PCU Corner : primary care จะช่วยลด medical cost ของโรคเรื้อรังได้บ้างหรือไม่ 2


ในงาน 8th HA National Forum อาจารย์ น.พ.ประเวส วะสี บอกไว้ตอนหนึ่งว่า เมือเรามีการดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ จะเกิดผลที่มากขึ้นอยู่ 4 เรื่อง และ มีเรื่องที่ลดลง 2 เรื่อง

การดูแลที่  ต่อเนื่อง และ   การดูแลที่มากกว่า การรับยาจ่ายยาใน opd โรงพยาบาล  (  จนแพทย์ขี้เกียจเขียนการรักษา ที่เหมือนเดิม  ใช้คำว่า RM  ( Re med )  กันบ่อย ๆ   ก็คำย่อเขียนเหมือนกันกับ Risk Management  นั่นแหละครับ  ทำนองจะบอกว่าให้ระวังความเสี่ยงนะเฟ้ย เขียนอย่างนี้น่ะ  )   เป็นงานสำคัญของ การดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ทีเดียวเลยครับ

จากกราฟ ที่เคยเสนอไว้

อัตราการเพิ่มของค่าใช้จ่ายต่อครั้ง ที่ ร.พ.วารินฯ    ในการรักษาผู้ป่วย HT สูงมากครับ  ผมลองนึกในใจ  ว่าอัตราเงินเฟ้อ เทียบจากราคาทอง  เมื่อ 4-5 ปีก่อน เพิ่มขึ้น 25 - 30 %  ( แปลว่าเมื่อก่อน ใช้เงิน ประมาณ 7,500 - 8,000 บาท ซื้อทองได้ หนัก 1 บาท  ตอนนี้ ต้องใช้เงิน ประมาณ 10,000 บาท ถึงจะซื้อทองได้ หนัก 1 บาท )    หักค่ายาที่แพงขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อแล้ว    อัตราการเพิ่ม ของค่าใช้จ่ายก็ยังสูงมากอยู่ดีครับ   ขณะที่ % controlled case ไม่ได้เพิ่มขึ้นเล้ย

ผมมีตัวอย่าง ที่เคยเล่ามาแล้วแต่อยากเอามาเล่าใหม่ เพราะมันเกี่ยวข้องกับ บันทึกนี้ และก็มีผลลัพธ์ที่ไม่ได้บันทึกไว้เพิ่มเติมครับ

เมื่อสองวันก่อน ผมสอนนักศึกษาพยาบาลเรื่อง การดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เอารูปนี้ให้ดู

บอกว่าชื่อยายเฟื่อง เป็น ความดันโลหิตสูง และไตวาย อยู่กับสามี ที่อายุมากกว่าแกสัก 2-3 ปี มาอย่างเนี้ยครับ  ผมถามว่าเห็นแล้วรู้สึกอย่างไร  นักศึกษาคนหนึ่ง พูดเบาๆ ว่า "สงสาร"   ผมบอก ลองนึกต่อซิว่า แกจะอยู่ จะกินยังไง  นักศึกษาบอก "น่านนะสิ"

วันนั้นที่มา  BP เป็นอย่างเนี้ยครับ

ผมนึกถึงเวลาอยู่ ร.พ. คุยกับคุณยายก็ งง ๆ ครับ ถามเรื่องการกินยาก็ งงๆ  คนที่พามาก็ไม่ค่อยได้มีโอกาสมาคุยครับ   ถ้าเป็นอย่างนี้ ก็หนีไม่พ้นเพิ่มยา  แนะนำเรื่องอาหารการกิน ( ที่เราเองก็ไม่รู้ว่าแกกินยังไง ) ก็ได้เท่านั้นแหละครับ เพราะ มีเวลาให้แกน้อยเหลือเกิน  

ผมเองตอนอยู่ที่ ร.พ.ก็มักจะถูกกำหนดให้เป็นแบบนั้น  ด้วยบริบทของสถานบริการ    แกได้ยาความดันโลหิตสูงประมาณ 3 ชนิด ยาโรคไตวายอีก 4-5 ชนิด ยาอื่น ๆ อีก 2 ชนิด  กินต่างกรรมต่างวาระกัน  มีตั้งแต่ 1 เวลา จนถึง 3 เวลา รวมทั้งมีก่อนนอน ด้วย

ที่ PCU เหมาะมากครับที่จะทำงานที่ต้องใช้การดูแลต่อเนื่อง   เพราะเป็นระบบบริการที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย   ทั้งคนไข้เข้าถึงการบริการ และ เจ้าหน้าที่เข้าถึงคนไข้และครัอบครัว  ผมและเจ้าหน้าที่ก็ตามไปเยี่ยมบ้านบ่ายนั้นเลย  เห็นนี่เลยครับ

เป็นยาที่ผมเป็นคนสั่งจ่ายเอง เสียเสียด้วย   วันต่อมา แกก็ถูกส่งไปโรงพยาบาล เพราะท้องเสีย ( อันนี้ไม่เกี่ยวกับที่ผมไปเยี่ยมบ้านนะครับ )  ผมก็ตามไปรักษาที่ ร.พ. ต่อ เพราะเจอแกตอน ราวน์วอร์ดเช้า ( เป็นพวกกบ พวกเขียด ยังไงไม่รู้ เดี๊ยวอยู่ pcu เดี๋ยวอยู่ ร.พ. )   

  เราเริ่มคิดใหม่  ทำยังไงจะทำให้  ยายกินยาได้ง่าย แล้วก็สมำเสมอ  ผมจำได้ว่า  เภสัชฯ บุ๋ม  ที่ ร.พ. เคยเล่าให้ฟัง  ( ระหว่างนั่งรถไป PCU )  ถึงการจัดยาเป็นซอง ๆ  ได้รางวัล นวตกรรม อะไรทำนองนี้ เลยให้เภสัช บุ๋ม มาดูคุณยาย ลองเอามาใช้ดู  แล้วก็ให้ pcu  ลองตามไปดูต่อว่า ใช้ได้ดีหรือไม่ อีก 2-3 ครั้งครับ

 

ช่วงหลังผมลดยา HT และยาอื่นลง   จัดยาแบบ พอดีพอดี  ยา HT เหลือเพียงชนิดเดียวเองครับ แล้วก็กินวันละครึ่งเม็ดเวลาเดียวด้วย   หยิบเป็นซอง ๆ กินง่านดีครับ BP ออกมาดีมากเลย ดีมาจนถึงทุกวันนี้  3 - 4 เดือนมาแล้ว ลองเอาราคายาก่อนเจอแกที่บ้าน กับช่วงหลัง มูลค่าลดลง 60 กว่าเปอร์เซนต์เลยครับ

 


 อีกเดือนหนึ่ง ผมก็เยี่ยมบ้านคนพิการครับ เจอยายเจียมซึ่งเป็นคนไข้ HT เหมือนกัน   วัด BP ได้เท่าเนี้ยครับ

แกไปกินกาแฟโสม ใจสั่นระริก ระริก ( เอ! ฟังแล้วแม่ง ๆ ชอบกล  เอาเป็นว่าสั่นเฉย ๆ ดีกว่า )  แกเลยหยุดกาแฟ ไม่หยุดเปล่า พาลหยุดยา HT ไปด้วย ทั้ง ๆ ที่กินมานานแล้ว ถามแกว่าทำไมหยุดยาไปด้วย แกบอกไม่รู้ทำไม  ใจคอไม่ค่อยดี   ( ทำให้รู้ว่า บางครั้งแค่ใจคอไม่ดี ก็ทำให้คนไข้หยุดยาได้นะครับ ) 

 ผมได้บทเรียนจาก ยายเฟื่องเมื่อเดือนก่อน  เลยขอดูยาแก เป็นอย่างเนี้ยเลยครับ

ตอน เภสัชฯ จ่ายยา ออกมาจาก PCU มันยังแยกกันอยู่เป็นแผง ๆ ซอง ๆ อยู่เลย ไหง กลับไปบ้าน มันกลายมาเป็นอย่างนี้ไปได้แฮะ ก็ จัดยาใหม่แหละครับ ทำเป็นซอง ๆ กินง่าย ๆ  วันละซอง ผลก็ดีแบบนี้แหละครับ

ยังมีอีกหลายรายที่เราเจอแบบนี้ครับ   ยายหมิ่งเป็น HT เหมือนกันครับ พอไปถึงบ้าน คุณยาย กำลัง post ท่าอย่างนี้เลยครับ  แกจัดยากินเองกินไม่ถูกหรอกครับ

ก็เหมือนเดิม แล้วก็ได้ผลเช่นกัน


เราได้เรียนรู้อะไรบ้าง

1. การดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง ที่ต่อเนื่อง โดยเฉพาะระบบ primary care  น่าจะลดค่าใช้จ่ายได้จริง  เหลือแต่ระบบบริการที่จะต้องจัดให้ ตอบสนองต่อปัญหา และได้  ใช้ จุดเด่นของ งาน primary care  ให้เต็มที่

2. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สามารถเกิดได้ตลอดเวลา ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเห็นเป็น โอกาส หรือเป็น อากาศ งานนี้ เป็นเพราะเภสัชบุ๋ม เล่าให้ฟังระหว่างนั่งรถแท้ ๆ เชียว  ระหว่างนั่งรถคุยกันก็ยังเกิด ความรู้ และที่สำคัญ วันหนึ่งก็ได้มีโอกาสนำมาใช้ได้จริง

3. อ.ประเวส บอกว่า โรคจะหายได้มากขึ้น  ค่าใช้จ่ายจะลดลง และ จะเกิด นวตกรรม อีกมากมาย  เห็นท่าจะจริง   ที่สำคัญ เรามีความสุขมากขึ้น กับการดูแลคนไข้  อันนี้จริงแท้แน่นอน 

4. primary care & secondary care เกื้อหนุนซึ่งกันและกัน  ข้อจำกัดของหมอคนเดียวกันที่ secondary care  สามารถ ชดเชยได้ที่ งาน primary care 

หมายเลขบันทึก: 96928เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2007 00:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (22)

สวัสดีค่ะคุณหมอจิ้น  

ดีใจที่เห็น primary care ได้ผลดี และได้เห็นความใส่ใจของแพทย์พยาบาลที่ทำเรื่องนี้

แค่เอาใจใส่มากขึ้นอีกนิด ปรับปรุงกระบวนการอีกหน่อย คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเรื้อรังก็ดีขึ้นมากจริงๆ นับเป็นบุญของผู้ป่วยเหล่านี้จริงๆ

เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ประทับใจดิฉันมากเลยค่ะ

ขอบคุณคุณหมอค่ะ..

P
กมลวัลย์
เมื่อ ศ. 18

ขอบคุณ อาจารย์มากเลยครับ  ภาระกิจหนึ่งของผมช่วงนี้ ต้องพยายามทำให้ คนทำงานเห็นความสำคัญ  และคุณค่าของงาน primary care      โดยเฉพาะคนที่ทำงานที่ primary are เองก็ยังขาดความเชื่อมั่น  แล้วก็ยังมองไม่เห็นศักยภาพของตัวเอง ก็เลยต้องลงไปทำเองจะได้มีเรื่องมาเล่าให้เขาฟังได้อย่างนี้แหละครับ

สวัสดีค่ะ

คนสูงอายุนับวันจะมากขึ้น จนถึงระดับ20%ของพลเมือง คุณหมอคงต้องเหนื่อยอีกมาก ชื่นชมมากๆค่ะ

เห็นภาพชัดเจน เห็นทั้งกระบวนการและผลงาน อ่านสนุก โดยเฉพาะมุข ใจสั่นระริกๆ : )

ยกให้เป็นบันทึกในดวงใจไปแล้วค่ะ : )

ขอบคุณคุณหมอและทีมงานมากๆค่ะ 

สวัสดีครับ

  •    ได้เรียนรู้มากจริงๆครับ
  • สุดยอดครับ

 

เป็นตัวอย่างที่ยอดเยี่ยมมากค่ะ คุณหมอจิ้นช่วยบอกให้เภสัชกรบุ๋มเขียนเล่าวิธีการจัดยาเป็นซองๆ หน่อยได้ไหมคะ เห็นภาพเข้าใจว่าจัดแยกเป็นวันๆ ไปใช่หรือเปล่า ยาที่ต้องกินหลายเวลาทำอย่างไร

ผมได้เรียนจากอาจารย์หมอจิ้นถึงจุดเด่นที่ primary care มีคือ

  1. การดูแลที่ใส่ใจวิถีชีวิต เข้าใจบริบท
  2. ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม+ไม่ฟุ่งเฟือย
  3. การดูแลใช้ความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันเป็นหลัก
  4. มีความต่อเนื่อง
  5. ออกแบบการที่ดูแลที่เหมาะกับแต่ละคน

ผมว่าสิ่งที่อาจารย์ได้ทำ น่าจะใช้คำว่าการแพทย์พอเพียงได้นะครับ

อ่านแล้วทำให้มองเห็นจุดเด่นและคุณค่าของ primary care ที่เป็นรูปธรรมจับต้องได้จริงๆเลยค่ะ อจ.  และนับว่าสิ่งที่อจ. ได้ลงมือทำ เป็นภาพที่ทำให้พี่ๆน้องๆที่ปฏิบัติงานที่หน่วยพีซียูได้มองเห็นศักยภาพของงานที่ได้ทำอยู่มีคุณค่าและเป็นแก่นของงาน primary care ที่แท้จริง  เป็นกำลังใจและติดตามผลงานของ อจ. นะคะ

P
sasinanda
เมื่อ ศ. 18 พฤษภาคม

ไม่เหนื่อยหรอกครับ ถ้างานที่เราทำมีความสุข ถึงไหนถึงกัน

P
มัทนา
เมื่อ ศ. 18 พฤษภาคม 2550

blog ของอาจารย์ ก็สนุกเหมือนกัน มาอะไรใหม่ ๆ มาตลอด ผมอ่านประจำครับ

P
kmsabai
เมื่อ ศ. 18 พฤษภาคม 2550

สุพัฒน์ก็ทำได้  ลองทำดู

P
วัลลา ตันตโยทัย
เมื่อ ศ. 18 พฤษภาคม 2550

มีหลาย version ครับ ตอนแรกบุ๋มเขา ทำตัวอย่างยาแค่ชุดเดียวสำหรับ ให้คนไข้ หรือญาติดู ว่าแต่ละมื้อให้กิน ตัวไหนบ้าง ทำนอง drug remider อันนี้ บุ๋มเขาได้ idea จากงานวิจัย เรื่อง lipoic acid มีผลต่อ microalbumin uria  อย่างไร ที่ อาจารย์คณะเภสัช ม.ขอนแก่น กับ ร.พ.วาริน ทำร่วมกัน

แต่ดูแล้ว ยายท่าจะไม่ไหว เมื่อก่อนก็ทำ unit dose ให้ ผู้ป่วย Tb ในระบบ DOTS ก็เอารูปแบบมารวมกัน กินเป็นวัน ๆ ไปครับ ( แสดงว่าไม่ใช่เรื่องใหม่ )

บทเรียนสำคัญที่ลืมเขียนไป ขณะที่ผมคิดเรื่องนี้ มีกระบวนการทบทวนการใช้ยาด้วยครับ พยายามเลือกยาให้กินเวลาเดียว ตัดยาที่ไม่จำเป็นออก  คุณยาย ได้ยา ตอนเช้าเวลาเดียว  มียาตอนเย็นอีก 1-2 ชนิด วันหนึ่งมี 2 ซองครับ  ผมสงสัยเหมือนกันว่า ตอนรักษาปกติ ทำไมไม่เกิดกระบวนการพยายามอันนี้ สั่งยาไปเรื่อยเปื่อย ไม่ได้คิดว่าคนไข้จะกินยาได้ง่ายไหม ( อันนี้ว่าตัวผมเองนะครับ กำลังปรับปรุงตัวเองอยู่ !)

  

 

P
โรจน์
เมื่อ ส. 19 พฤษภาคม 2550

พี่ยังเห็นการใช้เงินที่ฟุ่มเฟือยมาก ในโครงการต่าง ๆ ของจังหวัด  ความจริง กระบวนการ สำคัญกว่า  สถานที่ เครื่องมือ   แต่ทุกวันนี้ กระบวนการ primary  ที่ดี ไม่ค่อยจะมีที่ยืน ไม่เคยถูกถามถึง   เงินที่ใช้กับงาน primary ไม่น่าจะมากมายอะไร

 

P
Mrs. Laddawan wipoosanapan
เมื่อ ส. 19 พฤษภาคม 2550 @ 12
เรามีหน้าที่ ต้องทำให้ทุกคนเห็นคุณค่าของงานที่ตัวเองทำอยู่ครับ
ผมว่าเราช่วยกันทำสิ่งดีๆ เถอะครับ ประชาชนพร้อมจะให้ที่ยืนเสมอสำหรับคนที่ทำเพื่อเขา
P
พญ รวิวรรณ หาญสุทธิเวชกุล
เมื่อ ส. 19 พฤษภาคม 2550

ได้กำลังใจมาจาก ไมอามี่เลยนะเนี่ย (เปลี่ยนรูปใหม่แว้วด้วย สดใส จิงจิง )

P
โรจน์
เมื่อ ส. 19 พฤษภาคม 2550

ต้องหาคนแบบ โรจน์ มาทำงานเยอะ ๆ

ตอนนี้ผมร่วมกับเครือข่ายเวชศาสตร์ครอบครัวของส่วนกลางและภาคเหนือครับ มีหมอ fammed ที่ดีๆหลายคน มีแกนนำคืออาจารย์สายพิณกับอาจารย์สุพัตตรา ผมไม่แน่ใจว่าทางอีสานจะจัดที่ไหนช่วงไหน แต่โคราชเป็นแกนนำครับ ถ้าอาจารย์พอมีเวลา(มักจัดวันเสาร์) ผมจะเรียนเชิญอาจารย์เข้าร่วมเสวนาครับ

ดีจังเลยครับ  พี่เคยได้ประชุม แพทย์ที่จะทำงานที่ CMU ที่ โคราช   หมอกุ้ง ก็เป็นเพื่อนกัน หมอสายพิณ ก็รุ่นน้อง พี่ช้างก็คุยกันบ่อย เพราะแกต้องดูแลโครงการ CMU ที่พี่ทำอยู่   เพียงแต่งานรัดตัวเหลือเกิน   ถ้ามีโอกาส คงได้เจอกันแน่ ๆ

เห็นด้วยอย่างที่สุดค่ะ

เป็นเรื่องราวที่ดีนะคะ สะท้อนความเป็นจริง จริงๆค่ะ

ปัญหาอาการไม่ดีขึ้นของผู้ป่วย

บางครั้งเพียงใส่ใจเพิ่มขึ้นอีกนิดนึง

จะเข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้น กับเขา และ ช่วยแก้ปัญหาได้ตรงจุดค่ะ

 เป็นตัวอย่างที่ดี น่าชื่นชมค่ะ

P
ซันซัน
เมื่อ อา.
การดูแลที่มององค์รวมมากขึ้น จะช่วยแก้ปัญหาได้ตรงจุด ถูกต้องแล้วครับ
  • เข้ามาเก็บเกี่ยวประสบการณ์การทำงาน ของระบบบริการปฐมภูมิ
  • เห็นภาพและสะท้อนถึงความเป็นจริงที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้เลยคะ..
  • อย่าว่ากระนั้นเลย ลุงๆ-ป้าๆ ที่บ้าน ก็ยังมีซองยาที่ปรากฎในภาพอยู่เต็มตระกร้าเช่นกัน
  • เชื่อเหลือเกินว่าหัวใจของงานบริการปฐมภูมิ ก็คือ หัวใจที่เป็น จิตสาธารณะ ของเจ้าหน้าที่ที่ให้บริการ - - ไม่มองว่าเป็นภาระงานหรือหน้าที่ แต่ทำด้วยความเต็มใจและยินดีที่จะทำ !!
P
อรุฎา นาคฤทธิ์
เมื่อ จ. 21 พฤษภาคม 2550

" หัวใจของงานบริการปฐมภูมิ ก็คือ หัวใจที่เป็น จิตสาธารณะ ของเจ้าหน้าที่ที่ให้บริการ "  

ถ้าเราทำงานด้วยใจ มองเห็นโอกาสของผู้รับ งานนั้นก็สนุก และมีคุณค่า  แต่ถ้า มองไม่เห็นด้วยใจ ถูกคุมกำกับ  อยู่เนือง ๆ แม้แต่คุณค่าของตัวเองก็ยังไม่เห็นเลยครับ  เจ้าหน้าที่เราถูกกระทำอย่างนี้มานานแล้ว

 

 

เพิ่งได้เข้ามาอ่าน เรื่องราวของจิ้น ทึ่งสุดสุด ธรรมดาเวลาเจอกันไม่ได้คุยกันมากมาย แล้วก็ไม่ได้เจอกันนานแล้วด้วย 

เอาไว้จะคอยตามอ่านในนี้นะ  อ่านแล้วก็นึกถึงชีวิตแพทย์ใช้ทุนเหมือนกัน   

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท