกันครับผม  จริงไม่ใช่แค่บล็อกเกอร์เลยครับ อะไรก็ได้ครับผม
  • ส่วนคำถามที่ถมว่า  หรือว่าแค่นี้ก็พอใจ...
  • ผมไม่อยากจะบอกว่า แค่ไหนพอใจ แค่ไหนเกินใจ แค่ไหนขาดใจ แต่ผมว่าสภาพที่เป็นอาจจะเป็นศักยภาพที่ optimal ที่สุดแล้วก็ได้ หากเราเชื่อในศักยภาพครับ
  • เพราะทุกอย่างจะเกี่ยวข้องกับเวลา และสิ่งแวดล้อมด้วยครับ
  • ขอบคุณมากๆ นะครับผม มาช่วยกระตุก...รบกวนอาจารย์ช่วยเสริมต่อนะครับ....
  • ความสัมพันธ์ของเราทุกคนก็ต้องลิขิตกันตามแนวทางครับ แล้วจะเจอคำตอบที่เสมือนว่าจะยั่งยืน หากคงที่ก่อนตาย ก็ถือว่ายั่งยืนได้ครับ
  • แต่อย่างไรก็อยู่ที่ความเข้าใจ ที่จะส่งผ่านพลังงานกันก่อนจะถ่ายทอด การมองการยอมรับ การเข้าใจต่อกัน เอาใจเขามาใส่ใจเราก่อนถ่ายเทความร้อนถึงกัน ปรับสภาพให้พร้อมก่อนปล่อยสายพลังงาน
  • ขอบพระคุณมากๆ เลยครับอิๆๆ พอก่อนนะครับ ไม่งั้นยาวอีกครับ....

วันนึง สมดุลอาจจะหมดไป

ก่อนใหญ่อาจจะหล่นลงมาได้ครับ

^_^ 

P
22. MOO

 

สวัสดีครับคุณ Moo

  • ขอบคุณมากๆ เลยครับ และดีใจเสมอครับ ที่คุณเข้ามานะครับ ผมไม่ค่อยได้เข้าไปฝากรอยนิ้วไว้เลยครับ
  • ขอบคุณต้นไทร ก้อนหิน เช่นกันะครับผม ที่ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนกัน
  • บางทีผมก็ตั้งคำถามกับตัวเองนะครับ ว่าผมกำลังทำอะไรอยู่...และิ่สิ่งที่ทำอยู่...จะได้ต่อไปอย่างไร...วันหนึ่งก็คงจะสานต่อเป็นคำตอบที่ชัดขึ้นนะครับผม
  • ขอบคุณมากๆ เลยครับ
P
24. bunpot

 

สวัสดีครับคุณบรรพต

  • ขอบคุณมากๆ นะครับผม
  • ใช่แล้วครับ วันหนึ่งสมดุลที่เห็นอยู่อาจจะเปลี่ยนเพื่อนำไปสู่สมดุลใหม่ครับ
  • สมดุลจะมีอยู่ตลอดเวลาครับ สมดุลกับเปลียนแปลงเดินไปคู่กันครับ เปลี่ยนแปลงเพื่อเข้าสู่สมดุล สมดุลเพื่อรอความเปลี่ยนแปลง
  • แต่หากไร้สมดุลก็ไม่มีคำตอบ นั่นคือคำตอบไม่ได้มุ่งเข้าสู่สิ่งใดๆ เลยได้ว่า สรรพสิ่งล้วนเปลี่ยนแปลง
  • ในสมดุลก็มีการเปลี่ยนแปลง ในการเปลี่ยนแปลงก็มีการปรับเพื่อจะวิ่งหาสมดุล
  • สรุปเอามั่วๆ คือ สมดุลและเปลียนแปลงคือสิ่งเดียวกัน ไปด้วยกัน หากลงลึกๆ ลงไปมากๆ อาจจะได้ว่าไ่ม่มีอะไรคงที่ ก็ได้  อิๆๆ มั่วเอาอีกแล้วครับผม
  • ขอบคุณมากครับ
  • เอหินที่ถูกกดทับจะรู้สึกอย่างไร..น้อ
  • จะเหมือนแบกโลกไว้ทั้งใบไหมนะ
  • ในระบบการทำงานบางครั้ง..รู้สึกว่าเอทำไมเราต้องแบกภาระนี้ไว้คนเดียวนะ..ถ้ามีคนมาช่วยแบ่งเบามันน่าจะเสร็จเร็วขึ้นได้...
  • แต่ถ้าเปรียบเปรยในแนวความคิด...หินก้อนใหญ่จะได้ประโยชน์จากหินก้อนเล็กในฐานะที่ปรึกษาคะ.....ว่าจะประคองตนอย่างไรให้ผ่านร้อน ผ่านหนาว ผ่านฤดูมรสุม ได้โดยไม่หล่นลงไปกองพังพาบ บนพื้นซะก่อน
  • เหมือนชุมชนบนบล็อกเรามาต่างทิศทาง..คิดเห็นตรงกันบ้าง..ไม่ตรงกันบ้างขึ้นอยู่กับมุมที่ตัวเองยืนอยู่นะคะ
P
27. naree suwan

 

สวัสดีครับคุณนารี

  • ขอบคุณมากครับผม
  • ใช่ครับผม หินแต่ละก้อนคิดอย่างไรหนอ...
  • แบ่งโลกรับภาระ หรือว่าฉันอบอุ่นจังที่เธอช่วยบังแดดให้ฉันได้อบอุ่นอย่างนี้... เราจะมองมุมไหนดีครับ
  • ผมมองถึงการพึ่งพากันนะครับ ผมว่าเค้าหาจุดสมดุลให้กับเค้าและสิ่งแวดล้อมที่เค้าอยู่ ตลอดจนหากฝนตก แดดร้อนจัด อาจจะมีสิ่งมีชีวิตอื่นเข้าไปหลบแดดฝนได้อีกด้วยครับ...เกิดประโยชน์ร่วมกันได้เสมอ
  • ชุมชนบล็อกเกอร์หรือผู้อ่านก็เช่น เป็นแนวทางการช่วยเหลือ เกิดประโยชน์ร่วมกัน ผู้อ่านอ่านแล้วเอาไปคิดต่อ ปฏิบัติ ก็เกิดประโชน์ต่อชุมชนในวงกว้างได้ด้วยใช่ไหมครับ
  • ขัดแย้งเป็นเรื่องธรรมดา แต่ขัดแย้งเพื่อพัฒนาไม่ใช่ขัดแย้งเพื่อขัดขาก็พอแล้วใช่ไหมครับ
  • ขอบคุณมากๆ เลยครับผม

สวัสดีครับพี่เม้ง

  เห็นบันทึกนี้ครั้งแรกหลายวันก่อนนะครับ

  ตอนนั้นสะดุดและสนใจมากครับ  แต่ไม่ค่อยมีแรงเข้ามาอ่าน

  วันนี้ว่างและมาเก็บเกี่ยวเพิ่มเติมครับ

  ผมชอบเรื่องด้านที่ตรงกัน  มาเชื่อมกันครับ

  คิดต่อไปแล้ว  ในนี้เป็นเวทีที่ทำให้เราได้เห็นด้านที่ตรงกับเรา  แล้วเรากก็ได้ไปเรียนรู้เพิ่มเติมหรือ ลปรรครับ  อย่างผมกับพี่ไงครับ 

   คงจะเป็นด้านของการเรียนรู้  ด้านการพัฒนาชุมชน  สังคม  หรือด้านคุณธรรมก็ได้นะครับ  ถ้าไม่เข้าข้างตนเองกเนไปผมว่าเราอาจจะมีหลายด้านที่เหมือนกันก็ได้นะครับ ^_^

  -ขอบคุณความรู้และมุมมองใหม่ๆครับ

P
29. kmsabai

 

สวัสดีครับน้องชาย

  • สบายดีไหมครับ เป็นกำลังใจให้สู้งานกันต่อไปนะครับ
  • ขอบคุณมากที่เข้ามาเยี่ยมและตามอ่านนะครับ พี่มีความเชื่อว่า คนเราที่มีโอกาสได้มาเจอกันและได้ร่วมพูดคุยและทำกิจกรรมร่วมกันนั้น ไม่ใช่เกิดขึ้นด้วยความบังเอิญครับ
  • แต่เป็นเพราะมีเหตุปัจจัยบางอย่างที่เกี่ยวเนื่องและจูนกันได้ในแนวทางถึงได้มีโอกาสมาเจอกันและพูดคุยทำกิจกรรมร่วมกัน
  • การที่เจอและทำมาสิ่งต่างๆ คล้ายๆ กัน เป็นเพื่อนร่วมงานกัน ก็เพราะมีหลายๆ อย่างที่เชื่อมโยงให้สิ่งสองสิ่งมาพบเจอกันตามกาลและเวลาที่เหมาะสม
  • พี่ทำโครงการบริจาคช่วยเหลือน้องๆ ทางอีสานในการเรียนต่อชั้น ม.ต้น ก็ได้มีโอกาสรู้จักเพื่อนฝูงที่ทำงานในเชิงด้านนี้มากขึ้น เพราะมีตัวจูน สิ่งเร้าให้เข้ามาเจอกัน จะเกิดเป็นเครือข่ายที่ดีได้
  • ในมุมมองอื่น เช่น นักเลง เค้าก็มีเครือข่ายของเค้าเช่นกัน หรือเจ้าพ่อ หรือเครือข่ายวิชาการก็เช่นกัน การทำงานของชุมชน ด้านต่างๆ ก็เช่นกันครับ
  • ขอบคุณน้องมากนะครับ และเป็นกำลังใจในการทำงานนะครับผม
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท